Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
ทางรถไฟยกระดับ             
 

   
related stories

โฮปเวลล์ หลอกกันเล่นหรือเปล่า?
โฮปเวลล์ ความฝันเพิ่งเริ่มต้น

   
search resources

โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โครงการทางรถไฟยกระดับ




ในขณะที่โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยใช้เวลาถึง 4 ปี ถึงจะลงเอย หากลุ่มผู้ลงทุนรับสัมปทานได้โครงการทางรถไฟยกระดับของการรถไฟแห่งประเทศไทยกลับเดินหน้าอย่างรวดเร็วใช้เวลาเพียงหกเดือน ก็ได้ตัวผู้ลงทุนคือ บริษัทโฮปเวลล์จากฮ่องกงเป็นผู้ก่อสร้าง

การรถไฟฯ เคยประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการนี้ตามมติครม.มาแล้วสองครั้งเมื่อเดือนเมษายนและกันยายน 2532 แต่เงื่อนไขที่สูงเกินไปทำให้ไม่มีใครสนใจเสนอตัวเข้ามา จนต้องมีการปรับปรุงเงื่อนไขการลงทุนใหม่ให้ผ่อนคลายกว่าเดิมและประกาศเชิญชวนอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว แต่ก็มีเพียงโฮปเวลล์เพียงรายเดียวที่เสนอตัวเข้ามา

การปลอดจากผู้แข่งขันทำให้ตัดประเด็นการแทรกซ้อนทางการเมืองดังเช่นกรณีของลาวาลินและเออีซีในโครงการรถไฟฟ้าออกไปได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้โครงการระดับหมื่นล้านบาทนี้วิ่งฉิวโดยราบรื่น

ขณะนี้การเจรจาในรายละเอียดระหว่างกระทรวงคมนาคมกับโฮปเวลล์เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการร่างสัญญาเพื่อเสนอความเห็นชอบจากกรมอัยการก่อนที่จะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

แต่โครงการขนาดใหญ่แบบนี้ถ้าผ่านตลอดตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่สะดุดอะไรก็เป็นเรื่องเหลือเชื่อว่าจะมีขึ้นได้ในประเทศไทย การเมืองในขั้นตอนการคัดเลือกอาจจะไม่มีแต่การเมืองในขั้นตอนการอนุมัติเพื่อทำสัญญาซึ่งต้องผ่านคณะรัฐมนตรีได้ตั้งเค้าขึ้นมาแล้ว

เป็นการเมืองเรื่องของความขัดแย้งระหว่างพรรคกิจสังคมซึ่งคุมกระทรวงคมนาคมอยู่โดยมนตรี พงษ์พานิช เจ้ากระทรวงกับพรรคชาติไทยที่กระทรวงมหาดไทยอยู่และมีการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัด

บรรหาญนั้นแสดงท่าทีออกมาอย่างชัดเจนแล้วว่าจะคัดค้านโครงการทางรถไฟยกระดับนี้ในครม. ด้วยเหตุผลว่าซ้ำซ้อนกับโครงการรถไฟฟ้าและโครงการทางด่วนขั้นที่สอง ยังมีข้อสงสัยในความเป็นไปได้ของโครงการนี้

ตามโครงการนี้ โฮปเวลล์จะลงทุนเป็นเงิน 75,000 - 80,000 ล้านบาท สร้างทางรถไฟยกระดับระยะทาง 63.3 กิโลเมตร โดยที่เหนือทางรถไฟขึ้นชั้นหนึ่งจะเป็นถนนสำหรับรถยนต์

การก่อสร้างจะแบ่งเป็นสองช่วงคือเส้นทางหลักซึ่งเป็นเส้นทางเดิมตามความต้องการของทางรถไฟระยะทาง 23.3 กิโลเมตรประกอบด้วยเส้นทางกรุงเทพ - บางซื่อ ยมราช - มักกะสัน มักกะสัน - แม่น้ำ และมักกะสัน - หัวหมาก

ส่วนอีก 40 กิโลเมตรที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นข้อเสนอของโฮปเวลล์เองที่จะขยายเส้นทางเพิ่มขึ้น โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 2 ปี โฮปเวลล์จะให้ผลตอบแทนแก่การรถไฟตลอดอายุสัมปทาน 40 ปีเป็นเงิน 88,751 ล้านบาทโดยมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟ 60 สตางค์ ต่อกิโลเมตรและการรถไฟให้สิทธิ์ในการพัฒนาที่ดินของการรถไฟที่หัวลำโพงบ้านพักพนักงานรถไฟสามเหลี่ยมจิตรลดา ชุมชนตึกแดงบางซื่อ และบ้านพักพนักงานรถไฟที่มักกะสันรวมพื้นที่ทั้งหมด 250 ไร่

ความเป็นไปได้ของโครงการนี้ประการแรกก็คือ เส้นทางที่จะสร้างนั้นทางรถไฟและทางรถยนต์เดินตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม การสร้างทางรถไฟยกระดับขึ้นใหม่นั้น ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่ต้องหยุดชะงักเมื่อมีขบวนรถไฟผ่าน แต่ไม่ได้คำนึงถึงเส้นทางการไหลเวียนและการขยายตัวของการจราจรทั่วปริมณฑลกรุงเทพมหานคร

ความหวังที่จะให้โครงการนี้เป็นกุญแจสำคัญแก้ไขการจราจร จึงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามกันอย่างจริงจัง มิพักต้องพูดถึงความจำเป็นของโครงการเมื่อพิจารณาถึงโครงการรถไฟฟ้าและทางด่วนขั้นที่สอง ของการทางที่กำลังจะเกิดขึ้น

ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือการจัดการทางด้านการเงิน ยังไม่มีรายละเอียดแน่ชัดดมากไปกว่าการออกข่าวว่าจะใช้เงินกู้ในประเทศในสัดส่วนครึ่งหนึ่งของเงินลงทุนทั้งหมด 70,000 - 80,000 ล้านบาท

โครงการรถไฟฟ้าตามข้อเสนอของกลุ่มเออีซีนั้นใช้เงินกู้ในประเทศ 12,500 ล้านบาท ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะดูดเงินในประเทศไปหมด ความเป็นไปได้ที่โฮปเวลล์จะใช้เงินมากกว่านี้เกือบ 3 เท่าตัว จึงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามกันอีกประเด็นหนึ่ง

ความเป็นไปได้ในสองประการนี้ เมื่อประกอบกับข้อแลกเปลี่ยนที่โฮปเวลล์จะได้จากการรถไฟคือ การพัฒนาที่ดินของการรถไฟนำไปสู่ข้อสังเกตว่าโครงการทางรถไฟยกระดับ อาจจะเป็นเพียงเรื่องบังหน้าที่เปิดทางให้โฮปเวลล์เข้าไปถือสิทธิ์ในที่ดินของการรถไฟ ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองและมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ข้อเสนอให้ย้ายสถานีหัวลำโพงไปอยู่ที่บางซื่อเพื่อนำที่ดินมาพัฒนาเป็นตัวอย่างหนึ่งในเจตนาของโฮปเวลล์

มนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คงต้องทำงานหนักอีกครั้งหนึ่งถ้าจะดันโครงการนี้ให้เกิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us