Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
พงศ์พันธุ์ บุรณศิริ หุ่นจำลองของรัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูป             
 


   
search resources

Agriculture
พงศ์พันธุ์ บุรณศิริ
ผลิตภัณฑ์อิสาน, บจก.




ภาพของบริษัทผลิตภัณฑ์อิสาน จำกัดในวันนี้ คือภาพของบริษัทธุรกิจกระสอบปอที่สดใส โดยเฉพาะเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ถ้าย้อนมอง 3 - 4 ปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์อิสานในอดีตก็คือบริษัทกระสอบอิสาน จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ใครต่างมองด้วยสายตาอย่างเดียวกันว่า บริหารไม่ดี มีแต่ขาดทุน กระทรวงการคลังจึงมีนโยบายประกาศแปรรูปเป็นเอกชน

การที่ผลิตภัณฑ์อิสานได้รับอนุญาตเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั้น ย่อมเป็นการบ่งบอกถึงผลการดำเนินงานที่น่าพอใจ คือกำไรติดต่อกันและนับเป็น PILOT PROJECT ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจสู่มือเอกชนที่ประสบความสำเร็จ

คนที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดคนหนึ่งของผลิตภัณฑ์อิสานก็คือ พงศ์พันธุ์ บุรณศิริ กรรมการผู้จัดการคนปัจจุบันซึ่งได้คลุกคลีอยู่ที่นี่นานมากกว่า 20 ปี

พงศ์พันธุ์เริ่มงานที่กระสอบอิสานจากการแนะนำของ สงบ พรรณรักษา เพื่อนร่วมรุ่นจากธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีอยู่ พงศ์พันธุ์เข้ามาในตำแหน่งผู้จัดการธุรการ โดยจะดูแลงานทั่วไปทั้งหมดที่โรงงาน

พงศ์พันธุ์เล่าถึงแรงจูงใจในการเข้ามาทำงานที่นี่ว่า อุตสาหกรรมกระสอบปอนับเป็นกิจการที่น่าสนใจซึ่งขณะนั้นยังมีไม่มาก และเห็นว่าเป็นกิจการที่มีประโยชน์ต่อประเทศในแง่ที่ว่าเป็นรายได้หลักของประชาชนทางภาคอีสาน

เมื่อดูถึงทีมงานในตอนนั้น สงบเองต้องการทีมงานที่รู้ใจเพื่อช่วยบุกเบิกธุรกิจนี้ให้ก้าวหน้าและจะต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ ขณะนั้นจินดา ยิมเรวัต ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานกรรมการบริษัทได้เข้ามาช่วยวางฐานการบริหารด้วย

ก่อนที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2530 กระสอบอิสานมีกำไรสะสม 235.3 ล้านบาท หักขาดทุนสะสม 108.5 ล้านบาท เหลือมีกำไรสุทธิ126.8 ล้านบาท แม้ว่าจะมีบางปีที่ขาดทุนบ้างซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาดโลกที่อยู่นอกเหนือการควบคุม

ยกตัวอย่างช่วงตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา ราคากระสอบที่ชายกันในตลาดโลกที่เคยอยู่ในราคาใบละเกือบ 20 บาท ก็ตกวูบเหลือเพียงใบละ 12 - 13 บาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำรงวัตถุดิบคงคลังก็สูง ดังนั้น ช่วงปี 2519 ถึง 2523 จึงเป็นช่วงที่กระสอบอิสานขาดทุนติดต่อกันประมาณเกือบ 50 ล้านบาท มีโรงงานกระสอบหลายแห่งมีอันต้องปิดตัวลงไป ทำให้ซัพพลายน้อย เหตุนี้ในรอบวงจรการผลิตถัดไปทำให้บริษัทกระสอบอิสานเริ่มมีกำไรกระเตื้อง

