|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สสว.ยกเครื่ององค์กร ลดงานภาคปฏิบัติ มุ่งเน้นวางนโยบายยุทธศาสตร์ ลดงานด้านปฏิบัติมอบหมายงานให้หน่งยงานที่รับผิดขอบดูแล ยกระดับให้เป็นสภาพัฒน์ของเอสเอ็มอี ระบุจะให้ความสำคัญกับงานต่างประเทศเพิ่มขึ้น เตรียมเอสเอ็มอีสู้ศึกเปิดการค้าเสรี ระบุไทยเนื้อหอม เอสเอ็มอีสหรัฐฯ-ยุโรป เตรียมตบเท้าเข้าร่วมลงทุน โดยเฉพาะอิตาลีวางแผนตั้งฐานผลิตเรือยอร์ชสุดหรูในไทยเจาะลูกค้ากระเป๋าหนักในเอเชีย พร้อมลุยแก้ปัญหาเงินกู้ จัดเรดเอสเอ็มอี การันตีให้ธนาคารปล่อยกู้มากขึ้น เล็งนำร่องยกระดับโฮทอปขั้นเป็นเอสเอ็มอีจังหวัดละ 2 ราย
สสว.ปรับแผนมุ่งวางนโนยบายแทนปฏิบัติ
ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนายการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ในปัจจุบันภาวะการแข่งขันในตลาดโลกเปลี่ยนไป ดังนั้นแนวทางการดำเนนธุรกิจ หรือการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อมจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสภาบแวดล้อง และความต้องการของผู้ประกอบการ รวมทั้งปิดรูรั่วของนโยบายส่งเสริม เอสเอ็มอีที่ผ่านมา
ดังนั้น สสว. จึงได้ปรับโครงสร้างใหม่เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน ซึ่งจะมุ่งเน้นในการวางนโยบายยุทธศาสตร์ในภาพรวมทั้งประเทศให้เป็นเหมือนสภาพัฒน์ของภาคเอสเอ็มอี ลดภาระงานด้านปฏิบัติลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยจะแจกจ่ายงานภาคปฏิบัติในด้านการส่งเสริม การฝึกอบรม และด้านต่างๆให้กับหน่วยงานตรงที่รับผิดชอบ เช่น ถ้าเกี่ยวข้องกับการผลิตในโรงงาน ก็จะให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าไปดูแล ถ้าเกี่ยวข้องกับการค้าและบริการก็จะให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปช่วยเหลือเป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลดการทับซ้อนในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ และเกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
โดยการปรับโครงสร้างครั้งนี้ได้ลงจำนวนฝ่ายลง จากเดิมมี 13 ฝ่าย ลดลงเหลือ 11 สำนักให้สอบคล้องกับภาระกิจหลัง 3 ส่วน ได้แก่ การจัดทำแผน ประกอบด้วย 1.สำนักแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของ สสว. เพราะเป็นผู้ทำแผนส่งเสริมสสว. ทั้งหมด และขณะนี้กำลังจัดทำแผนยุทธศาสตร์ปี 55-59 เพื่อให้เป็นแผนที่บูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน 2.สำนักข้อมูลและวิจัย ซึ่งจะเป็นการวิจัยเชิงนโยบาย ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อป้อนให้กับหน่วยงานแผนยุทธศาสตร์ 3.สำนักติดตามและประเมินผลโครงการ มีหน้าที่ประเมินผลติดตามความคืบหน้าของโครงการต่างๆเพื่อให้โครงการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
เน้นงานต่างประเทศรับศึกเอฟทีเอ
นอกจากนี้จะเป็นส่วนของงานเครือข่าย ที่ประกอบด้วยงานหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือ งานภายในประเทศ และงานต่างประเทศ โดยมี 3 สำนัก ได้แก่ 1. สำนักประสานด้านการต่างประเทศ เพื่อศึกษาผลกระทบของ เอฟทีเอ ในกรอบประเทศต่างๆ เพื่อวางมาตรการรองรับให้กับกลุ่มเอสเอ็มอีที่ได้รับความเดือดร้อน และสนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีความได้เปรียบให้ไปเจาะตลาดรวมทั้งลงทุนในต่างประเทศ ให้เอสเอ็มอีได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีมากที่สุด สำนักงานประสานและบริหารโครงการ และสำนักบริการผู้ประกอบการ ซึ่งจะให้บริการคำปรึกษาขั้นพื้นฐานแล้วส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลต่อไป รวมทั้งจะให้ข้อมูลด้านการตลาดและนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนการทำบิสเนสแมชชิ่งกับผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนที่ 3 จะเป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการเงิน ประกอบด้วยสำนักสนับสนุนด้านการเงิน มีหน้าที่เข้าไปอุดหนุนด้านการเงินโดยตรงเช่น การให้งบประมาณในการนำเอสเอ็มอีออกไปดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการเข้าไปร่วมลงทุน รวมทั้งในปี 54 ได้จัดสรรงบเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการจำนวน 90 ล้านบาท รวมทั้งยังมีสำนักบริหารกลยุทธ์และงบประมาณ ทำหน้าที่ประเมินผลจากการใช้เงินในโครงการต่างๆ นอกจากงานใน 3 ส่วนนี้แล้ว ยังมีสำนักบริหารกลาง และสำนักกฎหมาย ที่จะดูแลงานโดยรวมทั้งหมด และดำเนินงานให้ตรงตามที่กฎหมายกำหนดการทำสัญญาร่วมทุนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในโครงสร้างใหม่ทั้งหมดนี้ สสว.ได้รับการอนุมัติเพิ่มกำลังคนจากเดิม 160 คน เป็น 180 คน
ทั้งนี้การปรับโครงสร้างจะเห็นผลชัดเจนในปี 54 โดยมุ่งเน้นที่จะเป็นหน่วยงานเชิงนโยบายมากขึ้นลดบทบาทหน่วยปฏิบัติการลง เน้นวิธีการทำงานในเรื่องเชิงเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น เห็นจากจำนวนสำนักตามโครงสร้างใหม่ 6 สำนักใน 11 สำนัก จะหนักมาด้านนโยบาย และด้านการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือที่จะต้องทำงานร่วมกัน ในขณะที่การช่วยเหลือโดยตรงที่เป็นอาวุธลับของ สสว. คือสำนักสนับสนุนด้านการเงินก็ยังมีอยู่ จะเห็นรูปแบบบทบาทหน่วยงานยุทธศาสตร์ที่เน้นการทำงานในเชิงเครือข่ายมากขึ้นซึ่งจะเห็นได้ชัดในปีหน้า
จัดเกรดเอสเอ็มอีหนุนแบงค์ปล่อยกู้
นอกจากนี้จะเข้าไปดูเรื่องการปล่อยสินเชื่อ เพราะว่าตราบใดที่กลไกทางธนาคารพาณิชย์ปล่อยแล้วไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ สสว. จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งถ้าธนาคารไม่เปลี่ยนแนวคิดในการปล่อยสินเชื่อที่จะต้องพิจารณาในเรื่องของเครดิต หลักทรัพค้ำประกัน ต้องเขียนแผนธุรกิจ และกู้ได้เพียง 70% ของเงินทุนค่ำประกันจะทำให้เอสเอ็มอีกู้ยาก โดยผลสำรวจล่าสุดพบว่าเอสเอ็มอีที่เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้มีเพียง 0.4% ของเอสเอ็มอีทั้งประเทศ โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะใช้เงินตัวเองที่มาจากเงินออม หรือกู้นอกระบบ ซึ่ง สสว. กำลังทำตัวชี้วัดดัชนีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ถ้าตัวเลขสะท้อนว่าไม่ดีขึ้นด้วยระบบธนาคารตามปกติ บอร์ดส่งเสริมฯอาจจะให้สสว.เข้าไปช่วยผู้ประกอบการ แต่ไม่คิดแบบธนาคาร ซึ่งมีหลายแนวทางอาจไม่ใช่การกู้โดยตรงแต่เป็นการเข้าร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ
โดยในปี 54 จะทำระบบสร้างความเชื่อมันให้กับธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอี พัฒนาฐานข้อมูลเอสเอ็มอีเครดิตเรดติ้งดาต้าเบส หรือซีอาร์ดี ขึ้นมา รวบรวมข้อมูลของเอสเอ็มอีในเรื่องของผลประกอบการต่างๆ ในเบื้องต้นจะจัดเอสเอ็มอีในฐานสสว.ทั้งหมดเป็น เอ บี ซี เช่น ถ้าธนาคารติดต่อเข้ามาสอบถามสสว.ว่าบริษัท ก. เป็นอย่างไร จะบอกว่าอยู่ในกลุ่มใหน เช่น ในกลุ่ม เอ มีผลประกอบการค่อนข้างดี มีระบบรายได้ที่แน่นอน แบ่งย่อยไปอีกเป็น เอบวก เอลบ ธนาคารสามารถเลือกได้ถ้าเป็นธนาคารเอกชนอาจจะเริ่มปล่อยตั้งแต่พวกที่ได้ บี ขึ้นไป ถ้าเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะเร่งเข้าไปช่วยเหลือ ธนาคารรัฐอาจจะปล่อยกู้ให้ตั้งแต่ระดับเกรด ซี ขึ้นไปเลย แต่ว่าบริษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อมอาจต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้ธนาคารกล้าปล่อยกู้
