Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2530
FRNs กลวิธีการระดมทุนแบบ 3 ประสาน             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 

   
related stories

ในอินเดีย ไม่มีใครไม่รู้จัก "BIRLA" แต่ในไทยรู้จักกันน้อยมาก
การสยายปีกของอาณาจักรธุรกิจ BIRLA ในไทย

   
search resources

Loan
สุริยน ไรวา
BIRLA




"กลุ่มธุรกิจ BIRLA มีอายุยาวนานนับ 100 ปี ในอินเดีย แต่ในประเทศไทยเพิ่งเป็นที่รู้จักกันเมื่อ 18 ปีที่แล้วนี้เอง เมื่อสุริยน ไรวา นักธุรกิจรุ่นบุกเบิกของไทยชวนให้มาลงทุนทำโรงงานอินโดไทยซินเมติกซ์กลุ่ม BIRLA เป็นกลุ่มธุรกิจข้ามชาติแห่งแรกในไทยที่รู้จักใช้เทคนิคการเงินสมัยใหม่มาลงทุนทำโรงงาน "ACRYLIC FIBRE"

เรื่องโดย สมชัย วงศาภาคย์

การริเริ่มด้วยเทคนิคใหม่ ๆ ของแขก BIRLA

กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของบริษัทไทยอะคริริกไฟเบอร์ กิจการในเครือยักษ์แขก BIRLA GROUP ธนาคารซิตี้แบงก์ และธนาคารนครธน รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ชั้นนำ 6 บริษัทได้ร่วมกันลงนามสัญยาอาวัลและรับรองการจัดจำหน่ายตราสารกู้ยืมเงินชนิดดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE NOTES) หรือ FRNs จำนวนมูลค่า 300 ล้านบาทที่ออกโดยบริษัท ไทยอะคริริกไฟเบอร์ โดยมีสื่อมวลชนหลายแขนงเป็นสักขีพยาน ณ เฮอริเทจ คลับ อันหรูหรา บนชั้นสูงสุดของตึกอัมรินทร์พลาซ่า

การออกตราสารทางการเงินชนิดนี้ของบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร เป็นครั้งแรกของวงการธุรกิจไทย เพื่อระดมเงินทุนระยะยาวจากตลาดอย่างมีภาระผูกพันนำมาใช้จ่ายลงทุนก่อสร้างและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ผลิตสินค้าวัตถุดิบ ACRYLIC FIBRE เป็นจำนวนปีละ 14,000 ตัน เพื่อส่งออก และป้อนความต้องการภายในประเทศที่ทดแทนการนำเข้าจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวันปีละ 7,000 ตัน ACRYLIC FIBRE เป็นวัตถุดิบขั้นต้นของอุตสาหกรรมผลิตเส้นด้ายอะคริริก และอุตสาหกรรมทอผ้าอะคริริกซึ่งเป็นวัตถุดิบชั้นกลาง (INTERMEDIATE GOODS) ที่สำคัญชนิดหนึ่งของอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง

การออกตั๋ว FRNs ไม่ใช่จะออกกันได้ง่าย ๆ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยที่สำคัญที่จะเป็นตัววัดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการออกตั๋วมี 2 ประการคือ

หนึ่ง - บริษัทผู้ออกตั๋วมีผลการประกอบการอยู่ในขั้นดี เป็นที่เชื่อถือแกสถาบันการลงทุน และนักลงทุนในตลาดเงินหรือไม่

สอง-จังหวะในการออกตั๋ว เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเงินเช่น อัตราดอกเบี้ยและสภาพคล่องในตลาดเพียงใด

"ถ้าปัจจัยทั้ง 2 ประการนี้ไม่อยู่ในฐานะที่ผู้ออกจะควบคุมได้ การออกตั๋วก็จะล้มเหลว ไม่มีสถาบันลงทุนและนักลงทุนในตลาดสนใจเข้ามาซื้อ การระดมทุนด้วยตั๋ว FRNs ก็เป็นไปไม่ได้" แหล่งข่าวในธนาคารพาณิชย์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ถึงเงื่อนไขการออกตั๋ว FRNs

