Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553
2 โครงการคู่แข่งในมาเลเซีย             
โดย ปิยะโชติ อินทรนิวาส
 

   
related stories

พลัง (งาน) ข้ามโลก เซาเทิร์นซีบอร์ด
เมกะโปรเจกต์ เมกะวาระซ่อนเร้น
Landbridge คุ้มจริงหรือ?
อะไรสำคัญกว่ากัน? พลังงานหรือการท่องเที่ยว
ปรากฏการณ์อุตสาหกรรมเข้าไปไล่ที่มรดกโลก
กังวลนกเขาอาเซียนจะไม่ขัน

   
search resources

เซาท์เทิร์นซีบอร์ด
International
Northern Corridor Economic Region
East Coast Economic Region




นับตั้งแต่ปี 2550 มาเลเซียได้ทุ่มงบประมาณเกือบ 1.8 ล้านล้านบาท เพื่อทำ 2 โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่ตอนเหนือที่มีชายแดนติดกับภาคใต้ของไทย ซึ่งแม้จะมียุทธศาสตร์การพัฒนาในเชิงแข่งขันกับไทย แต่ในอีกมิติก็ถือเป็น แรงผลักดันให้ไทยต้องเร่งเดินหน้า “โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด” นั่นเอง

2 โครงการพัฒนาของมาเลเซียที่ถือว่าเป็นคู่แข่งสำคัญของโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดของไทยคือ 1. โครงการการพัฒนาเศรษฐกิจในบริเวณแนวพื้นที่ภาคเหนือ (Northern Corridor Economic Region: NCER) และ 2. การพัฒนาในบริเวณแนวพื้นที่ชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออก (East Coast Economic Region: ECER)

ทั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่เป็นหลัก และเชื่อมโยงกับไทยภายใต้กรอบความร่วมมือที่จะพัฒนาร่วมกันคือ กรอบ IMT-GT กับกรอบ JDS โดยทั้ง 2 โครงการได้เริ่มดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ปี 2550 และจะไปแล้วเสร็จในปี 2568

ในเรื่องนี้ ว่าที่ ร.ต.กิตติพล โชติพิมาย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สศช.สรุปรายละเอียดทั้งโครงการ NCER และ ECER ของมาเลเซียไว้น่าสนใจ ดังนี้

โครงการ NCER เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 มีวัตถุ ประสงค์เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่และยกระดับรายได้ของประชาชน ประกอบ ด้วยพื้นที่รัฐปีนัง ปะลิส เกดะห์ และภาคเหนือของรัฐเประ ซึ่งติดต่อกับจังหวัดสตูล สงขลา และยะลาของไทย โดยเป็นพื้นที่ที่สร้าง GDP ให้แก่มาเลเซียร้อยละ 20.1

มีวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาไปสู่การเป็นภูมิภาคเศรษฐกิจระดับโลกในด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) ด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

ผู้ดำเนินการได้แก่ Sime Darby Berhad เป็นบริษัทใหญ่อันดับหนึ่งของมาเลเซีย และอินโดนีเซียตะวันออกเฉียงใต้ งบประมาณดำเนินการ 177 พันล้านริงกิต คิดเป็นเงินไทย ก็กว่า 1.7 ล้านล้านบาท (51.2 พันล้านดอลลาร์สรัฐ) ในช่วงระยะเวลา 18 ปี โดยรัฐบาล เตรียมงบประมาณราว 1 ใน 3 ขณะที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนประมาณ 2 ใน 3

เป้าหมายเพื่อเพิ่ม GDP ของภูมิภาคจาก 52.7 พันล้านริงกิต ในปี 2548 เป็น 214.1 พันล้านริงกิต ในปี 2568 สร้างงาน 500,000 ตำแหน่งภายในปี 2555 และอีก 1,000,000 ตำแหน่งภายในปี 2561

สำหรับการจัดแนวพื้นที่การพัฒนาย่อยภายใน NCER ประกอบด้วย

แนวพื้นที่เกาะ ได้แก่ เกาะลังกาวีและปีนัง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ และศูนย์กลางกระจายสินค้าของโลกทางด้านอากาศและทางทะเล ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางทางแพทย์ คงความเป็นศูนย์กลาง ด้านการศึกษาและการผลิตเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งยกระดับด้านโลจิสติกส์โดยพัฒนาท่าเรือ ถนน และสะพานปีนังแห่งที่ 2 เพิ่มเติม

