|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
มีหลายคนคิดว่า จะมีใครที่ไหนที่จะมาช่วงชิงกระแสระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนจากไอโฟน แบล็กเบอร์รี่ได้ ซิมเบียน หรือจะเป็น วินโดวส์โมบาย ทั้งสองไม่ใช่คำตอบ ณ วันนี้ พระเอกที่มาแรงและต้องจับตามอง คงหนีไม่พ้น “แอนดรอยด์”
จากวันแรกที่กูเกิลลงมาเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ “แอนดรอยด์” ระบบปฏิบัติการของค่ายตัวเองช่วงปลายปีที่แล้ว มาถึงวันนี้ “แอนดรอยด์” ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับแบรนด์มือถือที่ไม่มีระบบปฏิบัติการของตัวเองในการเลือกที่จะใช้ต่อกรกับไอโฟน แบล็กเบอร์รี่
จากผลวิจัยตลาดที่บริษัทวิจัย “คานาลิสต์” ประเมินว่า สมาร์ทโฟนที่ใช้แอนดรอยด์เพิ่มขึ้นถึง 886% ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยที่แอนดรอยด์จะถูกใช้ในสมาร์ทโฟนถึง 75 ล้านเครื่องภายในปี 2555 เพิ่มจาก 5 ล้านเครื่องในปี 2552 เทียบกับระบบปฏิบัติการ “ไอโอเอส” ของค่ายแอปเปิลที่จะใช้ในสมาร์ทโฟน 62 ล้านเครื่องภายในปี 2555 เพิ่มจาก 25 ล้านเครื่องในปี 2552
ขณะที่บริษัทวิจัยตลาดอย่าง “การ์ตเนอร์” ประเมินส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนในปีนี้ไว้ว่า ระบบปฏิบัติการซิมเบียนของโนเกียจะมีส่วนแบ่งตลาด 40.1% และจะลดลงเหลือ 34.2% ในปี 2554 และ 30.2% ในปี 2557 ส่วนแอนดรอยด์จะมีส่วนแบ่ง 17.7% ในปีนี้ และเพิ่มเป็น 22.2% ในปี 2554 และ 29.6% ในปี 2557 จากแนวโน้มดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นเรื่องแปลกประการใดที่จะเห็นแบรนด์มือถือต่างทยอยเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
จากข้อมูลของจีเอฟเค ซึ่งสำรวจเมื่อพฤษภาคมปีนี้ ระบุว่า ตลาดสมาร์ทโฟนในเมืองไทยอยู่ที่ประมาณ 800,000 เครื่อง จากตลาดมือถือรวม 11 ล้านเครื่อง ทั้งนี้แยกเป็นมือถือซิมเบียน 6 แสนเครื่อง และสมาร์ทโฟนที่มีโอเอส 2 แสนกว่าเครื่อง ในจำนวนนี้เป็นสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โมบาย และแอนดรอยด์ ในสัดส่วนเท่าๆ กัน ประมาณ 26%
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของแอนดรอยด์เป็นขาขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่มีหลายๆ แบรนด์ส่งสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เข้ามาทำตลาดมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่แอนดรอยด์โฟนคึกคักช่วงหนึ่งก็ว่าได้
การ์มิน-อัสซุส นับเป็นผู้เล่นรายล่าสุดที่ทำการเปิดตัวสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในประเทศไทย การ์มิน-อัสซุส เอ10 เป็นสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่มีระบบนำทางลิขสิทธิ์เฉพาะของการ์มิน หน้าจอสัมผัส 3.2 นิ้ว กล้องดิจิตอล 5 ล้านพิกเซล ภายในเครื่องมาพร้อมระบบแผนที่ประเทศไทยซึ่งให้รายละเอียดทั้งข้อมูลร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ หรือแหล่งชอปปิ้งในรูปฐานข้อมูล POI มากกว่า 450,000 จุด มีเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเดินทางในเมือง ครอบคลุมทั้งสำหรับผู้ขับขี่และผู้เดินเท้า หน่วยความจำในตัว 4 กิกะไบต์ หน่วยความจำสำรอง RAM-ROM ขนาด 512 เมกะไบต์
“ตลาดสมาร์ทโฟนของการ์มิน-อัสซุสเป็นกลุ่มวัยทำงานระดับกลางอายุระหว่าง 30-50 ปี ที่มีไลฟ์สไตด์เดินทางท่องเที่ยว รวมไปถึงนักธุรกิจต่างประเทศที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย” พรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวและว่า “เรามั่นใจว่าจะสามารถเป็นผู้นำตลาดเนวิเกเตอร์สมาร์ทโฟนได้”
