|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ที่ผ่านๆ มาเราได้คุยถึง CG ในหลากหลายแบบ แต่ก็เป็น CG สำหรับอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป เช่น ซื้อมาขายไป หรือผลิตสินค้า พอดีช่วงนี้ผู้เขียนเห็นว่า เรื่อง Basel III ของแบงก์กำลังอินเทรนด์ พอๆ กับหุ้นธนาคารด้วย เลยทำให้นึกถึงอุตสาหกรรมธนาคารขึ้นมาได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีการดำเนินธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร ไม่ได้ซื้ออะไรมาขาย ไม่ได้ผลิตสินค้า แต่ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือเงินกู้ประเภทต่างๆ คือระดมเงินมาปล่อยกู้นั่นเอง
CG ของธนาคารจึงต้องแตกต่างไป จากกิจการแบบอื่นๆ เนื่องจากมีลักษณะการทำธุรกิจและโครงสร้างของผู้มีส่วนได้ เสียไม่เหมือนใคร
ความแตกต่างประการแรกคือแหล่งเงินทุนของแบงก์ จะมาจากหนี้สินค่อนข้างสูง (high leverage) เมื่อเทียบกับ กิจการแบบอื่น เนื่องจากที่มาของเงิน คือเงินฝากจากประชาชนซึ่งถือเป็นหนี้สินของธนาคาร แล้วจึงนำเงินฝากมาปล่อยกู้กินดอกเบี้ย ซึ่งเป็นรายได้หลักของธนาคารเจ้าหนี้หรือผู้ฝากเงินจึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ เสียมาก ซึ่งต่างจากกิจการแบบอื่น ที่ส่วนมากเราจะพูดกันถึงแต่ผู้ถือหุ้นเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กรายใหญ่ ก็แล้วแต่โครงสร้างของแต่ละกิจการ
นอกจากนั้นจะเห็นได้ว่าการนำเงินฝากมาปล่อยกู้ แหล่งที่มาของเงิน (เงิน ฝาก) กับการใช้เงินลงทุน (เงินปล่อยกู้) มี maturity ที่ไม่ค่อยจะไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากส่วนมากได้เงินฝากมาเป็นระยะสั้น ผู้ฝากจะมาถอนเงินคืนไปตอนไหนก็ได้ แต่เวลาปล่อยกู้มักเป็นระยะยาวกว่า ยังไม่ ครบกำหนดจะไปทวงคืนก็ไม่ได้ และยังต้องพึ่งความมั่นใจของผู้ฝากเงินอีก เพราะถ้าเกิดประชาชนผู้ฝากเงินเกิดไม่เชื่อมั่นในธนาคาร ก็อาจจะแห่กันมาถอนเงินไปหมด ทีนี้ธนาคารก็จะต้องเดือดร้อนแน่นอน
ประการที่สอง อุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อส่วนเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น เช่น ถ้ารัฐปล่อยให้ธนาคาร หนึ่งแห่งล้มละลาย ประชาชนเกิดตื่นกลัวความไม่แน่นอนของอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ แห่กันมาถอนเงินไปหมด ธนาคาร ที่ไม่ได้มีปัญหาก็จะประสบปัญหาไปด้วย ล้มตามกันไปเป็นโดมิโน และส่งผลกระทบ ไปวงกว้างถึงระดับเศรษฐกิจของชาติกันเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่ายามเกิดวิกฤติทางการเงิน ไม่ว่าจะที่ไหนในโลก จะต้มยำกุ้ง หรือจะแฮมเบอร์เกอร์ เมื่อธนาคารพาณิชย์เกิด จะมีอันเป็นไป เจ๊งไม่เป็นท่า รัฐบาลต้องออกมาช่วยเหลือเสมอ โดยใช้เงินภาษีของประชาชนมาอุ้มธนาคารเหล่านี้ เพราะเกรง ว่าหากธนาคารจะต้องมีอันเป็นไปจริงๆ จะ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สุดท้ายคนเดือดร้อนก็คือประชาชนผู้เสียภาษี (tax payer) จะต้องเอาเงินมาช่วยซึ่งพักหลังๆ ก็ชักจะเคืองๆ เพราะเวลาร่ำรวย ร่ำรวยกันในวงแคบ ผู้บริหารได้โบนัส ผู้ถือหุ้นได้กำไรทั้งจากเงินปันผลและ capital gain แต่เวลาเจ๊ง จะต้องมาเดือด ร้อนเงินของประชาชน ผู้ที่ไม่ค่อยจะมีส่วน ได้แต่กลับมีส่วนเสีย
ดังนั้น รัฐบาลจึงสนใจดูแลอุตสาหกรรมนี้เป็นพิเศษ จะปล่อยให้ล้มลุก คลุกคลานอย่างอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ได้ จึงมีการประกันเงินฝาก (deposit in-surance) เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้ฝากเงิน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์คนตื่นกลัว และแห่กันมาถอนเงินดังกล่าว
ถึงแม้ว่าการประกันเงินฝากจะมีข้อดีเพื่อลดปัญหาความไม่มั่นใจ หรือความตื่นตระหนกของผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะในสถานการณ์ไม่ปกติ แต่ในขณะเดียวกัน การประกันเงินฝากก็มีข้อเสีย คือการไปลด แรงจูงใจของผู้ฝากเงิน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเจ้าหนี้ ในการสอดส่องดูแลธนาคาร ซึ่งควร จะเป็นกลไกการควบคุมดูแลอันหนึ่ง แต่มีกลไกที่เข้ามาทดแทนคือหน่วยงานรัฐบาลที่เข้ามาประกันเงินฝาก เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่เพิ่มขึ้นมา และการมีการประกันเงินฝาก ยังทำให้ธนาคารไม่กลัวที่จะลงทุน หรือปล่อยกู้แบบเสี่ยงๆ เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเกรงว่าประชาชนจะแตกตื่น หรือเสียความมั่นใจ
