Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2530
โปรตุเกส มีบ้านพักตากอากาศราคาถูกขาย             
 


   
search resources

Real Estate
International




ผมเดินทางสู่เมืองหลวงของโปรตุเกสในช่วงอากาศกำลังสบาย ๆ นุ่งกางเกงยีนส์สวมเสื้อยืดลุยไปได้ทุกที่ช่วงกลางเดือนกันยายนนั้นอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียส ฝนตกปรอย ๆ บ้างบางวัน ตามลักษณะอากาศแบบเมดิเตอเรเนียน แม้ว่าโปรตุเกสจะไม่อยู่ในย่านนั้นโดยตรง แต่ก็นับว่าใกล้กันมาก

ถือเป็นจังหวะที่เหมาะจริง ๆ ในการสัมผัสประเทศที่ยากจนที่สุดในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อีอีซี) ซึ่งกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างจับต้องได้ ท่ามกลางความซบเซาเป็นอาจิณของกรุงลิสบอนเมืองหลวงศูนย์กลางการบริหารงานในห้วงเวลานี้ วิเคราะห์กันวา มันเป็นผลต่อเนื่องจากที่โปรตุเกสได้เข้าเป็นสมาชิกของอีอีซีตั้งแต่ต้นปี 2528 ประกอบกับรัฐบาลที่ตั้งใหม่หมาด ๆ ดำเนินนโยบายเสรีนิยมอันมาจากกาเรลือกตั้งทีชนะใจชาวโปรตุกีสเหนือพรรคสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์อย่างท่วมท้น ดูเหมือนจะเป็นรัฐบาลที่มั่นคงที่สุดตั้แงต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐกันเลยทีเดียว แม้ผลเสียจะติดปลายนวมมาด้วย โดยเฉพาะค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นบ้างก็ตาม

ผมโดยสารสายการบินลุฟท์ฮันซ่า จากเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมันนีตะวันตกมุ่งสู่เมืองแมดริด ประเทสสเปน เพื่อนั่งรถไฟต่อเข้าเมืองลิสบอน ระหว่างการเดินทางนั้น ผมอ่านเจอข่าวเกี่ยวกับโปรตุเกสใน FINANCIAL TIMES พิมพ์ในอังกฤษและขายในอีอีซีราคาถูกกว่าเมืองไทยประมาณ 2 เท่า พูดถึงการลงทุนในประเทศนั้น ยกตัวเลขว่า 8 เดือนของปี 2530 การลงทุนจากต่างประเทศสูงกว่าระยะเดียวกันของปีที่แล้วถึง 150% มูลค่าประมาณ 150 ล้านปอนด์สเปนเป็ปนระเทศที่หอบเงินเข้ามากที่สุดเฉือนกับอังกฤษเจ้าเก่าเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่มุ่งในธุรกิจที่ดิน โรงแรม ภัตตาคารซึ่งในปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวถูกครอบงำโดยนักลงทุนจากอังกฤษ

รถไฟตู้นอนชั้นหนึ่งของสเปนไม่สู้ดีนัก ห้องนอนคับแคบ ซ้ำเครื่องปรับอากาศทำงานเหมือนคนป่วย ความจริงกะการณ์ว่าจากแมดริดสู่ลิสบอนจะใช้เครื่องบิน แต่เผอิญสายการบินทุกสายผู้โดยสารจองเต็มหมด เนื่องจากจะมีการแข่งรถสูตร (FORMULA) ในงานกรังด์ปรีซ์เมืองลิสบอน เราจึงไม่มีทางเลือก

การเดินทางถึงสถานีรถไฟ SANTA APOLONIA ในตอนเช้า จึงสะบักสะบอมพอใช้ สถานีรถไฟแห่งนี้ขนาดใหญ่พอ ๆ กับหัวลำโพง เป็นสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียอาคารสีชมพู สลับดำและแถบขาวดูเก่า ๆ ตั้งอยู่ไม่ห่างฝั่งทะเลมากนัก กลิ่นทะเลโชยมาเบา ๆ เราเดินทางตามถนนเลียบฝั่งทะเลอันปรากฏอู่เรือเก่า ๆ เรียงราย

ตอนเช้าที่ลิสบอนดูเงียบ ผู้คนไม่พลุกพล่าน ค่อนข้างจะขัดแย้งกับโรงแรมลิสบัวเชอราตันอันเป็นตึกทันสมัยแบบเดียวกับโรงแรมสร้างใหม่ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่กลางใจเมืองจราจรค่อนข้างติดขัด พวกเราพักกันที่นี่ เราลงความเห็นว่าบริการค่อนข้างแย่ หากมีโรงแรมบ้านเราบริหารเช่นว่านี้ก็คงเจ้งไปในไม่ช้า

