Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553
อาเซียนแบงก์ ยุทธศาสตร์ซีไอเอ็มบี             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

CIMB Group Homepage
โฮมเพจ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

สุภัค ศิวะรักษ์
Banking and Finance
CIMB Group
ธนาคารซีไอเอ็มบี




กลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี สัญชาติมาเลเซีย ประกาศยุทธศาสตร์ชัดเจนว่าจะเป็นผู้เล่นในฐานะธนาคารภูมิภาคอาเซียน แผนธุรกิจมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นหลังจากธนาคารในแต่ละประเทศเริ่มเชื่อมโยงกัน

การขยายเครือข่ายของธนาคารซีไอเอ็มบี ออกไปต่างประเทศ เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ นั้นเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งประเทศมาเลเซียมีเศรษฐกิจขนาดเล็ก ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงทำให้บริษัทหลายๆ แห่งต้องออกไปแข่งขันในต่างประเทศ

กลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบีเป็นธนาคารขนาด ใหญ่อันดับสองในประเทศมาเลเซีย มีมูลค่าการตลาด 5 แสนล้านบาท และเป็นธนาคารที่มีสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจ 3 ส่วนหลัก คือ CIMB Bank, CIMB Investment Bank และ CIMB Islamic

CIMB Bank ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารพาณิชย์ของกลุ่ม ขณะที่ CIMB Islamic ดำเนิน ธุรกิจด้านการเงินและการธนาคารอิสลามในระดับโลก ซึ่งทั้ง CIMB Bank และ CIMB Islamic ให้บริการธุรกิจรายย่อย (Retail Banking) บนระบบธนาคาร 2 ระบบควบคู่กัน โดยมีลูกค้ารายย่อยมากกว่า 4.7 ล้าน คนใน 367 สาขาทั่วประเทศมาเลเซีย

ขนาดธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองในประเทศมาเลเซีย กลุ่มซีไอเอ็มบีมีขนาดสินทรัพย์ของธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ในภูมิภาคอาเซียน จึงทำให้ธนาคารแห่งนี้ประกาศเจตนารมณ์เป็นธนาคารระดับภูมิภาคอาเซียน โดยมีดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานบริหารกลุ่มซีไอเอ็มบีเป็นผู้ขับเคลื่อนและกำหนดยุทธศาสตร์

ภายใต้ยุทธศาสตร์ regional bank การดำเนินงานจะอยู่ภายใต้ปรัชญา Multi Local Group คือใช้นโยบายบริหารการจัดงานระดับภูมิภาค และธนาคารในเครือบริหารงานในรูปแบบ Local Bank

รูปแบบ Local Bank คือการดึงผู้บริหารในแต่ละประเทศเข้ามาบริหาร และแต่งตั้งคณะกรรมการในประเทศนั้นๆ เพราะเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์เข้าใจตลาด ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

กลุ่มซีไอเอ็มบีกำหนดบทบาทตนเองให้เป็นธนาคารระดับภูมิภาค (regional bank) เพราะธนาคารซีไอเอ็มบีเป็นสถาบันการเงินในเอเชีย ทำงานโดยคนเอเชีย ดังนั้น วิถีการทำงานหรือแนวคิด รวมไปถึงวัฒนธรรมคนเอเชียไม่แตกต่างกันมากนัก

ซีไอเอ็มบีจึงหาจุดยืนให้กับตนเอง โดยไม่คิดจะแข่งขันกับแบงก์ขนาดใหญ่ที่มีทุนให้บริการได้ทั่วโลก เหมือนดังธนาคาร HSBC สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดหรือซิตี้แบงก์

การวางตำแหน่งของธนาคารซีไอเอ็มบี ในฐานะธนาคารระดับภูมิภาคจะไม่เกิดขึ้นเลย หากธนาคารมีเพียงแนวคิดเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นในสถาบันการเงินในต่างประเทศ และเน้นทำตลาดใน ประเทศเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว

สุภัค ศิวะรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) แสดงความเห็นกับ ผู้จัดการ 360° เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของธนาคารซีไอเอ็มบีว่า ธนาคารซีไอเอ็มบีเริ่มต้นมาจากธนาคารกึ่งวาณิช มีการขยายตัวมาเรื่อยๆ ในมาเลเซีย และเป็นธนาคารอันดับสอง ต่อมาข้ามไปซื้อลงทุนธนาคารในอินโดนีเซียมีสาขา 700 แห่งมากกว่ามาเลเซีย มี 350 สาขา ไทยมี 150 สาขา เบ็ดเสร็จมีประมาณ 1 พันกว่าสาขา และสิงคโปร์มี 2 สาขา ที่เขาทำอย่างนั้นเพราะมองว่าตัวตลาดในมาเลเซียเล็กและแคบ และวิธีการขยายไปนอกประเทศภูมิลำเนาเดียวกัน เป็นการต่อยอดธุรกิจ

