Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
ดีทแฮล์ม 1990 ลงทุนเพื่อซื้ออนาคต             
โดย สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล
 


   
search resources

ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย), บจก.
Investment
Food and Beverage




ปี 1990 ขณะที่โลกกำลังจับตาดูว่าคำทำนายของ ดร. ระวี บาทรา ที่ว่าจะเกิด THE GREAT DEPRESSINO หรือไม่ แต่ปีเดียวกันนี้สำหรับดีทแฮล์มกลับเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่อาจจะเรียกว่าเป็น THE GREAT TURNING POINT

ดีทแฮล์ม สาขาประเทศไทยพลิกโฉมประวัติศาสตร์ธุรกิจของตนอย่างสิ้นเชิงเสียแล้วนับจากปี 1990 เป็นต้นไป

การเปลี่ยนแผลงทางยุทธศาสตร์ครั้งนี้ ไม่เพียงมีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของดีทแฮล์มในประเทศไทยเท่านั้น ยังส่งผลต่อธุรกิจโดยรวมของดีทแฮล์มอีกด้วย

นั่นเป็นเพราะ ในบรรดาบริษัทสาขาใน 7 ประเทศ กล่าวคือ สิงคโปร์. มาเลเซีย,ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส, ไทยและสวิตเซอร์แลนด์ ดีทแฮล์มประเทศไทยทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับหนึ่งโดยทั้งห่างจากประเทศอื่นนอย่างไม่เห็นฝุ่นติดต่อกันหลายปี ยอดขายมากกว่าสาขาสวิสที่ดูแลภาคพื้นยุโรปทั้งหมด และมากกว่ายอดขายของอีก 4 ประเทศรวมกัน ( มาเลเซีย, สิงคโปร์,ออสเตรเลีย, สหรัฐอเมริกา) เนื่องจากดีทแฮล์มเป็นธุรกิจครอบครัว ที่ไม่เปิดเผยตัวเลขผลประกอบการ ให้สาธารณชนได้รับรู้ แม้แต่ผู้บริหารในเมืองไทยเองก็ยอมรับว่าเขาไม่รู้ อย่างไรก็ตามตัวเลขยอดขายรวมของดีทแฮล์มในปี 2532 คาดว่าย่าจะประมาณ 1 พันกว่าล้านดอลล่าร์หรือประมาณ 26,000 ล้านบาท หรือยอดขายระดับ 7 พันกว่าล้านบาทของดีทแฮล์มในไทยหรือประมาณเกือบ 30% ของรายได้ทั้งหมดจากทั่วโลก จึงอาจจะกล่าวได้ว่าดีทแฮล์มประเทศไทยเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญที่สุดซึ่งจะปล่อยให้เป็นอะไรไปไม่ได้

และ เมื่อเทียบกับบริษัทการตลาดในประเทศไทยด้วยกันเอง ดีทแฮล์มครองแชมป์ยอดขายสูงสุดติดต่อกันมาหลายสมัย แม้ล่าสุดปี 2532 ดีทแฮล์มก็ยังครองแชมป์ด้วยยอดขาย 7,105 ล้านบาท (ดูยอดขายเปรียบเทียบขอ 10 บริษัทการตลาดชั้นนำ ปี 2531 และ 2532)

กล่าวเฉพาะยอดขายในรอบ 5 ปีของดีทแฮล์ม จะพบว่านับจากปี 2529 - 2531 ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นปีละ 1,035 และ 1,162 ล้านบาท นั่นคือเฉลี่ยปีละ 17% ครั้นเมื่อฝ่ายผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งทำรายได้ในปี 2531 จำนวน 3,300 ล้านบาท เทียบกับยอดขายปีนั้น 8,099 ล้านบาทซึ่งคิดเป็น 40% ถ้าเป็นเช่นนั้นผลประกอบการในปี 2533 ของดีทแฮล์มคงจะต้องลดลงฮวบลฮาบ อย่างน่าใจหาย

แต่การที่ยอดขายปี 2533 ลดลงเพียง 994 ล้านบาท นั่นเป็นเพราะเหตุผลสองประการ หนึ่ง - เนสท์เล่แยกไปวันที่ 1 เมษายน 2532 ทำให้ดีทแฮล์มมีรายได้จากไตรมาสแรกของสินค้าแผนกอาหาร 1 พันล้านบาท สอง - รายได้เพิ่มขึ้นจากแผนกอื่น ๆ อีก 6 แผนก โดยเฉพาะแผนกที่ขายได้พันล้านบาทขึ้นไป 3 แผนก กล่าวคือแผนกวิศวกรรมยอดขาย เพิ่ม 95% แผนกสินค้าพิเศษเพิ่ม 55% และฝ่ายเวชภัณฑ์เพิ่มขึ้น 15% ส่วนอีก 3 แผนกแม้ว่าจะขายได้ต่ำกว่าพันล้านก็ตามอัตราเพิ่มก็จัดว่าสูง แต่ตัวเลขที่แน่ชัดเพราะผู้บริหารปัจจุบันไม่ประสงค์จะเปิดเผยด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องการให้คู่แข่งรู้ทราบ

และแม้ว่าเป้าหมายยอดขายปี 2533 ยังถูกตั้งไส้ในระดับ 7 พันล้านบาทเท่ากับปี 2532 ขณะที่ไม่มีผลิตภัณฑ์เนสท์เล่แล้ว และแผนกอาหารที่ดีทแฮล์มจุดตั้งขึ้นมาใหม่ก็ตั้งเป้าเพียง 200ล้านบาท นั่นแปลว่าเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายได้ พนักงานดีทแฮล์มทุกคนจะต้องใช้ความพยายามชนิดหืดขึ้นคอ !!!

แผนกอาหารของดีทแฮล์มเดิมนั้นขายเฉพาะสินค้าจากเนสท์เล่ ภายหลังจากากรเจรจาระหว่างทั้งสองบริษัทเป็นเวลานานถึง 2ปีก่อนที่จะมีการแยกกันเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2532 ผลสรุปก็คือเหมือนการยกแผนกอาหารของดีทแฮล์มทั้งทีมงาน 600กว่าชีวิ,สต็อกสินค้า, โกดัง, บัญชีลูกค้าที่ยังค้างชำระ ทรัพย์สินอีกหลายประเภทรวมทั้งออฟฟิศชั้น 21 ตึกอัมรินทร์พลาซ่าซึ่งยังเหลือสัญญาเช่าอีกหลายปี ให้กับบริษัทเนสท์เล่โปรดัสท์( ไทยแลนด์) อินค์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายที่ตั้งขึ้นใหม่ของกลุ่มเนสท์เล่ (ประเทศไทย)

หากสินค้าของเนสท์เล่ยังอยู่กับดีทแฮล์มในปี 2533 อาจจะทำรายได้ถึงกว่า 4,000 ล้านบาทนั่นหมายถึงว่า ดีทแฮล์มจะมียอดขายเฉียด 10,000 ล้านเข้าไปทุกทีแล้วยังกำไรที่หดหายไปประมาณอีก 20% เจ้าหน้าที่ระดับเอ็กเซ็คคิวทีฟอีก 5% และที่สำคัญแม่ทัพชำนาญศึกที่สุดของดีทแฮล์มที่นำทัพรบมาตลอด 30 กว่าปีคือ อรรถ เสนาสาร ก็ตัดสินใจย้ายค่ายแน่นอนในสมรภูมิของการแข่งขันเขาต้องหันปลายทวนกลับมาห้ำหั่นกับดีทแฮล์มรังเก่าอย่างไม่ต้องสงสัยและเมื่อทั้งสองฝ่ายซึ่ง "รู้ทาง" กันเป็นอย่างดีโคจรมาเจอกัน งานนี้ไม่จืดแน่!!!

เป็นความจริงอันยากปฏิเสธว่า กรณีการแยกตัวของเนสท์เล่นับว่าส่งผลสะเทือนโดยตรงต่อดีทแฮล์มมากโขอยู่ แต่ในด้านกลับ มันก็ทำให้ดีทแฮล์มต้องหันมาดูความจริงอันเป็นข้อจำกัดตลอดเวลา อันยาวนานของการเป็นเพียงบริษัทจัดจำหน่ายที่ต้องชอกช้ำครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อสินค้าที่ถูกปั้นมากับมือโบยบินไปเมื่อบริษัทผู้ผลิตปีกกล้าขาแข็ง นับเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงมากโดยเฉพาะทิศทางของธุรกิจในยุคใหม่ที่มีแนวโน้มไปสู่การทำธุรกิจแบบครบวงจรมากขึ้นในลักษณะที่ผู้ผลิตก็ทำตลาดเอง เช่นนั้น แล้วหากดีทแฮล์มไม่ดิ้นรนเอาตัวรอดก็คงจะต้องเรียวเล็กลงเรื่อย ๆ จนอาจจะต้องสิ้นชื่อไปในที่สุด

คำถามคือดีทแฮล์มจะยอมรับชะตากรรมนั้นโดยดุษฎี หรือจะเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ดีทแฮล์มวางแนวทางธุรกิจของตนไว้อย่างไรเพื่อเป็นหลักประกันสำหรับอนาคตอีก 10 - 20 ปีข้างหน้า ที่จะทำให้ดีทแฮล์มยังอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี???

