Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553
ก้าวย่างที่มองไปไกลกว่าแค่เป็น Land Link             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

Laos
Airport
กรมการบินพลเรือน, สปป.ลาว




โครงการก่อสร้าง-ปรับปรุงสนามบินในแขวงต่างๆ ของลาวที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่มีเสถียรภาพ ช่องทางการเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ของ สปป.ลาว ไม่อาจพึ่งสนามบินสุวรรณภูมิได้เพียงจุดเดียว

เครื่องบิน ATR 72 ของสายการบินลาว (Lao Airlines) เที่ยวบินจากเสียมเรียบกำลังลดระดับลงสู่รันเวย์สนามบินปากเซ หลังจากล้อสัมผัสพื้น เครื่องวิ่งต่อไปบนรันเวย์ ได้เพียง 1,000 เมตรเศษ เมื่อถึงหน้าอาคารผู้โดยสาร นักบินเบรกและบังคับเครื่องให้เลี้ยว ซ้ายเข้าสู่อาคารผู้โดยสารโดยทันที

หลังจากเครื่องจอดนิ่งสนิทเพียงชั่วครู่ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกประมาณ 20 คน ค่อยๆ เดินลงบันไดเครื่องบินมุ่งหน้าสู่อาคารผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่สนามบิน 3-4 คน พร้อมรถลากกระเป๋า เข้ามาถ่ายเทสัมภาระของผู้โดยสารออกจากเครื่องเพื่อนำไปส่งยังอาคารผู้โดยสาร

เสียงพูดคุยกันเบาๆ ในกลุ่มเจ้าหน้าที่เหล่านั้น

“อุตส่าห์ขยายรันเวย์ให้ยาวไปเกือบ 3 พันเมตร แต่กลับใช้จริงแค่พันกว่าเมตร”

“นักบินเขายังชินอยู่อย่างนั้น แต่อีกหน่อยพอมีเครื่องใหญ่กว่ามาลงที่นี่ ก็คงได้ใช้ เต็มพื้นที่” เสียงอีกคนหนึ่งตอบ

สนามบินปากเซเพิ่งเสร็จสิ้นการปรับปรุงใหม่ระยะแรก รอบที่ 2 ไปเมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา โดยขยายพื้นที่รันเวย์จากเดิมที่ยาวเพียง 1,650 เมตร เป็น 2,400 เมตร

คาดว่าจะมีการส่งมอบงานปรับปรุงสนามบินครั้งนี้ ระหว่างบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ ผู้รับเหมา กับกรมการบินพลเรือน กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ได้ในเดือนกันยายนหรือตุลาคมนี้

การปรับปรุงสนามบินปากเซมีวัตถุ ประสงค์เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้น จากเดิมที่สามารถรองรับได้เพียงเครื่องระดับ ATR 72 ซึ่งเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ ให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดโบอิ้ง 737 หรือแอร์บัส เอ 320 ซึ่งสามารถบินระหว่างประเทศในแถบ เอเชียด้วยกันได้

ตามแผนแม่บทในการปรับปรุงสนามบินปากเซ แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ระยะ

ระยะแรกเป็นการขยายรันเวย์จากเดิมที่ยาว 1,650 เมตร เป็น 2,400 เมตร ขยายความกว้างรันเวย์จาก 36 เมตรเป็น 45 เมตร รวมทั้งการสร้างหอควบคุมการบิน หลังใหม่ สูง 5 ชั้น (24.8 เมตร) ขยายลานจอด ขยายทางวิ่งเข้าสู่ลานจอด รวมทั้งติดตั้งระบบไฟสนามบิน ฯลฯ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 320 ล้านบาท

ผู้สนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการนี้คือสำนักงานความร่วมมือพัฒนา เศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (NEDA) ซึ่งเป็นองค์การมหาชนของไทย โดยเป็นการปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำจำนวน 230 ล้านบาท และเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าอีก 90 ล้านบาท

