Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553
ภูมิภาคสร้างสรรค์ของ IBM             
 


   
www resources

IBM Homepage

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
Computer
วิบูลย์ ฐานันดรสุข




ถึงแม้จะยังไม่แน่ใจว่าอำนาจการตัดสินใจของลูกค้าธุรกิจจะกระจายตัวจากสำนักงานใหญ่ในเมืองหลวง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งไปสู่หัวเมืองอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง แต่ไอบีเอ็มก็ตัดสินใจแน่วแน่แล้วที่จะเดินกลยุทธ์ขยายธุรกิจสู่หัวเมือง หรือขยายสาขาของบริษัทออกนอกศูนย์กลางอย่างเมืองหลวงในทุกประเทศทั่วโลกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา และวางแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มเป็นเท่าตัวในอีก 3 ปีข้างหน้า

ไอบีเอ็มเปิดสาขาแรกในไทยายใต้แผน Geo Expansion City ที่เชียงใหม่ เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ด้วยสำนักงานขนาด 70 ตารางเมตร ประกอบด้วยพนักงานจำนวน 11 คน ทั้งฝ่ายเอ็นจิเนียร์ซัพพอร์ต ฝ่ายขาย และสเปเชียลลิสต์ ภายใต้การดูแลของวิบูลย์ ฐานันดรสุข ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจภูมิภาค ธุรกิจทั่วไป บริษัทไอบีเอ็ม ประเทศไทย รวมทั้งมีเป้าหมายว่าพนักงานส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนในภูมิภาคด้วยเช่นกัน

เพียงครึ่งปี ไอบีเอ็มไทยก็สามารถที่จะชักจูงให้ไอบีเอ็มอาเซียนเข้ามามีกิจกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ได้ ด้วยการจัด IBM Geo Academy and Regional Business Partner Summit ในขณะที่พันธมิตรของไอบีเอ็มในเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากกรุงเทพฯ นั้น ก็มีเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมงานด้วยนับพันคน ตั้งแต่พนักงานกว่า 700 คน จาก 100 พันธมิตร และดิสทริบิวเตอร์อีก 20 ราย รวมทั้ง ISV (Independent software vendor) อีกจำนวนหนึ่ง

รวมทั้งยังมีแผนงานที่จะมีทีมกิจกรรมของไอบีเอ็ม IBM Corporate Service Crops (CSC) ซึ่งคล้ายกับโครงการอาสาสมัครเพื่อสันติภาพ (Peace Corps) เข้ามาทำกิจกรรมที่เชียงใหม่ในปีหน้านี้

โดย 2 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งพนักงานที่มีศักยภาพสูงกว่า 20 ทีมจากทั่วทุกมุมโลกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซียมาแล้ว วัตถุประสงค์การทำงานของโครงการจะเน้นที่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

ทิม วอง รองประธานกลุ่มธุรกิจทั่วไป ไอบีเอ็มอาเซียนเปิดเผยว่า ตามโรด แมปของ Geo Expansion City นั้น นับจากปีนี้ไอบีเอ็มทุกประเทศทั่วโลก จะขยาย สู่หัวเมืองทั้งหมด หลายประเทศในหลายภูมิภาคมีแผนที่จะเพิ่มสาขาในภูมิภาคเป็นเท่าตัวภายใน 1-3 ปี ที่สำคัญเงินลงทุนของไอบีเอ็มส่วนมากจะปันมาที่ฝั่งอาเซียน เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจชัดเจน มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นตัวเลขสองหลัก ซึ่งไอบีเอ็มจัดให้โซนเอเชียเป็นกลุ่มประเทศ ที่กำลังเติบโต ต่างจากอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ที่ถือเป็นตลาดหลักที่อยู่ตัวแล้วและมีอัตราการเติบโตต่ำกว่า