ดีทแฮล์มเป็นธุรกิจครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นมาโดย วิลแฮล์ม ไฮริช ดีทแฮล์ม (W.H.TIETHELM) ซึ่งเป็นชาวสวิสที่มีเลือดของความเป็นนักผจญภัยสูง เขาออกจากประเทศไปทำงานที่สิงคโปร์กับบริษัท HOOGLANDT ซึ่งเป็นบริษัทของคนสวิสด้วยกัน บริษัทนี้ทำธุรกิจนำเข้า และส่งออกดีทแฮล์มฝึกวิทยายุทธ อยู่ที่นี่ 17 ปีเต็ม ก่อนที่จะกลับไปจัดตั้งบริษัทดีทแฮล์มที่บ้านเกิด

บริษัทดีทแฮล์มถือกำเนิดขึ้นในปี 2430 หรือ 103 ปีมาแล้ว ทำธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าเดิมทีเจ้าของคือตระกูลดีทแฮล์ม แต่หลังจากปี 2457 แอนนาน้องสาวของวิลแฮล์ม แต่งงานกับ วิลลี่น้องชายของเอดูอาร์ด อันตัน เคลเลอร์ พี่ใหญ่ของตระกูลเคลเลอร์อันเป็นตระกูลพ่อค้าชาวสวิสซึ่งเชี่ยวชาญธุรกิจหลายประเภท โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ ทำให้สองตระกูลเกี่ยวดองกันและเข้าไปถือหุ้นซึ่งกันและกัน ดังจะพบว่าเมื่อกล่าวถึง ผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีทแฮล์มก็จะต้องบอกว่าเป็นตระกูลดีทแฮล์มและตระกูลเคลเลอร์ และร่วมกันทำธุรกิจอีกมากมาย อาทิในนิวยอร์ก อเมริกา,เมลเบอร์น ออสเตรเลีย ฯลฯ ทำให้ธุรกิจของทั้งสองตระกูลนี้ พุ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วขึ้นในด้านการบริหารจะพบว่าคนของตระกูลดีทแฮล์มที่ก้าวขึ้นเป็นประธานดีทแฮล์ม จะไปเป็นรองประธานในเคลเลอร์ และในทำนองกลับกันมาเป็นเวลายาวนานตราบจนปัจจุบัน จารีตนี้ก็ยังดำรงอยู่

ดีทแฮล์มในประเทศไทยอาจจะไม่เกิดขึ้น หาก W.H.DIETHELM ก่อตั้งดีทแฮล์มเชื่อรายงานของ W.WAGNER และ J.VAN LOGUIZEN ซึ่งถูกส่งมาศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนทำธุรกิจในเมืองไทยซึ่งสรุปว่าไม่น่ามาลงทุน เขาเชื่อสายตาตัวเองมากกว่าว่าเมืองไทยจะเป็นแหล่งที่นำสินค้าเข้ามาขายได้ดี เพื่อทดแทนภาวการณ์เสื่อมถอยในการนำเข้าของดีทแฮล์ม สาขาสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2441

ดีทแฮล์มประเทศไทยจึงถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2499 หลังจากที่เปิดสาขาที่เวียดนามไปแล้ว 3 ปี ตลอดระยะเวลา 84 ปีที่ผ่านมาผลประกอบการของดีทแฮล์มประเทศไทย คงเป็นข้อพิสูจน์กันอย่างดีว่า ผู้ก่อตั้งดีทแฮล์มมองการไกลเพียงใด

บริษัทดีทแฮล์มเข้ามาเมืองไทยในปลายรัชกาลที่ 5 ช่วงต่อรัชกาลที่ 6 ในห้วงเวลาที่ราชสำนักและราชนิกูลนิยมสินค้าต่างประเทศยุคนั้นเริ่มจะ MODERNIZATION กันบ้างแล้ว ดีท -แฮล์มบริษัทเชื้อสายสวิส เข้ามาพร้อมกับการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ไทยกับเจ้านครรัฐสวิส สินค้าที่ดีทแฮล์มนำเข้ามาจัดจำหน่าย ก็ค่อย ๆ ขยายตัว จากกลุ่มเป้าหมายราชนิกูลไปสู่ชนชั้นสูงของสังคม ระเรื่อยมา จนถึงชนชั้นกลาง อันเป็นไปตามพัฒนาการของสังคมไทย

แต่ปรากฏว่า ธุรกิจในระยะแรกต้องประสบกับภาวะวิกฤติอย่างหนัก!?

จากหนังสือประวัติของ บริษัทดีทแฮล์มซึ่งเขียนขึ้นโดย JACOB EGGENBERGER ในโอกาสครบรอบ 100ปี ซึ่งเขียนเป็นภาษเยอรมันอันเป็นภาษาที่คนสวัสนิยมใช้กันนั้น บันทึกสถานการณ์ธุรกิจในช่วงต้นของกิจการไว้ในหน้าที่ 95 ว่า " 5 ปีแรกธุรกิจประสบควาล้มเหลว อันเนื่องมาจากสาเหตุสำคัญที่ราคาสินค้าตกต่ำขณะที่สินค้าคงคลังเหลือเป็นจำนวนมากทำให้ขาดทุนอย่างหนัก การนำเข้าในขณะนั้นจำกัดอยู่ในสิ้นค้าสิ่งทอ, นม, บุหรี,หมวก, สีย้อมผ้า, แป้ง, ปลาซาร์ดีน ฯลฯ นมข้นหวานที่จำหน่ายขณะนั้นดีทแฮล์มสั่งมาจากบริษัทตัวแทนที่ชื่อ CADONAU ในสิงคโปร์ แต่ในปี 2457 เมื่อดีทแฮล์มทำยอดขายจาก 48 กระป๋อง ต่อปีกลายเป็น 30,000 กล่องต่อปี ทำให้เนสท์เล่ตัดสินใจเปิดสาขาของตัวเองขึ้นในกรุงเทพ เหตุการณ์ณ์ครั้งนั้นทำให้ดีทแฮล์มต้องสูญเสียธุรกิจที่สำคัญไป"

นั่นคือบทเรียนแรก ๆ ของดีทแฮล์มที่เรียนรู้จักความสูญเสียสินค้าในฐานะผู้จัดจำหน่าย แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ดีทแฮล์มรู้สึกว่าตนเองจะต้องเปลี่ยนแนวทางแต่อย่างใด

หากเราลองหลับตานึกภาพประเทศไทยเมื่อ 70 - 80 ปีก่อน ก็คงพอจะเทียบเคียงกับพม่าในปัจจุบันนี้ได้ ระบบเศรษฐกิจไทยภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองมาสู่การผลิตเพื่อขายมากขึ้นโดยลำดับ แต่คนไทยที่รู้จักใช้สินค้าอุปโภคบริโภคก็ยังนับว่าน้อยมาก ทำให้ตลาดสำหรับสินค้าประเภทนี้แคบมาก อีกทั้งประเทศไทยก็ยังไม่เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากนัก แรงดึงดูดของการที่บริษัทใหญ่ ๆ ในยุโรปหรือในอเมริกาที่จะเข้ามาลงทุนผลิตหรือจัดจำหน่ายสินค้าเองก็ย่อมน้อยไปด้วย

และบริษัทเล็ก ๆ ของชาสวิสในยุคนั้น อย่างเช่น ดีทแฮล์ม, เบอร์ลียุคเกอร์ ฯลฯ ที่เข้ามาเสี่ยงโชคก็มีโอกาสเกิดขึ้นมาท่ามกลางช่องว่างดังกล่าว

ดีทฉอล์มกลายเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้ามากมายหลายประเภท อาทิ โอวัลติน,นมตราหมี,ยารถยนต์กู๊ดเยียร์,กระชำระเดลซี่,ผ้าอนามัยโกเต็กซ์ ฯลฯ ดีทแฮล์มหลายเป็นบริษัทสารพัดค้าอันเป็นแหล่งรวมของสินค้าจากแทบทุกมุมโลก และเพื่อให้สินค้าที่ดีทแฮล์มขัดจขำหน่ายออกตัวเร็วขึ้น ดีทแฮล์มกลายเป็นบริษัทสารพัดค้าอันเป็นแหล่งรวมของสินค้าจากแทบทุกมุมโลก และเพื่อให้สินค้าที่ดีทแฮล์มจัดจำหน่ายออกตัวเร็วขึ้น ดีทแฮล์มใช้วิธีให้เช่าสินค้าบางประเภทเช่น จักยานยนต์,เครื่องพิมพ์ดีดี,จักรเย็บผ้า ฯลฯ วิธีการนี้ทำท่าว่าจะไปได้ดีในช่วงแรก แต่ต่อมากขาดทุนมากจนในที่สุดต้องเลิกไปในปี 2482