ทั้งนี้จากการประเมินคร่าวๆเอสเอ็มอีทั่งประเทศเกือบ 3 ล้านราย มีกลุ่มที่อยู่ในเกรด เอ ประมาณ 10% เกรด บี มีประมาณ 30% และที่เหลือเป็นเกรด ซี ซึ่งถ้าธนาคารปล่อยกู้ให้กับเกรด บี ขึ้นไป ก็จะมีสัดส่วนถึง 40% ของเอาเอ็มอีทั้งประเทศ กระจายสินเชื้อให้กับผู้ประกอบการมากกว่า 1 ล้านราย โดยในขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ก็เริ่มนำระบบประเมินแบบนี้มาใช้เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือ ปัญหาเรื่องข้อมูล เพราะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีระบบการทำบัญชีที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการทำหลายบัญชี เช่น บัญชีส่งธนาคารก็จะมีแต่ตัวเลขกำไรอย่างเดียว บัญชีส่งให้สรรพากรก็จะขาดทุนตลอด และบัญชีของตัวเองที่เป็นจริงมากที่สุด อย่างไรก็ตามถ้าเอสเอ็มอีเห็นประโยชน์ ของการเปิดเผยข้อมูลว่าสามารถทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ก็คาดว่าเอสเอ็มอีจะทำข้อมูลให้เป็นจริงมากขึ้น
ยกระดับโอทอปทั่วประเทศสู่เอสเอ็มอี
นอกจากนี้ในปีหน้า สสว. จะเน้นการลงพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น เพราะร้อยละ 70 ของเอสเอ็มอีอยู่ในต่างจังหวัด ดังนันในปีหน้าจะมี 2-3 โครงการลงที่ต่างจังหวัด เช่น โครงการสร้างเครือข่ายร้านค้าปลีกให้เป็นช่องทางระบายสินค้าของเอสเอ็มอี และ2.กาสร้าง 1 จังหวัด 1 สัญลักษณ์ ซึ่งถ้ามีเอกลักษณ์ประจำจังหวัดขึ้นมาแล้วให้เอสเอ็มอีประจำจังหวัดทำขึ้นมาจะก่อให้เกิดมูลค่าอย่างมหาศาล เช่น จังหวัดลพบุรี อาจชูสัญลักษณ์ลิง แต่เป็นลิงน่ารักแบบลิงคริปปิ้ง ก็สามารถผลิตสินค้ารองรับได้อย่างมาก รวมทั้งจะลงลึกทำงานร่วมกันกับจังหวัดให้มากขึ้น ที่ผ่านมาได้เข้าไปร่วมมือกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน สตูลขอนแก่น ตราด และเพชรบูรณ์ เพื่อเข้าไปพัฒนาเอสเอ็มอีในจังหวัด และยกระดับโอทอปให้มีความยั่งยืน เข้าไปนำร่องใน 76 จังหวัด จังหวัดละ 2 ผลิตภัณฑ์ ยกระดับให้ผู้ประกอบการโอทอปให้เป็นเอสเอ็มอีที่มีความยั่งยืน สสว.จะมองในเรื่องของพื้นที่ชุมชนความมั่นคงในเศรษฐกิจฐานรามมากขึ้น ให้ความสำคัญกับต่างประเทศ เพราะพรมแดนทางธรรมชาติจะน้อยละเรื่อยๆ ดังนั้นเอสเอ็มอีจะต้องตามให้ทันในความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ส่วนบริษัทลูกของ สสว ทั้ง 6 บริษัท ขณะนี้ปิดไปแล้ว 2 คือรวมค้าปลีกเข้มแข็ง กับกรุงเทพเมืองแฟชั่น กำลังปิดอีก 2 อยู่ระหว่างการศึกษา คือ บริษัทขนมไทยกับบริษัทส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอี ส่วนอีก 2 บริษัท มีกำไรเลี้ยงตัวเองต่อไปได้ คือ บริษัทห้องปฏิบัติการกลาง กับบริษัทอุตสาหกรรมการบิน
เอสเอ็มอียุโรป-สหรัฐฯตบเท้าลงทุนไทย