คนโปรตุเกสเป็นคนเฉื่อยเนือย เห็นได้ชัดในธุรกิจบริการ พวกเขาจะให้บริการลูกค้าคนแรกอย่างช้า ๆ โดยไม่สนใจลูกค้าคนต่อไปจะรอนานสักแค่ไหน เลยว่ากันว่าคงจะเป็นสาเหตุหนึ่งของความล้าหลังของประเทศนี้เมื่อเทียบกับประเทศในยุโรปอื่น ๆ

สมควรจะถามลึกลงไปอีกว่า ทำไมคนโปรตุเกสจึงเป็นเช่นนั้น เป็นอาการของคนที่จมอยู่กับอดีต ภูมิใจกับอดีตมากเกินไปหรือเปล่าเราอยู่ที่นั่น 3 วัน ไกด์เปลี่ยนหน้ามานำเที่ยวทุกวัน เริ่มตั้งแต่หญิงวัยค่อนดึกพูดภาษาอังกฤษพอใช้ที่ใคร ๆ ไม่ค่อยชอบ ต่อมาชายหนุ่มรูปหล่อพูดภาษาอังกฤษชัดเจนดี แต่พาเราดั้นด้นไปซื้อของที่ระลึกบนเขาใกล้ร้านรวง เจาะจงร้านที่เชื่อกันว่าเขามีผลประโยชน์มาก จนถึงหญิงสาวพูดตะกุกตะกักแต่สวย โนบรา และร่าเริง พวกเราชอบเธอมากกว่าไกด์ทุกคน ไกด์เหล่านั้นพร่ำถึงแต่อดีตอันยิ่งใหญ่ของโปรตุเกส ภูมิใจกับการขูดรีดทรัพย์ศฤงคาร์จากประเทศอาณานิคม เช่น มาเก๊า บราซิล มาสร้างบ้านแปลงเมืองปัจจุบันบ้านเมืองสถาปัตยเก่าแก่นั้นแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ว่านว่าทางการของเขามีกฎหมายควบคุม ห้ามแม้จะทาสีภายนอกอาคาร

ครั้นโปรตุเกสสิ้นอำนาจในโลก พลังทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ค่อยเสื่อมถอยลง นี่คือสมมติฐานข้อแรกเพื่อตอบคำถามข้างต้น "พวกโปรตุเกสสร้างเองไม่เป็น" ว่ากันอย่างนั้น อีกมุมหนึ่งบ้านเมืองเผอิญชะตากรรมจากภูเขาไฟระเบิดหลายครั้งหลายครา พวกเขาสร้างเมืองกันเป็นสิบ ๆ ปี แต่เพียงชั่วข้ามคืนก็ต้องละลายไปกับลาวาภูเขาไฟอะไรเทือกนั้น ความเฉื่อยเนือยน่าจะมาจากความวิตกกังวลกับอนาคตยังครอบงำจิตใจชาวโปรตุกีสอย่างเหนียวแน่น

โปรตุเกสเป็นประเทศเล็ก ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรีย กับมหาสมุทรแอตแลนติคทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ส่วนทางด้านตะวันออกและเหนือติดกับสเปน มีประชากรประมาณ 12 ล้านคน เศรษฐกิจสำคัญคงเป็นเกษตรกรรม และการทำประมงนอกชายฝั่งสินค้าออกเลยเป็นไวน์ และอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเป็นสำคัญ

ขี่ม้าชมสวนมามากพอแล้ว สมควรจะเข้าเรื่องที่จั่วหัวไว้ เรื่องของเรื่องเริ่มจากเมืองไทย ความจริงธุรกิจบ้านตกอากาศบ้านเรานับว่าเจริญเติบโตพอสมควร พื้นดินชายทะเลดี ๆ ผุดเป็นบ้านพักไปเกือบหมด ทะลวงขึ้นเหนือเชิงดอยพันขนานใหญ่จนกลายเป็นปัญหาบุกรุกป่าสงวน ดังที่ "ผู้จัดการ" เขียนให้อ่านกันจุใจในฉบับที่แล้ว เท่าที่ผมดูแนวโน้มบ้านสวนผลไม้ใจังหวัดชานกรุงกำลังเติบโตอย่างเงียบ ๆ เป็นธุรกิจที่น่าจับตาอีกธุรกิจหนึ่ง

นักธุรกิจไทยและคนมีเงินอยากมีบ้านพักผ่อนอีกอย่างน้อยหนึ่งหลังด้วยกันทั้งนั้นแต่ปัจจุบันแม้มีเงินก็หาบ้านตากอากาศบนพื้นทีดี่ ๆ ไม่ใคร่ได้ วันหนึ่งผมได้ยินนักธุรกิจบ้านเราคนหนึ่งสัพหยอกว่า ถ้าอย่านั้นไปซื้อที่โปรตุเกสดีกว่า พอถามเอาจริง ๆ เขาก็ชักไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องจริง