ดีทแฮล์มเป็นบริษัทฝรั่งผู้นำเข้ารายแรก ๆ ที่พยายามจะสร้างเครือข่วยการจัดจำหน่ายของตัวเองขึ้นมา ด้วยเหตุผลสำคัญสองประการที่ถูกยกขึ้นมากล่าวอ้างในหนังสือประวัติร้อยปีดีทแฮล์มว่า หนึ่ง - การสั่งสินค้าของผู้ค้าส่งชาวจีนกับผู้นำเข้าในช่วงปี 2473 - 2482 มักจะระบุจำนวนและราคาที่แน่นอน แต่การนำเข้าสินค้านั้นใช้เวลาหลายเดือน ราคาสินค้ามักจะสูงขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ค้าส่งชาวจีนฝ่ายเดียว สอง - การค้าส่งแทบทั้งหมดอยู่ในมือพ่อค้าคนจีน และผู้ค้าส่งชาวจีนเหล่านี้รวมกันหัวกันเรียกว่า "กงสี" เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองสูงขึ้นกับผู้นำเข้า นั่นทำให้ผู้ค้าส่งสามารถปล่อยเครดิตให้ผู้ค้าปลีกทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดได้ซึ่งดีทแฮล์มมองว่ามันเป็นเครดิตทีได้มาจากผู้นำเข้าโดยแท้ ดีทแฮล์มจึงพยายามสร้างเครือข่ายการขายที่ตรงไปที่ผู้ค้าปลีกทั้งในและค่างจังหวัด โดยไม่ผ่านผู้ค้าส่งขาวจีน โดยก้าวแรกดีทแฮล์มเริ่มกับการขายยางกู๊ดเยียร์ และพยายามที่จะมีโกดังสินค้าของตัวเองทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดหลายแห่ง

และนั่นทำให้ดีทแฮล์มได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งที่สุดบริษัทหนึ่ง !!!

มานิต รัตนสุวรรณ นักการตลาดที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการตลาด และเคยเป็นพนักงานของบริษัทดีทแฮล์มโฆษณาอยู่ประมาณปีหนึ่ง

"ผมคิดว่าดีทแฮล์มเป็นบริษัทที่ทำการตลาดอย่างมืออาชีพมาก เขามีระบบการจัดจำหน่ายที่แข็งมาก เซลส์ของเขานี่ชั้นหนึ่งเลยเพราะระบบของเขานี่เคี่ยวมาก ถ้าไม่ผ่านก็ไล่ออกเลย ดังนี้คนที่ผ่านงานที่ดีทแฮล์มมาแล้วจะเป็นที่ต้องการของตลาดมากเพราะถือว่าผ่านตัดศิลามาแล้ว แล้วเขาทำการคลาดครบยวงจรมาก เขาเป็นบริษัทแรก ๆ ที่มีฝ่ายโฆษณา และแยกออกมาตั้งเป็นบริษัทดีทแฮล์มโฆษณาในปี 2516 นอกจากนี้เขายังรบแบบใช้ทุกกระบวนท่านี่ ผมเจอมาแล้วสมัยผมอยู่โอสถสภาขายลูกอมโอเล่ ขณะที่ดีทแฮล์มเป็นเจ้าตลาดลูกอมฮอลล์ กระป๋องโอเล่นี่หายเป็นประจำต้องไปตามเก็บตามโวย ถ้าใครต้องแข่งกับดีทแฮล์มก็ต้องเหนื่อยหน่อยละครับ" มานิตเล่าให้ฟังถึงจุดแข็งของดีทแฮล์ม

ในด้านของการจัดการภายในของดีทแฮล์มมีจุดที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสองครั้ง ครั้งที่หนึ่งเมื่อปี 2510 ยุคที่มี W.SCHERRER (แชร์เลอร์) เป็นผู้จัดการทั่วไปดีทแฮล์มเป็นบริษัทแรกที่จ้างบริษัทคอนเซ้าท์แตนท์ของอังกฤษมาจัดการวางระบบการทำงานและการบริหารใหม่หมด ซึ่งเป็นเรื่องที่เสียค่าใช้จ่ายสูงมากและใหม่มากสำหรับยุคนั้น มันทำให้ดีทแฮล์มมีระบบการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น แต่น่าเสียดายที่หลังจากนั้นเพียง 4 ปี แชร์เลอร์หัวใจวายตายขณะที่ดำรงตำแหน่งในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งในปี 2519 ยุคที่ H.T.PIAS เป็นผู้จัดการทั่วไปหลังจากกลับจากการเข้าอบรมที่มหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด (ผู้จัดการทั่วไปดีทแฮล์มส่วนใหญ่จะถูกส่งเจ้าคอร์สที่นี่ก่อนจะมาเป็นผู้จัดการ) เขาเป็นผู้ที่นำเอาคามรู้เรื่องการใช้อัตราส่วนทางการเงินมาควบคุมการบริหาร ใช้ระบบงบประมาณเข้ามาควบคุม ทุกฝ่ายต้องคิดค่าใช้จ่ายหรืออะไรต่างเป็นอัตราส่วนหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนในดีทแฮล์ม แต่นับเป็นข่วงที่เหมาะมากสำหรับช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะอย่างเป็นก่อนที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สอง การมีระบบการเงินที่รัดกุมนับว่าเป็นประโยชน์มาก

ในฐานะบริษัทจัดจำหน่ายดีทแฮล์มได้พัฒนาทั้งระบบการจัดจำหน่ายและระบบการบริหารภายในขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้งจนได้รับการยอมรับว่าอยู่ในระดับเป็นมืออาชีพที่แข็งแกร่งที่สุดทีเดียว

แต่ท่ามกลางความแข็งแกร่งในการตลาดดีทแฮล์มก็มีจุดอ่อน

"จุดอ่อนที่สุดของดีทแฮล์มอยู่ที่การไม่ลงทุนด้านการผลิต" คือบทสรุปที่ตรงกันของบรรดานักการตลาดทั้งหลาย

ในปี 2501 ยุคที่จอมพลสฤษดิ์ ขึ้นครองอำนาจ ในตำแหน่งนายยกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคทมแห่งขาติและมีการก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนขึ้นเพื่อ ต้องการให้มีการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าโดยขึ้นภาษาสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงมากนั่น ส่งผลให้บริษัทนำเข้าต่างขาติหลายแห่งเช่น คอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย),ลีเวอร์บราเธอร์,คาโออินดัสเตรียล (ประเทศไทย) ฯลฯ แม้แต่บริษัทการตลาดในประเทศอย่างสหพัฒนพิบูลก็ลงสู่ภาคการผลิตเต็มตัว

กล่าวกันว่าดีทแฮล์มพยายามชักชวนพรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล ยักษ์ใหญ่สินค้าคอนซูเมอร์ของอเมริกาซึ่งดีทแฮล์มเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าหลายคัว เช่น ผงซักฟอกไทด์,สบู่คาร์เม ฯลฯ แต่พรอคเตอร์ไม่มั่นใจกับบรรยากาศการลงทุนในเมืองไทยในปัญหาทางการเมืองและเมื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครางการแล้วเขาประเมินว่าไม่คุ้ม เมื่อต้องข้างโรงงานในเมืองไทยผลิตต้นทุนย่อมจะแพงกว่า ในที่สุดพรอคเตอร์แอนด์แกมเบิลเก็บข้าวของกลับบ้านไป ดีทแฮล์มก็ไม่ได้ร่วมทุนกับยักษ์ที่หมายมั่นปั้นมือไว้ และยังชักชวนอีกหลายบริษัทให้ลงทุนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

เช่นนี้แล้วจึงไม่แหลที่ระยะ 80 กว่าปีในเมืองไทยนั้นดีทแฮล์มร่วมทุนกับบริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้าเพียง 4 บริษัทเท่านั้น ในอัตราส่วนการลงทุนที่น้อยและไม่ได้เป็นเจ้าของตรายี่ห้ออีกด้วย !!!