ซับแบรนด์ “ออปติมัส”
แอนดรอยด์โฟนแอลจี
ขณะที่ “แอลจี” ยักษ์ใหญ่จากแดนเกาหลีใต้ ประกาศความพร้อมอย่างเป็นทางการที่จะบุกตลาดสมาร์ทโฟนโลก โดย สก็อต อาห์น ซีอีโอและประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือแอลจี ระบุชัดเจนว่า แอลจีจะทำตลาดสมาร์ทโฟนภายใต้ซับแบรนด์ “ออปติมัส” (Optimus) พร้อมทั้งเปิดตัวสมาร์ทโฟน “ออปติมัส วัน” และ “ออปติมัส ชิก” ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นหัวหอกในการรุกตลาดสมาร์ทโฟนของแอลจี
“สมาร์ทโฟนออปติมัสจะเป็นจุดเปลี่ยนของการใช้สมาร์ทโฟนที่เดิมนั้นผู้ใช้จะรู้สึกยุ่งยากและราคาแพง”
ณัฐวัชร์ ศิริวงศ์ศาล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จริงๆ แล้ว แอลจีเคยนำเข้าสมาร์ทโฟนเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา ทั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบายและแอนดรอยด์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะไม่ได้โฟกัสการทำตลาด แต่มีเพื่อให้สินค้าครบไลน์เท่านั้น แต่จากนี้ไปจะรุกตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกอย่างจริงจัง
ณัฐวัชร์ ยอมรับว่า แอลจีออกสมาร์ทโฟนช้ากว่าคู่แข่ง ช่วงที่ผ่านมาจึงไม่ประสบความสำเร็จในการทำตลาดสมาร์ทโฟนมากนัก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 1% ของตลาดสมาร์ทโฟนในไทย แต่เชื่อว่าหลังจากมีออปติมัสออกสู่ตลาด จะช่วยให้แอลจีติดท็อปทรีของตลาดได้ ไม่เฉพาะการมีสินค้ารุ่นใหม่ทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังจะโฟกัสเรื่องของช่องทางการขายเพื่อผลักดันให้ยอดขายสมาร์ทโฟนมากขึ้นด้วย รวมถึงร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์รุกตลาดในแต่ละเซกเมนต์มากขึ้น
ซัมซุงแกแล็คซี่ 5
สร้างไอดอลรุ่นใหม่
ค่ายซัมซุงเป็นอีกหนึ่งค่ายที่เอาจริงเอาจังกับการทำตลาดแอนดรอยด์โฟนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างชื่อ “ซัมซุงแกแล็คซี่” จนติดตลาด หลังจากซัมซุงเปิดตัวมือถือซัมซุงแกแล็คซี่เอส ซัมซุงแกแล็คซี่ 3 และซัมซุงแกแล็คซี่ 5 ก็ได้รับการตอบรับจากตลาดไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในกลุ่มนิสิต นักศึกษา และวัยรุ่นที่สนใจเรื่องของเทคโนโลยีและกำลังมองหาแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ
ซัมซุงมองว่าระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชั่นหลากหลาย ทำให้มั่นใจว่าแอนดรอยด์โฟนจะก้าวขึ้นสู่อันดับหนึ่งยอดขายสมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกา หรืออันดับสองของระบบปฏิบัติการภายใน 2 ปีข้างหน้า
และเพื่อเป็นการขยายฐานสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ของซัมซุงสู่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ ล่าสุดซัมซุงได้เปิดตัวแคมเปญออนไลน์ “ไอดอลรุ่นใหม่ ฉลาดใช้ Android” เพียงโพสต์เหตุผล “ไอดอลรุ่นใหม่เบื่อระบบปฏิบัติการเก่าๆ ยังไง” ก็สามารถเข้าร่วมกิจการชิงรางวัลต่างๆ อย่างมากมาย โดยซัมซุงเชื่อว่าวัยรุ่นทั่วเมืองไทยจะเข้าร่วมแคมเปญนี้กว่า 500,000 คน และจะมีผลต่อการขยายฐานซัมซุงสมาร์ทโฟนให้เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 100%
ในแคมเปญนี้ซัมซุงตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถสร้างยอดขายให้กับซัมซุงแกแล็คซี่ 5 ได้มากกว่า 20,000 เครื่องต่อเดือนด้วย
ก่อนหน้านี้ความเคลื่อนไหวการเปิดตัวแอนดรอยด์โฟนยังมีอีก 2 ค่ายยักษ์ ไม่ว่าจะเป็น เอชทีซี และเอเซอร์ จึงน่าที่จะต้องแข่งขันกันอย่างหนักในการช่วงชิงผู้บริโภครุ่นใหม่ที่จะเข้ามาเลือกใช้แอนดรอยด์โฟน
|
|
|
|
|