Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2533
พี่น้องงามทวีซื้ออาร์แอนด์ดี 20 ล้านเหรียญ             
 


   
search resources

ศิวะ งานทวี
ชินเทียกบราเดอร์
ชินเทียกอีเล็กทรอนิคส์ซิสเต็ม (ซีอีเอส)




พูดถึงกลุ่มบริษัทพี่น้องงานทวี สำหรับคนในประเทศไทยอาจจะไม่ค่อยทราบว่ามีความยิ่งใหญ่เพียงไร แต่บรรดานักธุรกิจในต่างประเทศแล้วยี่ห้อนี้ถูกจัดชั้นว่าเป็นบริษัทชั้นดีมาก

กลุ่มพี่น้องงานทวีหรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จกกันดี "ชินเทียกบราเดอร์" ในต่างประเทศมีรากฐานเติบโตมาจากการทำธุรกจิสาวนปาล์มน้ำมัน ยางพารา และแร่ในภาคใต้โดย มีการส่งออกค้าขายกับทางมาเลเซียเป็นสำคัญ

ตลาดมาเลเซียเป็นศูนย์กลางการค้าแร่ น้ำมันปาล์มและยางพาราของโลกในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตและการค้า พรมแดนและความสัมพันธ์ทางการเมือง ในฐานะเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนทำให้มาเลเซียและไทยมีการให้สิทธิพิเศษทางการค้าต่อกันความเหมาะสมในจุดนี้มีส่วนอย่างมาก ที่กระตุ้นให้งานทวีในภาคใต้เข้าไปสร้างเครือข่ายการผลิตการค้าในมาเลเซียจนปัจจุบันว่ากันว่าสินทรัพย์ธุรกิจของงานทวีในมาเลเซียมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่เมืองไทยเลย "บริษัทชินเทียกปาล์มออยย์ในมาลาเซียเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในกัวลาลัมเปอร์มานานแล้ว" แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกล่าวถึงบทบาทด้านหนึ่งของงานทวีในมาเลเซีย

มองจากประสบการณ์นี้งานทวีจึงไม่ใช่คนแปลกหน้าในสายตาบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดโลก เมื่อตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ในสหรัฐและยุโรปเติบโตอย่างรวดเร็วในต้นทศวรรษที่ 80 กลุ่มงานทวีก็ตระเตรียมช่องทางก้าวเข้าสู่ธุรกิจการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าที่กำลังต้องการของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในยุโรปและสหรัฐ ในฐานะที่ได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตและการได้ส่งเสริมจากบีโอไอของรัฐบาล

ศิวะ งานทวี ทายาทคนหนึ่งของกลุ่มพี่น้องงานทวีหลักจากจบบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเอ็มโพเลียในสหรัฐ และเป็นคนที่ต้องการขยายธุรกิจของกลุ่มออกไปก่อนหน้าที่ศิวะจะข้ามาในธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เขาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในธุรกิจเสาเข็มในนามบริษัท ทักษิณคอนกรีตที่ภาคใต้มาก่อน

ปี 2528 บริษัท งานทวีเซมิคอนดัคเตอร์ ผลิตแผงวงจรไฟฟ้าก็เกิดขึ้นภายใต้การส่งเสริมจากบีโอไอ บริษัทนี้ผลิตเพื่อป้อนบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในยุโรปเช่นเทเลฟุงเก้นในเยอรมนี การผลิตแผงวงจรไฟฟ้าถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่เข้าสู่อุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพราะหลังจากนั้นเพียงปีเดียว คือในปี 2529 ศิวะก็จัดตั้งบริษัท ชินเทียกอีเล็กทรอนิกส์ซิสเต็ม (ซีอีเอส) ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์โทรศัพท์พวกคีย์โฟนซิสเต็มป้อนให้กับบริษัทผลิตโทรศัพท์ในสหรัฐและอเมริกาเหนือเช่น บริษัทไทร์คอมมิวนิเคชั่น

"การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มันมีลักษณะการับจ้างผลิตตามแบบและสเป็กที่ลูกค้าในต่างประเทศกำหนดมา แต่กระนั้นก็ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ก็เป็นหัวใจของกลุ่มงานทวีนอกเหนือไปจากอุตสาหกรรมดั้งเดิม" นักวิเคราะห์หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯพูดให้ฟัง

ปัจจุบันกลุ่มงานทวีมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นกรุงเทพฯ คือบริษัทไทยไวร์โปรดักส์ผลิตลวดเหล็กแรงดึงสูงสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง

การเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในตลาดโลกและการเปลี่ยนแปลงในตลาดยุโรปที่กำลังจะรวมเป็นตลาดเดียวในปี 2535 เป็นแนวโน้มสำคัญที่เร่งเร้าให้ศิวะต้องดำเนินมาตรการเชิงรุกมากขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนโทรศัพท์

และสิ่งนี้คือที่มาการเข้าซื้อกิจการของไทร์คอมมิวนิเคชั่นในยุโรปและแคนาดา เมื่อมีนาคมนี้

ไทร์คอมฯเป็นบริษัทที่มีฐานะในสหรัฐเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นที่นิวยอร์กทำธุรกิจออกแบบและจำหน่ายระบบโทรศัพท์ทั่วยุโรปและสหรัฐมียอดขาย ปี 2532 ประมาณ 330 ล้านเหรียญ

ไทร์คอมฯเป็นคู่ค้าของชินเทียกอิเล็กทรอนิกส์ซิสเต็ม (ซีอีเอส) มา 3 ปีแล้วโดย ไทร์คอมฯเป็นผู้ว่าจ้างให้ซีอีเอสผลิตโฟนซิสเต็มตามแบบที่กำหนด ก่อนที่จะนำออกจำหน่ายทั่วยุโรปและสหรัฐที่ไทร์คอมมีเครือข่ายการจำหน่ายอยู่ซึ่งประกอบด้วยเยอรมนีอิตาลี และอังกฤษ

ที่แคนาดาไทร์คอมฯมีบริษัทวิจัยและพัฒนาด้านระบบโทรศัพท์ที่เข้มแข็งมากมีมืออาร์แอนด์ดีชั้นดีถึง 60 คน แบบและสเป็กของไทร์คอมฯทุกชิ้นที่สั่งให้ซีอีเอสประกอบมาจากที่นี่ทั้งนั้น

ซีอีเอสประกอบคีย์โฟนซิสเต็มป้อนให้ไทร์คอมฯประมาณ 20 % ของกำลังการผลิต

ศิวะเห็นว่าการที่จะเติบโตอย่างแท้จริงในอุตสาหกรรมนี้ต้องมีการผลิตที่มีรากฐานด้านอาร์แอนด์ดีของตนเอง และมีเครือข่ายการจำหน่ายในยุโรปที่เข้มแข็ง พอดีทางไทร์คอมฯที่สหรัฐกำลังต้องการขายเครือข่ายในยุโรปซึ่งทำรายได้เข้าบริษัทแม่เพียง 10 % ออกไปเพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้สินบางส่วนของบริษัทแม่

"มันมีสัญญานออกมาก่อนแล้ว 2 ประการด้วยกันคือ หนึ่ง-ราคาหุ้นในนิวยอร์กของไทร์คอมฯตกลงมาเรื่อย ๆ จาก 3 เหรียญจนมาเหลือแค่ 30 เซ็นต์ในตอนเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ สอง-แอลซีที่เปิดออกมาให้ซับพลายเออร์ในเกาหลีและไต้หวันเริ่มไม่คล่องตัว" แหล่งข่าวที่ปรึกษาการซื้อขายครั้งนี้เล่าถึงเบื้องหลังฉากหนึ่งที่มาของการเทคโอเวอร์ข้ามชาติ