การขยับขยายธุรกิจของซีไอเอ็มบีเริ่มชัดมากขึ้นในภูมิภาค อาเซียน โดยเฉพาะใน 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

และยิ่งก่อเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อกลุ่มซีไอเอ็มบีได้ประกาศบริการ CIMB ATM Regional Link บริการเอทีเอ็มข้ามพรมแดนผ่าน 4 ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ในฐานะรายแรกของอาเซียน

การเปิดโอกาสให้ลูกค้าซีไอเอ็มบีใน 4 ประเทศสามารถพกพาบัตรเอทีเอ็มไปใช้ใน 4 ประเทศ และเบิกเป็นเงินสดสกุลใน ประเทศนั้นๆ เช่น เบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มในประเทศอินโดนีเซียได้ สกุลเงินเป็นรูเปีย หรือสกุลเงินริงกิตในมาเลเซีย และเครื่องเอทีเอ็มสามารถแจ้งผลยอดเงินคงเหลือเป็นสกุลเงินที่เบิกในประเทศเหล่านั้น ลูกค้าธนาคารสามารถเบิกเงินสดผ่านเครื่องตู้เอทีเอ็ม 3,750 เครื่อง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

การไม่เก็บค่าธรรมเนียมบริการเอทีเอ็ม ข้ามประเทศ ธนาคารซีไอเอ็มบีได้แสดงให้เห็น ถึงข้อแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกเงินสด ผ่านเอทีเอ็มภายในประเทศ เพราะในปัจจุบันเอทีเอ็มในประเทศไทยเก็บค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 25 บาท เมื่อเบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มในต่างจังหวัด

แม้สุภัคจะบอกว่า CIMB ATM Regional Link คือการจัด รายการกึ่งโปรโมชั่นก็ตาม แต่เขาก็ยอมรับว่าบริการดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนความเป็นอาเซียนแบงก์ของซีไอเอ็มบี

ทว่าการออกบริการต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงในแต่ละประเทศนั้น กลุ่มซีไอเอ็มบีต้องพิจารณากฎหมายและกฎของแบงก์ชาติแต่ละประเทศด้วย เหมือนดังเช่นบริการ ATM Regional Link จะต้องกดเงินสดไม่เกินตามแบงก์ชาติกำหนด เหมือนในประเทศไทยห้ามกดเอทีเอ็มเกิน 2-4 หมื่นบาทต่อวัน เป็นกฎเกณฑ์ที่ธนาคารจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในแต่ละประเทศ

จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับธนาคารไม่น้อยที่จะต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ของแบงก์ชาติทั้ง 4 แห่ง ใน 4 ประเทศ!!

บริการ ATM Regional Link เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นระบบการทำงานของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบีสามารถร่วมมือกันได้ในระดับภูมิภาค

ผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการเงินใหม่ๆ ที่เกิดจากการออกแบบจากธนาคารแม่ในมาเลเซีย จะเป็นอีกบริการหนึ่งที่นำไปใช้เชื่อมโยงธุรกิจในต่างประเทศ เช่น CIMB Preferred ลูกค้าที่เปิดบัญชีตั้งแต่ 3 ล้านบาท จะได้รับคำปรึกษาทางด้านการลงทุน และได้รับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และอัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือเพิ่มความคล่องตัวให้กับลูกค้ากรณีเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ลูกค้า จะต้องเดินทางไปอินโดนีเซียสามารถเปิดบัญชีล่วงหน้าได้

บริการดังกล่าวให้บริการครอบคลุม 4 ประเทศ จากเชียงรายจนถึงบาหลี 1,150 สาขา ลูกค้าที่ใช้บริการนี้จะได้รับการดูแลเหมือนกันทุกประเทศ

การยึดหลักการทำงานภายใต้ปรัชญา Multi Local เพื่อเชื่อมโยงบริการธุรกิจการเงินให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จะมีระบบไอทีเปรียบเสมือนถนนหลักที่ทำให้ธนาคารในแต่ละประเทศสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

