การเข้ามาตั้งบริษัทสาขาในประเทศไทยเมื่อปี 2499 ครั้งนั้น นับเป็นการรุกครั้งแรกในการจัดตั้งบริษัทลูกหรือสาขาในต่างประเทศ
ก่อนที่จะใช้กลยุทธ์อันเดียวกันนี้เข้ายึดตลาดรถยนต์ในประเทศต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จในกาลต่อมา
ประเทศไทยจึงเป็นเสมือนดั่งต้นแบบ และเป็นเสมือนหนึ่งจุดกำเนิดของระบบแห่งความสำเร็จของโตโยต้าทั่วโลกทุกวันนี้
เรื่องโดย ทรงเกียรติ ชาติวัฒนานนท์
โตโยต้า เริ่มเข้ามาในตลาดประเทศไทย เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วได้ไม่นาน
ด้วยการส่งผ่านให้ ชวน คุวาสี ผู้ซึ่งเคยเป็นตัวแทนขายจักรเย็บผ้าของโตโยต้ามาก่อน
(ก่อนหน้านี้ บ.โตโยต้า มอเตอร์ เป็นบริษัทผลิตจักรและเครื่องทอผ้า) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
ชวน คุรวาสี ผู้นี้จึงนับเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้ารายแรกในประเทศไทยและชวน
คุณวาสี ผู้นี้คือดีลเลอร์ของโตโยต้าเจ้าของบริษัทโตโยต้า ขอนแก่น จำกัด
ในปัจจุบัน ใครต่อใครต่างเรียกเขาว่า ป๋าชวนเนื่องจากความเก๋าและเก่าแก่ในวงการรถยนต์นี่เอง
การให้ชวน คุณวาสีหรือป๋าชวนของคนในวงการรถยนต์เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยครั้งนั้น
เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์แรก ๆ ของโตโยต้า ซึ่งก็เหมือน ๆ กับกลุ่มบริษัทรถยนต์จากค่ายตะวันตกทั้งหลายแหล่
ที่ให้คนเจ้าถิ่นทำตลาดเอง และตัวเองก็เพียงคอยรับออร์เดอร์อยู่ในต่างประเทศ
ไม่มีการไปตั้งบริษัทของตนเองขึ้นในตลาดต่างประเทศเหมือนทุกวันนี้
ลูกค้าใหญ่ของชวน คุณวาสี ก็คือเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติที่เข้ามาทำงานอยู่ในประเทศไทย
รถยนต์ที่ถูกนำเข้ามาขายครั้งแรกและเป็นคันแรกก็คือ รถรุ่น เอฟเอ 160 ซึ่งเป็นรถบรรทุก
6 ล้อ ซึ่งว่ากันว่าไม่แตกต่างจากรถเซียงกงเท่าไหร่นัก ประสิทธิภาพยังสู้รถจากค่ายตะวันตกไม่ได้
แต่ชวน คุณวาสี ก็พยายามทำตลาดอย่างถึงลูกถึงคน สู้ไม่ถอยโดยมีจุดขายอยู่ที่ราคาถูกกว่ารถยนต์จากค่ายยุโรปมาก
และหลังจากนั้น รถหลาย ๆ รุ่นของโตโยต้าก็ถูกสั่งเข้ามา
อย่างไรก็ดี ป๋าชวน ก็สู้อยู่ได้แค่เพียง 3-4 ปีก็ต้องเลิก เนื่องจากทนสู้กับภาวะการขาดทุนไม่ไหว
"ครั้งแรก ๆ ที่ป๋าชวนแก่สั่งรถโตโยต้าเข้ามานั้น อะไร ๆ มันก็ดีหรอก
แต่พอระยะหลัง ๆ ชักจะเริ่มแย่ รถที่ป๋าชวนแก่สั่งเข้ามาญี่ปุ่นเขาก็ไม่ยอมติดกระจกให้
ตามแบบที่ตกลงกันเอาไว้ ป๋าชวนแก่ต้องมาติดตั้งเองหมด แคทซีก็ต้องมาทำใหม่หมด
อุปกรณ์ก็ไม่พร้อม และเมื่อต้องมาใส่มาทำเองอะไรอย่างนี้ ต้นทุนมันก็สูงขึ้น
ขายก็ขาดทุนและการที่เอาอุปกรณ์ในบ้านเราติดตั้งหรือใส่เข้าไป ประสิทธิภาพมันก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างรถของฝรั่ง
ทั้ง ๆที่ความจริงแล้วในตอนนั้นคนในกลุ่มองค์การสหประชาชาติสนิทสนมกับป๋าชวนมาก
ตลาดน่ะพอจะมีแต่รถไม่ค่อยสมบูรณ์ ที่สำคัญก็คือการส่งมอบของญี่ปุ่นมักจะผิดสัญญาบ่อย
สั่งไปแล้วกว่าจะได้สินค้าก็นาน ลูกค้าทนรอไม่ไหวเขาก็ไปซื้อที่อื่น"
แหล่งข่าวซึ่งสนิทสนมกับชวน คุณวาสีและอยู่ในวงการรถยนต์มานานกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
อย่างตรงไปตรงมา
ภายหลังจากที่ชวนคุณวาสีเลิกกิจการไปแล้ว ผู้เข้ามารับช่วงและเป็นผู้แทนจำหน่ายต่อมาก็คือ
สงวน ไชยนุวัติ เจาของห้างหุ้นส่วนขายยาเบอร์ลิน จำกัด ผู้เป็นมารดาของสืบไชย
ไชยนุวัติ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทกรรณสูตร เจนเนอรัลแอสเซมบลีจำกัด (โปรดดู
"ผู้จัดการ" ฉบับที่ 42 เดือนมีนาคม 2530 ในเรื่อง "กรรณสูต
เจนเนอรัลแอสเซมบลี จวบจนถึงจุดอวสานก็ยังดูไม่จืด")
แต่กลุ่มเจ้าของห้างขายยาเบอร์ลินก็เป็นตัวแทนจำหน่ายได้ไม่นาน ในที่สุดก็ต้องเลิกกิจการไปเช่นเดียวกัน
ซึ่งในช่วงนี้มีการนำรถเก๋งนั่งโตโยต้ารุ่นเทียร่า เข้ามาขายซึ่งถือเป็นรถเก๋งนั่งรุ่นแรกของโตโยต้าที่นำมาจำหน่ายในประเทศไทย
"ในช่วงสมัยนั้น มันเป็นช่วงต่อระหว่างห้างขายยาเบอร์ลินซึ่งกำลังจะเลิกกิจการและสุริยน
ไรวา ก็กำลังเข้ามาเป็นผู้แทนจำหน่ายรายต่อมา แต่ไม่ว่าอย่างไร รถเก๋งในยุคนั้นของญี่ปุ่นไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ถูกมองเหมือนกับเป็นรถกระป๋อง
สู้รถฟอร์ด โฟล์คของฝรั่งไม่ได้" แหล่งขาวในวงการค้ารถยนต์กล่าวกับ
"ผู้จัดการ"
สุริยน ไรวา ก่อตั้งบริษัท เอสอาร์ มอเตอร์ จำกัด ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้าในประเทศทไยต่อจากกลุ่มของห้างขายยาเบอร์ลิน
โดยสุริยน ไรวา ได้มืออาชีพในด้านตลาดรถยนต์ผู้หนึ่งเข้ามาช่วย คนผู้นี้ชื่อสุวรรณ
โพนสวัสดิ์ ซึ่งก่อนหน้าที่จะเข้ามาทำงานกับสุริยน ไรวา คนผู้นี้เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัท
ยนตรภัณฑ์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถแทรคเตอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จีเอ็ม
มาก่อน
สุวรรณ โพนสวัสดิ์ ผู้นี้เองที่เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของการพัฒนาตลาดของโตโยต้าในประเทศในกาลต่อมา
สุริน ไรวา นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับผู้แทนจำหน่ายที่แล้วมา คือล้มเหลวกับการขายรถยนต์โตโยต้า
แล้วในที่สุดก็เลิกกิจการไปอีกราย
บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ เซลส์แห่งญี่ปุ่น จับตาเฝ้ามองความล้มเหลวเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาประกอบกับก่อนหน้านี้
นักวิชาการระดับมันสมองของกระทรวงการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น (MITI) กับนักวิชาการขององค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่น
(GISI) ได้ทำการศึกษาในเรื่องตลาดรถยนต์ต่างประเทศ และต่างมีความเห็นตรงกันว่า
ตลาดเมืองไทยและสหรัฐอเมริกา เป็นตลาดที่จะเติบใหญ่ในอนาคต ทั้งยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุด
