ครั้งหนึ่ง เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน สุริยน ไรวา นักธุรกิจรุ่นบุกเบิกที่ได้รับสมญานามว่า
"THE KING'S MAKER" ในวงการนักธุรกิจไทย ด้วยความที่ "เขา"
เป็นคนมีบุคลิกภาพตื่นตัวอยู่เสมอและมี CONNECTION กับกลุ่มธุรกิจระดับ "เจ้าพ่อ"
ทั้งหลายในเอเชีย มีความต้องการลงทุนทำธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย เขาได้ชวนกลุ่ม
BIRLA แห่งอินเดียซึ่งเป็น "เจ้าพ่อ" สิ่งทอในอินเดีย ให้มาลงทุนทำสิ่งทอร่วมกับเขา
แล้วในที่สุดในปี 2512 โรงงานผลิตเส้นด้ายที่ทำจากวัตถุดิบ เรยอน เตตโตรอนและลินนินในนามบริษัทอินโดไทยซินเทอติคซ์ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น
และบริษัทนี้เอที่เป็นฐานทางธุรกิจสิ่งทอบริษัทแรกของอาณาจักร BIRLA ในประเทศไทยด้วยทุนจดทะเบียน
14 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนทาบงการเงินแก่โครงการจาก BRARAT OVERSEA BANK
แห่งอินเดียสาขาประเทศไทย
บริษัท INDO-THAI SYNTHETIC ดำเนินกิจการไปได้ด้วยภายใต้การบริหารของกลุ่ม
BIRLA ในปี 2519 บริษัทได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดสามารถซื้อขายหุ้นของบริษัทแก่สาธารณชนได้
ซึ่งในปีดังกล่าว บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 21 ล้านบาท แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ดี
ได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ. จึงมีแต่นักลงทุนสนใจซื้อหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
แต่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่มีใครยอมขายการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาด จึงไม่มีการซื้อขายมาตั้งแต่กลางปี
2528
ความสำเร็จของบริษัท INDO-THAI SYNTHETIC ในทางธุรกิจ ทำให้กลุ่ม BIRLA
ตื่นตัวสยายปีกอาราจักรธุรกิจสิ่งทอของตนในไทยมากขึ้น ในปี 2517 บริษัทไทยเรยอน
และบริษัท CENTURY TEXTILES ได้รับการจัดตั้งพร้อมกันในปีเดียว บริษัทไทยเรยอน
มีหน้าที่ผลิตวัตถุดิบเส้นใยประดิษฐ์ เรยอน (RAYON FIBRE) ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจาก
บี.โอ.ไอ. (B.O.I.) แต่เพียงผู้เดียว เพื่อทดแทนการนำเข้า บริษัทจดทะเบียนครั้งแรกด้วยทุน
3 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 98 ล้านบาททันทีในปี 2518 พร้อมกับปรับเปลี่ยนฐานะของบริษัทเป็นบริษัทมหาชน
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ด้วยผลผลิต 2 ชนิด อันได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์เรยอน ที่ป้อนโรงงานผลิตเส้นด้ายเรยอนในประเทศไทย
ปีละ 3,650 ตัน และโซเดียมซัลเฟต ปีละ 4,380 ตัน เพื่อป้อนโรงงานผลิตสบู่และผงซักฟอก
ในประเทศ ที่มีตลาดภายในประเทศรองรับเต็มเกือบ 100% การประกอบการของบริษัทไทยเรยอนจึงเป็นไปได้ด้วยดี
โดยมีธนาคารกรุงเทพไทยพาณิชย์ และธนาคารนครธน เป็นกลไกที่พร้อมจะอัดฉีดพลังทางการเงินแก่บริษัทอย่างเต็มที่
"หุ้นของบริษัทไทยเรยอน ในตลาดหลักทรัพย์มี LIQUIDITY ต่ำ เพราะผู้ถือหุ้นเดิมไม่ยอมปล่อยหุ้นออกมาขาย
แต่ความต้องการซื้อหุ้นนี้มีสูง ลักษณะสภาพคล่องของหุ้นกลุ่ม BIRLA จะเป็นเช่นนี้เสมอ"
แหล่งข่าวในวงกาตลาดหลักทรัพย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงลักษณะหุ้นกลุ่ม
BIRLA ว่าเป็นหุ้นที่น่าลงทุนระยะยาวแต่หาซื้อไม่ได้
เมื่อปี 2518 บริษัทไทยเรยอน ได้บุกเบิกการออก "หุ้นกู้" ในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทแรก
จำนวน 50 ล้านบาท โดยธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้อาวัลและรับรองขณะที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย
ได้รับมอหบมายให้เป็นผู้จัดการจัดจำหน่ายและค้ำประกันการจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
ในรายงานประชุมคณะกรรมการบริษัทที่แจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ได้ได้ระบุว่า หุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายนั้น
บริษัทจะนำเงินทุนมาผลิตสินค้า "VICOSE RAYON STAPLE FIBRE"
"การออกหุ้นกู้ในสมัยก่อน ต้องมีธนาคารอาวัลและรับรอง เพราะฐานะบริษัทผู้ออกยังไม่เป็นที่รู้จักแก่นักลงทุนไทย"
แหล่งข่าวส่วนจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซียกล่าวกับ
"ผู้จัดการ" ถึงลักษณะการออกหุ้นกู้ของบริษัทไทยเรยอนในสมัยก่อน
12 ปีต่อมาช่วงเดือนเมษายน ปี 2530 บริษัทไยเรยอน ก็ออกหุ้นกู้อีกเป็นครั้งที่สอง
จำนวน 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 9.25% อายุไถ่ถอน 5 ปี โดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย
เป็นผู้จัดการ การจัดจำหน่ายและค้ำประกันฯเช่นเคย การออกหุ้นกู้ในครั้งหลังสุดนี้
ไม่ต้องมีธนาคารอาวัลและรับรองเพราะฐานะบริษัทไทยเรยอนเป็นที่รู้จักแก่นักลงทุนไทยมากขึ้น
ส่วนบริษัท CENTURY TEXTILES ซึ่งก่อตั้งในปีเดียวกับบริษัท THAI RAYON
มีหน้าที่ผลิตเส้นใสสังเคราะห์ยี่ห้อ "CENTEX" ด้วยทุนจดทะเบียน
15 ล้านบาทเพื่อป้อนโรงงานผลิตสิ่งทอประเภทผ้าผืนทุกชนิด
4 ปีต่อมา ในปี 2521 บริษัท THAI CARBON LACK ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นอีกบริษัทหนึ่ง
ในเครือกลุ่ม BIRLA เพื่อผลิตวัตถุดิบชิ้นสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสิ่งทอคือ
CARBON BLACK
ต่อมาอีก 4 ปี ในปี 2525 บริษัทกลุ่ม BIRLA ได้ชวนบริษัท ALBRIGHT &
WILSON ของอังกฤษ ร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัท THAI POLYPHOSPHATE & CHEMICAL
ผลิตโซเดียมไทรโพลีฟอสเฟต เพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรมผลิตผงซักฟอกในประเทศ
และในเครือข่ายล่าสุด THAI ACRYLIC FIBRE CO., LTD. กลุ่ม BIRLA ก็ได้จัดตั้งขึ้นในปี
2530 เพื่อผลิต ACRYLIC FIBRE เพื่อป้อนตลาดภายในประเทศ และส่งออกให้แก่โรงงานผลิตเส้นด้าย
ACRYLIC แต่ผู้เดียวในประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทย
บริษัท THAI ACRYLIC FIBRE เป็นบริษัทที่เพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ปี
2530 นี้เอง โดยมีผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมดอยู่ในกลุ่มผู้ถือหุ้น บริษัทไทยเรยอนซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่ม
BIRLA ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท THAI ACRYLIC FIBRE
ในปัจจุบันที่รายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่รายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(B.O.I.) ในช่วงขออนุมัติการส่งเสริมการลงทุนโครงการ มีจำนวน 161 ล้านบาท
บริษัท THAI ACRYLIC FIBRE ผลิตวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE ปีละ 14,000 ตัน
เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศปีละเกือบ 7,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีก 7,000
