Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
กองทุนไทยแคปิตอลผู้เปิดฉากทัพนักลงทุนญี่ปุ่น             
 


   
search resources

Investment
Funds
กองทุนไทยแคปิตอล




ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญตลาดหุ้นไทยได้เคยกล่าวว่า มูลค่า MARKET CAPITALIZATION ที่พูดได้ว่าลอยตัวอยู่ในตลาดหุ้นอย่างแท้จริงนั้น มีอยู่เพียง 40 % ของ MARKET CAPITALIZATION ทั้งหมดเท่านั้น และในจำนวน 40 % นี้ประมาณ 25 % เป็นมูลค่าตลาดที่เกิดจากการลงทุนของต่างประเทศ

ความเคลื่อนไหวที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยคึกคักหรืออับเฉาได้คือบทบาทของกองทุนต่างประเทศ ซึ่งในระยะกว่า 5 ปีทีผ่านมาปรากฏว่ามีการตั้งกองทุนขึ้นมาถึง 10 กองทุนด้วยกันคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 580 ล้านเหรียญสหรัฐและตัวเลขเมื่อสิ้นปี 2532 ปรากฎว่ากองทุนต่างประเทศเหล่านี้มีการลงซื้อขายหุ้นในบ้านเราเพิ่มขึ้นถึง 150 % เมื่อเทียบกับปี 2531 หรือคิดเป็นวงเงินถึง1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตัวเลขเหล่านี้อาจจะสะท้อนได้ว่าใครคือผู้ลงทุนรายสำคัญในตลาดหุ้นไทยกันแน่!!

กองทุนรายล่าสุดที่เข้ามายังตลาดหุ้นไทยในต้นเดือนมิถุนายนนี้คือกองทุนไทยแคปิตอล (THAI CAPITAL FUNF) ซึ่งเกิดขึ้นโดยความร่วมมือของบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม , DAIWAINTERNATIONAL CAPITAL MANAGEMENT (DICAM) และ MERRILLLYNCH ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ ยักษ์ใหญ่รายหนึ่งในตลาดหุ้นนิวยอร์ก

YALUTAKA KIMURA ผู้อำนวยการฝ่ายงานระหว่างประเทศของ DICAM กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าฝ่ายกองทุนรวมเป็นผู้ที่มาติดต่อกับทางไดวาเพื่อที่จะจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น "ผมคิดว่า ทางกองทุนรวมพิจารณาว่าเราเป็นผู้มีอำนาจในการจัดจำหน่ายหุ้นในตลาดนิวยอร์ก ดังนั้นจึงมาติดต่อกับเรา อันที่จริงไดวาก็เป็นผู้นำทางด้าน UNDERWRITING SYNDECATE และทำPLACEMENT ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก และตลาดหุ้นอื่น ๆ ด้วย"

DAIWA GROUP เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินญี่ปุ่นที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ยักษ์ใหญ่อินเวสเม้นท์แบงก์ของโลก บริษัท DICAM ถือเป็น INVESTING MANAGEMENT ARM ของ DAIWAGROUP ทำหน้าที่บริหาร PORTFOLIO ให้กับ US PENSION FUND วงเงินประมาณ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยกระจายการลงทุนไปยังตลาดทุนต่าง ๆ ทั่วโลก

KIMURA เปิดเผยกับ "ผู้จักการ" ว่า "ประเทศไทยมี COUNTRY FUND อยู่เป็นจำนวนมากกองทุนเหล่านี้เป็น OFF-SHORE FUND ที่ไปจัดจำหน่ายในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐ กองทุนไทยแคปิตอลนับเป็นกองทุนจากประเทศไทยกองทุนที่สองที่ญี่ปุ่นจัดตั้ง และทำการจดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กและนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นกรุงเทพแล้ว