เนื่องจากแรงงานราคาถูก มิหนำซ้ำนักวิชากรจากสององค์กรนี้ยังมองไกลไปอีกว่า
ในอนาคตข้างหน้ารถยนต์นั่งขนาดจิ๋วจะไปได้ดียิ่งในขณะที่กลุ่มนักวิชาการจากธนาคารต่าง
ๆ ในญี่ปุ่นเองกลับคัดค้านแรวความคิดอันนี้และแสดงท่าทีที่จะไม่ยอมสนับสนุนด้วยซ้ำ
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เซลส์ แห่งญี่ปุ่นก็ดูเหมือนจะโชคดี เมื่อผู้บริหารระดับสูงมีความคิดว่าภายในบริษัทโตโยต้า
เองจำเป็นต้องมีนักบริหารระดับมันสมองมาช่วยงานเพื่อการขยายองค์กร และในที่สุด
ก็ดึงนักวิชาการจากกระทรวงการค้าต่างประเทศและองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์มาทำงานว่ากันว่า
เมื่อคนเหล่านี้ได้ทำงานจนได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นถึงระดับสูงแล้ว ผู้บริหารของโตโยต้าเกือบ
70% ของที่มีอยู่ตางมาจากสององค์กรนี้
จากแนวความคิดดั้งเดิมต่อตลาดในเมืองไทย ทำให้ผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้
เริ่มสนใจประเทศไทย ประกอบกับในช่วงนั้นรัฐบาลไทยก็กำลังให้การสนับสนุนและเรียกร้องให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
และสิ่งประกอบอีกอันหนึ่งก็คือ ความล้มเหลวที่ผ่านมาของตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยเอง
ปัจจัยที่ให้บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ เซลส์ แห่งญี่ปุ่นตัดสินใจเข้ามางบริษัทลุกขึ้นในประเทศไทย
เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของตนมีเหตุผลอย่างน้อยข้างต้นนั้นสนับสนุน
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2499 บริษัทโตโยต้า มอเตอร์เซลส์แห่งญี่ปุ่น ก็ดำเนินการเข้ามาจดทะเบียนค้าโภคภัณฑ์ต่อกรมสรรพากร
และจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งบริษัทชื่อ "บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เซลส์ จำกัด"
ขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 โดยมีออฟฟิศครั้งแรกอยู่ที่ศาลาแดง
ซึ่งนับเป็นสาขาแรกของโตโยต้าในโลกกว้าง
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์เซลส์ จำกัด เริ่มวางระบบการตลาดของตัวเองด้วยการยึดเอาระบบดีลเลอร์เข้ามาใช้
ซึ่งถ้ามองกันแล้ว โตโยต้าก็น่าจะทำเช่นนั้น เนื่องจากตัวเองเป็นชาวต่างประเทศ
การตั้งดีลเลอร์ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
ย่อมเป็นสิ่งที่โตโยต้า จำเป็นต้องกระทำ อาจกล่าวได้ว่า ระบบดีลเลอร์อันโด่งดังของโตโยต้า
ทุกวันนี้นั้นถูกสร้างขึ้นมาตามสถานการณ์ในประเทศไทย และเมื่อระบบนี้ประสบความสำเร็จในประเทศไทยโตโยต้า
ก็นำระบบนี้ไปใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่อมา
"ก่อนที่เราจะเลือกระบบนี้ขึ้นมา เราคิดเราชั่งน้ำหนักมาก่อนแล้วว่าระหว่างระบบสาขา
(BRANCH SYSTEM) เหมือนอย่างที่สยามกลการใช้ กับระบบดีลเลอร์ซึ่งเป็นระบบทีตั้งให้คนท้องถิ่นเขาเป็นตัวแทนจำหน่ายให้เรานั้น
ระบบสาขาซึ่งเราต้องไปตั้งบริษัทขายเองในแต่ละจังหวัดนั้นมีข้อด้อยมากกว่าเยอะ
แม้ว่าระบบสาขาจะรับนโยบายจากสำนักงานใหญ่ได้ดีกว่า แต่คนที่เราส่งไปทำงานจากส่วนกลางหรือสำนักงานใหญ่ได้ดีกว่า
แต่คนที่เราส่งไปทำงานจากส่วนกลางหรือสำนักงานใหญ่เข้ากับคนท้องถิ่น หรือรู้จักคนท้องถิ่นได้น้อยมาก
ในขณะที่ระบบดีลเลอร์หรือระบบตัวแทนจำหน่ายนี้ สามารถเข้ากับคนท้องถิ่นได้ดีกว่า
รู้จักตลาดดีกว่า เพราะเขาเป็นคนท้องถิ่นนั้น คนจังหวัดนั้น และที่สำคัญก็คือเขาเป็นเจ้าของบริษัทตัวแทนจำหน่ายของเขาเอง
เขาย่อมที่จะมีความรับผิดชอบมากกว่ามีความรับผิดชอบมากมีความกระตือรือร้นในการขายมากกว่าเพราะฉะนั้น
เราจึงมองว่าระบบสาขานั้นจะมีความแข็งแกร่งกว่าระบบดีลเลอร์นั้น คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน"
โตโยฮารุ ฟูจิโมโต้รองประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ
"ผู้จัดการ"
ในระยะการเริ่มต้นของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์เซลส์ จำกัด เป็นไปอย่างยากลำบากการหาดีลเลอร์ที่จะมาเป็นตัวแทนจำหน่ายในแต่ละพื้นที่
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักในสมัยนั้นเนื่องจากความเชื่อถือในบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น
ในช่วงเวลาดังกล่าวมีน้อยเต็มที่ ประกอบกับการตั้งกฎเกณฑ์ของบริษัท โตโยต้าเอง
ที่ต้องการจะเลือกดีลเลอร์ที่มีฐานะการเงินดี และมีความกระตือรือร้นที่จะทำงานขายซึ่งไม่ใช่จะหาได้ง่ายนักในช่วงระยะปี
2500 ที่ฐานทางธุรกิจของไทยยังแคบ ๆ
"เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน แค่ป๋าชวน (ชวน คุณวาสี) กว่าที่โตโยต้าจะตามง้อให้แก่เป็นดีลเลอร์ได้
ก็ปาเข้าไปถึง 7-8 เดือน ทั้ง ๆ ที่ป๋าชวนแก่ก็เคยขายและเป็นผู้แทนจำหน่ายโตโยต้ามาแล้ว"
แหล่งข่าวในวงการรถยนต์รุ่นเก่ารายหนึ่งเล่ากับ "ผู้จัดการ"
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เซลส์ จำกัด ได้พยายามดึงมือดีในวงการรถยนต์ของไทยเข้ามาทำงานด้วย
ซึ่งในที่สุด สุวรรณ โพนสวัสดิ์ ก็ถูกโตโยต้าดึงเข้ามาทำงานด้วยได้สำเร็จ
สุวรรณ โพนสวัสดิ์ ซึ่งเป็นผู้รู้จักตลาดรถยนต์ในไทยดี รับหน้าที่จัดหาดีลเลอ์ตั้งตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ต่าง
ๆ และเล่ากันว่า สุวรรณ โพนสวัสดิ์ ผู้นี้เองที่ไปขอร้องให้ชนวนคุณวาสีเป็นดีลเลอร์ในพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด
ซึ่งในตอนแรกชวน คุณวาสี ก็ปฏิเสธแต่เมื่อถูกตื้อมาก ๆ เข้า จากทั้งสุวรรณและคนญี่ปุ่นบางคนในโตโยต้า
ซึ่งชวน คุณวาสี รู้จักสนิทสนมเป็นการส่วนตัวดีอยู่ก่อนหน้านี้แบบบางคน ทำให้ชวนต้องยอมรับข้อเสนออีกครั้ง
แล้วในที่สุด ป๋าชวนของคนในวงการรถยนต์ก็กลายเป็นดีลเลอร์ใหญ่ภาคอีสานอย่างชื่นมื่น
คนรุ่นเดียวกับชวน คุณวาสี ผู้เก๋ากึ๊กในวงการรถยนต์ผู้นี้ เล่าให้ฟังว่า