งานปรับปรุงระยะแรก เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 ตามกำหนดการเดิมจะต้องแล้วเสร็จและส่งมอบงานได้ในเดือน ตุลาคม 2552 ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าว เที่ยวบินที่เคยบินมาลงยังสนามบินปากเซ ทั้งสายการบินลาว และบางกอกแอร์เวย์สของไทย ต้องงดใช้สนามบินแห่งนี้เป็นการชั่วคราว โดยสายการบินลาวได้เปลี่ยนจุดไปลงที่สนามบินสะหวันนะเขตแทน

การปรับปรุงระยะแรก รอบที่ 1 เสร็จสิ้นลงในเดือนตุลาคม 2552 สนามบิน เริ่มกลับมาเปิดใช้งาน ในวันที่ 1 พฤศจิกายน

อย่างไรก็ตาม หลังเปิดใช้งานเพียง 3 เดือน กรมการบินพลเรือนประกาศปิดสนามบินปากเซเป็นการชั่วคราวอีกครั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากพบว่า พื้นรันเวย์เดิมระยะทาง 1,650 เมตร ได้เกิด รอยแตกร้าวขึ้น

พื้นรันเวย์ส่วนนี้สร้างโดยสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2515

“พื้นรันเวย์เดิมสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน เป็นการเทคอนกรีตเป็นแผ่นๆ แต่ไม่ได้มีเชื่อมเหล็กระหว่างแผ่นคอนกรีตแต่ละแผ่นให้ยึดติดกัน อีกประการหนึ่งคือชั้นพื้นดินใต้แผ่นคอนกรีต มีน้ำใต้ดินสะสม ทำให้แผ่นคอนกรีตขยับเมื่อผ่านการใช้งานมานาน จึงทำให้เกิดรอยแตกร้าว” วันเพ็ง จันทะพอน รองอธิบดีกรมการบินพลเรือน บอก ผู้จัดการ 360° ถึงสาเหตุ

สมมาด พนเสนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง จึงสั่งให้รื้อพื้นรันเวย์ส่วนนี้ออกทั้งหมด แล้วสร้างใหม่ ให้เป็นผืนเดียวกันกับรันเวย์ส่วนขยาย 800 เมตร ที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อ 3 เดือนก่อน

การปรับปรุงรอบ 2 ทำให้ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มอีก 83 ล้านบาท โดยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ เป็นผู้ดำเนินการต่อเนื่อง

เดือนพฤษภาคม 2553 การก่อสร้างเพื่อเชื่อมพื้นรันเวย์ให้เป็นผืนเดียวกันทั้ง 2,400 เมตร ก็เสร็จสมบูรณ์ สายการบินลาวได้กลับมาบินไปลงปากเซอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน โดยบินวันละ 2 เที่ยว คือเที่ยวบินระหว่างเวียงจันทน์-ปากเซ-เสียมเรียบ กับเที่ยวบินระหว่างหลวงพระบาง-ปากเซ-เสียมเรียบ โดยใช้เครื่องบิน ATR 72

งานส่วนที่เหลือเป็นเรื่องของการเก็บรายละเอียด ซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นสมบูรณ์ 100% ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม

การปรับปรุงสนามบินปากเซระยะที่ 2 จะต่อเติมขยายลานจอดเครื่องบินและสร้างแท็กซี่เวย์เพิ่มอีก 1 เส้น เพราะลานจอดเครื่องบินเดิม ความกว้างของลานจอด ไม่ได้มาตรฐาน ต้องขยายให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้จะมีการสร้างรั้วคอนกรีตโดยรอบสนามบินและงานเบ็ดเตล็ดต่างๆ เช่น เพิ่มเครื่องอำนวยความสะดวกในอาคารผู้โดยสาร อาทิ สายพานลำเลียงสัมภาระผู้โดยสาร การซื้อรถดับเพลิงเพิ่มอีก 2 คัน ปัจจุบันมีอยู่แค่ 1 คัน รวมถึงรถพยาบาล เพื่อให้สนามบินปากเซได้มาตรฐานในการเป็นสนามบินนานาชาติ

งานส่วนนี้จะต้องใช้เงินลงทุนอีก 184 ล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจาก NEDA เช่นกัน คาดว่าจะมีการเปิดประมูล หาผู้รับเหมาได้ในเดือนมกราคม 2554

