Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน27 กันยายน 2553
เกษตรฯ สั่งรับมือไข่ไก่ล้นตลาดปี 54 เร่งคนไทยบริโภค 200 ฟอง/ปี             
 


   
search resources

Agriculture
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์




ก.เกษตรฯ เตรียมรับมือปริมาณไข่เพิ่ม 4.5 ล้านฟอง/วัน ช่วงกลางปี 54 หลังการนำเข้าเพิ่มปริมาณไก่ยืนกรง 5.7 ล้านตัว พร้อมใช้การรณรงค์คนไทยบริโภคไข่เพิ่ม 200 ฟองต่อปี ผลศึกษา ชี้ ยังควรมี Egg Board ต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อระบบ

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เตรียมวางแนวทางรับมือสถานการณ์ผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าปริมาณผลผลิตไก่ไข่จากการนำเข้าเพิ่มเติมจะส่งผลให้แม่ไก่ยืนกรงเพิ่มขึ้น 5.7 ล้านตัว ไข่ไก่ 4.5 ล้านฟองต่อวัน จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554 พร้อมได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสังกัด อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ในการรณรงค์บริโภคไข่ไก่จากเดิมจำนวน 165 ฟองต่อคนต่อปี ให้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย คือ 200 ฟองต่อคนต่อปี ให้ได้ในที่สุด

สำหรับสถานการณ์ในภาพรวมขณะนี้ ปริมาณการส่งออกไข่ไก่ ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2553 รวม 110 ล้านฟอง มูลค่า 283 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 267 ล้านฟอง ของช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 59 ซึ่งเป็นไปตามาตรการการชะลอการส่งออกไข่ไก่ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาไข่ไก่ในช่วงที่ผ่านมา

ส่วนแผนการผลิตปี 2553 ที่ได้วางปริมาณแม่ไก่ไข่พันธุ์พ่อ-แม่พันธุ์ (P.S.) 405,721 ตัว ปัจจับันมีการนำเข้าแล้ว 326,910 ตัว ส่วนการขอนำเข้าไก่ไข่พันธุ์ ภายหลังมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นคนละส่วนของแผนการผลิตนั้น ปัจจุบันมีผู้ขอนำเข้าทั้งหมด 11 ราย นำเข้าไก่ไข่พันธุ์ จำนวน 62,888 ตัว และอีก 2 ราย แสดงความประสงค์ขอนำเข้าในปี 2554 จำนวน 28,000 ตัว

สำหรับผลการศึกษาปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) นั้น รมว.เกษตร กล่าวว่า ในเบื้องต้นมีความเห็นว่า ยังควรให้มี Egg Board ต่อไป เนื่องจากเป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงไก่ไข่ของประเทศ โดยมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย เพื่อบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ การแก้ปัญหาไข่ไก่ราคาแพง สร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับเกษตรกร และผู้บริโภคได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี

ทั้งนี้ ควรมีแผน 3 ระยะ แบ่งออกเป็น ระยะสั้น มีข้อเสนอแนะ อาทิ ควรปรับปรุง Egg Board ในส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองที่เป็นกลางและมีประสิทธิภาพ รวมถึงปรับนโยบายการนำเข้าไก่ไข่พันธุ์ให้กระจายผลผลิตลูกไก่ไปยังเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ควบคู่กับการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อิสระรวมตัวกันเป็นสถาบันเกษตรกรเพื่อจะได้รับสิทธิการผลิตลูกไก่ไข่เอง

ระยะกลาง ส่งเสริมการบริโภคไข่ไก่ในประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พัฒนาสถาบันเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ให้มีความเข้มแข็งทั้งด้านการผลิตและการตลาด วิจัยและพัฒนาการแปรรูปไข่ไก่ให้มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งขยายตลาดผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ให้กว้างขวางมากขึ้นและส่งออกได้

ส่วนระยะยาว ควรพัฒนาโครงสร้างการเลี้ยงไก่ไข่ให้มีความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกัน รวมถึงพัฒนาเกษตรกรรายกลาง-รายย่อยให้เป็นธุรกิจเกษตรขนาดย่อย และยังมีการเสนอแนะถึงการกำหนดให้มีการสร้างพันธุ์ไก่ไข่ในประเทศเพื่อพึ่งพาตนเองให้เป็นวาระแห่งชาติอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดข้อเสนอแนะทั้งหมดจะต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป โดยจะรอผลการศึกษาซึ่งวิเคราะห์เสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 4 ตุลาคม 2553 เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งและรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามขั้นตอนต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us