กลุ่มซีไอเอ็มบีได้ทุ่มเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างระบบ core banking ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ข้อมูลของทั้ง 4 ประเทศสื่อสารกันได้ ซึ่งระบบ ไอทีนี้เรียกว่า 1 Platform จะใช้เวลาดำเนินงาน 5 ปี และระบบไอทีจะถูกสร้างขึ้นที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ขณะนี้ได้มีเจ้าหน้าที่จากอินโด นีเซีย มาเลเซียเข้ามาทำงานร่วม 200 คน และระบบแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยระบบดังกล่าวเป็นการลงทุน ครั้งใหญ่ของกลุ่มซีไอเอ็มบี

การเดินทางของธนาคารกลุ่มซีไอเอ็มบี เพื่อเป็นธนาคารระดับภูมิภาคในอาเซียน เริ่มแสดงผลลัพธ์ออกมาทางผลกำไรในครึ่งปีแรกของปีนี้

กลุ่มซีไอเอ็มบีมีกำไรจากดำเนินงานในครึ่งปีแรก 17,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 และประเทศอินโดนีเซียทำกำไรสูงสุดร้อยละ 40 ของกำไรรวม ส่วนประเทศไทยธนาคารคาดหวังว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้าจะสามารถสร้างกำไรให้กับกลุ่มร้อยละ 10 ขณะที่ปัจจุบันธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทยมีกำไรในครึ่งปีแรก 713.99 ล้านบาท มีรายได้ 4,327.74 ล้านบาท

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารถึงกับเอ่ยปากว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าธนาคารเริ่มมีกำไรเมื่อปี 2552 เป็นครั้งแรก หลังจากขาดทุนติดต่อกันมา หลายปี

สำหรับโครงสร้างรายได้ของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี รายได้จากประเทศอินโดนีเซียมาจากการปล่อยสินเชื่อ และขายผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงิน ส่วนมาเลเซีย รายได้มาจากกลุ่มธุรกิจวาณิชธนกิจและค้าเงิน ส่วนประเทศไทยรายได้เกิดจากวาณิชธนกิจ ค้าเงิน และค่าธรรมเนียม

ดูเหมือนว่ากลุ่มซีไอเอ็มบีกำลังเดิน หน้าอย่างเต็มที่เพื่อยกระดับให้เป็นธนาคาร ระดับภูมิภาคอย่างสมบูรณ์แบบ



การขยายเครือข่ายของธนาคารซีไอเอ็มบี ออกไปต่างประเทศ เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ นั้นเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งประเทศมาเลเซียมีเศรษฐกิจขนาดเล็ก ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงทำให้บริษัทหลายๆ แห่งต้องออกไปแข่งขันในต่างประเทศ

กลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบีเป็นธนาคารขนาด ใหญ่อันดับสองในประเทศมาเลเซีย มีมูลค่าการตลาด 5 แสนล้านบาท และเป็นธนาคารที่มีสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจ 3 ส่วนหลัก คือ CIMB Bank, CIMB Investment Bank และ CIMB Islamic

CIMB Bank ดำเนินธุรกิจด้านธนาคารพาณิชย์ของกลุ่ม ขณะที่ CIMB Islamic ดำเนิน ธุรกิจด้านการเงินและการธนาคารอิสลามในระดับโลก ซึ่งทั้ง CIMB Bank และ CIMB Islamic ให้บริการธุรกิจรายย่อย (Retail Banking) บนระบบธนาคาร 2 ระบบควบคู่กัน โดยมีลูกค้ารายย่อยมากกว่า 4.7 ล้าน คนใน 367 สาขาทั่วประเทศมาเลเซีย

ขนาดธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองในประเทศมาเลเซีย กลุ่มซีไอเอ็มบีมีขนาดสินทรัพย์ของธุรกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ในภูมิภาคอาเซียน จึงทำให้ธนาคารแห่งนี้ประกาศเจตนารมณ์เป็นธนาคารระดับภูมิภาคอาเซียน โดยมีดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานบริหารกลุ่มซีไอเอ็มบีเป็นผู้ขับเคลื่อนและกำหนดยุทธศาสตร์

ภายใต้ยุทธศาสตร์ regional bank การดำเนินงานจะอยู่ภายใต้ปรัชญา Multi Local Group คือใช้นโยบายบริหารการจัดงานระดับภูมิภาค และธนาคารในเครือบริหารงานในรูปแบบ Local Bank