ช่วงไล่เลี่ยกันนี้เองที่แรงงานเป็นใหญ่ มีการสไตร์มีการเรียกร้องค่าแรงและสวัสดิการต่าง ๆ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ถือว่าปัญหาแรงงานเป็นเรื่องที่บริษัทนั้นจะดูแลรับผิดชอบเอง ทางราชการจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว

ถ้ามีการเรียกร้องแล้วทางบริษัทนั้น ๆ แก้ไขปัญหาไม่ได้ก็จะกลายเป็นว่าบริษัทนั้นเป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาแก่บ้านเมืองกิจการอย่างโรงกระสอบปอนี้ถือว่าเป็นกิจการแข่งขัน พงศ์พันธุ์ย้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่ธุรกิจผูกขาดแบบสาธารณูปโภค รายได้แต่ละปีจึงมีขึ้นลงแล้วแต่ ดีมานด์ซัพพลายและภาวะตลาดโลก แรงงานหลายส่วนไม่เข้าใจ เมื่อเห็นว่ารัฐวิสาหกิจอื่นได้สวัสดิการเพิ่มก็อยากได้ด้วย ตอนนั้นมีทั้งแรงหนุนจากสหภาพส่วนกลาง นักศึกษาเข้ามาร่วมชุมนุมในโรงงานจนต้องหยุดการผลิตทั้งที่คนตั้งใจทำงานมีมากกว่าคนไม่ทำงาน จากคนงานทั้งหมดสองพันกว่าคน

ขณะนั้น ทวีเกียรติ กฤษณามระ รองปลัดกระทรวงการคลังและประธานกรรมการบริษัทในปัจจุบันเป็นกรรมการอยู่ ได้ร่วมประชุมหารืออย่างขะมักเขม้นว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะแม้ว่าเครื่องจักรจะหยุดไปสองอาทิตย์แต่ความเสียหายต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน ทำให้เสียบรรยากาศการทำงาน พอมีปัญหาไม่พอใจอะไรก็ต้องให้สหภาพมาเจรจาทำให้บริษัทประสบภาวะขาดทุน

พอหมดยุคแรงงานเป็นใหญ่ ขณะที่รัฐบาลเริ่มเอาจริงกับแรงงานที่ทำผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สหภาพหลายคนทำผิดขั้นตอนไปเป็นสมาชิกพรรคการเมืองซึ่งขัดระเบียบลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ "เราก็เอาจริงตามรัฐบาล เมื่อผิดก็ส่งฟ้องศาลดำเนินคดีไปแล้วจ่ายชดเชยไป" พงศ์พันธุ์กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับแรงงานบางส่วนในช่วงต่อมา

"เท่ากับเป็นการถ่ายเลือด สหภาพที่เหลืออีกราว 70 - 80% ก็ยังอยู่กันจนถึงทุกวันนี้ จะสังเกตได้ว่าความไม่เข้าใจตอนนั้นเป็นเรื่องของการถูกยุมากกว่าและได้ข้อมูลด้านเดียว ประกอบกับเป็นยุคประชาธิปไตยแบ่งบาน ทำให้มีการโต้แย้งอย่างฉกาจฉกรรจ์และฮึกเหิม คิดว่าตนเองถูกทั้งหมด" พงศ์พันธุ์เล่าด้วยความเชื่อมั่นที่ว่าแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ตั้งใจทำงาน

เมื่อผู้นำสหภาพหลายคนถูกเลิกจ้างไป ก็เหลือคนที่รู้เรื่องและสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีขึ้นมาได้พอมีปัญหาก็ได้รับความร่วมมือด้วยดี มีการจัดสัมมนาอบรมวิชาการและโครงการอื่นเป็นประจำ ทำให้แรงงานได้พบปะโลกภายนอกก็ยิ่งทำให้แรงงานมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

มีการจัดโปรแกรมบ่อยมากตามนโยบายแผนที่กำหนดไว้ว่าปีหนึ่งจะมีกี่ครั้ง ทั้งบนและล่าง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ที่ขอกันไปเมื่อเห็นว่าไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็มีการร่วมทบทวนกันใหม่