นั่นคือ 40% ในบริษัทคิมเบอร์ลี่คล้าก (ประเทศไทย) ซึ่งผลิตกระดาษขำระเดลซี่,คลีเน็กซ์,ผ้าอนามัยโกเต็กซ์ และบรรดาอนามัยภัณฑ์ทั้งหลาย,20% ในบริษัทชิลลิ่งตันผลิตขอบตราจระเข้,10% ในบริษัทเซลีบอสผลิตแบร์นยอซุปไก่

และในช่วงปี 2523 ดีทแฮล์มลงทุน 49% ในบริษัทดีแฮล์ม ฟาร์มาเต็มซึ่งร่วมทุนกับบริษัทโรส (ROCHE) ทำการผสมสารเคมีบางชนิดเพื่อเป็นวิตามินนอกจากนี้ยังมีการผลิตเกลือแร่สำหรับสัตว์

พิษณุ จงสถิตวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทยูไนเต็ดฟุตแวร์ อดีตเป็นผู้ที่เคยทำงานทั้งในบริษัทดีทแฮล์มและบริษัทเนสท์เล่วิจารณ์ประเด็นการลงทุนการผลิตกับ "ผู้จัดการว่า" ว่า

"บริษัทตัวแทนสมัยก่อนไม่นิยมลงทุน เพราะเขาได้กำไรจากการขายสบาย ๆ อยู่แล้วประมาณ 18% จับเสือมือเปล่าโดยไม่ต้องบงทุน ผมตั้งข้อสังเกตว่าในระยะสั้นอาจจะประสบความสำเร็จ แต่ระยะยาวจะมีปัญหาถ้าไม่ลงทุน อย่างที่เบอร์ลี่ยุคเกอร์ หรือบริษัทเครือข่ายของญี่ปุ่น ทำผมว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ที่ผ่านมาเขาลงทุนเพียงเล็กน้อย ผมว่าลึก ๆ แล้วเขาไม่เคยคิดจะลงทุนจริง ๆ ในเมืองไทย เจ้าของเขาอยู่สวิส ซึ่งอาจจะมาเมืองไทยปีละหนหรือไม่มาเลยก็ได้ เอาเม็ดเงินกลับอย่างเดียวไม่คิดจะลงทุน แม้แต่สำนักงาน 7 - 8 แห่งของเขาส่วนใหญ่ก็เช่าเอา"

และจากการเชื่อมกับความรู้สึกที่ว่าคนไทยที่ทำงานในดีแฮล์มเป็นเหมือนกัน "ประชาชนชั้นสอง" ต้องทำงานหนัก แต่ได้เงินเดือนน้อยกว่าฝรั่ง จอดรถในบริษัทก็ไม่ได้ แม้แต่ห้องน้ำก็ต้องแยกกันใช้เขาเชื่อว่ามันเป็นทัศนะแบบอาณานิคม !!

"คนไทยไม่โตในดีทแฮล์มนั้นผมกลัวว่าฝรั่งเขากลัวว่าคนไทยโตแล้วเขาจะไม่โต ตอนนี้แม้จะเอาคนไทยมาเป็นผู้จัดการฝ่ายเป็นครั้งแรกแต่ก็เป็นฝ่ายเล็ก ๆ แต่ผมว่าลึก ๆ แล้วเขายังไม่เปลี่ยนเขาก็คงต้องบีบ ๆ ไว้ มันเป็น COLONIAL THINKING" พิษณุสะท้อนวัฒนธรรมบางด้านของดีทแฮล์มที่ทำให้เขาตัดสินใจลาออกเพราะนอกจากเส้นทางเดินจะตีบตันสำหรับคนไทยแล้วยังมีความรู้แบ่งแยกอย่างชัดเจน

ผู้จัดการทั่วไป เรนาโต้ เพ็ดทรูซซี่ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของดีทแฮล์มในประเทศไทยคนใหม่ซึ่งเพิ่งรับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2532 แสดงความคิดเห็นว่าในประเด็นการลงทุนว่า

"ในอดีตก็มีหลายกรณีเช่นเช่นคิมเลอร์ลี่คล้ากแต่ถ้าถามว่าทำไมไม่มากผมก็ไม่ทราบเพราะไม่ได้เป็นผู้จัดการในตอนนั้น แล้วการจะร่วมทุนก็ไม่ใช่ว่าทำได้ง่าย ๆ ผู้ผลิตเขาต้องยอม ซึ่งบางทีเขาก็อยากจะผลิตของเขาเอง และการที่เราเป็นผู้จำหน่ายซึ่งสินค้าแต่ละชนิดก็มักจะทำกันมานานมาก การที่เราไม่ทำแน่นอน ถ้าจะผลิตก็ต้องทำสินค้าที่ไม่แข่งกับลูกค้าเราซึ่งผมก็มองว่าในเวลาที่ผ่านมามันโอกาสมาเหมือนกัน เช่นนาฬิกาซึ่งประเทศเรามีชื่อเสียงน่าจะทำกำไรดี แต่ทำไมเขาไม่ทำนั้น ผมก็ไม่รู้"

เหตุผลอีกด้านหนึ่งที่มองว่าการลงอาจจะยังไม่จำเป็นนักสำหรับดีทแฮล์มก็คือ ในประวัติศาสตร์ของดีทแฮล์มนั้น ยังมีสินค้ามาผ่านมือดีทแฮล์มตลอดอย่างไม่ขาดสายแม้ว่าจะมีสินค้าบางตัวที่ "หลุด" ไปบ้างในอดีต แต่ดีทแฮล์มก็สามารถหาสินค้าใหม่มาทดแทนได้ แม้แต่เหตุการณ์ที่ควรจะนำความสูญเสียอย่างมากสู่ดีทแฮล์มก็กลับกลายเป็นว่าดีทแฮล์มได้ลาภก้อนใหญ่ซึ่งภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ก็ต้องบอกว่า "ส้มหล่น"

ย้อนกลับไปในยุคที่เนสท์เล่ยังมีบริษัทจัดจำหน่ายจองตัวเองที่ชื่อโปรเนสยามซึ่งขายนมตราแหม่มทูนหัว,ไมโล,แลคโตเยน,เนสกาแฟ ฯลฯ ซึ่งขับเคี่ยวกันอย่างหนักกับดีทแฮล์มที่ชายนมตราหมี,โอวัลติน,ดีโก้ ฯลฯ ปรากฏว่าสินค้าของดีทแฮล์มชนะเนสท์เล่อย่างขาดลอย ผู้บริโภครู้จักโอวัลตินและนมตราหมีอย่างแพร่หลาย ก็มีเพียงเนสกาแฟเท่านั้นที่ทำท่าว่าจะไปได้ดี แต่กระนั้นดีทแฮล์มก็สู้ด้วยการนำกาแฟดีโก้จากเนเธอร์แลนด์ซึ่งดีแฮล์มโหมโฆษณาว่าเป็นกาแฟไม่เปรี้ยว นั่นก็เท่ากับเป็นการบอกผู้บริโภคทางอ้อมว่าเนสกาแฟเป็นกาแฟเปรียว ว่ากันว่าการแข่งขันในยุคนั้นเต็มไปด้วยความดุเดือด เป็นการแข่งขันในยุคนั้นเต็มไปด้วยความดุเดือด เป็นการแข่งจันที่สูสีกันมากหรือดีโก้อาจจะนำหน้าด้วยซ้ำไป ผลประกอบการของโปรเนสยามไม่สู้ดีประกอบกับมีปัญหาภายในบางประการทำให้โปรเนสยามอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ !!

ในช่วงที่ดีทแฮล์มกำลังเพลินกับมาร์เก็ตแชร์ 80% ของโอวัลตินและยอดขายจำนวนมากของนมตราหมีและกาแฟดีโก้ เนสท์เล่บริษัทผู้ผลิตอาหารที่ใหญ่ที่สุดจองโลก ก็ได้ทำการซื้อกิจการบริษัท URSIANA ผู้ผลิตนมตราหมีที่ประเทศสวิสในปี 2515 ส่งผลให้ดีทแฮล์มไม่สามารถชายนมตราหมีได้อีกต่อไปและรายได้หายไปทันที 180 ล้านบาท !!

ผู้จัดการฝ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคขณะนั้นคือ อรรถ เสนาสาร หรืออีกชื่อหนึ่งคือนาย "เซนเฮาเซอร์" ฝรั่งเชื้อชาติสวิสที่พูดไทยคล่องราวกับคนไทย (อ่านเรื่องราวของเขาจากล้อมกรอบ) และคณะผู้บริหารของดีทแฮล์มในยุคนั้นได้มีการหารือเรื่องนี้อย่างหนัก เพราะเนสท์เล่เป็นยักษ์ใหญ่ที่มีเครือข่ายการผลิตและการขายยุบยับไปทั่วโลก ที่สำคัญเนสท์เล่เป็นจอมซื้อ อนาคตอาจจะซื้อสินค้าที่ดีทแฮล์มขายอยู่ไปอีกก็ได้ ขณะที่ฝ่ายเนสท์เล่นั้นบริษัทจัดจำหน่ายของคนก็กำลังมีปัญหา และหากร่วมมือกับดีทแฮล์มก็เท่ากับหมดคู่แข่งสำคัญไปจึงมีการเจรจานั้นถือเป็นเรื่องที่ทำให้วงการค้าประหลาดใจไปตาม ๆ กัน และกลายเป็นข่าวใหญ่ต้นปี 2516 เมื่อศัตรูกลายมาเป็นมหามิตร!!