แนวพื้นที่ชายฝั่ง ได้แก่ การพัฒนาแนวพื้นที่ด้านเหนือเชื่อมโยงปาดังเบซาร์สู่ไทย โดยพัฒนาเมืองคะง่า เมืองหลวงของรัฐปะลิสเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเชื่อมโยงกับเมืองอาโรและสินธก โดยให้เมืองกัวลาเกดะส์และเมืองกัวลามูดา เป็นศูนย์กลางด้านการประมง แปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวชายฝั่ง และการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ส่วนเมืองยานพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านปิโตรเลียมเคมี อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คลังน้ำมัน

แนวพื้นที่ตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่ข้าง North-South Expressway จากเมืองอิโปห์ รัฐเประ ไปยังเมืองบูกิตกายูฮิตัม รัฐเกดะห์ ติดชายแดนไทยที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ให้เป็นฐานอุตสาหกรรมแปรรูป โดยมีศูนย์กลางที่เมืองบัตเตอร์ เวิร์ธ คูลิม และกูรุน โดยเน้นธุรกิจ SME ที่ผลิตวัตถุดิบให้กับโรงงานเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ โดยมีแผนการพัฒนารถไฟรางคู่และการขนส่งระบบรางไปยังท่าเรือและท่าอากาศยาน

แนวพื้นที่ตอนใน ได้แก่ พื้นที่เชื่อม โยงระหว่างเมืองโกตาปุตรา และเมืองโกตา กังซาร์ เน้นกิจการด้านการเกษตรเพื่อการพาณิชย์ เช่น ยางพาราและปาล์ม และการรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นพื้นที่ประตูเชื่อมโยงกับไทยแห่งที่สอง เมืองเปิงกาลันฮูลู รัฐเประกับอำเภอ เบตง จังหวัดยะลา

(อ่านเรื่อง “หนีห่าว สลามัท เบตง” เรื่องจากปก นิตยสารผู้จัดการ 360° ฉบับ เดือนมีนาคม 2552 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)

แนวพื้นที่บัตเตอร์เวอร์ธ-คูลิม-บาลิง-เปิงกาลันฮูลู เพื่อเชื่อมโยงระหว่างศูนย์โลจิสติกส์ที่เมืองบัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง กับเมืองคูลิม รัฐเประ โดยจะพัฒนายกระดับถนนเชื่อมโยงระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก

มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการปีนังโมโนเรล สร้างสะพานปีนังแห่งที่สอง โครงการ Kedah Hydrocarbon Hub หรือการพัฒนาโรงกลั่นน้ำมัน คลังน้ำมัน และการสร้างท่อส่งน้ำมันในรัฐเกดะห์ (เมือง Yan) ผ่านไปรัฐกลันตัน (เมือง Bachok) ปัจจุบันโครงการต่างๆ อยู่ระหว่างการทบทวน เนื่องจากผลกระทบวิกฤติ เศรษฐกิจสหรัฐฯ และราคาน้ำมัน

องค์กรบริหาร ได้แก่ Northern Corridor Implementation Authority (NCIA) โดยมีผู้แทนจากรัฐต่างๆ ในพื้นที่และรัฐบาลมาเลเซียร่วมดำเนินการ

ความเชื่อมโยงกับไทยคือ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน NCER ที่สำคัญ เช่น การพัฒนาด่านศุลกากรแห่งใหม่ที่ดูเรียนบุหรง รัฐเกดะห์ ตรงข้ามกับด่านศุลกากรบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่งฝ่ายมาเลเซียมีความก้าวหน้ากว่าฝ่ายไทยมาก การพัฒนาด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ตรงข้ามด่านบูกิตกายูฮิตัม ฝ่ายไทยยังอยู่ระหว่างการจัดหาที่ดิน ขณะที่ฝ่ายมาเลเซียพัฒนาตามโครงการ Kota Perdana ไปตามแผนแล้ว

ด้านโครงการ ECER เปิดโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2550 ในพื้นที่ 3 รัฐ ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และอำเภอเมอร์ซิง รัฐยะโฮร์ โดยเชื่อมโยง กับไทยในบริเวณจังหวัดนราธิวาสกับรัฐกาลันตัน

มีวัตถุประสงค์ใช้การพัฒนาด้านปิโตรเลียมภายใต้ Petronas Nasional Bhd. เป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งพัฒนาด้านท่องเที่ยวและเป็นศูนย์โลจิสติกส์ทางภาคตะวันออก