ตัน บริษัทผลิตเพื่อส่งออก ตลาด ACRYLIC FIBRE ในประเทศไทย ก็คืออุตสาหกรรมผลิตเส้นด้ายอะคริริก
ที่แต่เดิมมา สั่งวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE จากญี่ปุ่นและเกาหลี
โรงงาน ACRYLIC FIBRE ของบริษัทนี้เป็นโรงงานเดียวในประเทศไทยที่ผลิต ACRYLIC
FIBRE และได้รับการส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไทยไปเรียบร้อยแล้ว
ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2529 และได้รับบัตรส่งเสริมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
29 พฤษภาคม 2530 นี้เองโรงงานจะตั้งที่ อ.บางปะอิน จ.อยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับจังหวัดอ่างทอง
ที่กลุ่ม BIRLA ในประเทศไทยใช้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผTEXTILE RELATED
INDUSTRY) ของกลุ่ม
"พื้นที่ในจังหวัดอ่างทอง กลุ่ม BIRLA เข้าไปจัดตั้งโรงงานหลายแห่งในกลุ่มนานแล้วคุณไปถามคนงานในจังหวัดอ่างทองได้เลยว่ารู้จักแขก
BIRLA ไหม เขายิ่งใหญ่มากที่นั้น" พ่อค้าทอรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ"
ฟัง
โรงงาน ACRYLIC FIBRE ใช้เงินลงทุนสูงถึง 1,232 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต
223.7 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจัดซื้อวัตถุดิบปีละ 168.48 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน
840 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างตัวโรงงาน สำนักงาน และระบบสาธารณูปโภคภายในโรงงาน
และค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงาน
ด้วยเหตุที่โครงการลงทุนนี้ใช้เงินลงทุนสูงนับพันล้านบาท การระดมทุนจึงเป็นงานครั้งใหญ่ของคณะกรรมการบริษัท
จะใช้วิธีการระดมทุนด้วยวิธีการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ซึ่งนิยมปฏิบัติกันมา
แต่เพียงวิธีการเดียว คงไม่ง่าย แม้ว่าตัวโครงการจะดีมีความเป็นไปได้สูงต่อความสำเร็จด้วยระยะเวลาอันสั้นภายในไม่เกิน
4 ปี เพราะปัจจัยเกื้อหนุนจากระบบภาษีและสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยให้การส่งเสริม
และการผูกขาดผลิตและจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ก็ตาม ก็คงไม่มีสถาบันการเงินแห่งใด
หรือกลุ่มใด กล้าเสี่ยงปล่อยเงินกู้จำนวนนับ 1,000 ล้านบาท
"เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ที่แบงก์จะปล่อยเงินกู้จำนวนสูงขนาดนี้แก่โครงการเดียวมันเสี่ยงเกินไป
อีกประการหนึ่ง ขนาดเงินกองทุนของธนาคาร ก็ไม่ใหญ่โต ต้องระมัดระวังเพดานสินทรัพย์เสี่ยงต่อเงินกองทุน
ต้องไม่เกินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เพราะการปล่อยสินเชื่อทุกชนิดต้องนับเข้าเป็นสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหมด"
แหล่งข่าวในธนาคารนครธน กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ในฐานะที่รู้เรื่องโครงการนี้ดี
ดังนั้น ทางอกในการระดมทุนสู่โครงการจึงถูกจัดสรรออกมา 3 วิธีการคือ
- วิธีการแรก กำหนดมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนไว้ 161 ล้านบาท โดยระดมจากคณะ
กรรมการผู้ถือหุ้นของบริษัท
- วิธีการที่สอง ให้ธนาคารซิตี้แบงก์และธนาคารนครธนเป็นผู้จัดการและอาวัลพร้อม
ทั้ง ACCEPTANCE ตราสาร FLOATING RATE NOTES ระยะไถ่ถอนคืน 4.5 ปี ที่บริษัทเป็นผู้ออก
มูลค่า 300 ล้านบาท และให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 5 บริษัท และ ไอ.เอฟ.ซี.ที.
