Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์25 กันยายน 2553
ฟิวเจอร์ พาร์ค เดินเกม CRM ขยายฐานลูกค้าพรีเมียม             
 


   
search resources

Shopping Centers and Department store
รังสิต พลาซ่า, บจก.




ฟิวเจอร์ พาร์ค ส่งบัตรแพลทินัมการ์ด มัดใจลูกค้าระดับบน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ยกระดับภาพลักษณ์ ปรับศูนย์ฯ รองรับตลาดพรีเมียมที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน สลัดภาพลักษณ์ศูนย์การค้าของสาวโรงงาน พร้อมชูแผนขยายธุรกิจใหม่

หลังจาก ฟิวเจอร์ พาร์ค ต้องเผชิญกับการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกไม่ว่าจะเป็น ดิสเคานต์สโตร์ คอมมูนิตี้มอลล์ และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ส่งผลให้ ฟิวเจอร์ พาร์ค ต้องมีการปรับตัว โดยก่อนหน้านี้มีการปรับโพซิชันนิ่งเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงซึ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ตามการขยายตัวของโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นมากมาย ขณะที่ฐานลูกค้าเก่าที่เป็นกลุ่มสาวโรงงานก็ถูกแชร์ตลาดไปโดยคู่แข่งที่เป็นดิสเคานต์สโตร์ ซึ่งในรัศมี 20 กิโลเมตร มีดิสเคานต์สโตร์มากถึง 20 แห่ง

ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ปรับโฉม ดึงแม็กเน็ตพรีเมียมเพื่อยกระดับไปสู่การเป็น Only Retail Hub in Thailand เช่น เอสบีดีไซน์สแควร์ โดยก่อนหน้านี้ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ได้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 20,000 ตารางเมตร ขณะที่โรงภาพยนตร์อีจีวีได้ปรับเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งรองรับลูกค้ากว่า 5,500 ที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีห้างร้านที่เป็นแม็กเน็ตใหญ่กว่า 14 แบรนด์ เช่นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ซึ่งกำลังมีการปรับโฉมเพื่อรองรับกำลังซื้อในตลาดบนที่มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจน Category ต่างๆ ของเซ็นทรัลรีเทล เช่น เพาเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต และยังมีร้านค้ากว่า 900 ร้าน ร้านอาหารกว่า 100 ร้าน ร้านแฟชั่นอีก 200 ร้าน ทำให้ศูนย์ฯ มีศักยภาพในการดึงดูดกำลังซื้อมากขึ้น ทั้งนี้ ในการปรับโฉมเพื่อรองรับตลาดระดับบน ส่งผลให้มีการจับจ่ายต่อหัวต่อครั้งเพิ่มขึ้น

ในส่วนของพื้นที่นอกศูนย์ฯ ก็มีการทุ่มงบกว่า 30 ล้านบาท สร้างพื้นที่กิจกรรมติดแอร์ ภายใต้ชื่อ Alive Hall ซึ่งแต่เดิมมีพื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้งหน้าศูนย์ฯ โดยใช้ชื่อว่า Alive Park ทว่ามักประสบกับปัญหาสภาพอากาศ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ ดังนั้น ในปีนี้จึงมีการเพิ่มพื้นที่จัดกิจกรรมในร่ม โดย Alive Park มีพื้นที่จัดงาน 5,000 ตารางเมตร ส่วน Alive Hall มีพื้นที่จัดงาน 1,100 ตารางเมตร บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างรายได้จากการให้เช่าพื้นที่จัดกิจกรรมในปีนี้ 240 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จาก Alive Hall 20 ล้านบาท

นอกจากนี้ ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ยังมีการทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท ในการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ร้านค้าเช่าสามารถอยู่ได้ และบริษัทก็จะสามารถเพิ่มค่าเช่าได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่มีการจัดกิจกรรมใหญ่ๆ จะสามารถดึงดูดกำลังซื้อได้มากกว่าช่วงปรกติ 20-30% ซึ่งจะมีทั้งกิจกรรมที่ร่วมกับภาคเอกชน และที่ร่วมกับภาครัฐอย่างเช่นงานประมง และงานกาชาดจังหวัด

