เมื่อสิ้นปี 2529 หากดูถึงสินทรัพย์รวมของ "โตโยต้า กรุ๊ป" ทั้งหมดที่มีอยู่ในญี่ปุ่นและที่กระจัดกระจายตามสาขาไปประเทศต่าง
ๆ อีก 20 กว่าประเทศ มีมูลค่ามหาศาลมากกวางบพัฒนาประเทศไทยในปีปัจจุบันเสียอีก
เฉพาะที่ญี่ปุ่นทุนจดทะเบียนบริษัทก็สูงถึง 133,200 ล้านบาท
ความยิ่งใหญ่ของ "โตโยต้ากรุ๊ป" ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งชื่อเมืองที่เป็นศูนย์บัญชาการใหญ่ของ
"โตโยต้า กรุ๊ป" ว่า "TOYOTA CITY" และประมาณกันว่า
3 ใน 4 ของจำนวนประชากรในเมืองนี้มีอยู่มีกินร่ำรวยขึ้นมาได้เพราะสายธารธุรกิจของ
"โตโยต้ากรุ๊ป" นั่นเทียว
ญี่ปุ่นในปี 1946 กับสภาพพินาศยับเยินจากภัยสงครามกลับเป็นการก่อเกิดขึ้นมาของชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในช่วงหนึ่งทศวรรษหลังถัดมา
การพ่ายแก้สงครามทำให้คนญี่ปุ่นกระเหี้ยนกระหือรือที่จะเห็นอนาคตใหม่อันโชติช่วงของประเทศ
ทุกคนเพียรพยายามวิริยะอุตสาหะเพื่อหนีไปให้พ้นจากคำว่า "ไฮโมกุ"
ที่แสดงถึงความพ่ายแพ้อย่างชนิดเข้าเนื้อเข้ากระดูก
ความมหัศจรรย์ที่คนทั้งโลกต้องค้อมรับญี่ปุ่นโดยปราศจากข้อโต้แย้งเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นในปีนั้นจริง
ๆ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงในเวลานี้อาทิเช่น มิตซุย มิตซูบิชิ
ยาชิดะ ซิมิโตโม หรือที่เรียกกันว่า "กลุ่มไซบัตสุ" ฮอนด้ามอเตอร์
หรือแม้แต่โตโยต้า เป็นตัวเป็นตนขึ้นมาอย่างมั่งคงก็ในปีนี้นี่เอง
สำหรับ "โตโยต้า" ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความเป็นอัจฉริยะอันหาได้ยากยิ่งทางเทคโนโลยีที่ประทุขึ้นในคลังสมองของ
"ซากิชิ โตโยด้า" (SAKHICHI TOYODA) กับความเฉียบฉลาดในการคาดการร์ความเป็นไปได้ในอนาคตของเขาคือพลังผลักดันเบื้องหลังความสำเร็จทั้งมวล
จนเดี๋ยวนี้ โตโยต้ากรุ๊ป" อหังการ์พอที่จะบอกว่า "บริษัทแห่งนี้จะเป็น
1 ใน 2 ของกลุ่มธุรกิจในญี่ปุ่นที่จะไม่มีวันล้มเป็นอันขาด
อันที่จริง "โตโยต้ากรุ๊ป" ที่ทั่วโลกรู้จักกิตติศัพท์ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่ง
หากไดมีรากฐานมาทางด้านนี้แต่แรกเริ่มไม่ เดิมที "ซากิชิ โตโยต้า"
ทำการค้าและเป็นนักประดิษฐ์ออกแบบเครื่องทอผ้าอัตโนมัติที่มีชื่อเสียงมากกว่าที่จะรู้จักเครื่องยนต์กลไกต่าง
ๆ
แต่เขาเป็นคนที่มองการณ์ไกลค่อนข้างจะแม่นยำ คาดหมายว่าต่อไปอุตสาหกรรมรถยนต์จะเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญในอนาคต
ด้วยความรู้พื้นฐานทีพ่อมีอยู่บ้างจึงทำให้ "บิดาของโตโยต้า" ผู้นี้ได้ตั้งฝ่ายดำเนินการด้านรถยนต์ขึ้นมาในบริษัท
TOYODA AUTOMATIC LOOM WORKS. LTD. เมื่อเดือนกันยายน 2476 และตั้งเป็นบริษัท
TOYOTA MOTOR เมื่อเดือนสิงหาคม 2480
