Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
"เรดาร์จะเป็นหัวใจแก้ปัญหาความแออัดการจราจรทางอากาศ"             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล ร.อ.เผด็จ ลิมปิสวัสดิ์

   
search resources

Aviation
เผด็จ ลิมปิสวัสดิ์




สภาพการจราจรอากาศที่หนาแน่นในขณะนี้ เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ จะเห็นว่าจากตัวเลขของเที่ยวบินที่เราคิดว่าจะเพิ่มขึ้น 8 - 10% กลับเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 20% ในปี 2529 มีเที่ยวบินทั้งหมด 100,122 เที่ยว พอมาถึงปี 2531 เพิ่มเป็น 126,678 เที่ยว ปี 2532 สูงถึง 154,581 เที่ยว และปีนี้จะมีจำนวนสูงขึ้นเป็น 200,000 เที่ยว และในปี 2543 จะขยายตัวเป็น 3 เท่าของขณะนี้

ทำให้การแบ่งเส้นทางการบิน ที่เราแบ่งเป็น 4 สายคือ ภาคใต้ ภาคเหนือ - ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก - ตะวันออกเฉียงใต้ และทางทะเลจีนใต้ เริ่มหนาแน่น เพราะเที่ยวบินมีมาก

ไม่ได้หมายความว่า CONTROLLER จะดูและไม่ให้เครื่องบินชนกันไม่ได้ แต่การคุมเครื่องบินจะต้องมีการติดต่อ คือพูดกับนักบินตลอดเวลา อีกเครื่องหนึ่งก็ต้องรอเพียงแค่ 1 นาทีก็บินไปแล้ว 8 ไมล์ทะเล จะขึ้นจะลงก็ไม่ใช่ว่าจะจอดรอได้ จึงจะให้มีการแบ่งเส้นทางบินเพิ่มอีก 1 สายโดยแยกจากเส้นทางภาคใต้ออกไปในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้การควบคุมการจราจรทางอากาศ และการบินได้ประสิทธิภาพขึ้น

เราจะเห็นว่าเที่ยวบินต่าง ๆ ในขณะนี้เพิ่มขึ้นมาก เฉพาะไทย การบินไทยซื้อเครื่องบิน 18 ลำ สิงคโปร์แอร์ไลน์ส 40 - 50 ลำ ยังไม่รวมประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในย่านเดียวกันอีกประมาณ 200 เครื่อง ซึ่งล้วนแล้วแต่บินผ่านและจอดที่ไทย

ที่สำคัญเราต้องเข้าใจก่อนว่า เครื่องบินเมื่อซื้อมาแล้ว จะจอดอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ขาดทุน จึงจำเป็นต้องมีเที่ยวบินให้มากเพื่อสนองดีมานด์ หรือผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น สมมุติหนึ่งเที่ยวบินใช้เวลา 4 ชั่วโมง ทั้งเที่ยวไปและกลับ วันหนึ่งก็ 3 - 4 เที่ยว แต่ละเที่ยวก็จะเพิ่ม TRAFFIC JAM ให้เรา

นี่ยังไม่รวมไปถึงพม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว หรือจีน เมื่อเปิดประเทศเขาจะต้องมีเครื่องบินอีกและขอแลกสิทธิการบินกับไทย

ตามการคาดการณ์ของ FAA 10 ปีจากนี้ไปเที่ยวบินที่จะเข้าไทยจะเพิ่มอีก 200% หรือราว 3 เท่าตัวของขณะนี้ ซึ่งยังไม่ได้รวมจีนอีกประเทศ ที่ใหญ่เทียบเท่าทวีปทวีปหนึ่งทีเดียว ว่าเขาจะเปิดเที่ยวบินขึ้นด้วย

จุดที่จะเป็นปัญหาอีกประการหนึ่งคือ เครื่องบินที่บินข้ามมหาสมุทร มีข้อกำหนดว่า EROP หรือเครื่องบินสองเครื่องยนต์จะบินข้ามมหาสมุทรไม่ได้ เพราะเห็นว่าไม่ปลอดภัยพอ แต่ขณะนี้ได้มีการปรับเทคโนโลยี EROP แล้ว เชื่อว่าในเร็ว ๆ นี้ EROP จะบินข้ามมหาสมุทรได้