ที่บริษัทไทยอะคริริกไฟเบอร์ ติดต่อให้ธนาคารซิตี้แบงก์เป็นคนจัดการ "FUNDING" จำนวนนี้ให้เพราะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกันมาก่อน

"ธนาคารซิตี้แบงก์ที่อินเดียกับกลุ่ม BIRLA รู้จักและใช้บริหารทางธุรกิจกันมานานแล้ว เมื่อธุรกิจกลุ่ม BIRLA ขยายตัวมาทำ ACRYLIC FIBRE ในเมืองไทย เขาจึงใช้บริการจากธนาคารเรา" เจ้าหน้าที่ระดับสูงในซิตี้แบงก์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงที่มาของการจัด FUNDING จำนวนนี้

ส่วนธนาคารนครธน ที่มีส่วน "เอี่ยว" ด้วย ก็เพราะบริษัทไทยเรยอน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ BIRLA เป็นลูกค้าเก่าของธนาคารมานานแล้ว

"เราเข้ามาอาวัลและรับรองตั๋ว FRNsของไทยอะคริริก ไฟเบอร์ครั้งนี้ เพราะเราหวังว่า ธนาคารจะได้ผลทางธุรกิจที่ต่อเนื่องจากโครงการนี้ เช่น ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยจากธุรกิจ EXPORT-IMPORT FINANCE ของบริษัทไทยอะคริริก ไฟเบอร์ในอนาคต เมื่อโครงการของเขาเริ่มดำเนินงาน" ประสาน กตัญญุตานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารนครธน กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ตั๋ว ที่ออกโดยบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เป็น PRODUCT การเงินชนิดใหม่สำหรับนักลงทุนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั๋ว FRNs ที่ออกเป็นเงินสกุลบาท ความเสี่ยงในการลงุทนตั๋วชนิดนี้มีสูงจึงต้องมีธนาคารพาณิชย์ให้กับการรับรองหน้าตั๋ว และสร้างแรงจูงใจต่อการลงทุนโดยประกันความเสี่ยงผลตอบแทน (COLLAR HEDGING) ในอัตราดอกเบี้ยที่ลอยตัว

"เราเพิ่ม COLLAR HEDGING เข้าไปในตั๋วโดยกำหนดขั้นต่ำไว้ 7% และขั้นสูงไว้ 10% เพื่อให้ลูกค้า (บริษัทไทยอะคริริกไฟเบอร์) FRNs สามารถควบคุมต้นทุนดอกเบี้ยและ CASHFLOW EXPECTATION ให้ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด ขณะเดียวกันผู้ลงทุนก็สามารถคำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนได้แน่นอน" สิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักการเงินและปริวรรตเงินจากธนาคารนครธน เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงเหตุผลที่ต้องเพิ่ม INCENTIVE ให้กับตั๋ว ของบริษัทไทยอะคริริก ไฟเบอร์

ตั๋ว FRNs ของไทยอะคริริก ไฟเบอร์นำออกสู่ตลาดเมื่อกลางเดือนสิงหาคมปีนี้โดยใช้ CITINOTE RATE ของธนาคารซิตี้แบงก์ เป็นฐานในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว และอัตราดอกเบี้ย CITI NOTE นี้จะเปลี่ยนแปลงไปทุก 3 เดือนตามภาวะตลาด