เป็นผู้จัดจำหน่ายแก่สถาบันลงทุนและประชาชนทั่วไปอีกต่อหนึ่ง
- วิธีที่สาม ติดต่อธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่มี CONNECTION กับธุรกิจของกลุ่ม
BIRLA ทำ SYNDICATED LOAN จำนวน 770 ล้านบาทให้กับบริษัท
การระดมทุนสู่โครงการ ได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วใน 2 วิธีการแรก เหลือแต่วิธีที่
3 เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน คณะกรรมการบริษัทฯ กำลัง DEAL กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกรุงเทพอยู่
รูปการคงจะออกมาในลักษณะ ธนาคารกรุงเทพเป็น LEAD MANAGER เงินกู้ร่วมโครงการนี้ค่อนข้างแน่
เพราะทางธนาคารกรุงเทพมี CONNECTION กับกลุ่ม BIRLA ในไทยมาตั้งแต่ปี 1974
แล้ว โรงงานบริษัท CENTURY TEXTILE บริษัท ไทยเรยอน ซึ่งเป็นของกลุ่ม BIRLA
ในไทยก็ใช้ FINANCIAL FACILITIES จากธนาคารกรุงเทพ อีกประการหนึ่ง ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารขนาดใหญ่
เงินกองทุนสูง มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจระดับยักษ์ใหญ่ทั่วเอเชีย
"การทำ SYNDICATED LOANS ให้กับโครงการขนาดยักษ์ใหญ่ ๆ ระดับพันล้านบาท
เป็นเรื่องไม่ยากสำหรับธนาคารกรุงเทพ" แหล่งข่าวในธนาคารไทยพาณิชย์เล่าให้
"ผู้จัดการ" ฟังถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่ม BIRLA จะ RECRUITED FUNDS
ก้อนขึ้นจากธนาคารกรุงเทพ
เมื่อ "ผู้จัดการ" ได้ตรวจสอบกลับไปยังธนาคารกรุงเทพ ก็พบว่า
ความเป็นไปได้ที่กลุ่ม BIRLA จะให้ธ.กรุงเทพทำ SYNDICATED LOAN จำนวน 700
กว่าล้านบาทเพื่อนำมาใช้ในโครงการผลิต ACRYLIC FIBRE เป็นความจริง โดยกำลังอยู่ในขั้นการเตรียมเอกสารสัญญากัน
"ก็คงเร็ว ๆ นี้ คงเสร็จเรียบร้อย แต่มีหลายธนาคารนะไม่ใช่ธนาคารกรุงเทพเพียงธนาคารเดียว"
แหล่งข่าวในธนาคารกรุงเทพกล่าว
กลุ่ม BIRLA ได้สยามปีกเข้ามาทำธุรกิจในไทยแล้ว 18 ปี อาณาจักรธุรกิจจำกัดวงอยู่ในสาขาอุตสาหรรมสิ่งทอและเกี่ยวเนื่อง
(TEXTILE RELATED INDUSTRIES) และจะเน้นเฉพาะโครงการที่มีผู้ผลิตอยู่น้อยราย
หรือยังไม่มีใครผลิตอยู่ก่อนเลย เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการสร้างความได้เปรียบในเชิงการผลิตและการตลาด
ที่กลุ่ม BRIRLA ยึดถือมาตลอด
ลักษณะการแผ่ขยายอาณาจักรธุรกิจเช่นนี้ สอดคล้องกับความเห็นของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนไทย
ที่ให้ข้อสังเกตว่า "กลุ่ม BIRLA จะผลิตสินค้าพวกวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ที่โรงงงานในบ้านเราไม่ได้ผลิตกันหรือผลิตได้น้อยราย เพื่อสร้างอำนาจการผูกขาด"
แหล่งข่าวให้ข้อสังเกต