Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
ไทยแสทคืนชีพ             
 


   
search resources

Telecommunications
เอเชียแสท




วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 มนตรี พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องให้ไทยแสทเป็นผู้ลงทุนในโครงการดาวเทียมสื่อสาร ให้คณะรัฐตรีพิจารณาอนุมัติ

ปรากฏว่าพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายยกรัฐมนตรี ให้กระทรวงคมนาคมถอนเรื่องออกไปก่อนเพราะนายกรัฐมนตรีได้รับข้อมูลมาว่าโครงการส่งดาวเทียมเอเชียแสท อาจจะต้องล้มเลิกไป ไม่มีการยิงดาวเทียมตามกำหนด

ทุกคนงงกันอย่างมากกับท่าทีของพลเอกชาติชายในเรื่องนี้ และก็ไม่มีใครทราบต้นตอที่มาของข่าว ที่นายกรัฐมนตรีได้รับ

แม้จะไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดจากนายกรัฐมนตรี แต่คนในวงการกล่าวว่า อาจะเป็นเพราะสหรัฐจะไม่ส่งดาวเทียมให้จีน เนื่องจากขณะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไม่ค่อยราบรื่นนัก เกี่ยวกับเรื่องการปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

อีกประมาณ 4 เดือนถัดมา โครงการเอเชียแสทพิสูจนิคำพูดของนายกรัฐมนตรีไทย ด้วยการยิงดาวเทียมเอเชียแสทไปเมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา จากสถานีส่งดาวเทียมของจีน

บริษัทเอเชียแสท(ASIA SATELLITE TELECOMMUNICATIONS CO.LTD.) เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัทฮัทชิสัน วอมปาว (HUTCHISON WHAMPOA) กับบริษัทเคเบิลแอนด์ไวร์เลส(CABLE & WIRELESS) และซีทิค(CHINA INTERNATIONAL TRUST AND INVESTMENT CORPORATION) ลงขันฝ่ายละ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ มีวัตถุประสงค์ที่จะยิงดาวเทียม เพื่อการสื่อสาร ซึ่งก็คือดาวเทียมเอเชียแสทนี่เอง ทั้งนี้จะเน้นลูกค้าทางแถบเอเชียเป็นหลัก

ผู้บริหารของบริษัทกล่าวว่าประเทศลูกค้าจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 1.5 - 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี ต่อหนึ่งช่องสัญญาณ และหากมีผู้เช่าสัญญาณเต็มเท่าที่มีอยู่คือ 24 ช่อง บริษัทจะคืนทุนภายใน 4 ปี ทั้งนี้ดาวเทียมมีอายุการใช้งานทั้งสิ้น 10 - 12 ปี

ข่าวล่าสุดแจ้งว่า จากจำนวน 24 ช่องสัญญาณที่มีอยู่มีผู้เช่าไปแล้ว 16 ช่อง แต่ที่น่าสังเกตก็คือใน 16 ช่องนี้ ฮัทชิสันเทเลคอมมูนิเคชั่น(HUTCHISON TELECOMMUNICATION)บริษัทในเครือของฮัทชิสัน วอมปาว เป็นผู้เช่าสิทธิ์เพื่อไปให้เช่าช่วงต่ออีกที

ผู้สันทัดกรณีในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า การใช้เช่าช่องสัญญาณในมูลค่าช่องละ 1.5 - 2 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี สำหรับประเทศในเอเชียซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา นับว่าสูงมากและอาจยังจะไม่จำเป็นนักสำหรับหลายประเทศ ดังนั้น บริษัทเอเชียแสทโดยเฉพาะฮัทชิสันที่เหมาไป 12 ช่องสัญญาณคงต้องดำเนินกลยุทธ์อย่างหนักเพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่จะคืนทุนใน 4 ปี

ในไทยฮัทชิสันร่วมทุนกับบริษัทปิยะอนันต์ บริษัทล็อกซเล่ย์และบริษัทเคเบิ้ลแอนด์ไวร์เลส ตั้งบริษัทไทยแสทเพื่อเจรจากับรัฐบาลไทยในเรื่องดังกล่าว โดยไทยแสทจะเป็นผู้ลงทุน เช่าช่องสัญญาณและรับสัมปทาน แต่ไป ๆ มา ๆ ไทยก็กลับมีท่าทีไม่ชัดเจนเป็นอย่างมากนับแต่พลเอกชาติชายออกมากขวางในที่ประชุม ครม. ครั้งนั้น ทั้งที่ไทยน่าจะเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นลูกค้าในสายตาเอเชียแสท

ฮัทชิสันเป็นบริษัทของ "ลีกาชิง" มหาเศรษฐีระดับโลกชาวฮ่องกง ผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ บทบาทของฮัทชิสันในไทยล่าสุดก็คือได้รับสัมปทานเพ็จจิ้งทั่วประเทศจากองค์การโทรศัพท์

จากการเคลื่อนไหวทั้งหมดข้างต้น เชื่อได้เลยว่า เรื่องดาวเทียมเอเชียแสทคงต้องเข้าครม. อีกครั้งแน่ ๆ ไม่ช้าก็เร็ว!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us