สำหรับ 7 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไอบีเอ็มตั้งเป้าว่าจะมีจำนวนสาขาตามหัวเมืองต่างๆ รวมกัน 13 สาขาในปี 2556

“ในประเทศไทย ตอนนี้เรามีสาขาที่เชียงใหม่ และที่โคราชซึ่งเป็นสาขาแบบ Satellite คือไม่มีสาขาแต่มีคนไปทำงานถึงในพื้นที่ และมีแผนจะขยายเพิ่มอีก 5 จังหวัดภายในปี 2556 เราศึกษาทุกที่ แต่ที่กำหนดไว้ตอนนี้คือที่เชียงใหม่ปรับให้เป็นสาขาเต็มรูปแบบ ที่โคราชหรือนครราชสีมา พัทยา/ชลบุรี หาดใหญ่ และสุราษฎร์ธานี” กิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจทั่วไป ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

ขณะที่วิบูลย์กล่าวเพิ่มเติมว่า

“หัวเมืองที่กำหนดไว้เป็นตุ๊กตานี้ เรายังศึกษาเพิ่มเติมว่า ถึงแม้บางพื้นที่จะมีนิคมอุตสาหกรรมเยอะก็จริง แต่การตัดสินใจอยู่ที่ไหนเรายังเก็บข้อมูลอยู่ เพื่อดูว่าที่ไหนจะมีโอกาสที่ดีกว่า ถ้าสมมุติว่า 70% ของการตัดสินใจอยู่ที่กรุงเทพฯ ก็ไม่ต้องไปตั้งที่โน่นก็ได้ แต่ที่กำหนดไว้นั้นก็ เพื่อไปเริ่มต้นศึกษาข้อมูล ตอนเริ่มกำหนด เราก็มีข้อมูลระดับหนึ่งแล้ว ข้อมูลพวกนี้จะเป็นตัววัดให้เราตัดสินใจอีกที”

อุตสาหกรรมในภูมิภาคที่ไอบีเอ็มให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ค้าปลีก โรงแรม และการศึกษา ซึ่งเพียงสาขาแรกที่เชียงใหม่ก็พิสูจน์แล้วว่าทุกอุตสาหกรรม ที่กำหนดไว้นี้มีครบในภูมิภาค

“ตั้งแต่แรกที่ไอบีเอ็มมาเปิดสาขาที่นี่ เราก็ได้รับเชิญให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chiang Mai Creative City ซึ่งริเริ่มโดยผู้ว่าราชการจังหวัดที่ต้องการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ภาคเหนือและเชื่อมต่อกับประเทศใกล้เคียง อย่างจีน ลาว พม่า ในฐานะศูนย์กลางการค้า โลจิสติกส์ การศึกษา และสุขภาพหรือ Medical Hub” วิบูลย์กล่าวในฐานะตัวแทนผู้ดูแลไอบีเอ็ม เชียงใหม่

อีกด้านหนึ่ง ครีเอทีฟซิตี้ของเชียงใหม่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาช่วงโลว์ซีซั่นของการท่องเที่ยว ซึ่งด้วยศักยภาพของเชียงใหม่ที่มีอยู่น่าจะพัฒนาเพื่อหารายได้เสริมจากการท่องเที่ยวได้ไม่ยาก

3 เรื่องที่ถูกกำหนดไว้ใน Theme ที่คิดกันไว้ และรอการประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อกำหนดให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ก็คือการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านสาธารณสุข หรือ Medical Hub การเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ ในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจีนตอนใต้ พม่า ลาว เวียดนาม และไทย และการพัฒนาฝีมือและบุคลาการเพื่อสนับสนุนการเป็น Digital Hub

“ที่ผ่านมารายได้ของเชียงใหม่อิงกับการท่องเที่ยว ถ้าเสริมศักยภาพเหล่านี้ก็น่าจะทำให้เมืองมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกหลาย ด้าน” วิบูลย์คอนเฟิร์ม

