Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
ทีวีเสรีตายไปแล้ว             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

itv identity crisis

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, บมจ.
ไอทีวี, บมจ.
ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
TV




ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้นกับไอทีวีในเวลานี้ ไมใช่วิกฤติ ครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับสถานีโทรทัศน์ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในสมัยของรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุนที่ต้องการแก้ปัญหา ในเรื่องที่สื่อทีวีถูกครอบงำ จึงได้อนุมัติให้มีการเปิดประมูลสัมปทานโทรทัศน์ ที่ใช้คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีผู้ถือหุ้น 10 รายขึ้นไป และห้ามถือหุ้นเกิน 10% เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการเป็นสื่อเสรีที่จะไม่ถูกครอบงำโดยเอกชนรายใดรายหนึ่ง ซึ่งเวลานั้นมีกลุ่มทุนสิ่งพิมพ์เข้าร่วมประมูลเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ บางกอกโพสต์ เนชั่น

ผลปรากฏว่า กลุ่มสยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคารไทยพาณิชย์ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้คว้าสัมปทานไป โดยแลกกับการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดตลอด 30 ปี รวมเป็นเงิน 25,200 ล้านบาท

เส้นทางของไอทีวีก็น่าจะไปได้ดี เพราะมีทั้งสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มั่นคงมากในเวลานั้น และธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นสถาบันการเงินรองรับด้านเงินทุน มีผู้ผลิตซอฟต์แวร์จากธุรกิจบันเทิงและหนังสือพิมพ์ อีกทั้งเศรษฐกิจก็อยู่ในช่วงเติบโต

แต่เอาเข้าจริงกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะหลังจากเริ่มดำเนินการได้ไม่นาน ปัญหาการแตกร้าวก็เริ่มขึ้นทั้งจากฝ่ายบริหาร และผู้ถือหุ้นที่มีอยู่มากราย ก็เริ่มแตกคอ ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ต้องไปดึงกลุ่มเนชั่นเข้ามาเพื่อช่วยในการผลิตข่าวให้

ถึงแม้ว่าไอทีวีจะเริ่มเป็นที่ยอมรับจากผู้ชม แต่ผลการดำเนินงานกลับไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ไอทีวีต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทำให้มีหนี้สินก้อนใหญ่กว่า 4,000 ล้านบาท จนต้องขอเลื่อนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐ 300 ล้าน บาท จนทำให้ผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้รายใหญ่ต้องพยายามกอบกู้สถานการณ์ ด้วยการหาผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของไอทีวี

ผลจากความพยายามในครั้งนั้น ได้กลายเป็นปมปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างผู้บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มเนชั่นที่ไม่ต้องการสูญเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการคุมฝ่ายข่าว ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์จำเป็นต้องดึงอำนาจเหล่านี้กลับคืน เพื่อทำให้ภาพของไอทีวีไม่ถูกครอบงำจากผู้ถือหุ้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง กระทั่งสุทธิชัย หยุ่น ต้องเปิดห้องแถลงข่าวเพื่อโจมตีการแทรกแซงการทำงานของธนาคารไทยพาณิชย์ จนเป็นข่าวความขัดแย้งบนหน้าหนังสือพิมพ์พักใหญ่ และต่อมาเนชั่นเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เสนอตัวในการเข้าซื้อหุ้นจากไอทีวี แต่ข้อเสนอของเนชั่นได้รับการปฏิเสธ และอุปสรรคที่สำคัญกว่านั้น อยู่ที่เงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน ที่กำหนดให้ไอทีวีจำเป็นต้องมีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 10 ราย และแต่ละรายถือหุ้นเท่าๆ กันไม่เกิน 10% สาเหตุอื่นที่นอกจากเหตุผลที่ระบุไว้ว่า จะเป็นข้อจำกัดในการที่จะนำบริษัทไอทีวีเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งไม่สามารถจำกัดการถือหุ้นได้แล้ว กติกาเช่นนี้จะเป็นปัญหาในเรื่องของเอกภาพในเชิงบริหารงาน ย่อมไม่มีผู้ประกอบธุรกิจรายใดให้ความสนใจเข้ามาลงทุนแต่หากมีผู้ถือหุ้น ที่กระจัดกระจายเช่นนี้

มติของคณะรัฐมนตรีของชวน หลีกภัย เมื่อวันที่ 1 กุมภา พันธ์ 2543 ที่อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมการงานของไอทีวี 2 ข้อ คือ การยกเลิกสัญญาสัมปทานข้อ 1.2 ที่กำหนดให้มีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 10 ราย และแต่ละรายถือไม่เกิน 10% ระบุว่า เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ.2535 และ ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงเท่ากับเป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องเหล่านี้โดยตรง

ถัดจากนั้น ในวันที่ 25 เมษายน 2543 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทานไอทีวี ตามมติของคณะรัฐมนตรี ในสัญญาข้อ 1.2 และสัญญาในเรื่องของการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ลงนามโดยผู้บริหารของไอทีวี และธนาคารไทยพาณิชย์ ประกอบด้วยนพพร พงษ์เวช ในฐานะของ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ศรัณย์ทร ชุติมา ผู้จัดการทั่วไป ลงนามร่วมกับ ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาสัมปทานไอทีวีในครั้งนั้น ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลของชวน หลีกภัย ยอมให้มี การเลื่อนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน แต่อยู่ที่การแก้ไขสัญญา ในข้อ 1.2 ในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นที่เปลี่ยนแปลงให้ นิติบุคคลสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 75%

ถัดจากนั้นในเดือนมิถุนายน ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้ดึงเอากลุ่มชินคอร์ปเข้ามาซื้อหุ้นในไอทีวี ซึ่งกลุ่มชินคอร์ปได้ใช้เงินลงทุนไปในไอทีวีแล้วประมาณ 1,600 ล้านบาท แลกกับการเข้ามาถือหุ้นในไอทีวี 39% ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้แปลงจากหนี้เป็นทุน เหลือสัดส่วนการถือหุ้น 55% โดยสิทธิในการบริหารงานทั้งหมดเป็นของกลุ่มชินคอร์ป จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลของชวน หลีกภัย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือแม้แต่กลุ่มเนชั่น ได้ยอมรับในหลักการที่ว่า ทีวีเสรีเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป กับข้อเท็จจริงในเรื่องภาระของสำนักงานทรัพย์สินฯ จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการขาดทุน และทรัพย์สินที่เหลืออยู่ ก็คือ ไอทีวี

และนี่คือที่มาของวิกฤติที่เกิดขึ้นกับไอทีวี ที่คำว่าทีวีเสรีได้ตายไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us