การปรับปรุงสนามบินปากเซ ถือเป็น 1 ในโครงการก่อสร้าง-ปรับปรุงสนามบินทั่วประเทศของ สปป.ลาว โดยเริ่มจากการปรับปรุงสนามบินวัดไตที่นครหลวง เวียงจันทน์ เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2547 แล้วเสร็จเดือนพฤษภาคม 2549 โดยมีบริษัทไทยวัฒน์เอนจิเนียริงจากไทยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก NEDA ในวงเงิน 320 ล้านบาท

สนามบินวัดไตได้ถูกยกระดับให้สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ อย่างโบอิ้ง 747 ได้ เพื่อส่งเสริมการขนส่งทางอากาศ การค้า และการท่องเที่ยวของลาวที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ถัดจากนั้น ในปลายเดือนมีนาคม 2551 ที่ผ่านมา สปป.ลาวได้เปิดใช้สนามบิน หลวงน้ำทาที่แขวงหลวงน้ำทา แขวงชาย แดนลาว-จีนทางภาคเหนือ และเป็นต้นทางของถนนสาย R3a

สนามบินหลวงน้ำทาได้รับการก่อสร้างปรับปรุงใหม่ โดยบริษัท ส.เหมราช บริษัทรับเหมาก่อสร้างจากจังหวัดอุบล ราชธานีของไทย ให้มีความยาวของรันเวย์ 2,000 เมตร ความกว้าง 40 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินขนาด ATR 72 โดยสายการบินลาวเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างหลวงน้ำทา-เวียงจันทน์ (ไป-กลับ) ในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ สัปดาห์ละ 6 เที่ยว

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2552 ได้ มีการวางศิลาฤกษ์เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างสนามบินหลวงพระบาง 2 มูลค่า 86.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยบริษัท CAMC Engineering จากจีน เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิม) ของจีน

สนามบินหลวงพระบาง 2 จะสร้าง เกือบจะขนานไปกับสนามบินเดิม แต่เบี่ยง แนวไปเล็กน้อย

สาเหตุที่จำเป็นต้องสร้างสนามบินแห่งใหม่ในจุดเดิมที่หลวงพระบาง เนื่อง จากแนวรันเวย์เดิมบังคับให้เครื่องบินที่จะบินลงหลวงพระบาง จะต้องบินผ่ากลาง ตัวเมือง ก่อให้เกิดมลภาวะทางด้านเสียงให้ กับเมืองหลวงพระบาง จึงจำเป็นต้องสร้างสนามบินแห่งใหม่ เพื่อเบี่ยงแนวทางลงของเครื่องบินให้ออกไปยังบริเวณชานเมืองแทน

นอกจากนี้สนามบินแห่งใหม่จะมีรันเวย์ยาว 2,900 เมตร ยาวกว่ารันเวย์สนามบินเดิมที่ยาวเพียง 2,200 เมตร และมีลานจอดเครื่องบินเพิ่มขึ้นจากเดิม เป็นการขยายขีดความสามารถในการรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้น ในระดับโบอิ้ง 737 หรือแอร์บัส เอ 320 ทำให้สามารถขยายเส้นทางบินจากเดิมที่มีเพียงเที่ยวบินระยะใกล้ อาทิ จากประเทศไทยหรือจีนตอนใต้ที่บินมายังหลวงพระบาง เป็นเส้นทางที่ไกลขึ้นจากประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน ที่สามารถบินเข้ามายังเมืองมรดกโลกแห่งนี้ได้

การก่อสร้างสนามบินหลวงพระบาง 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2557 โดยระหว่างการก่อสร้างสนามบินใหม่ สนามบิน หลวงพระบางเดิมก็ยังเปิดใช้งานตามปกติ

กรมการบินพลเรือนของ สปป.ลาว ยังได้มีการเซ็นในบันทึกความเข้าใจกับบริษัท CAMC Engineering ในการสำรวจความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง-ปรับปรุงสนามบินอีก 3 แห่งในแขวงทางภาคเหนือ ได้แก่สนามบินเชียงขวาง สนามบินที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน และสนามบินที่เมือง ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ซึ่งเป็นปลายทางของเส้นทางสาย R3a