ถ้าเป็นอย่างนั้นเที่ยวบินเดิมที่ใช้ 747 เครื่องบินขนาดใหญ่ที่สามารถบินได้ในระยะไกลขึ้นก็จะหันมาใช้เครื่องบินแบบ 2 เครื่องยนต์อย่าง 757 หรือแอร์บัส 600 ตรงนี้สำคัญ เมื่อเทียบเครื่อง 747 หนึ่งเครื่องจะใช้เครื่องบินสองเครื่องยนต์สองตัว เนื่องจากเครื่องเล็กลง จึงเป็นเหตุให้มีจำนวนเครื่องเพิ่มมากขึ้นอีก

นอกจากนี้แล้ว เครื่องบินจากญี่ปุ่น จากฮ่องกง ที่จะบินไปตะวันตก หรือทางยุโรป ที่เป็นเครื่องบินที่บินข้ามมหาสมุทร ส่วนใหญ่จะข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก แต่อย่างที่สนามบินนาริตะ ตอนนี้ก็แน่นหมดแล้ว เขาก็จะต้องเปลี่ยน TRAFFIC ของเขา หรือแม้แต่ที่ฮ่องกงก็เพิ่มได้ไม่หมด ทำให้มีการไปเพิ่มที่เกาหลีใต้กันมาก

ปัจจุบันเรามีเครื่องบินจัมโบ้ 747 - 400 เครื่อง พวกนี้ทั่วโลกซื้อกันเยอะ ที่มีการบินครั้งแรก ก็จากซีแอ้ทเทิล สหรัฐอเมริกามาไทย เครื่องพวกนี้เวลาบินมาทาง SOUTH EAST ASIA ก็จะไม่มีที่ลงเขาก็จะแวะมาไทย จึงเป็นที่ยอมรับกันว่า ไทยมีอัตราการเพิ่มของเที่ยวบินสูงสุด มากกว่าที่อื่นแม้แต่สิงคโปร์

ดังนั้น ที่ว่าเที่ยวบินจะขยายตัว 3 เท่าตัว ผมว่าคงมากกว่าแน่เราจึงต้องคอยปรับขีดความสามารถให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

แต่เราก็มีปัญหาอย่างหนึ่งก็คือบุคลากร คนที่ทำงานเกี่ยวกับการบิน เป็นงานอย่างเดียวกับที่ประเทศอื่นทำ ไม่ว่าจะเป็นงานคุมจราจรทางอากาศ หรือวิทยุสื่อสาร หรือด้านอื่น ล้วนแล้วแต่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นการสากล ถ้าได้ทำงานกับต่างชาติเขาจะให้รายได้สูงจึงมักจะถูกดึงตัวไป

ตอนนี้จะเห็นว่าออสเตเลียจะถึงคนจากฮ่องกง พอถึงปี 2540 ปีที่จะต้องคืนเกาะฮ่องกงทำให้คนของฮ่องกงเองก็อยากหนีออกไปจะทำให้มีการแย่งตัวกันขึ้นอีก แม้ว่าเวลานี้ไม่ถึงกับเป็นปัญหาการแย่งชิงตัวระหว่างประเทศ

แต่ไทยเราก็มีชื่อเสียงทางด้านนี้ นักบินของไทยเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเอเชียแปซิฟิกการที่เราได้รางวัล THE TWENTYSECONDEDWARD WARNER AWARD เป็นรางวัลสูงสุดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ก็ยิ่งทำให้ทั่วโลก รู้จักดีและมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นอยากขอซื้อตัวมากขึ้นก็ได้

ถ้าไปทีละคนยังไม่น่ากลัวเท่าไหร่ แต่ถ้ายกทีมแย่แน่ และจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเพราะเมื่อต่างชาติเขาไม่มั่นใจในการบริหารและการบริการของเรา เขาก็จะย้ายไปใช้บริการของที่อื่น

อย่างที่วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ก็ต้องออกแรงให้คนที่มีอยู่ อยากอยู่กับเราต่อไปและดึงดูดให้คนใหม่อยากเข้ามาและอยู่ได้นานด้วย ตอนนี้เรากำลังปรับค่าตอบแทน สวัสดิการต่าง ๆ ให้ทัดเทียมและแข่งขันกับผลตอบแทนที่เอกชนให้