การตกลงในขั้นแรกนั้นโตดยต้าพร้อมจะให้สิทธิ์ป๋าชวนในการตั้งดีลเลอร์ในพื้นที่จังหวัดต่าง
ๆ ในภาคอีสาร และจะได้ค่าคอมมิชชั่นจากการขายของดีลเลอร์ที่ตัวเองตัวขึ้นมาด้วย
"ผมเองก็ไม่แน่ใจว่า ป๋าชวนกับโตโยต้าเข้าใจผิดกันตอนคุยกันหรือเปล่า
เพราะต่อมาป๋าแกไม่พอใจทางโตโยต้ามากที่ไม่ทำตามสัญญา คือไม่ให้ค่าคอมมิชชั่นตามที่แกคิดว่าจะได้
ซึ่งตอนนั้นป๋าชวนแกก็ตั้งดีลเลอร์รายย่อยรายเดียวในขอนแก่นทุกวันนี้"
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ช่วงการตั้งดีลเลอร์ในระยะแรกของโตโยต้า เพื่อให้กระจายไปทุกพื้นที่ สร้างความลำบากให้กับบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์เซลส์ เป็นอย่างมาก แต่ก็ด้วยฝีมือของสุวรรณ โพนสวัสดิ์ ทำให้โตโยต้ากระจายดีลเลอร์ไปอีกหลายแห่ง
สุวรรณ โพนสวัสดิ์เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ควบคุมดีลเลอร์โตโยต้าทั่วประเทศเลยทีเดียวก็ว่าได้ในช่วงของการเริ่มต้นนั้น
แต่แล้วโตโยต้าก็เจอของแข็งเข้าอย่างจัง เป็นบทเรียนที่โตโยต้าไม่มาวันลืมเลยจนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อสุวรรณ โพนสวัสดิ์ เซียนยุทธจักรวงการรถยนต์สมัยนั้นโกงเงินบริษัทไปเกือบ
12 ล้านบาท เงิน 12 ล้านบาทในยุคนั้น เป็นเงินที่ไม่ใช้น้อยเลยสามารถทำให้บริษัทอาจล้มทั้งยืนได้
สุวรรณ โพนสวัสดิ์ หนีออกนอกประเทศไป แล้วไปสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจวายที่ต่างประเทศ
การกระทำของสุวรรณ โพนสวัสดิ์ได้สร้างบทเรียนอันเจ็บแสบให้กับบริษัทโตโยต้า
เป็นอย่างมาก ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อคนไทยในกาลต่อมาสูญสิ้นหมด จะเห็นได้วาเป็นเวลาเกือบ
30 ปีทีเดียวที่โตโยต้า ไม่ยอมให้คนไทยขึ้นมานั่งในตำแหน่งกรรมการบริหารได้เลย
(โดยบริษัทโตโยต้าเพิ่งจะเริ่มตั้งคนไทยเป็นกรรมการบริหารเมื่อปลายปีที่ผ่านมานี้เอง
โดยตั้งประลอง สุพพัตกุล ขึ้นมา เป็นกรรมการบริษัทคนเดียว)
การเข้ามาของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์เซลส์ ในยุคแรกเริ่ม ยังไม่มีการตั้งโรงงานประกบรถยนต์ที่ใหญ่โตดัวเช่นทกวันนี้บริษัทโตโยต้า
มีเพียงโกดังเกเถาอยู่ที่ถนนตก ซึ่งถูกใช้เป็นโรงงานประกอบชิ้นส่วนสำเร็จรูปรถยนต์ที่ถูกนำเข้ามาจากญี่ปุ่น
"ตอนนั้นเราสั่งแบบเซมินอดดาวน์เอสเคดี แล้วก็มาประกอบเพียงแต่ใส่น็อตเข้าไป
คือเป็นชิ้นส่วนที่เขาสำเร็จรูปมาจากญี่ปุ่นแล้ว พ่นสีอะไรมาเสร็จ เราก็เพียงแต่ใส่น็อตฝากระโปรงอะไรอย่างนี้
รถรุ่นแรกเรามีอยู่สามรุ่นก็คือ เอฟเอโตโยต้า บรรทุก 6 ล้อ แล้วก้อโตโยเป็น
แล้วก็โตโยเอ็ท ซึ่งเป็นรถบรรทุกทั้งสามรุ่น ครั้งแรกเลยนะครับเป็นรถบรรทุกหมดเรายังไม่มีรถเก๋งขาย"
ไพโรจน์ โฆสิตไพบูลย์ ผู้จัดการฝ่ายรถยนต์ซึ่งเข้ามาร่วมงานกับโตโยต้า ตั้งแต่เมื่อปี
พ.ศ. 2500 เล่าให้ ผู้จัดการ" ฟัง
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2500 บริษัทโตโยต้ามอเตอร์เซลส์ ได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากศาลแดง
มาอยู่ที่อาคารบนถนนสุริวงศ์ ซึ่งได้ทำการซื้อไวด้ยการได้รับอนุญาตพิเศษจากรัฐบาลไทยในการเป็นจเาของถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนั้น
กล่าวได้ว่า สถานการณ์ทางการเมืองในยุคดังกล่าว ก็เป็นตัวชี้ทิศทางของโตโยต้าอีกตัวหนึ่งเช่นกัน
การทำรัฐประหารของจอมาพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี 2501 นั้น จอมพลสฤษดิ์ ได้ประกาศอย่างหนักแน่นที่จะส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี 2503 ยิ่งทำให้บริษัทต่างประเทศมีความสนใจในการลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะโตโยต้าแล้ว ยิ่งเป็นความสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนในประเทศไทยที่งโตโยต้าในญี่ปุ่น
กำลังวางไว้อยู่ทีเดียว
การวางแผนในการลงทุนขาดใหญ่ เพื่อผลิตรถยนต์โตโยต้าในประเทศไทยจึงเกิดขึ้นในช่วงนี้
ต้นปี 2505 บริษัทโตโยต้ามอเตอร์เซลส์ แห่งญี่ปุ่น ก็ได้ให้ผู้บริหารบริษัทโตโยต้ามอเตอร์เซลส์
(ไทย) ดำเนินการขอรับการส่งเสริมลงทุน อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์นั่งและรถบรรทุก
ให้กับบริษัทที่จะตั้งขึ้นใหม่ซึ่งชื่อว่า บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
จำกัด
เดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2505 มร.ทาดาชิ นากาอิ เข้ายื่นขอจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์ ประเทศไทยต่อกรมทะเบียนการค้า ด้วยทุนจดทะเบียน 23,530,000 บาท
แต่การจดทะเบียนในครั้งแรกนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จ บริษัทโตโยต้า จำเป็นต้องขอยืดเลื่อนกำหนดการจดทะเบียนขอตั้งบริษัทใหม่ซึ่งมีเป้าหมายจะให้เป็นบริษัทที่รับผิดชอบในการประกอบรถยนต์อย่างสมบูรณ์แบบในประเทศไทย
เหตุผลการขอเลื่อนในครั้งนั้น ทางบริษัทโตโยต้า ให้เหตุผลกับนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง
กรมทะเบียนการค้าว่าบริษัทที่จะตั้งขึ้นใหม่นี้ จะตั้งขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงุทนก่อน
ถ้าไมได้รับัตรส่งเสริมการลงทุน ก้ไม่อาจที่จะดำเนินิกิจหาไรด้และยังกล่าวอีกว่าคาดว่าจะได้รับการส่งเสริมฯ
ในเดือนพฤษภาคม ดังนั้นจึงต้องขอยืดระยะเวลาไปขอจดทะเบียนในเดือนมิถุนายน
ภายหลังได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว
เมื่อถึงเดือนมิถุนายนเข้าจริง ๆ ความสงบเงียบที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนยังคงมีอยู่
ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นสาเหตุใจ ทางผู้บริหารของบริษัทโตโยต้าได้ทำหนังสือยื่นต่อเจ้าหน้าที่กรมทะเบียนการค้าอีกครั้งว่า
ขอเลื่อนการจัดตั้งบริษัทออกไปอีก โดยมีเหตุผลว่า
"ขณะนี้ผู้เริ่มก่อการกำลังเร่งรีบดำเนินการเพื่อจัดตั้งบริษัทให้เสร็จเรียบร้อยแต่เงินทุนของบริษัททีจัดตั้งนี้
