|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“จ่ายครบ จบแน่” สโลแกน ที่วงการการศึกษาไทยใช้เรียกกับมหาวิทยาลัยที่ผลิตผู้เรียนระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ที่ไร้คุณภาพ จนทำให้ตลอดระยะ 4-5 ปีมานี้ สังคมไทยเกิดการเฟ้อของผู้ที่จบด๊อกเตอร์เป็นการเฟ้อของคุณภาพที่ไม่มีมาตรฐานของหลักสูตร
ขณะที่ภาพการสร้างด๊อกเตอร์เฟ้อยังคงต่อเนื่อง แต่อีกมุมหนึ่งในระดับโลกนั้นพบการเปลี่ยนแปลงของการผลิตด๊อกเตอร์ในหลายปัจจัย ที่อาจส่งผลและลุกลามเข้ามายังประเทศไทย
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงจัดทำวิจัยเพื่อตีแผ่ข้อมูลในหลายแง่มุมที่มหาวิทยาลัยไทยต้องตระหนักรวมถึงจุฬาฯ เองที่ positioning มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยเพื่อทิศทางต่อไปในอนาคตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
ดร.พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ”ว่า บัณฑิตวิทยาลัย ได้จัดทำผลวิจัย “แนวโน้มของโลกในการจัดการศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต” (นงลักษณ์ วิรัชชัย และคณะ) เพื่อรู้สภาพข้อเท็จจริงในวางแผนแก้ปัญหาหรือดำเนินการขับเคลื่อนไปตามนโยบายให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการซึ่งจะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
สำหรับหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.หลักสูตรปริญญาวิชาการ (research program) ให้ปริญญาที่เรียกชื่อว่าปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชา...) เป็นหลักสูตรที่เน้นวิจัย (หลักสูตรปริญญาวิจัย : Ph.D.degree)
2.หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต (professional program) ให้ปริญญาที่เรียกชื่อว่าปริญญาดุษฎีบัณฑิตวิชาชีพ (ปริญญาวิชาชีพ : professional degree)หลักสูตรประเภทนี้เน้นทั้งการวิจัยและการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
ซึ่งความสนใจของผู้เรียนในระดับโลกสนใจและนิยมเรียนในหลักสูตรปริญญาวิชาชีพสูงขึ้น ทำให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกเร่งผลิตดุษฎีบัณฑิตมากขึ้น เพราะเห็นว่ามีการเรียนที่ง่ายกว่า และใช้เวลาในการเรียนสั้น อย่างไรก็ตามในมุมของผู้เรียน หลักสูตรปริญญาวิชาการเป็นหลักสูตรที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีสูงกว่าหลักสูตรปริญญาวิชาชีพ
ดังนั้น จะพบว่ามีการเปิดหลักสูตรโดยใช้ชื่อปริญญาเป็น Ph.D. แต่จัดการศึกษาแบบหลักสูตรปริญญาวิชาชีพ โดยมีความเข้มของการเรียนแบบวิจัยน้อยกว่า ซึ่งในสหรัฐอเมริกาสามารถจัดการศึกษาสำหรับหลักสูตรนั้นทั้งสองประเภทให้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกันได้ ดังนั้นการผลิตดุษฎีบัณฑิตไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรใด ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการผลิตว่าต้องการสนองความต้องการของผู้ใช้แบบใด
ซึ่งแนวคิดปรัชญาของการผลิตดุษฎีบัณฑิตตามหลักสูตรปริญญาวิชาชีพที่แท้จริง ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนไม่ต้องเรียนแบบเน้นวิจัย แต่หมายถึงผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพในการผลิตงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนางานได้ ดังนั้น กระบวนการผลิตดุษฎีบัณฑิตยังให้ความสำคัญกับการทำวิจัย
“เป็นที่น่าผิดหวังว่าหลายมหาวิทยาลัยใช้ช่องทางการจัดหลักสูตรที่ใช้ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และโฆษณาว่ามีการเรียนการสอนแบบทำวิจัยอย่างเดียว แต่เป็นการทำวิจัยที่ผู้เรียนไม่ได้รับการพัฒนาทักษะทางวิจัยเลยทำให้เกิดความแตกต่างของคุณภาพของบัณฑิตระหว่างสถาบันสูง” ดร.พรพจน์ กล่าวและว่า
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีลักษณะเดียวกับการขยายการศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตวิชาชีพของประเทศตะวันตกไปยังประเทศที่มีความต้องการสูง ซึ่งมีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาในการจัดการศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ของประเทศทางเอเชียและอัฟริกาที่ต้องแข่งขันกับหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตระดับมาตรฐานสากล และต้องลดระดับความเข้มในการคัดเลือกนักศึกษา ลดต้นทุนการผลิตโดยจ้างอาจารย์ที่มีคุณภาพลดลง มีผลทำให้มาตรฐานและคุณภาพการจัดการหลักสูตรลดลงไปด้วย
ทั้งนี้ ดร.พรพจน์ ชี้ให้เห็นข้อดีของการผลิตดุษฎีบัณฑิตหลักสูตรปริญญาวิชาการ ที่สามารถสร้างนักคิด นักวิจัย แต่การผลิตยาก เพราะต้องมีอาจารย์ผู้สอนที่มีลักษณะของความเป็นนักวิจัยสูง และมีแนวโน้มลดลง เพราะคิดว่าเรียนยาก และไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของการผลิตดุษฎีบัณฑิตแบบนี้
ขณะที่หลักสูตรปริญญาวิชาชีพมีข้อได้เปรียบมากกว่าและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากลักษณะของหลักสูตรปริญญาวิชาชีพจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว และต้องการความรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพมากกว่าความรู้ทางวิชาการ