พฤศจิกายน 2481 โรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกของ "โตโยต้ามอเตอร์"
ก็ปรากฏขึ้นที่เมืองฮอนชา โดยผลิตรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กออกมาก่อนทั้งนี้โดยใช้ระบบ
"TRUCK" เป็นแกนนำ ว่าไปแล้วแรก ๆ ของการผลิตถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น
ๆ นั้น "โตโยต้ามอเตอร์" อับด้อยกว่ามากในเรื่องเทคโนโลยี
โตโยต้ามอเตอร์มีเอกลักษณ์อันแข็งแกร่งเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ "หยัดยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองและเน้นหนักไปทางด้านตลาด"
ผิดกับนิสสันที่เข้าไปร่วมและหยิบยืมเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของอเมริกาเช่น
ฟอร์ด (1952)
โตโยต้าช่างเป็นเพียงอณูเล็ก ๆ ในสายตาของคนทั่วไป กระทั่งถึงปี 2493 ที่กระทรวงการค้าและการอุตสาหกรรม
(MITI) ของญี่ปุ่นเริ่มมองเห็นความหวังที่จะใช้นโยบายการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมชั้นนำต่อการพัฒนาประเทศ
ถัดจากนั้นอีก 5 ปี "MITI" ได้ประกาศว่าอุตสาหรรมรถยนต์ควรพัฒนาเป็นรถขนาดจิ๋ว
(MINI CAR) ที่บรรจุโดยสารไม่เกิน 4 คน ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
และราคาไม่ควรเกิน 25,000 เยน ซึ่งท่าทีนี้ขัดแย้งอย่างหนักกับธนาคารแห่งญี่ปุ่นที่ไม่ให้ความสนใจเรื่องนี้เท่าใดนัก
ขานรับรองอย่างหนักแน่นกับคำประกาศของ MITI ก็คือ "โตโยต้ามอเตอร์"
เนื่องจากสวนหนึ่งของพนักงานที่เป็นมันสมองของบริษัทล้วนผ่านงานมาจาก MITI
แล้วทั้งสิ้น คนเหล่านี้รู้ข้อมูลแบบทะลุปรุโปร่งว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ต้องเติบโตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กล่าวกันว่า "โตโยต้ามอเตอร์" ต้องหมดเงินเพื่อประมูลซื้อตัวมันสมองเหล่านั้นมาจากหน่วยงานรัฐบาลเป็นเงินหลายล้านเยน
และนี่ก็กลายเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของบริษัทที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรบุคคลอย่างสูง
แต่ผลที่ออกมาคุ้มเกินคุ้ม จากการผสมผสานระบบผลิตแบบ "TRUCK"
มาใช้ในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กทำให้ "โตโยต้ามอเตอร์" กลายเป็นผู้นำไปในเรื่องนี้ขณะที่อีกหลายบริษัทยังหลงใหลได้ปลื้มกับรถยนต์ขนาดใหญ่ตามแบบฉบับอเมริกัน
ในปี 2517 เมื่อเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งแรก หลายคนพากันคิดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก
เรพาะรถยนต์เป็นสัญลักษณ์ของสังคมอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่มีพื้นฐานอยู่กับน้ำมัน
แต่ไม่นานนักก็พบว่า เพราะวิกฤติการณ์น้ำมันแท้ ๆที่ทำให้รถยนต์ขนาดเล็กกลับมีตลาดกว้างขวางขึ้นในประเทศต่าง
ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
คงไม่ต้องเจียระไนกันหรอกนะว่า บริษัทที่ประสบผลสำเร็จสูงสุดกับปรากฏการณ์นี้จะเป็นใครไหนอื่นไปไม่ได้เลยนอกจาก
"โตโยต้ามอเตอร์" และก็เป็นก้าวแรกที่รถยนต์ญี่ปุ่น เริ่มเข้าไปมีบทบาทในสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะตามเข้า
"ฮุบ" แบบถอนยวงในปี 2523 (โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ
2 ของโรลกด้วยยอดผลิตมากกว่า 3 ล้านคัน/ปีและครองตลาดเป็นอันดับ 2-3 ของสหรัฐอเมริกา)
ก็เป็นเรื่องที่คุยกันได้ไม่รู้เบื่อกับการตบหน้าบริษัทรถยนต์ใหญ่ ๆ ของอเมริกา
เช่นฟอร์ด แบะเจเนอรัลมอเตอร์ที่ครั้งหนึ่งเคยเข้าไปแผ่รัศมีในประเทศญี่ปุ่น
บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัด เป็นบริษัทที่เน้นหลักการตลาด (MARKETING
ORIENTED) ค่อนข้างสูงโดยไม่สนใจเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์มากนัก (PRODUCTION
ORIENTED) ตัวอย่างเช่น การออกรถยนต์ขนาดเล็กก็เพราะว่า ในอนาคตตลาดต้องการรถที่ใช้ขนาดใด
เรื่องนี้อาจดูได้เด่นชัดขึ้นโดยพิจารณาจากตลาดอเมริกา
เดิมทีในส่วนของรถยนต์ขนาดเล็กในอเมริกา บริษัทที่ครองแชมป์มาตลอดเวลาได้แก่
โฟล์คสวาเก้นซึ่งผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่มีคุณภาพ แต่จากที่ "โตโยต้ามอเตอร์"
ได้ย่างกรายเข้าสู่ตลาดแห่งนี้ สิ่งหนึ่งที่ "โตโยต้ามอเตอร์"
ต้องลงทุนใช้จ่ายอย่างสูงก็คือ การว่จ้างคนเก็บข้อมูลว่ารถยนตืโฟล์คมีอะไรดีกันนักหนาคนถึงหนาคนถึงนิยม
โตโยต้าวิจัยเรื่องจุดเด่นของคู่แข่งรายนี้อย่างละเอียดยิบก่อนที่จะผลิตรถยนต์ขนาด
700 ซีซี. ออกสู่ตลาด
ที่สุดในปี 2520 โตโยต้าก็บรรลุความเป็นผู้ชนะเหนือรถยนต์โฟล์คได้อย่างน่าทึ่งซึ่งในกรณีเดียวกันนี้เปรียบเทียบได้กับตลาดประเทศไทยที่ว่า
แรก ๆ ที่โตโยต้านำรถเข้ามาขายนั้นไม่อาจกลบรัศมีของ "ดัทสันบลูเบิร์ด"
ได้เลย นอกจากชื่อเสียงที่ผิดกันราวฟ้ากับดิน รูปร่างสมรรถนะของรถที่ไม่สอดคล้องกับเมืองร้อนก็กลายเป็น
"จุดบอด" ของโตโยต้า ช่วงปี 2507-08 รถแท็กซี่ส่วนมากเป็น "ดัทสันบลูเบิร์ด"
แทบทั้งสิ้น
แต่ความมานะอดทนที่จะศึกษาข้อบกพร่องต่าง ๆ ทำให้โตโยต้าได้ข้อสรุปอันโดดเด่นกับ
"โตโยต้าโคโรลล่า" ซึ่งเป็นรถยนต์เล็กยี่ห้อเดียวในเมืองไทยที่สามารถติดตั้งแอร์ภายในรถได้
และผลสรุปนี้เองที่ส่งผลให้ "โตโยต้าโคโรลล่า" กลายเป็นรถที่ถูกเรียกใช้มากที่สุดจวบจนปัจจุบัน
กลยุทธ์ที่น่าศึกษาอีกอย่างหนึ่งของโตโยต้า มอเตอร์ ก็คือ "การเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี"
ที่สาขาบริษัทเข้าไปตั้งอยู่ในประเทศที่สามารถติดตั้งแอร์ภายในรถได้ และผลสรุปนี้เองที่ส่งผลให้
