Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์2 ตุลาคม 2553
สงคราม 3 มิติ ครีเอตแวลู อัปเกรดไลฟ์สไตล์             
 


   
search resources

TV




ปัจจุบันตลาดทีวีในบ้านเรามีปริมาณความต้องการอยู่ที่ 3 ล้านเครื่อง โดยในปีที่ผ่านมาสัดส่วน ซีอาร์ที ทีวี หรือทีวีจอแก้ว ยังคงมีสัดส่วนสูงถึง 70% ทว่าในปีนี้มีสัดส่วนลดลงเหลือเพียง 60% และคาดว่าในปีถัดไปสัดส่วนดังกล่าวจะลดลงเหลือเพียง 30-50% เป็นผลมาจากการเติบโตของตลาดแฟลตพาแนล หรือทีวีจอแบนบาง ซึ่งประกอบด้วย พลาสม่าทีวี และแอลซีดีทีวี โดยแอลซีดีทีวีมีการย่อยเซกเมนต์ตามเทคโนโลยีในการให้แสงสว่าง ถ้าแบล็กไลต์ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ก็จะเป็นแอลซีดีทีวีธรรมดา แต่ถ้าใช้หลอดแอลอีดีก็มักจะเรียกว่าแอลอีดีทีวี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็คือเซกเมนต์หนึ่งของแอลซีดีทีวีนั่นเอง เนื่องจากเทคโนโลยีที่เป็นหน้าจอหรือพาแนล ผลิตมาจากผลึกคริสตัลเหมือนกัน

ทั้งนี้ จีเอฟเค รีเทล แอนด์ เทคโนโลยี บริษัทวิจัยตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า เผยผลสำรวจตลาดครึ่งปีแรก ระบุว่า ความต้องการทีวีจอแก้วคิดเป็นสัดส่วน 58% ของปริมาณความต้องการทีวีทั้งหมด ขณะที่แอลซีดีทีวีมีสัดส่วนอยู่ที่ 37% โดยเป็นแอลอีดีทีวี 1% ส่วนพลาสม่าทีวีมีสัดส่วนอยู่ที่ 5%

สมรภูมิทีวีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ตลาดเริ่มผลัดใบเข้าสู่ยุคของแอลซีดีทีวี ความละเอียดของจอภาพ หรือค่า Resolution ของทีวีที่มีหลายระดับตั้งแต่ VGA, XGA, WXGA และสูงสุดในปัจจุบันคือ Full HD ซึ่งกลายเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของตลาดทีวีในประเทศไทยที่หลายค่ายหยิบยกมาเป็นจุดขายและเป็นตัวสร้างความแตกต่างจากทีวีรุ่นก่อนๆ และเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ทีวีที่มีความละเอียดระดับ Full HD หรือ HD TV มีราคาสูงกว่าทีวีทั่วไป

วันนี้ Full HD กำลังจะกลายเป็นคุณสมบัติเบสิกที่แฟลตพาแนลทุกเครื่องต้องมี โดยเฉพาะทีวีจอใหญ่ขนาด 40 นิ้วขึ้นไป ซึ่งที่ผ่านมา หลายค่ายก็มีการปรับคุณสมบัติของทีวีจอใหญ่ให้เป็น Full HD กันเกือบหมด โดยมีเทคโนโลยี 3 มิติ เป็นเทรนด์ใหม่เข้ามาแทนที่ ปัจจุบันตลาดแอลซีดีทีวีในบ้านเรามีความต้องการอยู่ที่ 1.4 ล้านเครื่อง โดยเป็นทีวี 3 มิติ 3% ส่วนในปีหน้าคาดว่าความต้องการแอลซีดีทีวีจะเพิ่มเป็น 1.6 ล้านเครื่อง และคาดว่าสัดส่วนทีวี 3 มิติจะเพิ่มเป็น 10%

อย่างไรก็ดี เนื่องจากคอนเทนต์รายการทีวีในบ้านเรายังไม่มีการปรับปรุงระบบออกอากาศไปสู่ช่องรายการ 3 มิติ ทำให้ผู้ผลิตทีวี 3 มิติแต่ละราย ต่างพยายามทำการตลาดแบบโซลูชั่นเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้ฟังก์ชั่นของทีวี 3 มิติ ล่าสุด โซนี่ ส่งแคมเปญ Sony 3D World พร้อมทำแพกเกจขายพ่วง โดยจับคู่แอลซีดีทีวีบราเวีย 3 มิติ ขนาด 40-60 นิ้ว กับเครื่องเล่นบลูเรย์ และเครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 94,990 บาท ไปจนถึง 179,990 บาท ทั้งนี้ หากเทียบเคียงรุ่นกับซัมซุงแล้ว โซนี่จะมีราคาสูงกว่า 5,000 บาท แต่โซนี่ชูความคุ้มค่าที่มากกว่า 5,000 บาท คือลูกค้าจะได้เครื่องเล่นบลูเรย์ หรือไม่ก็เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น 3 ซึ่งมีราคาเป็นหลักหมื่นบาท

ทั้งนี้ โซนี่เชื่อว่าประสบการณ์ 3 มิติ ไม่ได้มีเพียงการดูภาพยนตร์ แต่การเล่นเกมจะทำให้ผู้บริโภคได้อรรถรสและเข้าถึงเทคโนโลยี 3 มิติได้มากกว่า โดยโซนี่มีบริษัทในเครือคือโซนี่พิคเจอร์ และเพลย์สเตชั่น ซึ่งต่างมีแผนที่จะผลิตภาพยนตร์ 3 มิติ และเกม 3 มิติออกสู่ตลาดมากขึ้น