กองทุนไทยแคปิคอลมีมูลค่าทั้งสิ้น 60 ล้านเหรียญสหรัฐและสามารถจัดสรรเพิ่มได้อีก 9 ล้านเหรียญ แบ่งออกเป็น 5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ.01 เหรียญสหรัฐโดย3 ล้านหุ้นแรกจำหน่ายโดยกลุ่มอันเดอร์ไรเตอร์สหรัฐนำโดย MERRILL LYNCH CAPITAL MARKETS และ DAIWASECURITIES AMERICA INC 2 ล้านหุ้นต่อจัดจำหน่ายโดยกลุ่มอันเดอร์ไรเตอร์สากล ซึ่งนำโดย DAIWA EUROPE LTD. } MERRILL LYNCH INTERNATIONALLTD. และ DAIWA SECURITIES (H.K.) มีอายุโครงการ 25 ปีโดยเมื่อผ่านไป 10 ปีแล้ว สามารขออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนจากกองทุนประเภท CLOSE-ENDED เป็น OPEN-ENDED ได้

ส่วนในแง่ของการลงทุนนั้น ดำรงสุข อมาตยกุลผู้ช่วยกรรมการจัดการฝ่ายบริหารกองทุนแห่งกองทุนรวมกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่ากองทุนไทยแคปิตอลจะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพียง

75 % ของกองทุน ที่เหลืออีก 25% จะนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ใหม่ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์

กองทุนไทยแคปิตอลได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศอย่างมาก ทั้งนี้ HIRO SAGO รองประธานกรรมการซึ่งรับผิดชอบงานอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ของ DAIWA SEVURITIES (H.K.) กล่าวว่าตอนที่เปิดให้จองซื้อนั้น ปรากฎว่ามีผู้แจ้งความจำนงมามากมายเป็นสองเท่าตัวซึ่งนั่นหมายความว่าส่วนที่วางแผนว่าอาจจะจัดสรรเพิ่มขึ้นอีก 9 ล้านเหรียญนั้น คงต้องมีการจัดสรรเพิ่มอย่างแน่นอน

SAGO กล่าวด้วยว่า การจัดจำหน่ายกองทุนครั้งนี้ได้มีการขายให้กับนักลงทุนรายบุคคลมากกว่า 2,000 ราย ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบของการนำกองทุนไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์ก และยังเป็นความประสงค์ของไดวากับกองทุนรวมที่ต้องการให้นักลงทุนรายบุคคลสนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น

SAGO กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "การร่วมมือกันระหว่างกองทุนรวมซึ่งถือเป็นผู้ชำนาญในตลาดหุ้นไทยกับทาง DICAM ถือเป็นการ GENERATE SYNERGY ของเรา นั่นหมายความว่าการดำเนินงานของไดวาในอนาคตย่อมจะดีขึ้นอันเป็นผลมาจากความร่วมมือกันตั้งกองทุนครั้งนี้"

ส่วน HIROKI NOMURA กรรมการผู้จัดการ DAIWACAPITAL MANAGEMENT (H.K.) กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "นี่เป็นครั้งแรกที่ไดวาร่วมกับกองทุน รวมตั้งกองทุนขึ้นในไทย ความจริงเรามี COUNTRY FUND แบบนี้เป็นหลายประเทศย่านนี้ เช่นที่มาเลเซียเราร่วมกับ ธนาคารภูมิปุตตรตั้งกองทุนวงเงินประมาณ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่อินโดนีเซียวงเงินน้อยลงมาเป็น 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่สิงคโปร์และฮ่องกง นั้นเรากำลังริเริ่มอยู่"

การตั้งกองทุนไทยแคปิตอลถูกจับตาจากหลายฝ่ายว่า จะเป็นตัวชักนำให้กองทุนปิดอีกหลายแห่งของญี่ปุ่นบุกเข้ามาในตลาดหุ้นไทยในอนาคต และเมื่อผนวกกับการยกเลิกการควบคุมเรื่องการนำเงินเข้าและออกของธนาคารแห่งประเทศไทยในธุรกิจการลงทุน ซึ่งจะประกาศใช้ในเดือนสิงหาคมนี้หมายความว่า นักลงทุนสามารส่งเงินที่ได้จากการปันผลและกำไรกลับไปยังประเทศตนได้สะดวกมากขึ้นแล้ว บรรดานักลงทุนญี่ปุ่นก็จะเข้ามาลงทุนโดยตรงกันมากขึ้น !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us