ส่วนใหญ่เป็นเงินที่เอามาจากประเทศญี่ปุ่น และตามกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นการจะเอาเงินออกนอกประเทศจะต้องได้รับอนุญาตจากกองควบคุมเงินของรัฐบาลเสียก่อนจึงจะเอาเงินออกนอกประเทศได้
ในเวลานี้ ผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทได้ขอร้องต่อรัฐบาลญี่ปุ่นแล้วที่จะเอาเงินออกมาเป็นทุนตั้งบริษัทนี้
และกว่าจะได้รับอนุญาตก็จะต้องรอคอยไปถึงประมาณเดือนกันยายน ศกนี้"
โตโยต้า ขอเลื่อนการจัดตั้งบริษัทไปถึงเดือนกันยายน ในปีเดียวกันนั้น
"ไม่มีอะไรมาก มันเป็นเกมเป็นการต่อรองกับทางรัฐบาล ในการที่จะขอสิทธิพิเศษบางอย่างต่อรัฐบาลไทย
นอกเหนือจากการได้รับการส่งเสริมอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไปแล้ว เพราะว่าเขาต้องการที่จะถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียว
ซึ่งมันก็ผิดกฎหมายไทยในการที่จะเข้ามาจัดตั้งบริษัทแล้วยังได้รับส่งเสริมการลงทุนด้วยสิทธิพิเศษอีกหลาย
ๆ อย่าง" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังคงเงียบ ไม่มีคำตอบจากรัฐบาลไทย จนถึงเดือนกันยายนที่กำหนดเอาไว้
ผู้บริหารของบริษัทโตโยต้า จึงได้ทำหนังสือถึงกรมทะเบียนการค้า ขอถอนคำขอจดทะเบียน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด โดยในหนังสือจดหมายฉบับนั้นระบุว่า
"บัดนี้มีความจำเป็นบางประการที่ไม่อาจจะดำเนินการตั้งบริษัทให้สำเร็จตามหนังสือบริคณห์สนธิ
ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั่นได้ และเพื่อที่จะได้มีโอกาสได้มีการตั้งบริษัทขึ้นใหม่ในภายหลัง
ผู้เริ่มก่อการทุกคนจึงไดทำหนังสือนี้ถึงท่าน ขอถอนคำขอจดทะเบียนและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทโตโยต้ามอเตอร์
ประเทศไทยจำกัด"
การกระทำครั้งนี้ของโตโยต้า เรียกได้ว่า เป็นการแสดงความแข็งกร้าวต่อรัฐบาลไทยอย่างซึ่ง
ๆ หน้า พวกเขามั่นใจและพร้อมที่จะต่อสู้ความโดดเดี่ยวแบบข้ามาคนเดียว โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้นักเมืองหรือทหารคนหนึ่งคนใดในยุคนั้นเข้ามาตักตวงเอาผลประโยชน์จากพวกเขาไปได้
โดยเฉพาะด้วยการเข้ามาร่วมถือหุ้นลมในบริษัทเหมืองดั่งที่เกือบทุกบริษัทกระทำกันในยุคนั้นและแทบจะถือเป็นประเพณีเลยทีเดียวก็ว่าได้สำหรับข้าราชการและทหารในยุคนั้น
นอกเหนือจากเงินใต้โต๊ะที่พวกเขาได้รับแล้วก็คือ "หุ้นลม" ที่จะต้องได้กัน
โตโยต้า ในยุคนั้นต้องการที่จะต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว ไม่ต้องการการร่วมทุนกับใครไม่ต้องการทหารระดับยศโต
ๆ ไม่ว่าจะเป็นจอมพลอะไรก็แล้วแต่เข้ามาเป็นประธานบริษัท
แล้วในที่สุด คนของรัฐบาลไทยก็ต้องยอมรับกับความจริงข้อนี้ของโตโยต้า
ใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสหกรรม ประเภทประกอบอุตสาหกรรม
"ประกอบรถแทรคเตอร์" และ "ประกอบรถยนต์นั่งและรถยนต์บรรทุก"
ก็ถูกออกให้แก่ บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2505
ในเดือนเดียวกันบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด จึงเข้าขอจดทะเบียนตั้งบริาทต่อกรมทะเบียนการค้าอีกครั้งหนึ่งด้วยทุนจดทะเบียนครั้งแรก
11,765,000 บาทมูลค่าต่อหุ้น 1,000 บาท เป็นจำนวนหุ้น 11,765 หุ้น
โตโยต้า ยังคงเอกลักษณ์ของตัวเองโดยไม่ยินยอมให้มีนักการเมือง ทหาร ข้าราชการผู้ใหญ่คนใดคนหนึ่งเข้าถือหุ้นเลยหุ้นที่มีเป็นหุ้นที่ถือโดยบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์เซลส์ จำกัด (ญี่ปุ่น) ถึง 11,758 หุ้น ที่เหลืออีก 7 หุ้นแบ่งให้กรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้บริหารชาวญี่ปุ่นของโตโยต้าทั้งหมดถือกันคนละ
1 หุ้น
และในตำแหน่งประธานบริษัท โตโยต้าก็ไม่ได้เชิญ จอมพลคนหนึ่งคนใดหรือผู้กว้างขวางยิ่งใหญ่ที่ไหนในเมืองไทย
ขึ้นนั่งตำแหน่งนี้เลย หากแต่ได้ให้มร.เคอิโซมิซูโน กรรมการอาวุโสของบริษัท
โตโยต้ามอเตอร์เซลส์ แห่งญี่ปุ่น เข้ามานั่งในตำแหน่งประธานบริษัทในเมืองไทยเป็นคนแรก
แม้แต่กรรมการของบริษัท ก็ไม่มีคนไทยแทรกเข้าไปแม้แต่คนเดียว ทุกคนมาจากบริษัทแม่ในญี่ปุ่นทั้งสิ้น
และนี่ก็คือ จุดกำเนิดของบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เจ้าแห่งตลาดรถยนต์ในบ้านเราทุกวันนี้
บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทยได้เริ่มโครงการของตัวเอง ด้วยการซื้อที่ดินผืนหนึ่งบนถนนทางรถไฟเก่า
ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ เป็นจำนวน 18 ไร่ 1 งาน 99
ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย
สำนักงานใหญ่ก็ใช้สำนักงานใหญ่ของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ เซลส์ จำกัด คือที่อาคารบรนถนนสุริวงศ์
นั่นเอง พนักงานของทั้งสองบริษัท ก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็นทีมเดียวกัน
"ในยุคสมัยนั้น ทั้งสองบริษัทของโตโยต้า ได้ใช้คนญี่ปุ่นแทบจะทั้งหมด
พนักงานระดับสูงตั้งแต่ระดับหัวหน้าฝ่ายเป็นชาวญี่ปุ่นทุกคน แม้แต่ตำแหน่งผู้ตรวจสอบบัญชีก็ยังเป็นคนญี่ปุ่น"
แหล่งข่วรายหนึ่งซึ่งอยู่ในบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยมานาน ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก
กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ซึ่งเรื่องนี้ ในบันทึกรายงานการประชุมตั้งบริษัท ก็ได้เขียนเอาไว้ในตอนหนึ่งว่า
"ที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ตั้งนายซูซุมุ นากายามา กับนายมาซาโอ
กาโต เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท ให้มีอำนาจทุก ๆ ประการอย่างผู้สอบบัญชีตามธรรมดา"
การกระทำเช่นนี้ของบริษัท โตโยต้าชี้ให้เห็นให้สองประการคือ หนึ่ง-บริษัทโตโยต้าเชื่อถือในฝีมือของคนญี่ปุ่นหรือคนในบริษัทของตนเองมากกว่าคนไทย
สอง-โตโยต้าเคยเจ็บปวดกันการกระทำของสุวรรณโพนสวัสดิ์มาแล้วดั่งที่กล่าวตอนต้น
เพราะฉะนั้น จึงไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก หรือกล่าวโดยง่าย ๆ ก็คือว่า โตโยต้าไม่ไว้วางใจคนไทยเลย