ด้าน วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนายการ สสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานอื่นๆได้ออกผลวิจัยผลกระทบเกี่ยวกับการทำเอฟทีเอมากมาย แต่ยังไม่มีผลวิจัยผลกระทบกับเอสเอ็มอีโดยตรง ทำให้ไม่สามารถนำมาเป็นฐานข้อมูลช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้อย่างตรงจุด ดังนั้นในปีหน้าจะจัดทำผลวิจัยในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ลงลึกถึงมาตรการรองรับผลกระทบจากเอฟทีเอของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด เพื่อให้รู้วิธีคิดวิธีแก้ปัญหาของประเทศเพื่อนบ้าน จึงจะนำมาวางกลยุทธเพื่อผลักดันเอสเอ็มอีเข้าตลาดอาเซียนให้ประสบผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตามการที่ไทยเปิดเอฟทีเอกับหลายประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในภูมิภาคยุโรปและสหรัฐฯสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีในประเทศไทย เพราะถ้าไม่ย้ายฐานการผลิตก็อยู่ไม่ได้เพราะต้นทุนทุกอย่างแพงกว่าประเทศคู่แข่งในเอเชีย ซึ่งการเข้ามายังไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์จากค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า และยังได้สิทธิประโยชน์ภาษี 0% ส่งสินค้าไปยังประเทศคู่เจรจาเอฟทีเอของไทย เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น และเป็นฐานกระจายสินค้าในอาเซียน ซึ่งในปีหน้ากลุ่มเอสเอ็มอีสหรัฐฯจะนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มใหญ่เข้ามาดูลู่ทางการลงทุนในไทย และในปีหน้าเป็นปีหลังวิกฤติเศรษฐกิจทำให้คาดว่าจะมีการขยายฐานการลงทุนมากขึ้น
อิตาลีเตรียมลงทุนผลิตเรือยอร์ช
ในขณะที่เอสเอ็มอีจากยุโรปนั้น ประเทศอิตาลีให้ความสนใจไทยมากที่สุด โดยมีอุตสาหกรรมต่อเรือยอร์ชสนใจที่จะเข้ามาร่วมทุนกับผู้ประกอบการต่อเรือของไทยผลิตเรือยอร์ช ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์มาก เพราะในเรือ 1 ลำจะต้องใช้อุปกรณ์ชิ้นส่วนจากเอสเอ็มอีในพื้นที่เป็นจำนวนมาก และมรเรื่อ 1 ลำจะมีราคาตั้งแต่ 200 ล้านบาท ไปจนถึง 1,600 ล้านบาท และคิวสั่งจองยาวมากผลิตไม่เพียงพอกับตลาด ทั้งนี้แม้ว่าจะมีเอสเอ็มอีต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก แต่ก็คาดว่าจะไม่กระทบธุรกิจเอสเอ็มอีในไทย เพราะต่างชาติจะไม่เข้ามาลงทุนเองทั้งหมด 100% แต่จะเข้ามาลงทุนกับผู้ประกอบการไทย ซึ่งฝาายไทยจะได้ประโยชน์จากการเจาะตลาดต่างประเทศ เพราะต่างชาติที่เข้ามาลงทุนจะมีเครือข่ายลูกค้ากระจายทั่วทุกมุมโลก
สำหรับกลุ่มเอสเอ็มอีที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีในกรอบอาเซียน จากการประเมินในเบื้องต้น กลุ่มเกษตรผู้เพาะปลูกและแปรรูปอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจากจีน มาเลเซีย ตั้งใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนในไทยเพื่อผลิตสินค้าป้อนกลับไปยังประเทศและส่งออกไปประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะมาเลเซียที่จะใช้ความแข็งแกร่งของแบรนด์ฮาลาลผลิตสินค้าจากวัตถุดิบไทยส่งไปประเทศมุสลิม นอกจากนี้จะเป็นกลุ่มหัตถอุตสาหกรรมตกแต่งบ้าน กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทย กลุ่มเครื่องสำอาง จะได้ประโยชน์ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางในแต่ละปีส่งออกไปยังอาเซียนกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งๆที่ยังไม่ลดภาษี ซึ่งถ้าลดภาษีแล้วจะส่งออกได้อีกมาก ส่วนคู่แข่งการลงทุนในอาเซียนหลักๆจะเป็นเวียดนาม ในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงราคาถูก มีเป้าหมายเข้าตลาดจีนที่มีเส้นทางคมนาคมสะดวกที่สุด ส่วนผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในไทยมีเป้าหมายที่จะกระจายสินค้าไปยังอาเซียน และเป็นสินค้าในตลาดบน เพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่า โดยเฉพาะเอสเอ็มอีญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยมาก
|
|
|
|
|