รูปแบบ Local Bank คือการดึงผู้บริหารในแต่ละประเทศเข้ามาบริหาร และแต่งตั้งคณะกรรมการในประเทศนั้นๆ เพราะเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์เข้าใจตลาด ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

กลุ่มซีไอเอ็มบีกำหนดบทบาทตนเองให้เป็นธนาคารระดับภูมิภาค (regional bank) เพราะธนาคารซีไอเอ็มบีเป็นสถาบันการเงินในเอเชีย ทำงานโดยคนเอเชีย ดังนั้น วิถีการทำงานหรือแนวคิด รวมไปถึงวัฒนธรรมคนเอเชียไม่แตกต่างกันมากนัก

ซีไอเอ็มบีจึงหาจุดยืนให้กับตนเอง โดยไม่คิดจะแข่งขันกับแบงก์ขนาดใหญ่ที่มีทุนให้บริการได้ทั่วโลก เหมือนดังธนาคาร HSBC สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดหรือซิตี้แบงก์

การวางตำแหน่งของธนาคารซีไอเอ็มบี ในฐานะธนาคารระดับภูมิภาคจะไม่เกิดขึ้นเลย หากธนาคารมีเพียงแนวคิดเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นในสถาบันการเงินในต่างประเทศ และเน้นทำตลาดใน ประเทศเหล่านั้นเพียงอย่างเดียว

สุภัค ศิวะรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) แสดงความเห็นกับ ผู้จัดการ 360° เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ของธนาคารซีไอเอ็มบีว่า ธนาคารซีไอเอ็มบีเริ่มต้นมาจากธนาคารกึ่งวาณิช มีการขยายตัวมาเรื่อยๆ ในมาเลเซีย และเป็นธนาคารอันดับสอง ต่อมาข้ามไปซื้อลงทุนธนาคารในอินโดนีเซียมีสาขา 700 แห่งมากกว่ามาเลเซีย มี 350 สาขา ไทยมี 150 สาขา เบ็ดเสร็จมีประมาณ 1 พันกว่าสาขา และสิงคโปร์มี 2 สาขา ที่เขาทำอย่างนั้นเพราะมองว่าตัวตลาดในมาเลเซียเล็กและแคบ และวิธีการขยายไปนอกประเทศภูมิลำเนาเดียวกัน เป็นการต่อยอดธุรกิจ

การขยับขยายธุรกิจของซีไอเอ็มบีเริ่มชัดมากขึ้นในภูมิภาค อาเซียน โดยเฉพาะใน 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย

และยิ่งก่อเกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อกลุ่มซีไอเอ็มบีได้ประกาศบริการ CIMB ATM Regional Link บริการเอทีเอ็มข้ามพรมแดนผ่าน 4 ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย ในฐานะรายแรกของอาเซียน

การเปิดโอกาสให้ลูกค้าซีไอเอ็มบีใน 4 ประเทศสามารถพกพาบัตรเอทีเอ็มไปใช้ใน 4 ประเทศ และเบิกเป็นเงินสดสกุลใน ประเทศนั้นๆ เช่น เบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มในประเทศอินโดนีเซียได้ สกุลเงินเป็นรูเปีย หรือสกุลเงินริงกิตในมาเลเซีย และเครื่องเอทีเอ็มสามารถแจ้งผลยอดเงินคงเหลือเป็นสกุลเงินที่เบิกในประเทศเหล่านั้น ลูกค้าธนาคารสามารถเบิกเงินสดผ่านเครื่องตู้เอทีเอ็ม 3,750 เครื่อง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

การไม่เก็บค่าธรรมเนียมบริการเอทีเอ็ม ข้ามประเทศ ธนาคารซีไอเอ็มบีได้แสดงให้เห็น ถึงข้อแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกเงินสด ผ่านเอทีเอ็มภายในประเทศ เพราะในปัจจุบันเอทีเอ็มในประเทศไทยเก็บค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 25 บาท เมื่อเบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มในต่างจังหวัด

แม้สุภัคจะบอกว่า CIMB ATM Regional Link คือการจัด รายการกึ่งโปรโมชั่นก็ตาม แต่เขาก็ยอมรับว่าบริการดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนความเป็นอาเซียนแบงก์ของซีไอเอ็มบี

ทว่าการออกบริการต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงในแต่ละประเทศนั้น กลุ่มซีไอเอ็มบีต้องพิจารณากฎหมายและกฎของแบงก์ชาติแต่ละประเทศด้วย เหมือนดังเช่นบริการ ATM Regional Link จะต้องกดเงินสดไม่เกินตามแบงก์ชาติกำหนด เหมือนในประเทศไทยห้ามกดเอทีเอ็มเกิน 2-4 หมื่นบาทต่อวัน เป็นกฎเกณฑ์ที่ธนาคารจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในแต่ละประเทศ

จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับธนาคารไม่น้อยที่จะต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ของแบงก์ชาติทั้ง 4 แห่ง ใน 4 ประเทศ!!