สนามบินที่น่าจะเริ่มต้นปรับปรุงได้ก่อนที่อื่น คือสนามบินเชียงขวาง ที่ สปป. ลาวกำลังยื่นต่อยูเนสโกเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

เดิมที่เชียงขวางมีสนามบินอยู่แล้ว สร้างโดยสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 1982 มีรันเวย์ยาว 2,600 เมตร ปัจจุบันอยู่ในสภาพ ชำรุดทรุดโทรม

ตามผลการศึกษา สนามบินที่จะปรับปรุงใหม่จะขยายรันเวย์ให้ยาวขึ้นเป็น 3,000 เมตร เพื่อรองรับกับเครื่องบินขนาด ใหญ่ระดับโบอิ้ง 737 และแอร์บัส เอ 320 ซึ่งก็หมายถึงการขยายเส้นทางบิน จากเดิม ที่สามารถรองรับเฉพาะเที่ยวบินภาย ในประเทศ เป็นการรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศในทวีปเอเชียด้วยกัน

มีการประเมินมูลค่างานปรับปรุงสนามบินเชียงขวางไว้เบื้องต้นที่ 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับการสนับสนุนเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำจากเอ็กซิมของจีน เช่นเดียวกับที่สนามบินหลวงพระบาง 2

ส่วนสนามบินที่เมืองซำเหนือ แขวงหัวพัน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงสงครามอินโดจีนอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีสนามบินอยู่ 1 แห่ง แต่มีขนาดเล็กมาก สามารถรองรับได้แต่เครื่องบินเล็ก ระดับเชสน่า และพื้นที่ของสนามบินแห่งนี้ก็ถูกจำกัด ไม่สามารถขยายได้อีก

จากการศึกษาเบื้องต้นได้สำรวจพบพื้นที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่แล้วอยู่บนภูเขา แต่รายละเอียดการก่อสร้างอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม

ส่วนสนามบินห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ซึ่งอยู่ในช่วงของการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น แต่เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทางกลุ่มบริษัทดอกงิ้วคำ ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากจีนที่ได้รับสัมปทานเข้าไปทำเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ที่บริเวณบ้านต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ได้เสนอตัวกับกรมการบินพลเรือน สปป.ลาวว่าจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างสนามบินขึ้นเองภายในโครงการ

ตามแผนที่กลุ่มดอกงิ้วคำเสนอจะสร้างเป็นสนามบินขนาดที่รองรับเครื่องโบอิ้ง 737 หรือแอร์บัส เอ 320 ใช้เงินลงทุนประมาณ 150 ล้านดอลลาร์

เหตุผลที่กลุ่มดอกงิ้วคำต้องการลง ทุนก่อสร้างสนามบินดังกล่าว เพื่อดึงลูกค้า ที่อยู่ในต่างประเทศ ให้เข้ามาในโครงการ โดยเฉพาะลูกค้าในส่วนของกาสิโน โดยกลุ่มดอกงิ้วคำต้องการจะให้แขวงบ่อแก้วมีสนามบินขนาดใหญ่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด จึงไม่สามารถรอผลการศึกษาโครงการก่อสร้างสนามบินห้วยทรายของ CAMC Engineering บริษัทก่อสร้างสัญชาติเดียวกันได้ จึงอยากจะสร้างสนามบินขึ้นมาเอง

มีรายงานว่า การเสนอตัวก่อสร้างสนามบินขึ้นภายในโครงการเอ็นเตอร์เทน เม้นท์ คอมเพล็กซ์ ที่บ้านต้นผึ้งของกลุ่มบริษัทดอกงิ้วคำนั้นได้รับอนุมัติเบื้องต้นจากรัฐบาล สปป.ลาวแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนในการเซ็นบันทึกความเข้าใจระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้โครงการก่อสร้างสนามบินใหม่ที่เมืองห้วยทรายของบริษัท CAMC Engineering ก็ต้องยกเลิก หรือหาพื้นที่ในการสร้างสนามบินใหม่ในแขวงอื่นๆ