โรงงานประกอบรถยนต์ที่สำโรงได้ก่อสร้างเสร็จในเดือนกันยายน 2506 และผู้บริหารระดับสูงคาดการณ์ว่าการติดเครื่องไม้เครื่องมือเสร็จสิ้นและจะดำเนินการประกอบรถยนต์ได้ในปลายเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน
แต่เมื่อเริ่มการติดตั้งจริง ๆ ก็ไปเสร็จเอาในปลายเดือนมกราคม 2507 เป็นการคาดการผิดพลาดไปหนึ่งเดือนเต็ม
ๆ และกว่าที่จะเริ่มทำการผลิตได้ก็ต้องเสียเวลาเพิ่มไปอีกเกือบ 10 วัน โดยไปเริ่มทำการผลิตเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกัน
แต่ก็นับว่ายังไม่เลวนักสำหรับการคาดกาณ์ที่จะให้เป็นจริงในยุคนั้นของเมืองไทย
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ทำพิธีเปิดรงงานด้วยการเชิญ ทวี บุณยเกตุ
ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในยุคสมัยนั้นมาเป็นประธานในพิธี
ตั้งแต่เปิดโรงงานจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2507 โรงงานแห่งแรกของโตโยต้ามอเตอร์
ประเทศไทยแห่งนี้ สามารถผลิตรถเมดอินไทยแลนด์รุ่นแรกได้เป็นจำนวน 38 คันแยกเป็นรถยนต์นั่งจำนวน
17 คันรถบรรทุกขนาด 2 ตัน จำนวน 21 คัน
โตโยต้านั้นทางด้านการขายจริง ๆ แล้วก็ต้องเรียกว่ายังกระท่อนกระแท่นเต็มที
ตลอดปี 2508 มีการขายรถยนต์ไปได้เพียง 626 คัน เป็นรถที่สั่งเข้ามา 241 คัน
และเป็นรถที่นำมาประกอบที่โรงงานที่สำโรง 375 คัน แต่ก็ยังสูงกว่าปี 2507
ซึ่งขายได้เพียง 459 คัน
"ตลาดรถยนต์ในช่วงนั้น ไม่ค่อยมีใครนิยมเล่นรถญี่ปุ่นกันนัก โดยเฉพาะรถยนต์นั่งแล้วไม่ค่อยมีใครกล้าซื้อหรอกสำหรับโตโยต้าแล้ว
ถ้าเทียบในยุคนั้น การขายยังสู้นิสสันจากค่ายสยามกลการไม่ได้จำได้ว่าในช่วงแรกบริษัทโตโยต้านำรถโตโยต้าคราวน์
ซึ่งใช้ชื่อว่าโตโยเป็นเข้ามาขาย ในขณะที่ทางฝ่ายสยามกลการสั่งรถดัทสันบลูเบิร์ดเข้ามาสู้
บลูเบิร์ดชนะอย่างขาดลอย รถแท็กซี่ส่วนใหญ่ใช้บลูเบิร์ดกันทั้งนั้น"
แหล่งข่าวในวงการค้ารถยนต์รุ่นก่อน เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง
และในปี 2508 นี้เอง มร.เคอิโซมิซูโน ประธานบริษัท ก็ถูกเรียกตัวกลับญี่ปุ่นทางด้านบริษัทโตโยต้ามอเตอร์
แห่งญี่ปุ่นได้ส่งมร.เซนอิจิ โคยามา เข้ามาเป็นประธานในบริษัทโตโยต้า มอเตอร์
ประเทศไทยแทน
นี่ก็เป็นเอกลักษณ์ อีกอันหนึ่งของระบบโตโยต้าที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ตัวประธานในบริษัทสาขาในประเทศต่าง ๆ จะมีการผลัดเปลี่ยนเวียนกันไป โดยคน
ๆ หนึ่งจะนั่งอยู่ในตำแหน่งประมาณคนละ 3-5 ปี ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนหน้าที่
การเปลี่ยนพื้นที่กันดูแล ไม่เพียงแต่กระทำกันในระดับตำแหน่งประธานบริษัทเท่านั้น
หากยังใช้ระบบนี้ลงไปยังตำแหน่งต่าง ๆ จนถึงระดับหัวหน้าส่วนด้วย
การเปลี่ยนตัวประธานใหม่ของโตโยต้าแต่ละครั้ง ถ้ามองโดยภาพรวมกว้าง ๆ แล้ว
ไม่ได้ทำให้การทำงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดนัก นอกเสียจากว่าประธานคนใหม่ที่มานั้นได้รับนโยบายใหม่มาจากบริษัทแม่ให้มาเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างอย่างจริงจังเท่านั้น
สาเหตุประการหนึ่งก็เนื่องจากว่า ตัวประธานแต่ละคนที่เข้ามานั่งในตำแหน่งนี้ต่างก็ถูกหล่อหลอมมาจากระบบโตโยต้า
(TOYOTA SYSTEM) มาเหมือน ๆ กัน พื้นฐานทางความคิดจึงไม่แตกต่างกันมากนัก
อีกประการหนึ่งก็คือคนที่จะมานั่งในตำแหน่งประธานบริษัทสาขาต่าง ๆ ได้นั้น
ต้องเรียนว่าเป็นลูกหม้อของบริษัทโตโยต้าจริง ๆ เท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขาต้องอยู่กับโตโยต้ามานานปรัชญาของโตโยต้าระบบของโตโยต้าถึงฝังรากลึกอยู่ในสมอง
จนลึกแน่นจริง ๆ
อย่างไรก็ดี ในยุคของประธานคนใหม่ที่ชื่อเซ็นอิจิโคยามา ผู้นี้ บริษัทโตโยต้าในบริษทแม่ก็ได้เริ่มการพัฒนาและผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กอย่างจริงจัง
และเริ่มนำเข้ามาสู่ประเทศไทย
ในวงการรถยนต์นั่งญี่ปุ่น ต่างก็ยอมรับกันว่า โตโยต้าเป็นผู้นำแห่งการพัฒนารถยนต์นั่งขนาดจิ๋วมานานแล้ว
"ผู้บริหารระดับสูงของโตโยต้า เป็นกลุ่มแรกที่เริ่มมีความคิดนี้ พวกนี้ส่วนใหญ่ถูกดึงตัวมาจากองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่น
(GISI) ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่มีความคิดว่ารถยนต์ขนาดจิ๋วจะไปได้ดีในอนาคต พวกนี้มีความคิดมาตั้งแต่ก่อนเข้ามาทำงานกับดตโยต้าเสียอีก
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาโตดยต้าจึงได้ใช้เงินทุนเพื่อการคิดค้นพัฒนาคุณภพารถยนต์ขนาดจิ๋วหรือขนาดเล็กมาก่อนใคร
ๆ ในญี่ปุ่น โดยที่ไม่ต้องพูดถึงกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์จากค่ายยุโรปเลย เพราะกลุ่มนี้คัดค้านความเชื่อนี้มาตลอดและหากมีใครไปบอกว่ารถยนต์นั่งจะไปได้ดีในอนาคต
คนจากค่ายตะวันตกคงหัวเราะจนฟังร่วงแน่" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับ
"ผู้จัดการ"
สิ่งแรกที่พิสูจน์ถึงความเป็นผู้นำด้านนี้ของโตโยต้า ก็คือ การผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ชื่อว่า
โตโยต้า โคโรลล่า ออกสู่ท้องตลาด
นับแต่โตโยต้า โคโรลล่าเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 แม้ว่าในขณะนั้น
โตโยต้าจะไม่ได้เป็นที่หนึ่งในตลาด แต่อย่างน้อยหลังจากการนำรถรุ่นโคโรลล่าเข้ามาจำหน่ายแล้ว
โตโยต้าก็ครองมาร์เก็ตแชร์เหมือนรถยนต์จากค่ายญี่ปุ่นด้วยกันทั้งหมดได้
"ตั้งแต่เราเริ่มมีโคโรลล่าแล้ว เราก็เริ่มพุ่งขึ้นมาเป็นผู้นำทางการตลาด
เพราะว่าโคโรลล่า เป็นรถขนาดเล็กที่สามารถสนองความต้องการของตลาด ได้อย่างเต็มที่เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่สามารถติดแอร์ได้
ในขณะที่รถยนต์นั่งขนาดเล็กของบริษัทอื่น ๆ ติดแอร์ไม่ได้เลยในสมัยนั้น ความทนทานถาวรของรถก็ดี
ราคาก็ไม่แพง ตอนนั้นเท่าที่ผมจำได้โคโรลล่า 2 ประตู ราคาเพียง 39,000 บาท