ถ้าท่านผู้อ่านยังพอจำบทความในตอนแรกๆ ได้ จะเห็นได้ว่าตอนนี้จะเห็นความขัดแย้ง หรือ agency problems ระหว่างฝ่ายประชาชนผู้ฝากเงินและรัฐ กับฝ่ายธนาคาร ฝ่ายแรกไม่ต้องการความเสี่ยง เนื่องจากถ้าธนาคารล้มฝ่ายแรกจะเป็นผู้เสีย ประโยชน์ แต่ฝ่ายธนาคารต้องการเสี่ยงมาก กว่า เนื่องจากเสี่ยงมาก ก็หมายถึงผลตอบ แทนที่มากกว่าสำหรับธนาคาร
ประการสุดท้ายเป็นประเด็นเรื่องข้อมูล เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ของธนาคารเป็นข้อมูลที่ปิดบังกันได้ง่าย และซับซ้อน เช่น การที่ธนาคารเปิดเผยข้อมูลการปล่อยกู้ของตน ว่ามีความเสี่ยงแค่ไหน บรรยายเหตุผลสนับสนุนมากมาย ก็ยากที่คนภายนอกจะรับรู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หรือจะไปโต้แย้งได้ และยังมีข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่คนทั่วๆไปอย่างเราๆ แทบจะไม่เข้าใจ ยิ่งยุคนี้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ มากมาย และยิ่งซับซ้อนมากขึ้นๆ การบันทึกบัญชี และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็ยากที่จะเข้าใจสำหรับคนทั่วไป
ประเด็นนี้ทำให้ agency problems และ information asymmetry (ความไม่สมมาตรของข้อมูล คือผู้มีส่วนได้เสียสองฝ่ายมีข้อมูลไม่เท่ากัน) ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ธนาคารรู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ดี แบบไหนเสี่ยงต่ำ แบบไหนเสี่ยงสูง ในขณะที่บุคคลภายนอกรวมถึงรัฐ อาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจดีเท่ากับธนาคาร ยิ่งความเสี่ยงเป็นตัวแปรที่วัดได้ยากอยู่แล้วด้วย ซึ่งประเด็นนี้อาจจูงใจให้ผู้บริหารธนาคารเอาเปรียบผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายอื่นๆ ได้ง่ายๆ
ธนาคารบางแห่งในไทยยังมี agency problems ที่ซับซ้อนพิสดารแตกต่างจากที่อื่นๆ อีก เนื่องจากธนาคารที่มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นโดนแทรกแซงโดยข้าราชการ หรือนักการเมือง เช่น ใช้อำนาจทางราชการ หรืออิทธิพลทางการเมืองกดดันให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ให้กับพวกพ้องของตนเอง แทนที่จะให้กับลูกค้าซึ่งมีเครดิตที่ดีกว่า มีความเสี่ยงต่ำกว่า จึงเกิด agency problems ขึ้นมาอีกจุดหนึ่ง ระหว่างข้าราชการหรือนักการเมืองที่เน้นผลประโยชน์ของตนเองกับประชาชนผู้เสียภาษี ที่จะต้องรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
กลไกการควบคุมดูแลธนาคารโดยทั่วไป ส่วนหนึ่งก็ไม่แตกต่างจากกิจการอื่นๆ เนื่องจากมี agency problems ระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารหรือพนักงานเหมือนกัน คือจะต้องมีกลไกจูงใจผู้บริหาร และพนักงาน เช่น เงินโบนัส คอมมิชชั่น เพื่อให้มีแรงจูงใจไปในทางเดียว หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่ขัดกันกับผู้ถือหุ้น ต้องมีกรรมการอิสระ แต่จะต้องเข้มงวดมากยิ่งกว่า เนื่องจากมีผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ฝากเงิน ซึ่งเป็นประชาชนหมู่มาก รัฐ และประชาชน ผู้เสียภาษีมาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากถ้าธนาคารเกิดประสบปัญหา รัฐจะต้องเอาเงินผู้เสียภาษีมาช่วยเหลือ
ดังนั้น กฎเกณฑ์ของกรรมการอิสระ ผู้ตรวจสอบบัญชี และคณะกรรมการต่างๆ ของกิจการธนาคารก็จะมีมากกว่า เช่น บริษัทที่ลิสต์ในตลาดหลักทรัพย์ควรมีกรรมการบริหารความเสี่ยง คือแนะนำให้มี มีก็ดีไม่มีก็ได้ แต่สำหรับกิจการประเภทธนาคารจะถูกกำหนดให้มี ไม่มีไม่ได้
Basel I, II และ III เป็นส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) คณะกรรมการนี้มีสำนักงานเลขานุการอยู่ที่เมือง Basel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของการกำกับดูแลสถาบันการเงินทั่วโลก ป้องกันไม่ให้ธนาคารล้มละลาย จึงเป็นส่วนหนึ่งของ CG ของธนาคารด้วย
อย่าลืมติดตามภาคสองเรื่อง Basel III นะคะ
|
|
|
|
|