1 มกราคม 2516 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยในวันที่ 14 เดือนตุลาคม ดีทแฮล์มได้เซ็นสัญญากับเนสท์เล่ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าของเนสท์เล่ทั้งหมดในประเทศไทย โดยที่มีการยุบบริษัทโปรเนสยามโอนพนักงานกว่า 150 ชีวิตของโปรเนสยามมารวมอยู่กับดีทแฮล์ม ซึ่งดีทแฮล์มตั้งใยใหม่ที่ชื่อว่าผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งขายแต่สินค้าของเนสท์เล่เท่านั้น และผู้จัดการใยคนแรกก็คือ อรรถ เสนาสาร ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้และเขาเป็นผู้ที่เนสท์เล่ยอมรับในฝีมืออย่างมาก

ผลประโยชน์ที่ดีทแฮล์มได้นั้นไม่เพียงรักษานมตราหมีไว้ได้เท่านั้น หากแต่หมายถึงสินค้าทั้งหมดของเนสท์เล่ในขณะนั้นและในอนาคตอีกด้วย แต่สิ่งที่ดีทแฮล์มต้องสูญเสียไปคือโอวัลติน ซึ่งเป็นดีทแฮล์มเป็นผู้จัดจำหน่ายให้กับบริษัทวานเดอร์บริษัทชาวสวิสมาเป็นเวลานานถึง 25 ปี และปลุกปล้ำขึ้นมาขนโงดัง เพราะมันเป็นสินค้าที่ไปชนกับไมโลจองเนสท์เล่ ดีทแฮล์มจำใจต้องทิ้งไปแต่ก็เชื่อว่าคนสามารถที่จะสร้างไมโลขึ้นเทียบโอวัลตินได้ และ 16 ปี ต่อมาดีทแฮล์มก็พิสูจน์ว่าไมโลสามารถเอาชนะโอวัลตินได้เล็กน้อยในปี 2532 ด้วยส่วนแบ่งครองตลาดประมาณ 50% / 48% แม้ว่าสถานการณ์ในปี 2533 โอวัลตินจะกระเตื้องขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูสีกันแล้วก็ตาม

ฝ่ายผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งกลายเป็นฝ่ายใหม่ของดีทแฮล์มนั้นทวีความสำคัญขึ้นทุกขณะ กลายเป็นฝ่ายที่ทำรายได้สูงที่สุดจองดีทแฮล์มในระยะต่อมา ล่าสุดปี 2531 ทำรายได้ถึง 40% ยอดขายทั้งหมด

ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา หลังจากที่แต่งงานกันมา 16 ปี ทั้งสองฝ่ายก็ตัดสินใจแยกทางกันเดิน !!

การประกาศถอนตัวของเนสท์เล่เพื่อตั้งบริษัทขัดจำหน่ายเองซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 เมษายน 2532 โดยยกเอาทั้งฝ่ายออกไปนั้นมันก็คือขบวนการที่กลับกันกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2516 นั่นเอง แต่แทนที่ดีทแฮล์มจะได้กับเป็นฝ่ายเสีย

การแยกกันครั้งนี้มีการอรรถาธิบายกันในหลายลักษณ์ ตั้งแต่การเทคโอเวอร์แบบสายฟ้าแลบของเนสท์เล่,การวางแผนร่วมกันของสองบริษัทเพื่อครองความเป็นเจ้าตลาดให้มากขึ้น ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามมันไม่มีประโยชน์มากนักที่จะต้องมาอธิบายให้ยืดยาวถึงเบื้องหลัง เพราะใจกลางของเรื่องนี้มันก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ที่เมื่อมันจัดกันก็ต้องแยกกันไปตามวิถีทาง ผลสะเทือนที่ตามมาต่ออนาคตของทั้งสองบริษัทและวงการสินค้าอุปโภคบริโภคดูจะเป็นเรื่องที่น่าติดตามมากว่า

สำหรับเนสท์เล่โปรดักส์ (ไทยแลนด์) อินค์ ซึ่งเป็นบริษัทการตลาดใหม่ของกลุ่มเนสท์เล่ (ประเทศไทย) นั้นอนาคตค่อนข้างจะสดใส เพราะได้ทีมงานเก่าทั้งหมดพร้อมแม่ทัพคนสำคัญคือนายอรรถ เสนาสาร ซึ่งว่ากันว่าแม่ทัพคนนี้มีบทบาทอย่างสำคัญมากคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นอกจากนั้นเนสท์เท่มีฐานการผลิตที่แน่นหนาในประเทศไทยมาช้านาน และการสนับสนุนทุกด้านจากบริษัทแม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าดีทแฮล์มชนิดที่เทียบกันไม่ได้ สถานการณ์ไปตกหนักอยู่ที่ดีทแฮล์มซึ่งไม่มีฐานการผลิตของตัวเอง แล้วยังต้องมาแข่งกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเนสท์เล่อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของเพ็ตทรูซซี่การแยกกันครั้งนี้มันเป็นเหตุผลทางธุรกิจเขาบอกว่า

"การแยกกันครั้งนี้เราไม่ได้ทะเลาะกัน เรารู้อยู่แล้วว่าวันหนึ่งมันจะต้องเกิดขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นเพียงแห่งเดียวในโลกที่เนสท์เล่ให้คนอื่นขัดจำหน่าย มันเป็นการแยกกันอย่างเป็นมิตรที่เราคุยกันมา 2 ปีแล้ว ก่อนที่ตจะแยกกันจริง ๆ เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เราต้องคุยกันให้ชัดเจนว่าสตาฟฟ์จะทำอย่างไร ทรัพย์สินจะเอาไหม ตกลงว่าให้สตาฟฟ์ไปทั้งหมด เพราะวินาทีที่แยกกัน เราไม่เหลือสินค้าในฝ่ายนี้เลย เพราะคราบใดที่เรายังไม่ได้ประกาศเป็นทางการ เรายังไปติดต่อกับคนอื่นไม่ได้ ถ้าเราไปติดต่อกับคู่แข่งจองเนสท์เล่ เขาถามว่าทำไม เราก็ตอบไม่ได้ เราจึงไม่หาลูกค้าก่อนแยกเลย"

และการที่เนสท์เล่แยกออกไปนั้นแน่นอนว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้านั้นเห็นกันชัด ๆ อยู่แล้วแต่ดีทแฮล์มก็ใช่ว่าจะเสียอย่างเดียว ดีทแฮล์มได้หลายสิ่งหลายอย่างชนิดที่คนนอกบางทีก็มองไม่ออก

เพ็ตทรูซซี่อธิบายเพื่อให้เกิดความกระจ่างมากขึ้นมา

"เมื่อเราอยู่กับเนสท์เล่นั้นเราถูกมัดมือชกเขามีเพาวเวอร์สูงมาก บอกว่าอะไรทำไม่ได้ ก็ต้องไม่ได้ หลายครั้งที่เราอยากได้สินค้าหลายตัวมาขายแต่ก็ทำไม่ได้ มีหลายกรณีที่เราไปตกลงไว้เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจที่เนสท์เล่ไม่ได้ทำ แต่เนสท์เล่ก็บอกว่าเขาคิดว่าอาจจะทำในอนาคต ว บางครั้งเราเซ็นสัญญาไปแล้วยังต้องยกเลิกเลย ในปี 2531 เราเซ็นสัญญากับสหพัฒนพิบูลแทน เนสท์เล่บอกว่าขายไม่ได้ เพราะเขามีน้ำแร่ยี่ห้อหนึ่งในฝรั่งเศส อย่างเรื่องอาหารขบเคี้ยวก็เถียงกันนานนะ เนสท์เล่ไม่มี แต่เขาไม่ให้ทำ ผู้จัดการเนสท์เล่ขณะนั้นเจาโอเค แต่พอบาบิเออร์ผู้จัดการกลุ่มเนสท์เล่ก่อนปัจจุบันบอกทำไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่สัญญาจะเซ็นอยู่แล้ว อะไรที่ถือว่าเป็นของตั้งบนโต๊ะอาหารได้เขาถือเป็นอาหารหมด ทำไม่ได้ เราเหมือนเป็นอาณานิคม แล้วเจาไม่ยอมเปลี่ยนสไตล์เลย ถ้าเป็นแบบนี้ในที่สุดเราอาจจะไม่เหลืออะไรเลย เราต้องคิดว่า อนาคตข้างหน้าอีก 10 ปี จองดีทแฮล์มจะเป็นอย่างไรเราคิดว่าแยกกันดีกว่าเพราะจะทำให้เราเป็นอิสระเสียที"

มองในแง่นี้ก็หมายถึงการทำธุรกิจเมื่อมีได้ก็ย่อมมีเสียและดีทแฮล์มเลือกที่จะเสียเพื่อแลกกับเสรีภาพในทางเลือก การตัดสินใจนี้คือจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของดีทแฮล์ม