นอกจากโครงการก่อสร้าง-ปรับปรุงสนามบินใหม่ 3 แห่งในแขวงทางภาคเหนือ แล้ว ในแขวงทางภาคใต้ นอกจากสนามบิน ปากเซที่เพิ่งเปิดใช้การใหม่ กรมการบินพลเรือนของ สปป.ลาว ยังมีแผนที่จะก่อสร้างสนามบินขึ้นที่แขวงอัตตะปือขึ้นอีก 1 แห่ง โดยยังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้

โดยปัจจุบันแขวงอัตตะปือ ซึ่งเป็นแขวงที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว เพราะมีชายแดนติดกับทั้งประเทศเวียดนาม และกัมพูชา แต่ยังไม่มีสนามบิน ดังนั้นหากมีการสร้างสนามบินขึ้นที่นี่ จะช่วยในการพัฒนาการท่องเที่ยวในแขวงนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สปป.ลาวถือว่าการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ นอกเหนือจากรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ประเทศเพื่อนบ้าน และการเปิดสัมปทานในการขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ

เริ่มมีการวางนโยบายพัฒนาการท่องเที่ยวขึ้นอย่างกว้างขวางใน สปป.ลาว เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการทำให้ประเทศ หลุดพ้นจากความเป็นประเทศยากจน ที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในปี 2020

อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวของ สปป.ลาวที่ผ่านมา ยังต้องพึ่งพิงประเทศไทยเป็นหลัก โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางสนามบินสุวรรณภูมิก่อน แล้วค่อยเดินทาง ต่อไปยัง สปป.ลาว

สาเหตุส่วนหนึ่งก็เพราะสนามบินใน สปป.ลาวมีรันเวย์สั้น ไม่สามารถรองรับเที่ยวบินที่บินตรงมาจากต่างประเทศได้

แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระทบกับยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวของ สปป.ลาว เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทาง เข้ามายังประเทศไทยลดน้อยลง ส่งผลกระทบถึงตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางต่อเข้าไปยัง สปป.ลาวลดน้อยลงตามไปด้วย

การมีสนามบินที่ใหญ่ขึ้นและกระจายไปตั้งอยู่ตามแขวงต่างๆ ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นการเพิ่มช่องทางในการเดินทางเข้าไปยัง สปป.ลาวมากขึ้น โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านสนามบินสุวรรณภูมิของไทยเหมือนเช่นในปัจจุบัน

ตามแผนการพัฒนาสนามบินของลาวโดยภาพรวมที่กล่าวถึงข้างต้น จะทำให้ในอนาคต สปป.ลาวจะมีสนามบินที่สามารถรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียงวัดไต (เวียงจันทน์) หลวงพระบาง และปากเซเพียง 3 แห่งจะเพิ่มสนามบินห้วยทราย และเชียงขวางขึ้นอีก 2 แห่ง

ขณะเดียวกัน สนามบินที่สามารถรองรับสายการบินภายในประเทศ จากปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ที่พงสาลี หลวงน้ำทา อุดมไชย ไชยะบุรี สะหวันนะเขต ก็จะมีเพิ่มขึ้นที่ซำเหนือ (หัวพัน) และอัตตะปือ อีก 2 แห่ง

รวมทั้ง สปป.ลาวยังมีโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติเพิ่มขึ้นที่นครหลวงเวียงจันทน์อีก 1 แห่ง ที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 21 บนถนนสาย 13 ใต้ โดยมีพื้นที่รองรับรอไว้แล้ว 24 ตารางกิโลเมตร มากกว่าสนามบินวัดไต ซึ่งมีพื้นที่เพียง 10 ตารางกิโลเมตร

รัฐบาล สปป.ลาวกำหนดให้การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนี้แล้วเสร็จในปี 2558

ยุทธศาสตร์ในการพลิกจุดอ่อนของประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้กลายเป็นจุดแข็งในการเป็น Land Link หรือพื้นที่ซึ่งสามารถเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ที่อยู่รอบด้านเข้าหากันของ สปป.ลาว

อาจไม่ได้มองแค่การ Link ทางบกอย่างเดียวเท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us