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสวัสดิการที่แรงงานเคยขอให้ครอบคลุมแบบรัฐวิสาหกิจที่กระจายไปถึงพ่อแม่ ตอนหลังก็ได้คุยกันว่าควรให้เฉพาะตัวหรือแค่บุตร และในที่สุดก็ค่อยทยอยเลิกไป แล้วคงสวัสดิการแค่เฉพาะตัวเหมือนบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งเป็นการยืนบนฐานที่เท่าเทียมกัน

การผลิตกระสอบปอตัวที่เป็นปัญหาฉกาจฉกรรจ์ที่สุดก็คือค่าแรง พอขอขึ้นก็กระเทือนอย่างหนัก ทำให้ค่าแรงเพิ่มมากขึ้นเป็นกว่า 20% ของต้นทุนทั้งหมด ขณะที่อุตสาหกรรมหลายอย่างต้นทุนแรงงานไม่ถึง 10% และส่วนใหญ่ไม่เกิน 5% ด้วยซ้ำ พอขึ้นก็กระเทือนตามขนาด จึงทำให้ขาดทุนต่อเนื่องร่วม 50 ล้านบาท เหตุนี้การบริหารต้นทุนแรงงานจึงเป็นหัวใจการเพิ่มขีด ความสามารถในการทำกำไรพร้อม ๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

พงศ์พันธุ์เชื่อว่าการที่รัฐวิสาหกิจจะมาแข่งกับเอกชนน่าจะสู้กันไม่ได้เพราะมีกรอบระเบียบหลายอย่างติดอยู่ แต่ไม่ใช่ว่าเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วจะต้องเจ๊งเสมอไป "ไม่ใช่เด็ดขาด อันนี้ขึ้นกับการบริหาร อาจจะต้องมีแต้มต่อให้เรา เราไม่ใช่จะเล่นเก่งแต่ถ้าจะแข่งเรียกว่าต้องขอต่อหน่อย เพราะมีกฎหมายมติ ครม. ระเบียบสำนักนายกฯ ระเบียบของกระทรวง หรือระเบียบการก่อตั้งขององค์กร ถ้าเปรียบเทียบการวิ่ง คนอื่นเขาวิ่งกันตรง ๆ เราต้องวิ่งข้ามรั้วอยู่เรื่อยหรือเจอกำแพงก็วิ่งไม่ได้ แต่ถึงเส้นชัยได้" เขาอุปมาอุปไมยให้ฟัง

กระสอบอิสานตั้งขึ้นโดยกลุ่มของจอมพลผิน ชุณหะวัณ ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เมื่อปี 2496 เพื่อสร้างงานให้แก่ชาวอีสาน แก้ปัญหาการนำเข้ากระสอบจากต่างประเทศ และสร้างฐานอำนาจทางเศรษฐกิจในรูปของบริษัทเอกชน ทำได้ 6 ปีขาดทุนต่อเนื่องอย่างมาก รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ยังเห็นความสำคัญจึงให้กระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้น พอมาถึงปี 2530 กระทรวงการคลังมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ขณะที่อุตสาหกรรมกระสอบไม่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค เป็นธุรกิจที่ไม่ตั้งใจให้ได้มา เรียกว่าเป็นเรื่องตกกระไดพลอยโจนมากกว่า และปัจจุบันก็ไม่จำเป็นจะต้องมีรัฐวิสาหกิจกระสอบ

ช่วงที่ทางคลังสอบถามความเห็นในการแปรรูปพงศ์พันธุ์เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์และเน้นว่ายิ่งเร็วยิ่งดีเพราะเข้าใจเจตนาตรงกัน และถ้าเป็นเอกชนเต็มตัวเร็วก็ยิ่งได้ประโยชน์ ทำให้แข่งขันและยืดหยุ่นในตลาดได้มากขึ้นซึ่งอาจจะกระทบผู้ปฏิบัติงานคนบางคนที่อยากได้แบบสบาย ๆ "อันนี้เราไม่อยากให้มีอยู่แล้ว"

