|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ปตท.จับมืออุบล ไบโอก๊าซ ผลิตก๊าซชีวภาพอัดจากน้ำเสียโรงงานแป้งมันมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ NGVในพื้นที่ภาคอีสาน ชี้ช่วยลดการขาดทุนการขายNGVของปตท.ก.ก.ละ 1 บาท เผยล่าสุดแบกขาดทุนสะสมจากการขาย NGV ไปแล้ว 2 หมื่นล้านบาท
วานนี้ (28 ก.ย.) นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงโครงการวิจัยและสาธิตการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับบริษัท อุบลไบโอก๊าซ จำกัด เพื่อผลิตและปรับปรุงคุณภาพคุณภาพก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียของโรงงานแป้งมันสำปะหลังให้เป็นก๊าซชีวภาพอัดหรือCompressed Bio-methane Gas (CBG) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์
นายเพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ได้รับซื้อก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียของโรงงานแป้งมันสำปะหลังดังกล่าว เพื่อมาปรับปรุงคุณภาพและจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกให้รถยนต์ NGV ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจะช่วยลดภาระการขาดทุนจากการขาย NGV ของปตท.ก.ก.ละ 1 บาท เนื่องจากลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนวางท่อจากแนวท่อส่งก๊าซฯ และสถานีบริการหลักในพื้นที่ห่างไกล คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ภายในปลายปี 2554
โดยบริษัท อุบล ไบโอก๊าซ จะจัดส่งก๊าซชีวภาพให้ปตท.เพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลิตก๊าซชีวภาพอัดในปริมาณ 2,362 ตัน/ปี เทียบเท่าการใช้น้ำมันดีเซลประมาณ 2.3 ล้านลิตร/ปี ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในชุมชน หากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จก็จะขยายการลงทุนโดยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ปศุสัตว์ และการบำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนมาเป็นผลิตเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ที่ห่างไกลแนวท่อส่งก๊าซฯในอนาคต
ปัจจุบันต้นทุนการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) รวมค่าเนื้อก๊าซฯและค่าขนส่งอยู่ที่ก.ก.ละ 17-18 บาท ขณะที่ราคาขายNGVที่ภาครัฐกำหนดไว้อยู่ที่ 8.50 บาท/ก.ก. โดยมีเพดานราคาขายNGVที่ต่างจังหวัดไม่เกิน 10.34 บาท/ก.ก. ส่งผลให้ปตท.ต้องแบกรับภาระการขาดทุนถึงก.ก.ละ 6 บาท แต่ก็ได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ก.ก.ละ 2 บาท ขณะที่ยอดขาย NGV เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากต้นปีที่แล้วอยู่ที่วันละ 4,300 ตัน ขยับขึ้นเป็น 5,000 ตัน/วันในปัจจุบัน ส่งผลให้ปตท.แบกรับภาระขาดทุนสะสมในช่วง 6-7ปีรวมทั้งสิ้น 2.1 หมื่นล้านบาท
นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.ได้ลงนามความตกลง (MOU) กับฟาร์มสุกรที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำมูลสุกรมาทำก๊าซชีวภาพ ซึ่งขณะนี้บริษัทฟาร์มสุกรดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เปรียบเทียบการลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบ
ทั้งนี้ ปตท.ได้มีการเสนอราคารับซื้อก๊าซชีวภาพในราคาที่เหมาะสมใกล้เคียงกับการนำไปใช้ผลิตไฟฟ้า แต่โครงการดังกล่าวมีจุดด้อยตรงที่หากเอกชนมีการนำพลังงานชีวมวลไปผลิตไฟฟ้าจะได้ Adder 0.30 บาท/หน่วย ดังนั้น ทางปตท.จึงเตรียมเสนอให้รัฐพิจารณาสนับสนุนการนำก๊าซชีวภาพดังกล่าวมาปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้ในรถยนต์โดยให้ Adder เช่นเดียวกับนำไปผลิตไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้ NGVเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณรถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ NGVอยู่ที่ 230 คัน/วัน ซึ่งใกล้เคียงปี 2551 ที่ราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงสุดถึง 140 เหรียญสหรัฐ โดยช่วงนั้นการติดตั้งเครื่องในรถยนต์ NGVวันละ 240 คัน/วัน เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อมั่นในเทคโนโลยี มีความปลอดภัยและประหยัดเชื้อเพลิง ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ติดNGVแล้ว 2.4 แสนคัน แบ่งเป็นรถขนาดใหญ่ 16% รถแท็กซี่ 27-28% ที่เหลือเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งตัวเลขรถยนต์ที่ติดNGVในขณะนี้สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าปีนี้จะมีรถที่ติดNGVแค่ 2.12 แสนคัน ปัจจุบันปตท.มีปั๊มNGV 416 แห่งคาดว่าสิ้นปีนี้ 460 แห่งทั่วประเทศ
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวว่า โครงการดังกล่าวทางกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย 35 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 83 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42% ของเงินลงทุนรวม
|
|
|
|
|