และรุ่น 4 ประตูราคา 42,000 บาท แล้วค่อยขยับมาเป็น 49,000 บาทในตอนหลัง"
ไพโรจน์ โฆสิตไพบูลย์ผู้อยู่กับโตโยต้ามานานนมและเป็นที่คาดกันว่าเขาจะไดนั่งในตำแหน่งกรรมการบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์ ประเทศไทยในเดือนตุลาคม ปี 2530 นี้ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ภายหลังจากปี 2511 มาแล้วยอดการขายของโตโยต้า ก็ชนะค่ายสยามกลการมาตลอดในประเภทรถยนต์นั่ง
ปัจจัยสำคัญอีกอันหนึ่งนอกเหนือจากความก้าวหน้าในการพัฒนารถยนต์ขนาดเล็กแล้วก็คือ
การที่โตโยต้ามีดีลเลอร์ อยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ มากมาย ดีลเลอร์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นนักธุรกิจใหญ่ในแต่ละจังหวัด
มีความกว้างขวางในแต่ละพื้นที่ในปี 2511 ขณะนั้นโตโยต้ามีดีลเลอร์ในภาคพื้นที่ต่าง
ๆ ถึง 40 กว่าดีลเลอร์แล้ว ในขณะที่ค่ายสยามกลการคู่แข่งสำคัญของโตโยต้า
ใช้ระบบออกไปตั้งบริษัทสาขาในเขตพื้นที่ต่าง ๆ แล้วส่งคนภายในบริษัทตัวเองออกไป
หาตลาดในพื้นที่เหล่านั้น
นี่เป็นปัจจัยอีกอันหนึ่ง ในการตัดสินชี้ขาดชัยชนะของโตโยต้า
พ.ศ. 2511 บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ เซลส์ จำกัด (ประเทศไทย) ก็ยุบตัวเอง
แล้วโอนพนักงานทั้งหมดเข้ามาทำงานในบยริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทสไทย จำกัด
พร้อมทั้งโอนงานทั้งหมดเข้ามาอยู่รวมกับ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์
"สาเหตุของการยุบบริษัท ก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่เราไม่อยากให้การทำงานมันซ้ำว้อนกันเท่านั้น
เมื่อบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ สามารถยืนได้แล้ว ก็ควรจะเลิกบริษัทเก่าได้แล้ว"
แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
และในปี พ.ศ. 2512 นี้ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก็ก้าวไปอีกขั้น
ด้วยการลงทุนซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกับโรงงานประกอบรถยนต์ของตัวเอง เพื่อสร้างศูนย์บริการส่งมอบและอะไหล่ขึ้นมา
ซึ่งโครงการนี้ได้แล้วเสร็จ เมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเอง
ก้าวย่างแห่งการสร้างศูนย์ส่งมอบและอะไหล่ขึ้นนี้ นับเป็นก้าวที่สำคัญมากอีกก้าวหนึ่ง
เนื่องจากนับแต่การสร้างศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาแล้ว ทำให้โตโยต้า สามารถกระจายอะไหล่ของตัวเองให้แก่ลูกค้าคือพวกดีลเลอร์ได้อย่างเต็มที่
และนี่ก็คือ ปัจจัยที่มาของคำว่า "อะไหล่ของโตโยต้า ไม่เคยขาดแคลน"
ดีลเลอร์ของโตโยต้าทุกแห่งในประเทศไทย นอกจากจะเป็นสถานที่ขายรถยนต์หรือโชว์รูมแล้วยังเป็นสถานที่บิรหารอะไหล่และการซ่อมแซมหรือที่เรียกว่า
การบริหารหลังการขายอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ทำให้ดีลเลอร์มีรายได้จากการซ่อมแซมและการขายอะไหล่อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการมีรายได้จากการขายรถยนต์แล้ว
ที่สำคัญที่สุด ก็คือความสะดวกของผู้ใช้รถยนต์โตโยต้า ซึ่งไม่ว่าจะขับเป็นจังหวัดไหน
แล้วรถเกิดไปมีปัญหาขึ้นที่หนึ่งที่ใดผู้ใช้ก็สามารถหาอะไหล่หรือเข้าอู่ของดีลเลอร์ในจังหวัดนั้น
ๆ ได้เลย ไม่ต้องลากรถเข้ามาซ่อมในกรุงเทพฯเหมือนอย่างรถของหลาย ๆ บริษัทที่มีปัญหาในช่วงนั้น
ในปี 2513 มร.เซ็นอิจิ โคยามา ประธานบริษัทก็ถูกเรียกตัวกลับญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นได้ดำเนินการส่ง
มร.ทาคาโอ อาโอกิ เข้ามาเป็นประธานบริษัทแทน และทาคาโฮ อาโอกิประธานบริษัทแทน
และทาคาโอ อาโอกิ ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยคนใหม่ผู้นี้ ก็นับเป็นประธานบริษัทที่อยู่นานที่สุดในประเทศไทย
โดยอยู่นานถึงเกือบ 8 ปีเต็ม (2513-2520)
ในปี 2515 บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ได้ทำการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทเป็น
52,947,000 บาท โดยยังมีมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาทเหมือนเดิมและยังเป็นการถือหุ้นโดยบริษัท
โตโยต้ามอเตอร์เซลส์ แห่งญี่ปุ่นเป็นจำนวนเกือบทั้งหมดที่เหลืออีก 14 หุ้นแบ่งให้กรรมการบริษัทซึ่งเป็นชาวญี่ทั้งหมดคนละ
2 หุ้น
เป็นการตั้งใจสู้อย่างโดดเดี่ยวของโตโยต้าจริง ๆ หากไม่มองในแง่ลบว่า โตโยต้าตั้งใจที่จะแบ่งกำไรให้กับตัวเองเท่านั้น
คนภายนอกหรือคนไทยซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ "อย่าฝัน"
อย่างไรก็ดี บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวไปได้เพียงไม่นานนักหลังจากนั้น
ก็ต้องกลับไปทบทวนนโยบายอันเดิมนี้ใหม่
ตั้งแต่ช่วงปี 2515 เป็นต้นมากระแสการคัดค้านและต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ถูกปลุกขึ้นมาตามมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ ทั่วไปหมด กลุ่มนักศึกษาเริ่มออกโรงมาเป็นทัพหน้าอย่างแท้จริง ด้วยการจัดอภิปรายชี้ให้เห็นความเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มบริษัทญี่ปุ่น
มิหนำซ้ำยังชักชวนประชาชนให้ต่อสู้เรื่องนี้ให้ถึงที่สุด การเดินขบวนประท้วงแจกใบปลิวโจมตีรัฐบาลและบริษัทญี่ปุ่นมีเป็นระลอก
ๆ เกือบทุกวัน
การต่อต้านของนักศึกษาได้ผลเป็นอย่างยิ่ง ประชาช่นเข้าร่วมการต่อสู้กันจนสามารถขับไล่รัฐบาลเผด็จการของจอมพลถนอมกิตติขจรในยุคนั้นออกนอกประเทศไปได้
เมื่อสถานการณ์บีบบังคับ ประชาชนกำลังลุกฮือ รัฐบาลในยุคนั้นจำเป็นต้องเอาใจมหาชน
บริษัทโตโยต้าเป็นบริษัทหนึ่งที่ได้รับผลสะเทือน่จากสถานการณืทางการเมืองในช่วงนั้นในรายงานการประชุมบริษัท
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2517 มีบันทึกรายงานการประชุมกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"ประธานแถลงว่า เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไทย ในอันที่จะให้มีบริษัทมหาชนมากขึ้น