ปัจจุบันเชียงใหม่มีประชากรราว 1.6 ล้านคน มีสถาบันการศึกษาระดับอุดม ศึกษา 9 แห่ง อาชีวศึกษา 8 แห่ง แต่ละปีมีการผลิตนักศึกษาด้านไอทีเกือบ 2 พัน คน ขณะที่ด้านสถานพยาบาลเฉพาะในเชียงใหม่มีบริการด้านสาธารณสุขจำนวน 47 แห่ง มีรายได้จากการท่องเที่ยว 3.8 หมื่นล้านบาท จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน ตัวเลขนี้ยังไม่รวมกับอีก 7 จังหวัดที่เหลือในภาคเหนือ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนสู่การเป็นฮับในด้านต่างๆ ที่กำหนดไว้ไม่ยากเลย

ด้วยความพร้อมในเบื้องต้น แม้เชียงใหม่ครีเอทีฟซิตี้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็พอจะเริ่มเห็นเค้าราง อีกทั้งกลุ่มความร่วมมือก็มีด้วยกันหลายฝ่ายที่พร้อมจะทำให้โครงการนี้เป็นจริง ทั้งส่วนของจังหวัด สถานกงสุลสหรัฐฯ ในเชียงใหม่ สภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่ สภาหอการค้าเชียงใหม่ และสถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนอร์ธ เชียงใหม่ และบริษัทเอกชน ซึ่งในนั้นคือไอบีเอ็มที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งใน Chiang Mai Creative City Steering Committee ในครั้งนี้ด้วย

“โครงการยังไม่เกิด แต่ตอนนี้เราก็คงพอเห็นภาพบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชั้นนำในเมืองเชียงใหม่ก็พัฒนาเทียบเท่าโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ อยู่แล้ว ตอนนี้โครงการเป็นแค่ Theme work หลังประชุมอย่างเป็นทางการอีกครั้งน่าจะเห็นเป็นรูปธรรมชัดขึ้น ตามแผนต้องเกิดภาย ในปี 2556” วิบูลย์กล่าว

ซึ่งนั่นเท่ากับสาขาเชียงใหม่ก็จะพัฒนาเป็นสาขาเต็มรูปแบบอย่างมั่นคงแล้วเช่นกัน

ส่วนบทบาทของไอบีเอ็มที่จะร่วมสร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างไรนั้น วิบูลย์ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า ที่เห็นชัดที่สุดก็คือกรณีของการพัฒนาสู่การเป็นเมดิคัลฮับ ซึ่งไอบีเอ็มทำงานร่วมกับโรงพยาบาลมาแล้วในหลายประเทศทั่วโลกกว่า 4 พันคน ซึ่งประสบการณ์ที่มีจะช่วยดึงความรู้จากประเทศอื่นมาประยุกต์ใช้กับที่เชียงใหม่ ได้ทันที

“ขณะที่ด้านดิจิตอลมีเดีย ที่นี่มีบริษัทแอนิเมชั่นรายใหญ่ เวลาเขารับคนก็ต้องมาเทรนใหม่ เราก็จะเป็นส่วนใช้ไอที เพื่อพัฒนาฝีมือให้คนท้องถิ่นให้สามารถทำงานได้หลังเรียนจบ ถือเป็นการสร้างงานให้เกิดในพื้นที่อีกทางหนึ่ง”

ความคุ้นเคยของไอบีเอ็มที่จะขยายตลาดลงสู่ภูมิภาค คงไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง เพราะอย่างน้อยไอบีเอ็มเป็นกลุ่มที่คุ้นเคยกับกลุ่มประเทศอาเซียนและมีอายุการลงทุนนานกว่า 70 ปี เฉพาะในประเทศปีนี้ก็เป็นปีที่ 58 แล้ว ภูมิภาคที่รู้จักก็คงไม่ต่างจะพื้นที่ข้างบ้านที่คุ้นเคยอยู่แล้วเป็นอย่างดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us