ยุทธศาสตร์ของดีทแฮล์มในปี 1990 จึงสร้างถนนทุกสายเพื่อมุ่งสู่ "การลงทุน" แม้มันจะไม่ใช่มาจากธาตุแท้หากเกิดจากภาวะที่บีบคั้นก็ตาม

ดีทแฮล์มตระหนักถึงปัญหาการขาดฐานผลิตของตัวเองอย่างจริงจังและก็ตัดสินใจว่าถึงเวลาแล้ว แม้จะช้ากว่าเขาอื่นแค่ก็คงยังไม่สายเกินไป

ดีทแฮล์มยุคใหม่ประกาศโครงการลงทุนนับสิบโครงการ ทั้งที่อยู่ในระหว่างการเจรจาและเริ่มลงมือแล้ว ดีทแฮล์มภายใต้การนำของเพ็ตทรูซซี่นั้นเป็นดีทแฮล์มที่เปิดตัวเองต่อสาธารณขนมากกว่าทุกยุคที่ผ่านมา ในอดีตคนทั่วไปมักตจะรู้จักสินค้าจองดีทแฮล์มมากว่าตัวดีทแฮล์ม นั่นอาจจะเป็นเพราะยุทธศาสตร์ที่เปลี่ยนไปและบุคลิกเฉพาะตัวของเพ็ตทรูซซี่เองที่เป็นคนเปิดเผยเห็นประโยชน์ของงานภาพพจน์บริษัท ที่สำคัญเขาไม่กลัวสื่อมวลชน ว่ากันว่าแท้ว่าเจาเพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียงปีเศษแต่ก็ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มากกว่าผู้จัดการทั่วไปทุกคน !

ดีทแฮล์มเปิดศักราชการลงทุนด้วยโครงการที่สร้างความประหลาดใจให้ผู้ที่รู้จักดีทแฮล์มดีคือก่อสร้างอาคารให้เข่าขนาดใหญ่บนที่ดิน 7.5 ไร่ริมถนนวิทยุช่วงที่คิดกับสถานทูตอเมริกัน (สถานที่ซึ่งฝ่ายจัดการ 3 คนไปยืนให้ช่างภาพ "ผู้จัดการ" ถ่ายมาเป็นภาพนำเรื่อง) ซึ่งซื้อมาในราคาถูกมากตั้งแต่ปี 2491 เอาไว้สำหรับเป็นที่พักของผู้จัดการทั่วไปของบริษัท มูลค่าที่ดินผืนนี้หากตีราคาในปัจจุบันนั้นคนในวงการที่ดินบอกว่าให้ราคาเท่ากับที่ดินของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดแบงก์ที่เพิ่งประมูลขายกันไปคือเกือบ 2 พันล้านบาท !!

โครงการนี้ชื่อว่า "วายเลสเซนเตอร์" ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาคารสำนักงาน 2 อาคาร สูงขนาด 16 และ 18 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยถึง 3 หมื่นตารางเมตร ให้บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เช่า โดยที่ดีทแฮล์มเองนั้นจะย้ายไปเฉพาะส่วนสำนักผู้จัดการทั่วไปและฝ่ายบริการกลางซึ่งดูแลด้านบัญชีการเงิน,กฎหมาย,บุคคลและทรัพย์สิน ส่วนฝ่ายงานอื่นอีก 7 - 8 แห่งยังคงอยู่ที่เดิม ซึ่งมีเพียง 2 แห่งที่เป็นของดีทแฮล์มเองนอกนั้นเป็นการเช่าทั้งสิ้น

เหตุผลของฝ่ายจัดการนั้นเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ค่าน้ำค่าไฟและอื่น ๆ ต่อตารางเมตรต่อเดือนของตึกใหม่ตกประมาณ 600 บาท ซึ่งแพงกว่าที่เดิมถึง 6 เท่าตัว และพนักงาน 40% ของดีทแฮล์มเป็นเซลส์ซึ่งอยู่ในที่ทำงานวันละชั่วโมงสองชั่วโมงหรืออกต่างจังหวัดหลายวันต่อเดือนการอยู่เพื่อให้สบายใจนั้นบางทันไม่คุ้มสู้เอาไปหาผลประโยชน์ที่เห็น ๆ อยู่แล้วดีกว่า ขณะที่ฝ่ายสหภาพแรงงานซึ่งตั้งมาถึง 17 ปีแล้วกลับมองประเด็นนี้เป็นเรื่องของการแยกและปกครองที่ต้องการให้พนักงานรวมตัวกันได้ หากมีปัญหาก็จะได้จัดการเป็น ส่วน ๆ ไป !!

โครงการนี้ใช้เวลาสร้างประมาณ 2 ปี เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปลายปี 2532 จะเสร็จในปี 2534 มองเชิงการลงทุนแล้วมันเป็นธุรกิจที่มีอนาคตมากแม้ว่าระยะเวลาในการคืนทุนจะใช้เวลาประมาณ 13 ปีแต่หลังจารกนั้นดีทแฮล์มจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปได้อีกนาน

ฝ่ายอาหารซึ่งดีทแฮล์มต้องกลับมาเริ่มต้นที่ศูนย์นั้นดีแฮล์หมายมั่นปั้นมือมากว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ แม้ว่าอาจจะไม่ยิ่งใหญ่เท่าเนสท์เล่แต่จะเป็นฝ่ายที่มีความสำคัญต่อดีทแฮล์มในอนาคต

แนวทางการสีร้างฝ่ายอาหารในส่วนนของหาสินค้านั้น เพ็ตทรูซซี่มีหลักซึ่งจัดลำดับความสำคัญดังนี้ หนึ่ง - ถ้าผลิตเองได้ซื้อโนว์ฮาวมาผลิตเองตั้งยี่ห้อเอง สอง - หาผู้ร่วมทุนแล้วถ้าสามารถมีลิขสิทธิ์ร่วมในยี่ห้อด้วยจะเป็นการดี สาม - หาสินค้าที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในตลาดแต่อาจจะให้ผู้จัดจำหน่ายรายอื่นทำตลาด สี่ - หาสินค้ายี่ห้อใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีในตลาด โดยที่ดีทแฮล์มจะเน้นหนักไปที่การเจาะตลาด FRESH PRODUCT,FASTFOOD และ CONVENIENCE FOOD

การลงทุนในลักษณะแรกนั้นค่อนข้างจะยากสักหน่อย เพราะบริษัทส่วนใหญ่มักจะอยากร่วมทุนมากกว่าขายโนว์ฮาว แต่ก็มีบางบริษัทที่ยอมเช่น ธุรกิจผลิตน้ำแร่ชื่อบริษัท VALSER WATER แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เซ็นสัญญา

แต่ที่เซ็นสัญญาและลงมือทำไปแล้วคือโครงการ "FOOD PRODUCT CENTER" ทำการผลิตโดยบริษัทดีทแฮล์มฟูดส์เซอร์วิส ซึ่งดีทแฮล์มลงทุน 100% ใช้เงินลงทุน 20 ล้านบาท ที่สำโรง โดยดีทแฮล์มขยับขยายตึกที่เดิมเป็นออฟฟิศให้กลายเป็นโรงงาน เครื่องจักรสั่งเข้ามาแล้ว จะเริ่มผลิตได้ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2533

ที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตขนมปัง,นม,ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ซึ่งดีทแฮล์มต้องซื้อโนว์ฮาวการผลิตมาจากบริษัทเดลิการ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเบเกอรี่โดยดีทแฮล์มจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่อยอดขายประมาณ 3 - 5% โดยที่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมาจากโรงงานจะใช้ชื่อเดลี่สวิส ไม่ใช่ เดลิการ์เพราะจากการทดสอบตลาด ปรากฏว่าคนยอมรับคำว่า "เดลี่วิส" มากกว่า ซึ่งดีทแฮล์มจะได้เป็นเข้าจองลิขสิทธิ์ในยี่ห้อนี้อย่างที่ปรารถนาแม้ว่าจะต้องเสีย "ค่าโง่" ไปบ้างก็ตาม

ธุรกิจที่จะมารองรับการผลิตนี้ก็คือร้าน FASH FOOD ชั้นดีที่ตั้งเป้าว่าจะเปิดให้ครบ 12 ร้านภายใน 2 ปี ซึ่งทุกร้านจะใช้ชื่อว่า "เดลี่วิส" (DELI SWISS) เหมือนกันหมด เพ็ตทรูซซี่ขยายความหน้าตาของธุรกิจใหม่ที่ดีทแฮล์มทั่วโลกยังไม่เคยทำว่า