ตอ้งการให้คนไทยได้มีส่นร่วมเป็นเจ้าของในกิจการค้าและกิจการอุตสาหกรรมต่าง
ๆ มากขึ้น ซึ่งจะมีผลให้มีการดอนเงินทุนภายนอกประเทศมาเป็นเงินทุนภายในประเทศ
และเพื่อเป็นการตอบสนองคุณควมดีของตัวแทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วราชอาณาจักร ตลอดถึงพนักงานชาวไทยที่ได้ร่วมวทำงานมาในบริาทด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร
และเพื่อตอบแทนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งได้มีคุณความดีต่อบริษัท ทำให้บริษัทมีความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าตอลดมาคณะกรรมการบริษัทจึงมีมติเห้นว่าควรเพิ่มทุนของบริษัท"
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จึงมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัทอีก11,553,000
บาท เป็นจำนวน 11,553 หุ้น เมื่อรวมกับทุนจดทะเบียนครั้งหลังสุด บริษัทโตโยต้า
มอเตอร์ ประเทศไทย ก็มีทุนจดทะเบียนในขณะนั้นรวมแล้ว 63,500,000 บาท
หุ้นทุนที่ออกใหม่นี้ มีมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท ได้ถูกนำออกขายให้กับบุคคลต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในราคาหุ้นละ 1,250 หุ้น ซึ่งคุณกรรมการบริษัทชาวญี่ปุ่นที่มีอยู่
7 คนซื้อไปเป็นจำนวน 195 หุ้น ที่เหลือถูกตัดแบ่งขายให้กับดีลเลอร์ และกลุ่มเงินทุนต่าง
ๆดังนี้
บริษัท มิตรไทยไฟแน้นซ์แอนด์อินเวสท์เม้นท์ จำกัด รับซื้อหุ้นไป 1,863
หุ้นบริษัท บางกอกโนมูระ อินเตอร์เนชั่นแนลซีเคียวริตี้ จำกัด รับซื้อไป
1,000 หุ้น ธนาคารกรุงเทพรับซื้อไป 1,000 หุ้น บริษัทวรจักรยนต์ จำกัด อันเป็นดีลเลอร์ที่เก่าแก่ของโตโยต้ารับซื้อไป
1,000 หุ้นบริษัทพาราวินเซอร์ จำกัด ของทายาทอื้อจือเหลียงซึ่งก็เป็นดีลเลอร์มานานรับซื้อไป
700 หุ้น บริษัท พิธานพานิชย์ จำกัด ดีลเลอร์รายใหญ่อีกรายหนึ่งในกรุงเทพรับซื้อไป
700 หุ้นส่วนที่เหลือนอกจากนี้ก็เป็นดีลเลอร์ต่างจังหวัดที่รับซื้อไป เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะเรียกได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของบริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยในการที่ได้ให้คนไทยเข้ามามีส่วนใสนการเป็นเจ้าของบริษัทของตัวเองบ้างก็ตาม
แต่ก็ยังไม่อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการให้คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร
เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นในองค์กรเลย ความไว้วางใจต่อคนไทยยังหาไม่ได้ในช่วงเวลานั้น
เมื่อมีการเพิ่มทุนของบริษัทแล้ว โตโยต้าก็เริ่มขยายโรงงานประกอบรถยนต์ของตัวเองเป็นโรงงานที่
2 ในปี 2517 นี้ โดยเริ่มซื้อที่ดินที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง ซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์บริการส่งมอบและอะไหล่ของโตโยต้าเอง
ที่ดินที่ซื้อใหม่นี้มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 78 ไร่ 44 ตาราง โดยซื้อไว้ในราคา
30,600,000 บาท
การก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 เริ่มขึ้นทันทีในเดือนกันยายน 2517 และไปเสร็จเอาในเดือนพฤศจิกายน
2518
การสร้างโรงงานแห่งใหม่ดำเนินไปพร้อม ๆ กับการสร้างศูนย์ฝึกอบรมภายในโรงงาน
ศูนย์ฝึกอบรมที่ว่านี้ เป็นทั้งศูนย์ฝึกอบรมสำหรับพนักงานฝ่ายฃ่างและฝ่ายบริการของบริษัทโตโยต้าเองและสำหรับดีลเลอร์ด้วย
ซึ่งตอ่มาศูนย์ฝึกอบรมที่นี่ก็กลายเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียของโตโยต้าถ้าไม่นับศูนย์ฝึกอบรมในญี่ปุ่น
"ศูนย์อบรมแห่งนี้ มีระบบการฝึกอบรมให้กับช่างที่ลูกค้าหรือดีลเลอร์ส่งเข้ามาอย่างได้ผล
เราเชื่อว่าจากระบบและความใหญ่โตของมัน อาจเรียกได้ว่าใหญ่กว่าศูนย์ฝึกอบรมทุก
ๆ บริษัทในประเทศ/ไทยและใหญ่กว่าทุกสาขาโตโยต้าทั่วเอเชีย" โตโยฮารุ
ฟูจิโมโต้ รองประธานบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ซึ่งนี่ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งของโตโยต้าในการที่มองการณ์ไกลมาแต่สมัยนั้นแล้วว่าในอนาคต
ช่างฝีมือซึ่งเป็นคนญี่ปุ่นจะมีราคาแพงขึ้นในอนาคต อันเป็นผลจากค่าเงินเยนจะค่อย
ๆ สูงขึ้น การให้ช่างฝีมือในท้องถิ่นทำงานมากขึ้น ย่อมเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงอีกส่วนหนึ่ง"
"ตอนแรกเราก็ไปทดลองตั้งศูนย์ฝึกอบรมในอินโดนีเซียก่อน โดยหวังจะให้มันใหญ่โตอย่างนี้
แต่มันก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ช่างจากมเองไทยมีความกระตือรือร้นที่จะฝึกงาน
และมีความสามารถมากกว่าช่างในอินโดนีเซีย เราจึงหันมาเอาจริงเอาจังกันในประเทศไทย"
ฟูจิโมโต้กล่าวอีก
ช่วงปี 2517 นับเป็นปีที่รุ่งโรจน์ อีกปีหนึ่งของโตโยต้าในประเทศไทย มีหลักฐานจากบัญชีเก่า
ๆ ของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย บันทึกไว้ว่า ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายบริษัทสามารถขายรถได้ถึง
2,298 คันเมื่อเทียบกับงวดก่อนแล้ว ยอดการขายเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมถึง 28.7
เปอร์เซ็นต์ และถ้าเทียบกับปี 2516 ทั้งปี แล้วจำนวนการขายของโตโยต้าเพิ่มขึ้นไปอีกถึง
13.2% โดยในปี 2516 โตโยต้าครองมาร์เก็ตแชร์ในตลาดรถยนต์นั่งและบรรทุกอยู่เป็นจำนวน
24.0% เมื่อสิ้นสุดปี 2517 มาร์เก็ตแชร์ของโตโยต้าก็พุ่งขึ้นเป็น 26.4 เปอร์เซ็นต์ในขระที่อัตราส่นการเติบโตของรถยนต์ทุกประเภทในตลาดมีอัตราส่วนการเติบโตเพียง
3.1% เท่านั้น
และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2520 โตโยต้าก็พุ่งขึ้นเป็นจ้างแห่งตลาดรถยนต์ในประเทศไทยอย่างแท้จริง
"ประธานแถลงว่า นับแต่บริษัทได้ประกอบกิจกรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505
