นิญเถวิ่นเป็นจังหวัดชายทะเล อยู่ในเขตภาคกลางตอนล่างของเวียดนาม
ภูมิศาสตร์ในส่วนแผ่นดินใหญ่ จังหวัดนิญเถวิ่น ตั้งอยู่ภายในเขตเส้นรุ้ง 11 ํ18’-11 ํ10’ เหนือ และเส้นแวง 108 ํ 39’-109 ํ14’ ตะวันออก
- ทิศเหนือติดจังหวัดค้าญหว่า
- ทิศใต้ติดจังหวัดบิ่ญเถวิ่น
- ทิศตะวันตกติดจังหวัดเลิมโด่ง
- ทิศตะวันออกมีฝั่งทะเลยาว 105 กม.
จังหวัดนิญเถวิ่น ล้อมรอบด้วยภูเขาสามด้านและด้านหนึ่งติดทะเล ทิศตะวันตกเป็นเขตภูเขาสูงติดนครด่าหลาต (จังหวัดเลิมโด่ง) ทิศเหนือและทิศใต้มีเทือกเขาสองเทือกยื่นออกสู่ทะเล ระหว่างจังหวัดและชายทะเลเป็นเขตที่ราบแห้งแล้ง จึงได้รับสมญานามว่าพื้นที่ตะวันตกไกลของเวียดนาม เนื้อที่ของจังหวัดเป็นเขตภูเขาสูง 63.2% เขตเนินเขา 15.4% และเขตที่ราบ 22.4%
จังหวัดนิญเถวิ่น มีแม่น้ำลำธารหลายสาย แต่สายใหญ่ที่สุดคือแม่น้ำก๊าย ถ้านับทั้งปากแม่น้ำต่างๆ คือ แม่น้ำเมลาม แม่น้ำสัต แม่น้ำอง แม่น้ำจ๊า แม่น้ำลู และแม่น้ำกวาว ระบบแม่น้ำก๊าย ก็จะมีความยาว 246 กม. นอกจากระบบนี้ จังหวัดนิญเถวิ่น ยังมีแม่น้ำอีกบางสายเช่น แม่น้ำเตริว แม่น้ำกว๊านแถ แม่น้ำบ่าเริวด้วยความยาวรวม 184 กม.
เนื้อที่ รวมทั้งจังหวัด 336,308.24 เฮกตาร์ แบ่งเป็น
- ที่ดินอยู่อาศัย 2,681 เฮกตาร์
- ที่ดินเกษตรกรรม 60,373 เฮกตาร์
- ที่ดินป่าไม้ 157,302 เฮกตาร์
- ที่ดินใช้เฉพาะ 11,518 เฮกตาร์
- ที่ดินยังไม่ใช้ 104,132 เฮกตาร์
ประชากร 573,925 คน (สำรวจ 10 มิถุนายน 2552)
การบริหาร จังหวัดนิญเถวิ่น ประกอบด้วย 1 นครและ 6 อำเภอ
1. นครฟานราง-ทาปจ่าม มี 15 ย่านและ 1 ตำบล
2. อำเภอบ๊ากอ๊าย มี 9 ตำบล
3. อำเภอนิญเถวิ่น มี 1 เมืองและ 7 ตำบล
4. อำเภอนิญเฟือก มี 1 เมืองและ 8 ตำบล
5. อำเภอนิญเซิน มี 1 เมืองและ 7 ตำบล
6. อำเภอเถวิ่นบั๊ก มี 6 ตำบล
7. อำเภอเถวิ่นนาม มี 8 ตำบล
(รวมทั่วทั้งจังหวัดนิญเถวิ่น มี 64 หน่วยบริหารระดับตำบล ประกอบด้วย 46 ตำบล 15 ย่าน และ 3 เมือง)
ประวัติ
วันที่ 20 พฤษภาคม 2444 ผู้มีอำนาจเต็มอินโดจีน ออกกฤษฎีกาก่อตั้งจังหวัดฟานราง เมืองเอกก็คือฟานราง
ปี 2456 ยกเลิกจังหวัดฟานราง ส่วนทิศเหนือผนวกเข้าจังหวัดค้าญหว่า ส่วนทิศใต้อยู่ในจังหวัดบิ่ญเถวิ่น ปี 2501 จังหวัดนิญเถวิ่น ประกอบด้วย 3 อำเภอ(24 ตำบล) คืออำเภอทาญหาย อำเภออานเฟือก อำเภอบื๋วเซิน
ก่อน 16 เมษายน 2518 จังหวัดนิญเถวิ่น ประกอบด้วย 5 เขต คือ เขตทาญหาย เขตอานเฟือก เขตบื๋วเซิน เขตยูลอง และเขตซงฟา
หลัง 30 เ.มษายน 2518 ได้มีการผนวกนิญเถวิ่นกับบิ่ญเถวิ่น เตวียนดึ๊ก เลิมโด่ง เป็นจังหวัดเถวิ่นเลิม
เดือนกุมภาพันธ์ 2519 ให้รวมจังหวัดนิญเถวิ่น บิ่ญเถวิ่น และบิ่ญตุย ตั้งเป็นจังหวัดเถวิ่นหาย
วันที่ 26 ธันวาคม 2534 มติที่ประชุมรัฐสภาสมัยที่ 8 ครั้งที่ 10 ให้แบ่งจังหวัดเถวิ่นหาย เป็น 2 จังหวัดคือจังหวัดบิ่ญเถวิ่น และจังหวัดนิญเถวิ่น
พลเมือง-วัฒนธรรม จังหวัดนิญเถวิ่น เป็นพื้นที่ดำรงชีพของคนเวียดนามโบราณพื้นที่หนึ่ง นักโบราณคดีได้ขุดพบโบราณวัตถุมากมายที่เญินหาย กระดูกคนโบราณพร้อมด้วยเครื่องใช้ทำด้วยหินหรือเหล็ก อยู่ในอารยธรรมซาหวิ่ญ ห่างจากปัจจุบันประมาณ 2,500 ปี นิญเถวิ่น ยังเป็นสถานที่เก็บรักษามรดกมีค่าของวัฒนธรรมจัมปา ประกอบด้วยตัวหนังสือ เพลงพื้นเมือง และศิลปะฟ้อนรำ การแต่งกาย และอาชีพทอผ้าด้วยมือ ศิลปะสถาปัตยกรรม และรูปแกะสลัก
เศรษฐกิจ จังหวัดนิญเถวิ่น มีเขตน่านน้ำทะเลกว้าง 18,000 ตร.กม. เป็นพื้นที่ประมงสำคัญแห่งหนึ่งของเวียดนามด้วยสัตว์น้ำ 500 ชนิด อนุญาตให้จับได้ปีละ 5-6 หมื่นตัน จังหวัดนิญเถวิ่น เป็นท้องถิ่นผลิตเกลือใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยปริมาณการผลิต 130,000 ตัน/ปี มีโรงงานผลิตเกลือขนาดใหญ่ เช่น โรงงานก่าน้า โรงงานเฟืองกึ่ว
นอกจากนั้นการท่องที่ยวก็เป็นศักยภาพของจังหวัดด้วยชายทะเลสวยงาม
ข้อมูลจาก Wikipedia ภาษาเวียดนาม วันที่ 4 กันยายน 2553
|