"มันเหมือนกับเดลี่ฟรานซ์ในสิงคโปร์ นอกจากจะขายขนมปัง นม กาแฟ แล้วเรายังจะทำอาหารง่าย ๆ เช่น สปาเกตตี,แซนวิช ฯลฯ อาหารของเราจะมีคุณภาพระดับเดียวกับอาหารเช้าที่รีเจ้นท์หรือแชงกรี - ลา แต่ราคาจะถูกกว่า สถานที่เราจะเน้นอยู่ในอาคารสำนักงาน ขณะนี้เราเซ็นสัญญาไปแล้ว 4 แห่ง ที่จะเปิดเป็นแห่งแรกคือซีพีทาวเวอร์ในวันที่ 1 มิถุนายน ซึ่งระหว่างที่ศูนย์ผลิตของเรายังไม่พร้อมอาจจะต้องซื้อจากโรงแรมแชงกรี - ลา หรือรีเจ้นท์ อีก 3 แห่งคือบีบีทาวเวอร์ ซอยอโศก,เวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์และสีลมคอมเพล็กซ์ ระยะแรกเราต้องพิสูจน์ตัวเองก่อนว่าคุณภาพในระดับที่ลูกค้าพอไหม บางที่ความคิดเราอาจจะดี แต่ผู้บริโภคอาจจะไม่ยอมรับก็ได้ ด้านการบริหารนั้น เราดึงตัว MR.BUCATR ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงจากโรงแรมเพนนินซูล่า ฮ่องกงมาดูแล"

หากร้านเดลี่สวิสประสบความสำเร็จอนาคตดีทแฮล์มก็หวังว่าจะสามารถทำเป็นธุรกิจ แฟรนไชส์ไปต่างประเทศได้ และสำหรับศูนย์ผลิตอาหารนั้นดีทแฮล์มไม่ได้มองว่าจะเอาไว้เพียงเพื่อส่งขายให้กับร้านเดลี่สวิสเพียง 10 กว่าร่านเท่านั้นเป้าหมายใหญ่นั้นอยู่ที่โรงแรม,ภัตตาคารและสายการบิน ซึ่งดีทแฮล์มจะต้องลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิตอีกต่อไป ทั้งนี้ความสำเร็จหรือไม่ของเดลี่สวิสนับว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญมาก

ลงทุนในลักษณะที่สองคือหาผู้ร่วมทุนนั้นมีอยู่หลายโครางการแต่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาเช่นบริษัทแมสสต็อก แดรี่ส์จากประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเพิ่งเจ้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยเมื่อปี 2531 ทำนมสดพาสเจอร์ไรซ์ภายใต้ยี่ห้อคาเมลล่า ในด้านของฟรานซิส แมคคิเวอร์ผู้จัดการทั่วไปบริษัทแมสสต็อก แดรี่ส์เคยเปิดใจกับหนังสือพิมพ์ "ผู้จัดการรายสัปดาห์" ว่าการร่วมทุนจองทั้งสองฝ่ายจะพยายามให้เสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมีนาคมและแสดงความเห็นว่าการร่วมทุนครั้งนี้จะก่อให้เกิดผลดีแก่ทั้งสองฝ่าย เพราะแมสสต็อกฯเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารนม (FRESH FOOD) ส่วนดีทแฮล์มก็ชำนาญและมีประสบการณ์ด้านตลาดอาหารไทยมานาน

แต่ข่าล่าสุดขณะที่ "ผู้จัดการ" กำลังเขียนต้นฉบับนี้เดือนมิถุนายน การเจรจามีปัญหามากคาดว่าคงจะตกลงกันไม่ได้เพราะมีปัญหาเรื่องการตีราคาทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ากู๊ดวิลส์ของฝ่ายแมสสต็อกฯ ดีทแฮล์มก็คงต้องเจรจากับรายอื่น ๆ ต่อไป

อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ในระหว่างการเจรจาจากผู้ผลิตบักษ์ใหญ่เพื่อร่วมทุนเช่น บริษัท "บี เอส เอ็น" ซึ่งเป็นผู้ผลิตโยเกิร์ตและอาหารที่ใหญ่แห่งหนึ่งในฝรั่งเศส

นั่นคือการร่วมทุนที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมดนี้จะมีส่วนไปสนับสนุนโครงการ FOOD PRODUCT CENTER อย่างมาก

แนวทางที่สองนี้แม้ว่า ดีทแฮล์มจะไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย แต่การเข้าไปร่วมลงทุนด้วยก็เป็นหลักประกันได้ระดับหนึ่ง

แนวทางที่สาม คือการดึงสินค้าจากผู้จัดจำหน่ายอื่นนั้น มีการทำและเริ่มหน่ายแต่ต้นปี 2533 มาแล้วนั่นคือ ผลิตภัณฑ์ไฮนซ์ซึ่งมีซอสปรุงรสและอาหารเสริมสำหรับเด็กชนิดต่าง ๆ ซึ่งเดิมเบอร์ลี่เป็นผู้จัดจำหน่าย,อาหารกระป๋องของบริษัทซาฟโคล ซึ่งคริส แอล ชมิดผู้ดูแลแผนกอาหารกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เราไม่ได้ไปแย่งมาแต่มีการเปลี่ยนแปลงในบริษัทซาฟโคล (ประเทศไทย) ซึ่งเดิมเป็นการร่วมทุนระหว่างชาวออสซี่กับคนไทย ตอนหลังเกิดแยกกัน แล้วบริษัทออสเตรเลียต้องการหาผู้จัดจำหน่ายใหม่ ดีทแฮล์มก็เสนอเข้าไป หรืออย่างกรณีนมกล่องไวตามิลค์ที่เดิมเขาขายเองก็มาให้เราทำให้"

ส่วนแนวทางสุดท้ายในการนำสินค้ายี่ห้อใหม่เข้าสูตลาด เช่นกาแฟ,นมสำหรับทารก ฯลฯ ชณะนี้อยู่ในระวห่างการตัดสินใจว่าจะนำยี่ห้อใดเข้ามา

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่สามและสี่นั้นมีเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่อาจจะ "หลุด" จากดีทแฮล์มไปเมื่อสินค้าติดตลาด ซึ่งนับเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้บริหารดีทแฮล์มที่จะบริหารความเสี่ยงในสินค้าที่ดีทแฮล์มเป็นเจ้าของเองหรือร่วมทุนกับสินค้าที่ดีทแฮล์มเป็นเพียงเอเยนต์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ในด้านผู้นำที่จะมาสร้างฝ่ายอาหารนั้นเป็นปัญหาใหญ่ของดีทแฮล์มมาก เพราะคนทั้งหมดของดีทแฮล์มถูกย้ายไปหมดแล้ว หลังจากควานหาจนทั่วก็ไม่พบ ในที่สุดก็ไปขอยืมตัวคริส แอล ชมิด SENIOR VICE PRESIDENT ผู้ดูแลประเทศไทย ซึ่งอดีตเคยอยู่ประเทศไทยนานถึง 24 ปี เชี่ยวชาญตลาดในประเทศไทยเป็นอย่างดี (อ่านเรื่องราวของชมิดในล้อมกรอบ) ให้มาเป็นผู้ดูแลแผนกนี้ในฐานะที่ปรึกษาพิเศษ และสอนงานแก่กอดฟริด โทมาชาวเยอะมันซึ่งเป็นผู้จัดการภาคพื้นเอเชียของบริษัทคอนซูเมอร์แห่งหนึ่งจองเยอรมนี ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในฮ่องกง ดีทแฮล์มดึงตัวเขามาเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารคนใหม่

บทบาทของชมิดมีสองด้านใหญ่ ๆ คือ ฟอร์มทีมฝ่ายอาหารชึ้นใหม่ (โปรดดูโครางสร้างการจัดองค์กรของฝ่ายอาหาร) โดยถึงลูกน้องเก่าเข้ามาหลายคนเช่น อภิชัย สุระเฉลิมกุล วัย 46 ปี อดีตผู้จัดการฝ่ายขายของฝ่ายนี้ทั้งหมด ซึ่งเจาก็ถึงคนเข้ามาอีกหลายคน,สุปราณี วัฒยากร อายุ 34 ปี อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาวุโสของบริษัทบริสทอล ไมเยอร์ส มาเป็นผู้จัดการแผนกสินค้านมและยุค ซิงเกอร์ วัย 31 ปี อดีตเข้าหน้าที่ระดับเอกเซ็กคิวทีฟทางด้านพัฒนาตลาดของเนสท์ที่อินโดนิเซียมาเป็นผู้จัดการแผนกสินค้าไฮซ์ ซึ่งคนเหล่านี้อยู่ในระดับคีย์แมนที่สำคัญยิ่งในช่วงบุกเบิกบทบาทด้านที่สองที่สำคัญไม่แพ้กัน คือจะต้องพยามยามในการติดต่อนำสินค้าเข้ามาจัดจำหน่าย พร้อมทั้งติดต่อหาผู้ร่วมทุนในบางกรณีด้วย

