Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2553
แคชเมียร์ ก้อนหิน และกระสุนปืน             
โดย ติฟาฮา มุกตาร์
 


   
search resources

Political and Government




“Azadi” เสียงเรียกร้องอิสรภาพกลับมาก้องดังหุบเขาแคชเมียร์อีกครั้ง นับจากปลายเดือนมิถุนายน กว่าสองเดือนที่แคชเมียร์อยู่ในสภาพเกือบปิดตาย ทั้งจากการประกาศเคอร์ฟิวโดยฝ่ายรัฐและการสไตรก์แบบ Total Shutdown ภายใต้การนำของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน การสูญเสียทวีเป็นเงาตามตัว จนถึงต้นเดือนกันยายน มีผู้เสียชีวิตจากการใช้กำลังปราบปรามโดยฝ่ายรัฐ 69 ราย

สถานการณ์ร้อนรอบใหม่นี้ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างกองกำลังแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธ (Militants) และกองกำลังของรัฐบาลอินเดียเช่นในช่วงทศวรรษ 1990 แต่เป็นการลุกฮือขึ้นเรียกร้องอิสรภาพของประชาชนโดยเฉพาะวัยรุ่นและคนหนุ่ม ที่คับแค้นต่อความอยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎหมาย Armed Forces Special Power Act (AFSPA) ที่เทียบได้กับกฎอัยการศึก นัยหนึ่งคือใบอนุญาตจับกุม คุมขังและสังหาร โดยไม่ต้องมีหมาย หรือการไต่สวน ซึ่งอินเดียบังคับใช้ในแคชเมียร์มาตลอดสองทศวรรษ ประชาชนเหล่านี้ไม่มีอาวุธ พวกเขาประท้วง ต่อต้าน และตอบโต้ด้วยเสียงตะโกน ก้อนหิน ข้อเขียนบนกำแพง และถ้อยแถลงทาง Social Network คำเรียกร้องนั้นสั้นและชัดเจน

“Azadi” (อิสรภาพ) “Quit Kashmir” “Go India, Go Back”

ปัญหาแคชเมียร์นั้นยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 1947 แคชเมียร์ซึ่งเป็นรัฐอิสระในขณะนั้นยอมอยู่ในอาณัติของอินเดียเป็นการชั่วคราว ด้วยข้อแม้ว่าจะมีการทำประชามติให้ชาวแคชเมียร์ตัดสินใจอนาคตของตนเอง ว่าจะรวมประเทศกับอินเดีย ปากีสถาน หรือเป็นรัฐเอกเทศ แต่ด้วย “เกม” การเมืองทั้งภายในและภายนอก 63 ปีผ่านไป ชาวแคชเมียร์ก็ไม่เคยมีโอกาสแสดงประชามติ ดินแดนแคชเมียร์ส่วนที่อยู่ใต้อาณัติของอินเดียถูกรวมเข้ากับจัมมูและลาดัก เรียกกันว่า รัฐชัมมูแคชเมียร์

ความต้องการอิสรภาพไม่เคยจางไปจากใจชาวแคชเมียร์ การลุกฮือครั้งใหญ่ของประชาชนมีขึ้นในปี 1989 การใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามโดยรัฐบาลอินเดีย ทำให้สถานการณ์ลุกลามไปสู่การก่อตั้งกองกำลังแบ่งแยกดินแดนที่ใช้อาวุธและความรุนแรงต่อกรกับฝ่ายรัฐ แคชเมียร์ตกอยู่ในแนวปะทะของความรุนแรงมาตลอดช่วงทศวรรษ 1990

หลังปี 2002 สถานการณ์เริ่มเย็นลง เมื่อตัวแปรทางการเมืองฝ่ายต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับการเจรจามากขึ้น แล้วกลับปะทุขึ้นเป็นระลอกตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ในปี 2008 การประท้วงกรณีการโอนที่ดิน Amarnath ที่ไม่โปร่งใสขยายตัวไปสู่การเรียกร้องอิสรภาพและเป็นผลให้ผู้ว่าการรัฐจากพรรคคองเกรสต้องลาออก ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ปรากฏว่าชาวแคชเมียร์ไปใช้สิทธิลงคะแนนถึงร้อยละ 67 นี่อาจเป็นเหตุให้รัฐบาลอินเดียได้ใจ และแสดงตัวหนุนหลังผู้ว่า การรัฐคนใหม่ Omar Abdullah ซึ่งเป็นทายาททางการเมืองของ Farooq Abdullah อดีตผู้ว่าการรัฐแห่งพรรค เนชั่นนัล คอนเฟอร์เรนซ์อย่างออกนอกหน้า และโอมาร์ เองก็ดูจะอ่านใจคนแคชเมียร์พลาด หลงคิดว่าตนเป็นความหวังใหม่และแคชเมียร์สมัครใจขานรับเศษเสี้ยวประชาธิปไตยที่อินเดียยื่นให้ โดยไม่เข้าใจว่าคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งก็เพียงเพื่อให้กลไกบริหารของรัฐเดินหน้าปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานที่แคชเมียร์ล้าหลังขาดแคลนราวกับเป็นรัฐจนๆ ทั้งที่เป็นหุบเขาอันร่ำรวยด้วยทรัพยากรดิน น้ำ แหล่งท่องเที่ยว และสินค้าส่งออกราคาดี แต่บาดแผลในใจคนแคชเมียร์ยังไม่เคยได้รับการเยียวยา