บริการ ATM Regional Link เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นระบบการทำงานของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบีสามารถร่วมมือกันได้ในระดับภูมิภาค

ผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการเงินใหม่ๆ ที่เกิดจากการออกแบบจากธนาคารแม่ในมาเลเซีย จะเป็นอีกบริการหนึ่งที่นำไปใช้เชื่อมโยงธุรกิจในต่างประเทศ เช่น CIMB Preferred ลูกค้าที่เปิดบัญชีตั้งแต่ 3 ล้านบาท จะได้รับคำปรึกษาทางด้านการลงทุน และได้รับข้อเสนอผลิตภัณฑ์และอัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือเพิ่มความคล่องตัวให้กับลูกค้ากรณีเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ลูกค้า จะต้องเดินทางไปอินโดนีเซียสามารถเปิดบัญชีล่วงหน้าได้

บริการดังกล่าวให้บริการครอบคลุม 4 ประเทศ จากเชียงรายจนถึงบาหลี 1,150 สาขา ลูกค้าที่ใช้บริการนี้จะได้รับการดูแลเหมือนกันทุกประเทศ

การยึดหลักการทำงานภายใต้ปรัชญา Multi Local เพื่อเชื่อมโยงบริการธุรกิจการเงินให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จะมีระบบไอทีเปรียบเสมือนถนนหลักที่ทำให้ธนาคารในแต่ละประเทศสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

กลุ่มซีไอเอ็มบีได้ทุ่มเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อสร้างระบบ core banking ขึ้นมาใหม่เพื่อให้ข้อมูลของทั้ง 4 ประเทศสื่อสารกันได้ ซึ่งระบบ ไอทีนี้เรียกว่า 1 Platform จะใช้เวลาดำเนินงาน 5 ปี และระบบไอทีจะถูกสร้างขึ้นที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรก ขณะนี้ได้มีเจ้าหน้าที่จากอินโด นีเซีย มาเลเซียเข้ามาทำงานร่วม 200 คน และระบบแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยระบบดังกล่าวเป็นการลงทุน ครั้งใหญ่ของกลุ่มซีไอเอ็มบี

การเดินทางของธนาคารกลุ่มซีไอเอ็มบี เพื่อเป็นธนาคารระดับภูมิภาคในอาเซียน เริ่มแสดงผลลัพธ์ออกมาทางผลกำไรในครึ่งปีแรกของปีนี้

กลุ่มซีไอเอ็มบีมีกำไรจากดำเนินงานในครึ่งปีแรก 17,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 และประเทศอินโดนีเซียทำกำไรสูงสุดร้อยละ 40 ของกำไรรวม ส่วนประเทศไทยธนาคารคาดหวังว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้าจะสามารถสร้างกำไรให้กับกลุ่มร้อยละ 10 ขณะที่ปัจจุบันธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทยมีกำไรในครึ่งปีแรก 713.99 ล้านบาท มีรายได้ 4,327.74 ล้านบาท

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารถึงกับเอ่ยปากว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าธนาคารเริ่มมีกำไรเมื่อปี 2552 เป็นครั้งแรก หลังจากขาดทุนติดต่อกันมา หลายปี

สำหรับโครงสร้างรายได้ของกลุ่มธนาคารซีไอเอ็มบี รายได้จากประเทศอินโดนีเซียมาจากการปล่อยสินเชื่อ และขายผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงิน ส่วนมาเลเซีย รายได้มาจากกลุ่มธุรกิจวาณิชธนกิจและค้าเงิน ส่วนประเทศไทยรายได้เกิดจากวาณิชธนกิจ ค้าเงิน และค่าธรรมเนียม

ดูเหมือนว่ากลุ่มซีไอเอ็มบีกำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อยกระดับให้เป็นธนาคารระดับภูมิภาคอย่างสมบูรณ์แบบ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us