ในด้านแนวทางสินค้านั้นซึ่งดูเหมือนกับว่าในระยะแรกจะยังไม่ชนกับเนสท์เล่จัง ๆ นัก ชมิดกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"เราเลือกสินค้าที่มอง่ว่าทำกำไรดี และมีอนาคตในระยะยาว ถ้าเราเลือกที่จะยังไม่ชนกับเนสท์เล่ได้ก็ดี แต่อีกไม่นานก็เจอเพราะเขาเป็นเข้าทางด้านอาหารมีสินค้ามากมายแต่เราก็คิดว่าตลาดมันโตขึ้นมากน่าจะไม่มีปัญหาสำหรับการเกิดของเราซึ่งมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายอย่างกว้างขวาง

แม้ว่า ดีทแฮล์มาจะมีความพยายามอย่างสูงในการสร้างแผนกอาหารขึ้นมา แต่ในสายตาของนักการตลาดที่รู้จักวงการอาหารอย่างดีแสดงความเห็นว่าดีทแฮล์ม คงจะกลับมายิ่งใหญ่อีกเป็นเรื่องที่ยากมาก

"ผมคิดว่าที่ดีทแฮล์มเป็นเข้าคตลาดเพราะเขาได้สินค้าที่ดีเหรือสินค้าที่มีขื่อเสียงอยู่แล้วอย่างเนสท์เล่ แล้วผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลกในเวลานี้มีอยู่เพียง 4 เจ้าคือ เจเนอรัลฟูดส์,ยูนิลิเวอร์,บีเอสเอ็น (ของฝรั่งเศส) และเนสท์เล่ ซึ่งแต่ละบริษัทก็จัดจำหน่ายเองหรือมีเอเยนต์อยู่แล้ว โอกาสที่ดีทแฮล์มจะไปดึงมายากมาก การไปหาสินค้าจากบริษัทเล็ก ๆ ก็จะต้องมาสร้างตลาดใหม่ซึ่งความเสี่ยงสูงว่าจะสำเร็จหรือไม่ แล้วการมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่ดีผมว่าช่วยได้ไม่เท่าไหร่ สมัยก่อนดีทแฮล์มยิ่งใหญ่บีบร้านค้าตลอดเวลาและเป็นแห่งเดียวที่เก็บเงินตรงเวลาตลอดเวลาการทำสิ่งนี้คิดว่าร้านค้าขอบดีทแฮล์มหรือ เขาคิดต่อกับดีทแฮล์มเพราะมีสินค้าให้เขาชาย แล้วไปบอกให้เขาช่วยเข็นสินค้าใหม่ ๆ ให้หน่อย เขาอาจจะไม่สนใจเพราะถ้ามันดังก็กลับมารอยเดิมอีก หลายคนบอกว่าสินค้าของดีทแฮล์มในอดีตนั้นเป็นสินค้าที่ผูกหางหมาก็ขายได้"

ดูเหมือนผู้บริหารของดีทแฮล์มจะเข้าใจข้อจำกัดของตัวเองในหลาย ๆ ด้านไม่น้อย เขาจึงไม่ได้ตั้งเป้าไว้สูงนัก ในปีแรกเพียง 200 ล้านบาทและภายใน 5 ปี ให้ถึงพันล้านบาท ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสินค้าที่ดีทแฮล์มจะหามาได้ในรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต

การลงทุนอย่างขนานใหญ่ของดีทแฮล์มนั้นมิได้จำกัดอยู่เพียงฝ่ายอาหารเท่านั้น เพราะดีทแฮล์มมีฝ่ายอื่น ๆ อีกถึง 7 ฝ่าย (ดูแผนผังการจัดองค์กรของดีทแฮล์ม) และบริษัทที่ดีทแฮล์มไปถือหุ้นอีกหลายบริษัท ซึ่งก็มีการลงทุนในหลายฝ่าย เช่นการร่วมทุนลงทุนสร้างรีสอร์ทที่ลำปางและมีโครงการต่อไปที่สุโขทัย ,ร่วมทุนผลิตกระเบื้องวีว่าและวีเท็กซ์,ตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยี่ห้อโอ.พี.จากอเมริกา ฯลฯ

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าดีทแฮล์มจะเข้าไปลงทุนในสินค้าทุกประเภทก็หาไม่ ผู้บริหาร ดีทแฮล์มยืนยันว่าจะไม่ลงทุนในสินค้าที่ให้ดีทแฮล์มจัดจำหน่ายอย่างแน่นอน ดีทแฮล์มจะลงทุนในฝ่ายอาหารมากที่สุดเนื่องจากไม่มีสินค้าของลูกค้าแล้ว และลงทุนในธุรกิจแขนงใหม่ที่มีความเป็นไปได้สูง ทั้งนี้ดีทแฮล์มจะพยายามทำในธุรกิจที่ตนเองชำนาญ

ความจริงแล้วการลงทุนต่าง ๆ เริ่มมา 2 - 3 ปี แล้วแต่ที่จะโหมลงทุนมากเป็นพิเศษคือจากปีนี้เป็นต้นไป

คำถามที่คนสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ การที่ดีทแฮล์มลงทุนในโครงการใหม่ ๆ มากมาย เช่นนี้ ซึ่งแต่ละโครงการใช้เงินจำนวนมากและกว่าจะคุ้มทุนในเวลาหลายปี มิทำให้บริษัทมีผลประกอบการที่ตกลงในระยะเฉพาะหน้าหรือ ?

โครงการลงทุนทั้งหมดซึ่งคงจะใช้เงินประมาณ 2 - 3 พันล้านบาทนั้น ดีทแฮล์มใช้วิธีการกู้เงินแทบทั้งสิ้น โดยใช้เงินทุนของตัวเองน้อยมากซึ่งผู้บริหารดีทแฮล์มบอกว่ามันเป็นสไตล์ของเขาที่ต้องการให้ภาระเงินกู้เป็นตัวบีบให้พวกเขาต้องทำงานหนัก แต่ในอีกด้านหนึ่งแสดงว่า ดีทแฮล์มไม่นิยมควักกระเป๋าตัวเอง ที่เขาทำเช่นนั้นได้ด้านหนึ่งก็คงเป็นเพราะเครดิตที่ดีในวงการธนาคารด้วย

กล่าวเฉพาะกรณีโครงการ "วายเลซ ทาว์เวอร์" ซึ่งใช้เงินลงทุนถึง 1,290 ล้านบาท ดีทแฮล์มต้องใช้เงินกู้ครึ่งหนึ่งจากสำนักงานใหญ่ในซูริคซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่า และอีกครึ่งหนึ่งกู้จากธนาคารทั้งในและต่างประเทศ และเงินหมุนเวียนบางส่วนน่าจะได้มากจากการโอนฝ่ายอาหารออกไปซึ่งสินค้าและทรัพย์สินต่างถูกแปรเป็นเงินสด

การเริ่มจะลงทุนอย่างมโหฬารในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะยาวนั้นถือเป็น THE GREAT TURNING POINT สำหรับดีทแฮล์มในเมืองไทย ซึ่ง เพ็ตทรูซซี่ผู้กุมบังเหียนนของดีทแฮล์มในประเทศไทยแสดงความรู้สึกกับ "ผู้จัดการ" ว่า

"โอกาสมันเปิดมากขึ้น แต่มันก็น่ากลัวขึ้น ความเสี่ยงมันมากขึ้นด้วย และเก้าอี้ผมอาจจะหลุดก็ได้ที่แน่ ๆ คือ เหนื่อยมากขึ้นอย่างเทียบไม่ถูก การร่วมทุนแต่ละโครงการไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย ต้องเจรจาลงรายละเอียดกันมาก และสัญญาหนาเป็นปึก ๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเนสท์เล่ไปซื้อ คาร์เนชั่นมาเราก็ได้ด้วยสบาย ๆ"

ดีทแฮล์มเป็นบริษัทจัดจำหน่ายมาก่อน ไม่มีความชำนาญด้านการผลิต จึงต้องอาศัย โนว์ฮาวของคนอื่นซึ่งหากได้ผู้ร่วมทุนไม่ได้เรื่องปัญหาอาจจะมาก หรือการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่คนเองไม่รู้จักเช่นการลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำบนเนื้อที่ 60 กว่าไร่ที่ปราณบุรี ซึ่งดีทแฮล์มทำการศึกษาในช่วงที่ตลาดมันบูม แต่กว่าจะลงมือทำราคามันก็ตกต่ำลงอย่างน่าใจหายเสียแล้ว ปัจจุบันแม้ว่ายังทำอยู่ แต่ดีทแฮล์ก็อยากที่จะชายทิ้งเสียมากกว่าผู้บริหาร ดีทแฮล์มยอมรับว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

บนถนนของการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ดีทแฮล์มไม่ชำนาญ คงต้องมีการลองผิดลองถูกกันอีกมาก

ดีทแฮล์มไม่มีทางเลือกมากนัก แม้ว่าการลงทุนจะอยู่ในท่ามกลางโอกาสและความเสี่ยงนานัปการดีทแฮล์มก็ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะต้องลงทุน

เพราะ มันเป็นการลงทุนเพื่อซื้ออนาคตโดยแท้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us