ดังจะเห็นว่าไม่กี่เดือนต่อมา เมื่อมีคดีข่มขืนและฆ่าผู้หญิง 2 รายที่ตำบลโชเปียน ซึ่งหลักฐานแวดล้อมบ่งชี้ว่าเป็นฝีมือของคนในเครื่องแบบ แต่ฝ่ายรัฐแทนที่จะเร่งสืบสวนกลับพยายามกลบคดี เป็นผลให้มีการประท้วงใหญ่อีกครั้ง

ความโกรธแค้นจากคดีโชเปียนยังไม่ทันจาง เพียงย่างเข้าปี 2010 ก็มีผู้เสียชีวิตติดต่อกัน 3 ราย ซึ่งล้วนเป็นวัยรุ่นที่ไม่ได้ก่อเหตุวุ่นวาย แต่เสียชีวิตจากการยิงใส่ฝูงชนแบบไม่เลือกโดยกองกำลังตำรวจกึ่งทหารจากส่วนกลาง (CRPF: Central Reserve Police Force) ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน Tufail Ahmad Mattoo วัย 17 ปี ซึ่งเพิ่งกลับจากเรียนพิเศษและเดินผ่านผู้ชุมนุมกลุ่มเล็กๆ ที่กำลังประท้วงเหตุวิสามัญฆาตกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้น โดนลูกหลงแก๊ส น้ำตาที่ตำรวจยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุมและเสียชีวิต ทางการแทนที่จะยอมรับผิดกลับพยายามบิดเบือนข่าวและสกัดไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมขบวนแห่ศพ และนั่นกลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย การชุมนุมประท้วง ขว้างปาก้อนหิน เผาทำลายสถานีตำรวจ และทรัพย์สินของราชการขยายวงจากย่านเมืองเก่าของศรีนครไปสู่หัวเมืองอื่นๆ

ฝ่ายรัฐแทนที่จะปรับยุทธวิธี กลับระดมกำลังเข้าปราบผู้ชุมนุม แล้วแคชเมียร์ก็ตกเข้าสู่วงจรอุบาทว์ของความตายและความรุนแรง ความตายหนึ่งจุดชนวนการประท้วง เจ้าหน้าที่ล้อมปราบด้วยกระสุนและแก๊สน้ำตา เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่ม ซึ่งต่อเชื้อให้การประท้วงขยายวงต่อไป

เมื่อควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ทางการจึงออกประกาศเคอร์ฟิวแบบปูพรม ขณะเดียวกัน Syed Ali Shah Geelani ผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสายเหยี่ยว (All Parties’ Hurriyat Conference) ก็เรียกร้องให้มีการสไตรก์แบบ Total Shutdown สลับกับการเดินขบวนประท้วงโดยสันติไปตามสถานที่สำคัญต่างๆ โดยทุกเย็นวันอาทิตย์จะมีการประกาศปฏิทินสำหรับสัปดาห์ต่อไป ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็ร่วมมือในการแสดงพลังสไตรก์ ยังผลให้แคชเมียร์อยู่ในสภาพปิดตายแทบจะตลอดสัปดาห์ โดยแต่ละสัปดาห์อาจมีหนึ่งวันที่ทางการและผู้นำการประท้วงผ่อนให้มีการสัญจรไปมาหรือจับจ่าย เพื่อเป็นเสบียงสำหรับการสไตรก์ใน ช่วงต่อไป แต่บางครั้งก็ ปิดตายตลอดทั้งอาทิตย์

จากสถิติที่รวบ รวมโดย Conveyor นิตยสารท้องถิ่นฉบับแรกของแคชเมียร์ พบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แคชเมียร์ปิดเมืองมาแล้วกว่า 1,500 วัน ซึ่งในช่วง 4 ปีแรกของภาวะ Militancy มีการสไตรก์ปิดเมืองร่วม 700 วัน โดยเฉพาะปี 1990 ปิดสูงสุดถึง 198 วัน

ที่ผ่านมา หลายฝ่ายคาดหมายว่าเมื่อย่างเข้า สู่รอมฎอนเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม สถานการณ์อาจเย็นลง แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น ล่าสุด รัฐบาลอินเดียที่ทำทองไม่รู้ร้อนมาตลอดสองเดือน เริ่มแสดงความหวั่นวิตกและเร่งประชุมหามาตรการแก้ไข ข้างฝ่ายผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนของแคชเมียร์ ที่ได้รับแรงกดดันจากภาคประชาสังคม ซึ่งห่วงใยต่อผลกระทบของการปิดเมืองต่อนักเรียนและนักศึกษา ก็มีน้ำเสียงที่อ่อนลง ว่าพร้อมจะเจรจาหากรัฐบาลยอมทำตามข้อเรียกร้อง 5 ประการ ได้แก่ การยอมรับว่าแคชเมียร์เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ การปล่อยนักโทษการเมือง การลดกำลังทหารในแคชเมียร์ ยกเลิกกฎ AFSPA และลงโทษผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน 65 รายในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

การที่รัฐบาลอินเดียจะยอมตามข้อเรียกร้องดังกล่าวคงเป็นเรื่องยาก แต่การปล่อยให้สถานการณ์ยืดเยื้อต่อไปก็ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลเอง ซึ่งกำลังต้องรับศึกอีกหลายด้านในหลายรัฐ และหากความโกรธเกรี้ยวของคนแคชเมียร์รุ่นใหม่ลุกโชนต่อไป ใครจะรู้ว่าวัยรุ่นและคนหนุ่มที่ประท้วงตอบโต้ด้วยเสียงตะโกนและก้อนหินในวันนี้ อาจพาแคชเมียร์กลับสู่ยุคของกองกำลังติดอาวุธเต็มรูปอีกครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us