Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553
ดูมหกรรม Future cities ไร้เทียมทาน @Shanghai World Expo 2010             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
www resources

Bureau of International Expositions Homepage

   
search resources

BUREAU International des Exposition
Commercial and business




เดินทางพันลี้ไปมหานครเซี่ยงไฮ้กับบริษัท ปตท.เคมิคอล (PTTCH) นำโดยวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการและทีมงาน เพื่อไปดูงาน World Expo ทำให้ได้เห็นนานาประเทศที่เจริญแล้ว เขาตอบโจทย์เมืองใหม่ในอนาคตด้วยธีมหลัก “Better City, Better Life” ได้อย่างน่าทึ่ง และน่าเสียดายที่สิ้นเดือนตุลาคมก็จะสิ้นสุด World Expo 2010 หลังจากเปิดให้ชมตั้งแต่ 1 พฤษภาคมมาเป็นเวลา 184 วัน หรือหกเดือนกว่า

คงเหลือไว้แต่เพียง China Pavilion ที่ประเทศเจ้าภาพภูมิใจนำเสนออย่างยิ่งใหญ่ ที่สุด ท่ามกลางมวลมิตรนานาประเทศที่เข้าร่วมงานนี้ด้วย 200 ประเทศ ที่แข่งขันกันอวดของดีประเทศตนในงาน World Expo ซึ่งเปรียบเหมือน “The Olympic of Economic” โดยมีกรรมการคือชาวจีนพันล้านคนและคนทั่วโลกที่มาเยือนเป็นคนให้คะแนน

ขอบอกว่าสองวันที่ตระเวนดูพาวิลเลียน 11 ประเทศ ปรากฏว่าพาวิลเวียนของจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาเป็นที่ยอดนิยมมากๆ มีคนหนาแน่นต่อรอคิวยาวไม่ต่ำว่าสองชั่วโมงต่อหนึ่งประเทศ

แต่หลังจากเข้าคิวดูสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นแล้ว รู้สึกไม่เต็มอิ่มดังคาดหวังที่จะได้เห็นกระบวนทัศน์และเทคโนโลยีการนำเสนอธีม-better city, better life ที่น่าจะดีกว่าการฉาย หนังเด็กเป็นผู้นำสร้างโลกที่ตบท้ายด้วยคำกล่าวของประธานาธิบดีโอบามา สู้พาวิลเลียนของประเทศลักเซมเบิร์ก ที่เล็กมากแต่สร้างสรรค์นิทรรศการเมืองน่าอยู่แบบโดนใจสุดๆ ขณะที่ญี่ปุ่นจัดได้ไม่ดีเท่าที่ควร น่าเสียดายที่ไม่เลือกพาวิลเลียนของเกาหลีใต้ที่อยู่ใกล้ๆ แทน

ดังนั้น เป้าหมายสำคัญที่ต้องเข้าไปชมให้ได้คือ China Pavilion ซึ่งร่ำลือกันปากต่อปากว่า ถ้าใครพลาดชมพาวิลเลียนของจีน เท่ากับไปไม่ถึงงาน World Expo 2010 อย่างแท้ จริง?!

ทั้งนี้เพราะจีนได้ทำลายสถิติ การจัด World Expo ที่โลกเคยจัดงานนี้มากว่า 159 ปีหรือตั้งแต่ปี ค.ศ.1851 เป็นต้นมา เช่น ทุนสูงสุดสร้างงานนี้ถึง 4.2 แสนล้านหยวน ($58 billion รวมค่าสร้าง infrastructure) จำนวนประเทศเข้าร่วมมากถึง 200 ประเทศสูงกว่าที่ Hanover สมัยเยอรมนีและมีผู้ชมมากสุดถึง 70 ล้านคนกับพื้นที่มากที่สุดถึง 3,000 ไร่

โดยทุกครั้งที่จัดงาน World Expo ล้วนส่งเสริมการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วโลก

งาน The World Expo หรือชื่อเต็มคือ The World Exposition 2010 เป็นงานนิทรรศการระดับโลก จัดต่อเนื่องและหมุนเวียนประเทศเจ้าภาพที่เป็นภาคีสมาชิก ภายใต้ ลิขสิทธิ์การจัดงาน ซึ่งดูแลโดยสํานักงานมหกรรมโลก (Bureau of International Exposition: BIE) ที่มีหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดงานมหกรรมโลกเป็นประจำทุก 5 ปี