พื้นที่ ECER เดิมค่อนข้างยากจน โดยมีสัดส่วน GDP ของประเทศเพียงร้อยละ 12 เป็นระดับต่ำสุด แต่มีทรัพยากรน้ำมันนอกชายฝั่งทะเลรัฐกลันตันจำนวนมาก สามารถพัฒนาเป็นฐานการผลิตปิโตรเคมี เช่นเดียวกับฐานการผลิตปิโตรเลียมเคมีขนาดใหญ่ที่เมืองเกอเตร์ในรัฐตรังกานู

ผู้ดำเนินการคือ Sime Darby Bhd. และ Southern Corridor Bhd. งบประมาณ 22.3 พันล้านริงกิต โดยรัฐบาลจัดสรรให้ และลงทุนโดย Petronas Nasional Bhd. ในด้าน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติประมาณ 40 พันล้านริงกิต โดยมีระยะเวลาดำเนินการถึงปี 2563

สำหรับโครงการ ECER มีแผนพัฒนาที่สำคัญๆ ประกอบด้วย

ความเป็นศูนย์กลางด้านท่องเที่ยว ได้แก่ แนวพื้นที่ชายฝั่ง เช่น เมืองตุมปัต (ตรงข้ามอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส) กัวลาปาหัง ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชายแดน เช่น เมืองเปิงกาลันกุโบร์ (ตรงข้ามท่าเรือเฟอร์รี่ตาบา) เมืองรันตาปันยัง (ตรงข้ามอำเภอ สุไหงโก-ลก) เมืองบูกิตบุหงา (ตรงข้ามบ้านเก๊ะตา ปัจจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่ง ใหม่สร้างแล้วเสร็จ) แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี บริเวณเมืองเกอร์เต และเมืองเกบัง สนับสนุนด้วยการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ทางด่วนพิเศษและทางด่วน ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ขยายท่าเรือกวนตัน เคมามัน และเกอร์เต

การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูปหลัก ได้แก่ แนวพื้นที่ Eastern Region Primary Manufacturing Corridor เชื่อมโยงระหว่างเมืองเกอร์เต-ท่าเรือกวนตัน-กวนตัน-แกมบัง-เปกัน โดยพัฒนาเขตการค้าเสรีที่ท่าเรือกวนตัน และท่าเรือเคมามัน คลัสเตอร์ อุตสาหกรรม น้ำมันปาล์มที่เมืองท่าเรือกวนตัน ศูนย์การค้าและการกระจายสินค้าประเภทยานยนต์ ณ เมืองท่าเรือกวนตัน อู่ต่อเรือซ่อมเรือที่เมืองชูไค อุตสาหกรรมหลักที่เมืองเตลุก คาลอง และชูไค สวนอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เมืองเปรามู และสวนอุตสาหกรรมฮาลาลที่เมืองแกมบัง

การพัฒนาศูนย์อุตสาหกรรมแปรรูประดับรอง ได้แก่ แนวพื้นที่ Secondary Manu-facturing Zone (ตาเมอร์ลอห์-เมนตากับ-เบนตา-กัวลาตรังกานู-โกตาบารู) ประกอบด้วย สวนอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางที่เมืองที่เมืองตาเมอร์ลอห์ สวนอุตสาหกรรมผสมผสาน ที่เมืองเบนตอง หมู่บ้านหัตถกรรมที่เมืองกัวลาตรังกานู เขตเสรีที่ท่าอากาศยานกัวลาตรังนากู และเมืองเปิงกาลันกุโบร์ สวนอุตสาหกรรมฮาลาลที่เมืองปาเสมัส

การแปรรูปอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปจากน้ำยางข้นที่เมืองมาจัง การทำสวนไม้ยางในทุกรัฐของ ECER การแปรรูปอาหารระดับ SME ที่เมืองตอกบาลิ บาจอก เชนเดอริง ชูไค กวนตัน และสวนอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง ที่เมืองกัวลาลัมไกร บันดา อัล-มุกตาฟิ บิลลา-ชาห์

ความเชื่อมโยงกับไทยคือ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกที่บ้านบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส กับบ้านบูกิต บุหงา รัฐกลันตัน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 การศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกแห่งที่สอง บริเวณเมืองรันเตาปันยัง รัฐกลันตัน และอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และสะพานข้ามแม่น้ำโกลก ที่ท่าตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กับเมืองเปิงกาลันกุโบร์ อำเภอตุมปัต รัฐกลันตัน

ดังนี้แล้ว ทั้งโครงการ NCER และโครงการ ECER นอกจากจะมียุทธศาสตร์เชิงแข่งขันกับไทยแล้ว ยังจะเป็นตัวกระตุกรัฐไทยให้รีบดำเนินการโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดให้เป็นจริงขึ้นมาโดยเร็ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us