เดิมทางคลังไม่ได้คิดนำกระสอบอิสานซึ่งตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นผลิตภัณฑ์อิสานเข้าตลาดฯ แต่จะให้ขายหุ้นแก่เอกชนทั้งหมดก็จะต้องประมูลขายแก่ผู้ที่ให้ราคาสูงสุดทำให้แรงงานเกือบสามพันคนไม่แน่ใจอนาคต เพราะไม่รู้ว่าใครจะเป็นนายทุนใหม่และเป็นอย่างไร ทำให้ไม่อยากให้ขายเป็นเหตุให้เกิดม็อบได้ง่ายหรือทำให้คนมีฝีมือรีบออกไปเพราะเสียขวัญ

ช่วงเดียวกันนั้นเองที่ตลาดฯ อยากให้รัฐวิสาหกิจเข้ามาก แต่รัฐวิสาหกิจยังไม่มีใครอยากเข้าตลาดฯ "ดูเหมือนผมจะเป็นรายแรก เวลานั้นผมเห็นว่าตลาดฯกำลังโต ถ้าเราเข้าไปก็ทำให้พัฒนาไปได้อีกมาก พอไปคุยกับเจ้าหน้าที่ของตลาดฯก็เห็นลู่ทางที่เป็นไปได้จึงเสนอคลัง คลังเห็นด้วยและต้องการให้เป็นตัวอย่างแก่รัฐวิสาหกิจอื่นด้วย"

พงศ์พันธุ์เล่าว่าตอนแรกจะเข้ากระดานจดทะเบียนด้วยซ้ำแต่กรรมการตลาดฯว่าธุรกิจกระสอบปอมีอัตราการผันแปรสูง ทำให้สะกิดใจว่าเมื่อมีการบริหารที่ดีแล้วไม่น่าจะขาดทุน จึงเสนอว่า "ให้เราหาธุรกิจอื่นมาแทรกในเครือเสียก่อน แล้วจึงให้เป็นบริษัทจดเบียน ซึ่งเราคิดว่าปีนี้เราจะยื่นเปลี่ยนจากกระดานสองเป็นกระดานหนึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียน"

ประการสำคัญพงศ์พันธุ์ย้ำกับ "ผู้จัดการ" ว่าอุตสาหกรรมกระสอบปอทรงตัว ถ้าทรงตัวก็เท่ากับถอยหลังขณะที่คนอื่นเดินหน้า จึงต้องหาธุรกิจอื่นแทน ก็คือโครงการกระสอบพลาสติก หรือแม้แต่นิคมอุตสาหกรรมสระบุรีที่เริ่มดำเนินการไปแล้วเพื่อสร้างฐานให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจผลิตภัณฑ์ปอยังคงดำเนินต่อไปเพราะปอเป็นไฟเบอร์ธรรมชาติที่ดีมาก ตลาดด้านนี้ของยุโรปเพิ่มขึ้น อัตราการใช้เชือกทอพรมในยุโรปขยายตัว ขณะที่ไต้หวันซื้อเชือกจากเราไปทอเป็นพรมส่งขายสหรัฐ ซึ่งพวกนี้จะต้องพัฒนาตลาดกันต่อไป

อนาคตกระสอบอิสานได้แก้ตกไปแล้วในด้านเงินทุนเมื่อเป็นบริษัทในตลาดหุ้นที่กำลังถูกนักลงทุนรุมซื้อกัน จากนี้ไปก็อยู่ที่การมีทัศภาพที่ก้าวหน้าของพงศ์พันธุ์ที่จะนำกระสอบอิสานไปสู่การเป็นตัวแบบที่บรรดารัฐวิสาหกิจควรเอาเยี่ยงอย่าง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us