อย่างไรก็ตามหลักสูตรแบบปริญญาวิชาชีพจะผลิตได้ดี มหาวิทยาลัยต้องมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรที่ใช้บัณฑิตสูง ซึ่งในสภาพจริงยังเห็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่มากนัก
แต่อย่างไรก็ตามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะยังคงมุ่งเน้นการ การผลิตดุษฎีบัณฑิตหลักสูตรปริญญาวิชาการ เพราะเป็นจุดแข็งของจุฬาฯ ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรปริญญาวิชาการ 91 หลักสูตรและ 7 หลักสูตรหลักสูตรแบบปริญญาวิชาชีพแต่กระบวนการสอนเป็นหลักสูตรปริญญาวิชาการทั้งหมด
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย คือ ,มหาวิทยาลัยมักแข่งขันกันโดยใช้ชื่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แต่ผลิตแบบหลักสูตรปริญญาวิชาชีพ เพื่อให้ปริญญาดูมีเกียรติและมีศักดิ์ศรีมากกว่า ทำให้คุณภาพบัณฑิตไม่สอดคล้องกับปริญญาที่ได้รับ
อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการผลิตไม่ได้อยู่ที่คุณภาพอาจารย์หรืองบประมาณในการลงทุนด้านการผลิตอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาด้านผู้เรียนที่ยังมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่คาดหวัง โดยเฉพาะความสามารถทางภาษามากกว่าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนการสอนที่เน้นวิจัยเป็นฐาน
ทั้งนี้ ดร.พรพจน์ ให้ข้อสรุปว่า ปัญหาของการผลิตบัณฑิตอุดมศึกษาของไทย ไม่ได้เกิดจากข้อจำกัดของงบประมาณในการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากผลวิจัยอยู่ในระดับไม่น่าพึงพอใจ แม้มหาวิทยาลัยจะมีองค์ความรู้จากงานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิตจำนวนไม่น้อย แต่พบว่ายังมีการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ไม่มาก
ส่วนหนึ่งมาจากองค์ความรู้จากงานวิจัย (หัวข้อวิจัย) ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ หรือฐานข้อมูลเกี่ยวกับองคืความรู้ไม่ปรากฏทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ยาก หรือผู้บริหารระดับสูงไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ผลงานวิจัยในการพัฒนาประเทศ
จึงอาจกล่าวได้ว่าการผลิตดุษฎีบัณฑิตของประเทศยังมีผลกระทบต่อการพัมนาประเทศไม่มากเท่าที่มุ่งหวัง หากสภาพปัญหายังเป็นเช่นนี้ประสิทธิภาพการผลิตดุษฎีบัณฑิตจะอยู่ในระดับต่ำ
การลงทุนไม่คุ้มค่ากับงบประมาณในการลงทุนของผู้เรียน ของมหาวิทยาลัยและของประเทศ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่ผลิตหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตควรตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตงานวิจัยนักศึกษาที่สนองความต้องการของประเทศ และมีระบบการเผยแพร่ผลการวิจัยที่เข้าถึงผู้ใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว
*************
5 ข้อเสนอแนะถึง 'มหา'ลัย ในไทย'
1.ความเป็นนานาชาติ
*มีแนวโน้มการจัดการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
*รัฐบาลทุกประเทศให้ความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการเรียนการสอน
*มหาวิทยาลัยควรมีแผนและเป้าหมายการผลิตเอัตราส่วนของหลักสูตรนานาชาติกับหลักสูตรภาษาไทย
*มีกลยุทธ์ในการสร้างหลักสูตรในสาขาที่สามารถดึงดูดนักศึกษาต่างชาติได้สูง
2.การสร้างอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศ
*กำหนดนโยบายในการคัดคนเก่ง คนดีมีความสามารถสูงสุดเข้าเป็นอาจารย์
*สร้างแรงจูงใจให้ดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพดีที่สุดเข้ามาเป็นอาจารย์
*คัดเลือกบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่มีผลการเรียนดีเด่น เข้ารับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตวิจัย
3.ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
*ควรมีการกำหนดนโยบายให้แต่ละสาขาวิชาหรือแต่ละหลักสูตรมีโครงการความร่วมมือกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อให้บัณฑิตมีคุณภาพตามมาตรฐานและสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นการระดมทรัพยากรจากภาคผู้ใช้บัณฑิตให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในกระบวนการผลิต
4.การผนึกกำลังในการจัดการศึกษาเพื่อใช้ทรัพยาการร่วมกัน
*มหาวิทยาลัยวิจัยไม่ควรมีการแข่งขันกันเอง แต่ควรร่วมมือกันในการจัดการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เปิดโอกาสให้นักศึกษาเทียบโอนหน่วยกิตข้ามมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต
5. การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต
อัพเดดล่าสุด 9/20/2010 3:39:17 PM โดย Chaotip Kleekhaew
หมายเหตุ เส้นแบ่งข่าว หมายถึง ข่าวถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ
keyword :
Close
|
|
|
|
|