"โตโยต้าโคโรลล่า" กลายเป็นรถที่ถูกเรียกใช้มากที่สุดจวบจนปัจจุบัน
กลยุทธ์ที่น่าศึกษาอีกอย่างหนึ่งของโตโยต้า มอเตอร์ ก็คือ "การเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี"
ที่สาขาบริษัทเข้าไปตั้งอยู่ในประเทศนั้น ๆ ดังจะเห็ได้ว่าการผลิตรถยนต์ขายในสหรัฐอเมริกาจะมีความเหมาะสมกลมกลืนกับนิสัยและความเป็นอยู่ของคนอเมริกันเป็นอย่างมาก
"กุมสภาพให้รากเหง้าบริษัทหยั่งลึกติดประสานกับภูมิหลังทางวัฒนธรรมของประเทศที่เข้าไปตั้ง"
นี่คือกฎตายตัวอย่างหนึ่งของ "โตโยต้ามอเตอร์" จะเห็นได้ว่า "โตโยต้ามอเตอร์"
ต้องหมดเงินไปปีละหลายล้านบาทในแต่ละประเทศทั้งนี้เพียงเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีต่าง
ๆ ของประเทศนั้น ๆ
การแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าคัพที่ผ่านพ้นไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ดูจะเป็นคำตอบที่แจ่มชัดได้ในเรื่องนี้
โตโยต้าเลือกเอาช่วงเวลาที่คนไทยกำลังสนุกสนานกับเกมกีฬาชนิดนี้มาโปรโมทภาพพจน์ของตนในการมีส่วนเสริมสร้างสปิริตแก่คนไทยได้อย่างเหมาะเหม็ง
ก็ได้ทั้งเงินทั้งกล่องไปอย่างไม่มีที่ติ
ผู้บริหารญี่ปุ่นคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่เขาจะเข้ามาอยู่ในเมืองไทย
เขาคิดว่าคนไทยก็กินข้าวในลักษณะที่คล้ายคลึงกับคนญี่ปุ่น อยู่ในโซนเดียวกันขนบธรรมเนียมประเพณีและการดำรงอยู่ก็ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก
เขาคิดว่าเมื่อมาทำงานที่นี่คงเป็นไปอย่างราบรื่นเลยทีเดียว
ผิดถนัด เขายอมรับว่าความรู้สึกเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้เลย เพราะวัฒนธรรมใกนารดำรงชีวิตและทำงานของคนไทยมีอกีหลายจุดที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับญี่ปุ่น
"อะอุงโนะ โคกิว" สองด้านของสิ่งของที่นำมาใช้กันมากในการประชุมปรึกษาหารือของบริษัทญี่ปุ่นมิอาจถูกจุดประกายได้มากนักในเมืองไทย
และนั่นทำให้เขาต้องใช้จ่ายรายได้ส่วนตัวเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี
ของคนไทยแบบเข้าให้ถึงแก่น ซึ่งก็เป็นหลักการอย่างหนึ่งของผู้บริหารญี่ปุ่นที่ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน
ๆ สิ่งแรกที่เขาต้องทำก็คือ "ต้องรู้จักคนและประเทศนั้นให้ดีเสียก่อน
ผู้บริหารโตโยต้าถือมากก่วาจะไม่มีวันแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ได้เลยถ้าไม่สามารถเข้าใจถึงคอนเซ็ปท์พื้นบานเหล่านี้ได้ไ
25 ปีของโตโยต้า (ประเทศไทย) ที่มาถึงในวันนี้พร้อมกับที่จะมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง
ก็นั่นล่ะคือการปรับตัวของโตโยต้าให้เข้ากันได้กับวัฒนธรรมประเทศไทยก่อนที่จะท้าทาย่งานใหญ่ที่โตโยต้าคาดหวังถึงความเป็นหนึ่ง