ก้าวแรกเริ่มที่จีนเคยส่งผ้าไหมไปอวดสายตาชาวโลกครั้งแรกที่งาน Philadelphia Expo ปี 1876 ซึ่งประเทศไทยมีศาลาไทยไปแสดงเช่นกัน ต่อมาในปี 2002 จีนเสนอตัว ชิงชัยชนะได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo ถัดจากญี่ปุ่นซึ่งจัดที่เมือง Aichi เมื่อปี 2005

ระยะเวลาแปดปี (2002-2010) จีนลงทุนเม็ดเงินมหาศาลหลักสี่แสนล้านหยวน เนรมิตมหานครเซี่ยงไฮ้ซึ่งมีพลเมืองจีนอยู่หนาแน่นถึง 14 ล้านคน ให้กลายเป็นพื้นที่ พิเศษ 3,000 ไร่หรือ 5.28 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานที่จัดงาน World Expo 2010 ในครั้งนี้

พื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำหวงผู่ (Huangpu river) ระหว่างสะพานหนานผู่ (Nanpu bridge) และสะพานหลูผู่ (Lupu bridge) เป็นที่ตั้งของ World Expo 2010 และจีนออกแบบโดยคำนึงถึงความเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม

จีนตั้งเป้าจำนวนผู้ชมไว้ 70 ล้านคน ซึ่งก็ไม่เกินจริง เพราะเพียงแค่พลเมืองจีนก็เกินพอ ไม่นับชาวต่างประเทศที่ต่างหลั่งไหลจากทั่วโลกมาชมมหกรรมนี้อีก

แต่ท่ามกลางปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ในสหัสวรรษใหม่ที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โลกตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป ถูกโจมตีรุนแรงตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 จนถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกา (Ham-burger Crisis) ซึ่งส่งผลรุนแรงกระทบไปทั่วโลก จนทำให้เป้าจากเดิม 241 ประเทศ เหลือราว 200 ประเทศที่ร่วมงานด้วย บาง ประเทศก็ปรับแผนจากสร้างเองเป็นเช่าพาวิลเลียนแทน

แต่จีนไม่เคยหยุดทำฝันอันยิ่งใหญ่ของโลกให้เป็นจริง ได้ใช้เวทีของ Shanghai World Expo 2010 เป็นศูนย์กลาง World Hotspot กระตุ้นให้นานาประเทศร่วมกันแสดงศักยภาพให้สามารถก้าวพ้นวิกฤติได้ด้วยเศรษฐกิจใหม่สร้างสรรค์ Innovation & Creativity ในธีมที่ว่าด้วย Better City, Better Life

ด้วยเหตุนี้ China Pavilion จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่คนทั่วโลกต้องการเข้าไป ชมให้ได้ แม้ว่าจะต้องยืนรอนั่งรอคิวยาวเหยียดถึงสองชั่วโมงกว่าก็ตาม แต่ก็คุ้มค่า

ด้วยรูปทรงและขนาดของสถาปัตยกรรม China Pavilion สีแดงเด่นสง่าสูง 63 เมตร ที่ข่มให้มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราต้องยำเกรงต่อฟ้าดิน นี่คือการใช้ภูมิปัญญาตะวันออกเก่าแก่กว่าสองพันปีสะท้อนจิตวิญญาณ สร้าง และออกแบบด้วยแนวคิดยิ่งใหญ่ สมดุลและสวยงามแบบ “Oriental Crown” รูปทรงหมวกทรงจีนโบราณและคล้ายภาชนะตวงข้าวกับวิธีก่อสร้างแบบ interlocking wooden ที่มีเอกลักษณ์ รวมทั้งการใช้สีแดงซึ่งเป็นอัตลักษณ์จีนที่เรียกว่า Gugong Red ไล่เฉดสีแดงของ China Pavilion ถึง 7 ระดับ จากสีแดงหนักจากพื้นขึ้นไปหาสีแดงสว่างเบายามต้องแสงอาทิตย์ที่เปลี่ยนไป

ครั้นก้าวย่างแรกที่เปิดออกสู่สายตา หลังก้าวออกจากลิฟต์ที่นำมาสู่ชั้นสามก่อนเป็นแห่งแรก คือ โซนแรก-Footprint ที่เป็น CORE EXHIBITION ที่แสดงความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมจีนจากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต

ดูการฉายหนัง Story of Spring ที่นำเอาคำสอนของขงจื๊อมาตีความ ให้เห็นชีวิตปัจจุบัน-เดินเข้าสู่ห้องใหญ่แสดงภาพและสิ่งของแห่งความทรงจำ วิถีชีวิต มหานครชาวปักกิ่ง เซินเจิ้น Wuhan เซี่ยงไฮ้-ครั้นเดินผ่านนิทรรศการหลักที่น่าทึ่งมากคือ River of Wisdom ที่ฉายภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณที่ยิ่งใหญ่ Qing Ming Shang He Tu มีความยาว 128 เมตรและสูง 6.5 เมตร แสดงภาพเคลื่อนไหวของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมโบราณริมแม่น้ำสายหลักของชาวเมือง “เปี้ยนจิง” หรือ “ไคฟง” ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง อันเป็นยุครุ่งเรืองหนึ่งของจีน

ใครได้เห็นเทคโนโลยี 4D ที่ทำให้แม่น้ำไหลรินมีชีวิตชีวาเสมือนจริงก็คงจะประทับใจ กับบรรยากาศ ขณะติดตามดูภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ที่เป็นมรดกแห่งชาติจีนอย่างเพลิดเพลินใจจนก้าวเข้าสู่ Land of Hope

นี่คือการตีความเมืองในฝันของจีนยุคใหม่ที่เริ่มจากคอนเซ็ปต์ Green Homeland ที่เต็มไปด้วยสีเขียวของป่า มุมหนึ่งจะเป็นนาข้าว Super rice ที่ออกรวงสีทองนับจากเริ่มปลูกเมื่อเริ่มงาน World Expo ถัดมาฉายภาพ Under the same roof ในคอนโดมิเนียมที่เดิม ต่างคนต่างอยู่ แต่พอทำใจให้โปร่ง เปิดกว้าง สังคมก็น่าอยู่ และตบท้ายด้วย Children’s Aspiration ที่ให้พื้นที่มากๆ สำหรับการแสดงภาพเขียนของเยาวชนจีนที่จัดไว้เรียงรายตลอด สองข้างโดยมีสัญลักษณ์นกกระดาษโผบินเหนือศีรษะ

จากนั้นก็ไปต่อคิวยาวที่ The Dialogue เพื่อนั่งรถขบวนเล็กๆ The Ride ที่แสดงศักยภาพการคมนาคมของจีนจากยุคโบราณสู่ยุคปัจจุบัน ซึ่งจีนมีรถไฟความเร็วสูงสุดในโลก (Meglev)

ส่วนสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ The vision ซึ่งจีนจัดนิทรรศการชื่อว่า Thematic Exhibition ตีความออกมาได้ 5 ประเด็น คือ Warming from Nature, Proper Exploration, Measured Consumption, Return to Simplicity และ Fountain of Illumination

ตัวชูโรงคือคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลกทุกวันนี้ นิทรรศการได้ดึงให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วม ข้อมูลดูง่ายและเข้าใจปัญหาและแก้ไขร่วมกันได้ โดยผู้ชมจะได้รับประสบการณ์โดยตรงหลากหลายวิธี บ้างก็ถ่ายรูปที่ตัวเอง แบกโลกที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เห็นพลังงานสะอาดที่กำเนิดจากลม แสงแดด ไบโอแก๊ส ถ่ายรูปกับรถเท่ๆ ที่ใช้ พลังงานสะอาด นอกจากนี้ยังมีจอสัมผัส ให้เรารู้ว่าแต่ละวันเวลาในชีวิตประจำวันสามารถลดคาร์บอนได้อย่างไรและคืนสู่ธรรมชาติที่เรียบง่าย

สุดท้ายจบลงด้วยความรื่นรมย์สวยงามที่ห้องดอกบัวที่มีน้ำพุเย็นฉ่ำหลั่งรินผู้ชมก่อนจาก China Pavilion นี้ไปยืนตากลมสบายใจบนดาดฟ้าลานโล่งของพาวิลเลียนจีนที่มองเห็นพาวิลเลียนต่างๆ ทั่วบริเวณงาน World Expo ที่เชื่อมต่อทาง ออกที่มองเห็น Expo Axis ซึ่งมีสถาปัตยกรรมโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของงานนี้ เพราะการออกแบบก่อสร้าง membrane roof ที่โครงข่ายหลังคาที่ครอบคลุมกว้างมากที่สุดถึง 65,000 ตารางเมตรเท่าที่เคยมีมา Expo Axis อาจจะเป็นหนึ่งในนวัตกรรมของการออกแบบและวัสดุก่อสร้าง สถาปัตยกรรมที่จีนเป็นผู้นำมาใช้สำหรับเมืองใหม่ในอนาคต ในขณะที่โลกใบเก่ายังล้าหลังและด้อยพัฒนา อะไรคือจุดสมดุล ที่ยั่งยืนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของคนในโลกใบนี้?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us