ฮารุฮิโตะ ทานิกาว่า ผู้อำนวยการด้านการตลาดผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ โซนี่ อิเลคทรอนิกส์ เอเชีย แปซิฟิก เปิดเผยว่า “โซนี่เป็นผู้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยี 3D มาอย่างต่อเนื่อง และในฐานะผู้สนับสนุนหลักฟีฟ่าอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลกเวิลด์คัพ 2010 ที่ผ่านมา ซึ่งโซนี่ได้นำเสนอประสบการณ์ความบันเทิง 3D ตั้งแต่การถ่ายทำ ไปจนถึงถ่ายทอดการแข่งขันในระบบ 3 มิติ รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ชมทั่วโลกได้สัมผัสประสบการณ์ 3D จาก แอลซีดีทีวีบราเวีย 3 มิติ ผ่านช่องทางหน้าร้านจำนวนกว่า 4,150 จุดทั่วทุกมุมโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Sony 3D World ภายใต้แนวความคิด 3D Lens to the Living Room หรือจากเลนส์ 3 มิติสู่ประสบการณ์ความบันเทิงในบ้านแบบสมจริง”

ในขณะที่ซัมซุงซึ่งถือเป็นเจ้าแรกที่เปิดตลาด 3 มิติ แบบครบเครื่องในเมืองไทย เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์ 3 มิติ มีทั้งแอลซีดีทีวี แอลอีดีทีวี พลาสม่าทีวี เครื่องเล่นบลูเรย์ โฮมเธียเตอร์ โดยรุ่นพรีเมียมของซัมซุงคือ แอลอีดีทีวี C9000 3D ขนาด 55 นิ้ว มีราคาสูงถึง 279,990 บาท

ส่วนแอลจี มีการทำโซลูชั่น 3 มิติ ร่วมกับ กล้องฟูจิ โดยจำหน่ายเป็นแพ็ก ประกอบด้วย ทีวี 3 มิติ แอลจี เครื่องเล่นบลูเรย์ และกล้องถ่ายรูป 3 มิติ ฟูจิ จากราคาปรกติ 183,970 บาท ลดเหลือ 149,990 บาท โดยจะจำหน่ายผ่านช่องทางระดับพรีเมียมของแอลจี 50 ช่องทาง ห้าง 30 ช่องทาง และเป็นร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าอีก 20 ช่องทาง หากแบ่งตามโลเกชั่น จะกระจายอยู่ในต่างจังหวัด 30 แห่ง และอยู่ในกรุงเทพฯ อีก 20 แห่ง โดยแอลจีตั้งเป้าว่าจะสามารถจำหน่ายทีวี 3 มิติ คู่กับกล้อง 3 มิติ ฟูจิ ได้เดือนละ 100 ชุด

ด้านพานาโซนิค ซึ่งชูความเป็นผู้นำเทคโนโลยีพลาสม่าก็มีการทำแคมเปญ 3D Set โดยลูกค้าที่ซื้อพลาสม่าทีวีรุ่น TH-P65VT20 ขนาด 65 นิ้ว ในราคา 219,990 บาท หรือรุ่น TH P50VT20 ขนาด 50 นิ้ว ในราคา 119,990 บาท ก็จะได้รับเครื่องเล่นบลูเรย์ 3 มิติ มูลค่า 19,990 บาท แผ่นหนัง 3 มิติ 2 เรื่อง แว่นตา 3 มิติ 2 อัน และสาย HDMI มูลค่า 990 บาท ฟรี เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์ 3 มิติอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ยังมีชาร์ป ในฐานะผู้ริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีแอลซีดีทีวีเป็นรายแรกของโลก ก็เตรียมที่จะลอนช์แอลอีดีทีวี 3 มิติ ขนาด 60 นิ้ว ในเร็วๆ นี้

สมรภูมิรบ 3 มิติ เพิ่งเริ่มเปิดฉาก เพราะเทคโนโลยี 3 มิติยังไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ในท้องตลาด โดยรูปแบบของทีวี 3 มิติ สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย Active Shutter Glass และ Passive Polarized 3D Glass โดยแบบแรกคือ ทีวี 3 มิติ ที่เราคุ้นเคยกัน คือต้องใส่แว่นตา 3 มิติ ส่วนแบบหลังเป็นเทคโนโลยีการแสดงผล 3 มิติที่ไม่ต้องใช้แว่นตา 3 มิติ ซึ่งหลายๆ ค่ายกำลังพัฒนา โดยคาดว่าในปีหน้าจะเริ่มมีการทำตลาดทีวี 3 มิติ แบบไม่ต้องใส่แว่นตาออกมาให้เห็นกันมากขึ้น ทว่า Passive Polarized 3D Glass จะมีราคาสูงกว่าแบบ Active Shutter Glass 20% อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องความสว่างและคอนทราสต์ที่ลดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีน้ำหนักและความหนาที่มากกว่า จุดด้อยเหล่านี้ยังรอการแก้ไข เพื่อให้ทีวี 3 มิติ สามารถสร้างอรรถรสความบันเทิงได้อย่างสมบูรณ์แบบ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us