มันจึงกลายเป็นเรื่องที่จุดความสนใจของผมอย่างมาก ในการเดินทางมาโปรตุเกสคราวนี้

ซึ่งปรากฏว่าเรื่องก็จริงอย่างเขาว่าเสียด้วย

ถามจากคนที่นั่นเขาจะยอมรับว่า ชาวต่างประเทศสามารถมีกรรมสิทธิ์บ้าน และที่ดินตรงไหนในโปรตุเกสก็ได้ ไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนบ้านเรา ย่านชายทะเลด้านตะวันตกและใต้เป็นแหล่งที่ว่านั้น โดยเฉพาะที่เรียกว่า ESTORIL และ CASCAIS

ESTORIL ได้ชื่อว่าเป็น RIVIERA ของโปรตุเกส เป็นแหล่งอำนวยความสะดวกมากที่สุในลิสบอน สำหรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่โรงแรมทันสมัยชั้นหนึ่ง สระว่ายน้ำสนามกอล์ฟ เทนนิส สโมสรเรือใบ ฯลฯ เรียงรายโอบอ่าวที่เป็นชายหาดทรายขาวสวยงาม ยิ่งกว่านั้นเนหือเนินเขาที่สูงเดิ่นไม่ห่างทะเลมากนักมองเห็นวิวสวยงามเป็นตั้งของบ่อนคาสิโน แบบเดียวกับที่เมืองลิสบัวในมาเก๊า อันเป็นที่เลื่องชื่อของโลกแห่งหนึ่งช่วงที่ผมอยู่ที่นั่น ได้ข่าวทีมพ่อค้ามันสำปะหลังจากไทยก็ไปเจรจาการค้า หากถามคุณสุกิจ หวั่งหลี ก็คงจะได้รู้ความพิสดารของบ่อนนี้ก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามที่ตรงนี้ค่อนข้างจะเต็มและกลายเป้นสาวแก่ผ่านมือชายมากเกินไปทั้งราคาที่ดินค่อนข้างจะแพง แม้ว่าที่ว่างยังหาได้ก็ตาม

หากจะให้สงบน่าจะเป็นที่ CASCAIS ห่างไปทางตะวันตกของ ESTORIL ประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงปัจจุบันกลายเป็นย่านรีสอร์ทตากอากาศที่กำลังโตวันโตคืน ตรงนี้ยังปรากฏราชวังฤดูร้อนของกษัตริย์ของโปรตุเกสในช่วงศตวรรษที่ 17-18 ให้เห็น ผมว่าที่ตรงนี้เหมาะมาก หากใครจะไปซื้อที่ดินและสร้างบ้านพักตากอากาศ หาดทรายก็สวยงามไม่น้อย เท่าที่เห็นโครงการคอนโดมิเนียมกำลังก่อสร้างก็มีอยู่หลายโครงการ รวมไปถึงบ้านลักษณะทาวเฮ้าส์ที่เขาเรียกว่า อพาร์ทเม้นท์

คำถามที่เร้าใจต่อจากนี้น่าจะเป็นเรื่องสนนราคา

ก่อนจะถึงจุดนั้น ผมจะพูดถึงแหล่ง่ข้อมูลซื้อขายบ้านและที่ดินเช่นว่าเสียก่อนนอ่กจากถามไถ่คนรู้จักแล้ว (คนไทยมีเพียงประมาณ 20 คนในโปรตุเกส) ก็คือหนังสือพิมพืในโปรตุเกสมีหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ภาษาอังกฤษฉบับหนึ่ง (คนขาเขาบอกผมว่ามีเพียงฉบับเดียว) ชื่อ ANGLO-PROTUGUSES NEWS พิมพ์จำหน่ายมา 50 ปีแล้ว ราคาฉบับละ 6 เหรียญเงินของปอร์ตุเกส หรือประมาณ 12 บาท ในหน้าโฆษณาและ CLASSIFIED AD. มีโฆษณาซื้อขายที่ดินในย่านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจำนวนมาก อาทิ อพาร์ทเม้นท์ริมทะเล 2 ห้องนอน บริเวณ CASCIAS สนนราคาเพียง 60,000 ปอนด์ หรือประมาณ 2 ล้านบาท ถูกว่าพัทยาด้วยซ้ำ ปกติอพาร์ทเม้นท์แถวนี้ จะมีตั้งแต่ราคา 1.5 ล้านบาท จนถึง 3 ล้านบาท หากเป็นบ้านราคาก็สูงขึ้นประมาณ 5 ล้านบาทขึ้นไป ส่วนที่ ESTORIL จะแพงกว่าประมาณ 10-20%

สิ่งอำนวยความสะดวกก็ครบเกือบทุกอย่าง ตามลักษณะบ้านตกอากาศทั่วไป

เท่าที่ทราบนักธุรกิจชาวอังกฤษจะเป็นเจ้าของบ้านพักตากอากาศในบริเวณมากกว่าชาติใดในยุโรป ส่วนเศรษฐีไทยนั้นผมทราบว่ามีบ้างแล้วรายสองราย อย่าให้บอกเลยครับว่าเป็นใคร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us