ทั้งนี้ หลังจากการปรับตัวศูนย์การค้าเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์พรีเมียมแล้ว ฟิวเจอร์ พาร์ค ก็เตรียมแผน CRM เพื่อดึงดูดฐานลูกค้าใหม่ๆ และรักษาฐานลูกค้าเก่าในระดับพรีเมียม ล่าสุดเตรียมลอนช์บัตรฟิวเจอร์ แพลทินัม ซึ่งเป็นบัตรสมาชิกที่มอบสิทธิพิเศษทั้งส่วนลดร้านค้าในศูนย์ฯ และสะสมแต้ม ซึ่งมุ่งเป้าไปสู่กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป โดยบริษัทตั้งเป้าว่าในปีแรกจะสามารถขยายฐานสมาชิกบัตรใหม่ได้ 3,000 ราย ปัจจุบัน ฟิวเจอร์ พาร์ค มีฐานลูกค้าระดับบนมากถึง 60% ซึ่งเป็นผลมาจากการอัปเกรดศูนย์การค้า

อย่างไรก็ดี นอกจากบัตร ฟิวเจอร์ แพลทินัมแล้ว ก่อนหน้านี้ บริษัทได้มีการทำบัตรสมาชิก 2 แบบ คือ บัตรเครดิตเคทีซี ฟิวเจอร์ ซึ่งจะได้รับส่วนลดจากร้านค้าในศูนย์ฯ และสะสมแต้มทั้งในส่วนของเคทีซีและฟิวเจอร์ พาร์ค โดยปัจจุบันบริษัทมีสมาชิก เคทีซีฟิวเจอร์ 35,000 ราย มีการจับจ่ายต่อครั้ง 2,500 บาท ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของผู้มาใช้บริการในฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีการจับจ่ายอยู่ที่ 1,300 บาทต่อครั้ง โดยมีความถี่ 5 ครั้งต่อเดือน ส่วนอีกแบบคือบัตรทีนคลับ ซึ่งจับตลาดนักเรียน นักศึกษา เนื่องจากในรัศมีรอบศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค มีสถาบันการศึกษาไม่ต่ำกว่า 22 แห่ง ปัจจุบัน ฟิวเจอร์ พาร์ค มีฐานสมาชิกกลุ่มทีนคลับกว่า 5,000 ราย

“นอกจากการปรับปรุงพื้นที่และบรรยากาศภายในศูนย์การค้าเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การชอปปิ้งแล้ว เรายังมีการทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องซึ่งจะช่วยสร้างทราฟฟิกให้เพิ่มมากกว่าปรกติ” จิตตินันท์ หวั่งหลี รองกรรมการผู้จัดการสายพัฒนาธุรกิจและการตลาด รังสิต พลาซ่า ผู้บริหารศูนย์การค้า ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต กล่าว

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต มีลูกค้ามาใช้บริการในวันธรรมดากว่า 140,000 คนต่อวัน ส่วนวันเสาร์อาทิตย์มีลูกค้ามาใช้บริการวันละ 160,000 ราย และหากมีการจัดกิจกรรมบางงานก็สามารถเพิ่มทราฟฟิกได้สูงถึง 200,000 คนต่อวัน และยังทำให้ศูนย์ฯ ได้ลูกค้าใหม่มาเยือนตลอดเวลา เป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป

ล่าสุด ฟิวเจอร์ พาร์ค ยกระดับศูนย์การค้าไปสู่การเป็น เดอะ เนเจอรัลเมโทร ชอปปิ้ง พร้อมทุ่มงบ 25 ล้านบาท จัดกิจกรรม ฉลองครบรอบ 15 ปี ภายใต้คอนเซ็ปต์ Super Sale...Super Show ลดราคาสินค้าทั้งศูนย์ฯ 10-80% พร้อมตั้งเป้าดึงทราฟฟิกเพิ่มจากปรกติ 20% ทั้งนี้ ภายหลังการปรับปรุงศูนย์ฯ แล้ว บริษัทก็จะมีการขยายธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างอัตราการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นการหาพันธมิตรมาร่วมเช่าพื้นที่ในย่านรังสิตซึ่งมีที่ดินเปล่าอีก 300 ไร่ ตลอดจนการเข้าไปร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ในการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบต่างๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us