เมื่อสัญญาณข่าวนี้รู้ถึงหูของศิวะเขารีบบินไปเจรจากับอีริค คาร์เตอร์ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของไทร์คอมฯที่นิวยอร์กทันทีโดยมีทอมเพ็งการ์มือที่ปรึกษาด้านเทคโอเวอร์ของแบงเกอร์ทรัสต์ที่นิวยอร์กเป็นผู้ดำเนินการให้ แหล่งข่าวกล่าวว่าเหตุที่ศิวะรีบดำเนินการทันที เพราะทราบว่าในเวลานั้นบริษัทซับพลายเออร์ของไทร์คอมฯรายหนึ่งจากไต้หวัน กำลังเจรจาขอซื้ออยู่แต่ยังตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ "ทางไต้หวันเสนอซื้อ 18 ล้านเหรียญซึ่งทางไทร์เห็นว่ายังต่ำไป" แหล่งข่าวกล่าวถึงความไม่สำเร็จของไต้หวัน

ว่ากันว่า ช่วงเดือนมีนาคมศิวะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเรื่องนี้โดยมี สถิตย์ อ๋องมณี แห่งทิสโก้ที่กรุงเทพเป็นที่ปรึกษาประสานงานกับทางทอม เพ็งการ์ ที่นิวยอร์กอย่างใกล้ชิดแล้วการตัดสินใจที่เด็ดขาดของศิวะการเจรจาซื้อไทร์คอมฯในยุโรปและอาร์แอนด์ดีในแคนาดาก็สำเร็จตัดหน้าไต้หวันที่ราคา 20 ล้านเหรียญ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินที่ 1 ล้านแรกเมื่อเซ็นสัญญาซื้อและ 19 ล้านเหรียญที่เหลือในวันส่งมอบทรัพย์สิน

ศิวะบินไปเซ็นสัญญาด้วยตนเองถึงนิวยอร์กเมื่อกลางเดือนเมษายน

การซื้อครั้งนี้ของศิวะใช้เวลาเพียงเดือนเดียวเท่านั้นทุกอย่างก็เสร็จเรียบร้อย ซึ่งในวงการธุรกิจซื้อกิจการข้ามชาติของไทยนับว่ารวดเร็วมากนับตั้งแต่มีการทำกันมา

เหตุนี้เป็นเพราะส่วนสำคัญมาจากฐานะเครดิตของกลุ่มพี่น้องงานทวีเป็นที่ยอมรับในความเป็นลูกค้าชั้นดีในสายตาแบงเกอร์ทั่วโลก การซื้อไทร์คอมฯได้การสนับสนุนทางการเงินในรูปบริจโลน (BRIDGE LOAN) จากทิสโก้ นครธน ซิกโก้และนครหลวงจำนวน 520 ล้านบาท (20ล้านเหรียญ) โดยมีทิสโก้เป็นผู้นำการให้กู้ร่วมประมาณ 300 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีการตั้งวงเงินไว้ไม่จำกัดให้ซีอีเอสใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเพิ่มกำลังการผลิตอีกเท่าตัวเพื่อป้อนให้ไทร์คอมฯจาก 20 % ของกำลังการผลิตเป็น 50 %

เงื่อนไขการให้กู้ร่วมครั้งนี้ ทางซีอีเอสใช้หุ้นบางส่วนของไทยไวร์โปร์ดักส์และทักษิณคอนกรีตเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันและมีระยะเวลาการชำระคืน 3 ปี

"จุดที่ซีอีเอสได้ประโยชน์อย่างมากจากการซื้อไทร์คอมฯ นอกเหนือจากเครือข่ายการจำหน่ายในยุโรปและยังได้อาร์แอนด์ดีที่แคนาดาที่เราถือว่าเป็นสินทรัพย์ชั้นดีที่มองไม่เห็น (INTANGIBLE ASSET) ซึ่งเราดีใจมากที่ได้บริษัทนี้มาด้วย" ศิวะเล่าให้ฟังถึงประโยชน์จากการซื้อครั้งนี้

นับจากนี้ไปกลุ่มพี่น้องงานทวีก็มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก หลังจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มยางพาราได้รับการพัฒนาการประกอบการครบวงจรไปแล้ว

การซื้อไทร์คอมฯคือการเปิดศักราชใหม่อีกหน้าหนึ่งของพี่น้องงานทวีในโลกธุรกิจอีเล็กทรอนิกส์ของไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us