เรื่องนี้ผมเชื่อว่าทางกระทรวงคมนาคมเข้าใจและรู้ปัญหาดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อสร้างความเข้าใจกับกระทรวงการคลัง ซึ่งก็หวังว่าเมื่อเข้าใจปัญหาอย่างเดียวกันแล้ว ก็คงอนุมัติให้ปรับค่าตอบแทนให้เร็วที่สุด

เรื่องกำลังคน เราก็กำลังเพิ่มอีก 10 กว่าคน โดยส่งไปฝึกอบรมที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้สูงมาก แค่ 4 เดือน ใช้งบต่อคน เป็นล้านบาท ที่เราไม่ได้ฝึกที่นี่ เนื่องจากขีดความสามารถของเรายังฝึกทีเดียวจำนวนมากไม่ได้

ส่วนอุปกรณ์ในสิ้นปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปีหน้าเราจะมีเรดาร์ที่จะควบคุมเครือข่ายได้ทั่วประเทศไทยจากที่คุมได้ในเวลานี้ประมาณ 70 - 80% พอติดตั้งเสร็จเราจะมีขีดความสามารถในการรับการจราจรทางอากาศได้ถึงปี 2543 อย่างสบาย ๆ

แต่ก็มีปัญหาอีกว่า แม้เราจะมีเรดาร์ที่มีเครือข่ายคุมได้ทั่วประเทศ หากประเทศอื่น ที่เขาจะบินมาไทยแล้วระหว่างทางผ่านประเทศที่มีเรดาร์ก็มีปัญหาอีก เขาก็บินไม่ได้ในอัตราที่จะเป็นหรือดังที่เราอยากจะเห็น

อาทิ จากกรุงเทพ - ฮ่องกง ถ้ามีช่วง 60 ไมล์ทะเล ที่เครื่องบินผ่านแต่ไม่มีเรดาร์ แทนที่เครื่องบินเครื่องนั้นจะบินห่างกันได้ในระยะ 5 ไมล์ทะเลก็ทำไม่ได้ แต่ต้องบินในระยะห่างกัน 15 นาทีหรือ 8 ไมล์ ระหว่างเครื่องบินแต่ละลำเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ทางออกของปัญหาเรื่องเรดาร์ สำหรับเส้นทางบินทางตะวันออกนั้น จีนกำลังติดตั้งเรดาร์ที่เกาะไหหลำ ซึ่งจะควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณทางเหนือของญี่ปุ่น ไปยังขอบทวีปเอเชีย ริมมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังตอนใต้ของอินโดนีเซีย ซึ่งจีนทำสัญญาซื้อไปแล้ว

ส่วนที่เป็นห่วงกันว่า ทางลาว เวียดนาม ไม่มีเรดาร์แล้วจะลำบาก ว่าไปแล้วเรื่องนี้เป็นปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่ละเอียดอ่อน แต่เราไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ เพราะเราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการในระบบของการจราจร ต่อรองทางการเมืองได้

ด้านเส้นทางบินทางตะวันตก ที่จะไปยุโรปหรือ MIDDLEEAST มีที่บินผ่านประเทศที่ไม่มีเรดาร์เช่น ผ่านพม่า อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน เป็นต้น นี่จะเป็นปัญหามาก อันนี้หนักใจ จะเป็นปัญหาการขนส่งระหว่างไทยกับยุโรปเพราะปัจจุบันก็แน่นแล้ว ซึ่งถ้ามีการติดตั้งระบบเรดาร์ ก็จะทำให้เพิ่มเที่ยวบินได้

ผมคิดว่า องค์การพลเรือนการบินระหว่างประเทศหรือรัฐบาลจะต้องเร่งหาโอกาสที่ไปเชียร์ให้เขาตั้งเรดาร์ขึ้นมา

ในระยะ 15 - 20 ปีข้างหน้านี้ เรดาร์จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบเครือข่ายการจราจรทางอากาศ

ปัญหานี้ผมเชื่อว่ารัฐบาลรู้ความจำเป็นดีและได้ตั้งเป็นโจทย์อยู่แล้ว ต่อไปงานที่เกี่ยวข้องกับการบินจะเป็นงานที่น่าทึ่งและตื่นเต้น

การเตรียมพร้อมในการรับมือกับการจราจรทางอากาศที่เริ่มแออัดขึ้น จะต้องทำพร้อมกันทุกฝ่าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us