จนถึงบัดนี้ เป็นเวลา 15 ปีแล้วบริษัทเรารุ่งเรืองจนแทบจะกล่าวได้ว่า บริษัทฯของเราเป็นเจ้าของตลาดในประเทศไทยโดยสมบูรณืแล้วสถิติการจำหน่ายของเราสูงกว่าบริษัทอื่นมารถของเราผลิตไม่เพียงพอต่อการจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน"
บันทึกรายงานประชุมใหญ่วิสามัญ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2520 กล่าวเอาไว้
การเพิ่มทุนจึงเริ่มอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ทุนที่เพิ่มเป็นจำนวน 48,375,000
บาท เป็นจำนวน 48,375 หุ้น เมื่อรวมกับทุนจดทะเบียนที่มีอยู่เดิมแล้ว ทุนของบริษัทโตโยต้าก็เพิ่มขึ้นเป็น
112,875,000 บาท โดยเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมด
ถึงเดือนธันวาคม 2520 ก็ทำการจดทะเบียนเพิ่มทุนอีกครั้งหนึ่งเป็นทุนจดทะเบียนทั้งหมด
เท่ากับ 130,000,000 บาท เรียกว่ายังไม่ทันข้ามปีเลย
และในปีเดียวกันนี้ ก็ได้การเปลี่ยนตัวประธานกันอีกครั้งหนึ่ง บริษัทโตโยต้ามอเตอร์แห่งญี่ปุ่น
ได้ส่งคิโนฮิโก มิอูร่า เข้ามาเป็นประธานบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
แทนทาคาอิ อาโอกิ ประธานบริษัทคนเดิมซึ่งอยู่ในตำแหน่งนี้นานถึง 7 ปีเต็ม
ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาโลกประสบวิกฤติการณ์น้ำมันอย่างรุนแรง รถเล็กกินน้ำมันน้อยกลายเป็นรถที่ใคร
ๆ ก็อยากได้ ชัยชนะของกลุ่มรถยนต์จากญี่ปุ่นตีตลาดรถยนต์จากค่ายยุโรปพังยับเยิน
ปี 2519 โตโยต้าจำหน่ายรถยนต์ได้ 18,288 คันแต่ในปี 2520 ยอดการขายพุ่งขึ้นไปถึง
23,ฐ054 คัน อย่างไรก็ดีจากการเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันอีกครั้งในปี 2520-2522
อัตราส่วนของตลาดรถยนต์ก็ตกลงอย่างรุนแรง โตโยต้ามียอดการขายลดลงมาเหลือเพียง
20,139 คันในปี 2521 และ 20,125 คันในปี 2522 นับเป็นครั้งแรกที่โตโยต้ามียอดการขายตกหรือลดลงมาจากเดิม
ซึ่งทุกบริษัทก็ประสบภาวะเช่นนี้เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี การเกิดปัญหาน้ำมันขาดแคลนและมีราคาแพงได้สร้างผลดีให้กับโตโยต้าและรถยนต์จากค่ายญี่ปุ่นเป็นอย่างมากสำหรับโตโยต้าแล้วภายหลังจากปี
2520 ถึงแม้ยอการขายจะตกลงมาจากเดิมจนน่าตกใจ แต่ก็ยังครองอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์อยู่
และตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2525 รถยนต์ของโตโยต้าก็เริ่มฟื้นตัวและมียอดการขายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
โดยปี 2523 มียอดการขาย 23,237 คัน และ 25,341 คันในปี 2524
สาเหตุแห่งการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วนี้ก็มาจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ก็คือรถขนาดใหญ่
ถูกเก็บเอาไว้ใช้ในโรงแรมหมด รถยนต์นั่งที่ใช้บนท้องถนนเป็นรถเล็กทั้งนั้น
ปี 2520-2524 จึงถูกคนในวงการรถยนต์เรียกกันว่า "4 ปีทองของโตโยต้า"
ปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 20 ปีของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทยจำกัด
ทางด้านบริษัทแม่ในญี่ปุ่นก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแลปงระบบองค์กรกันอย่างขนานใหญ่
ด้วยกายุบรวมบริษัท โตโยต้ามอเตอร์เซลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อการจำหน่ายโตโยต้าทั่วโลกเข้ากับบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่รับผิดชอบทางการผลิตเป็นบริษัทเดียวกัน ชื่อว่า
บริษัทโตโยต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
และก่อนหน้านี้ไม่นาน (ช่วงประมาณปลายปี 2524) การเปลี่ยนแปลงตัวประธานบริษัทก็เกิดขึ้นทางด้านบริษัทแม่ในญี่ปุ่นได้เรียกตัวมร.คิโยฮิโก
มิอูร่า ประธานบริษัทคนเดิมกลับ และส่งมร.อิชิโร ซาโต เข้ามาเป็นประธานบริษัทแทน
และในปี พ.ศ. 2525 นี้เองมาร์เก็ตแชร์ของโตโยต้าพุ่งขึ้นไปถึง 29% ของตลดารถรวมทุกชนิดซึ่งช่วงภายหลังจากการเกิดวิฤติการณ์น้ำมันครั้งก่อนแล้ว
ในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี พ.ศ. 2530 รถยนต์โตโยต้าก็ยังคงครองความเป็นหนึ่งในตลาดแห่งนี้มาตลอด
แม้ว่าสภาวะเงินเยนจะแข็งตัวจนใครต่อใครต่อคาดการณ์กันว่า คราวนี้รถญี่ปุ่นจะถูกกลุ่มรถยนต์ยุโรปฟาดร่วงแน่
ในประเทศรถยนต์นั่ง นิสสันจากค่ายญี่ปุ่นอาจจะถูกฟาดร่วงหล่นจากอันดับ
2 แต่โตโยต้ากลับไม่ร่วงด้วยเลย ถึงแม้ยอดขายจะตกลงอย่างมากเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ในปี 2527, 2528, 2529 แต่มาร์เก็ตแชร์ก็ยังครองอยู่ในระดับประมาณ 30% ยังคงเป็นอันดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ในประเภทรถบรรทุก (ปิคอัพ) นั้น ในปี 2530 โตโยต้าถูกอีซูซุตีกระเจิดกระเจิงจนตกลงไปเป็นอันดับ
2
"ไม่เพียงปี 2530 หรอก โตโยต้าแพ้มาตั้งแต่ปี 2529 แล้ว ยิ่งในปี
2530 สเปซแคปของอีซูซุบูมมาก ๆ เข้า อีซูซุยิ่งนำหน้าใหญ่ การพ่ายแพ้ของโตโยต้ามันเกิดขึ้นจากรุ่นสเปซแคปนี่เอง
ความจริงโตโยต้าก็มีรถรุ่นนี้เหมือนกัน แต่โตโยต้าเขาไม่เชื่อว่ารถรุ่นนี้จะไปได้ในประเทศไทย
เขาจึงไม่นำเข้ามา เป็นการคาดการณ์อย่างผิดพลาดอย่างรุนแรงของโตโยต้า"
แหล่งขาวรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
ปัญหาการแข่งขันอย่างรุนแรง กับปัญหาค่าเงินเยนที่แข็งตัวขึ้นเป็นลำดับ
ทำให้โตโยต้ามองการณ์ไกลไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่งแล้ว
ท่าที่ต่าง ๆ กำลังจะเปลี่ยนแลปงไปความอหังการ์ยอมสู้อย่างโดดเดี่ยวแบบข้ามาคนเดียวไม่มีให้เห็นอีก
การลงทุนร่วมกับค่ายปูนซิเมนต์ไทยเพื่อผลิตรถยนต์สำเร็จรูปการให้เกียรติคนไทย
โดยการตึง ประลองสุพพัตกุล ขึ้นนั่งในตำแหน่งกรรมการบริษัทเมื่อปลายปีที่แล้ว
และการที่ว่ากันว่าจะให้ไพโรจน์ โฆสิตไพบูลย์ ขึ้นนั่งตำแหน่งกรรมการบริษัทอีกคนในเดือนตุลาคม
2530 นี้เป็นตัวบอกเหตุของการเปลี่ยนแปลง
ชัยชนะของที่นี่ มีคนกล่าวว่าเกิดจากากรมองด้วยสายตาที่ยาวไกลของผู้บริหารระดับสูง
ก็จงมาจับตามองต่อไปเถิดว่าโตโยต้าภายหลังการเปลี่ยนแปลงแล้วจะเป็นอย่างไร