ความจริงก่อนหน้านี้ 2 เดือน (มิถุนายน) ตั๋ว FRNsของบริษัทเอื้ออวิทยาอุปกรณ์ ได้ออกสู่ตลาดก่อน โดยมี ธนาคารกรุงเทพฯ ๆ พาณิชย์การ ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของบริษัทเอื้อวิทยาอุปกรณ์ ให้การอาวัลและรับรองตั๋วบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทยเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย เพียงแต่ตั๋ว ชนิดนี้ ไม่มีการประกันความเสี่ยงผลตอบแทน ในอัตราดอกเบี้ยเหมือนตั๋ว FRNs ของไทยอะคริริกไฟเบอร์ ตั๋ว FRNs ของเอื้อวิทยาใช้อัตราดอกเบี้ย TIME DEPOSIT เฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ เป็นฐาน และจะเปลี่ยนแปลงทุก 3 เดือน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ CITI NOTE RATE แล้วจะอยู่สูงกว่าประมาณ 1.25-1.5%

การออก FRNs ของบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ FRNs เป็นความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่งของการบริหารหนี้สินในวงการธุรกิจไทย มองในแง่ระบบการเงินแล้ว เป็น "SECURITISATION INSTRUMENT" ใหม่ ๆ ของการพัฒนาตลาดเงินที่ "ฉีก" รูปแบบการระดมทุนให้แตกต่างจากรูปแบบดั้งเดิม คือการกู้ยืม "SYNDICATED BANK LOAN MARKET"

พิศาล มโนลีหกุล เจ้าหน้าที่ระดับ VICE PRESIDENT ธนาคารกสิกรไทยด้านวิจัยและวางแผนเศรษฐกิจกล่าวว่า FRNs มีอายุการไถ่ถอนคืนยาวนานกว่า SYNDICATED LOAN จาก ธนาคารพาณิชย์ จุดนี้ สามารถช่วยให้บริษัทผู้ออกตั๋วนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ได้สะดวกกว่าไม่ต้องพะวงว่จะต้องรีบใช้คืน และช่วยให้การวางแผนทางการเงินสะดวก มีประสิทธิภาพสูงเพราะ COST OF FUNDS ถูกว่า

"ต้นทุนของ FRNs เมื่อ PLUS MARGIN และ MANAGEMENT FEE ตอนนี้จะตกราว ๆ ไม่เกิน 9% เทียบกับ PRIME RATE ของเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ 11.25% จะเห็นได้ว่าถูกกว่ากันประมาณ 2-2.25%" แหล่งข่าวในวงการธุรกิจการเงินให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ"

แต่ตั๋ว FRNs ของบริษัทเอื้อวิทยามีต้นทุนดอกเบี้ยถูกกว่าอัตราดอกเบี้ย PRIME RATE จากการกู้ยืมธนาคารฯ ถึง 6% ต่อปี

"เรา OFFER ราคาแบบนี้ ลูกค้าพอใจ เพราะเขาต้องการนำ "FUNDING" จำนวน 100 ล้านบาทนี้ไป RESTRUCTURE LOANS ของเขา" แหล่งข่าวในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สหธนกิจไทย ซึ่งเป็นบริษัทรับจัดการและจำหน่ายตั๋ว FRNs ของบริษัทเอื้อวิทยาฯ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

บริษัทเอื้อวิทยาอุปกรณ์ เป็นลูกหนี้ของธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การอยู่ประมาณ 300 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2529 มีภาระต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย 15% ปี จำนวน 45 ล้านบาทบริษัทกำลังประสบปัญหาขาดทุนการดำเนินงานติดต่อกันมา 3 ปี เนื่องจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทชะลอโครงการขยายงานติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง ส่งผลกระทบให้ยอดขายของบริษัทตกต่ำลง การแก้ปัญหาฐานะการดำเนินงานโดยมาตรการ ลดต้นุทนดอกเบี้ยจ่ายเป็นมาตรการหนึ่งที่บริษัทกับธนาคารเจ้าหนี้พยายามหาทางออก

"การออกตั๋ว FRNs ของบริษัท จะช่วยลดต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายได้ประมาณปีละ 6.0 ล้านบาท ตลอด 3 ปี ตามอายุการไถ่ถอนคืน ก็จะช่วยประหยัดต้นทุนลงไปได้ถึง 18 ล้านบาท" เอกชัย อธิคมนันทะ อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ผันตัวเองมานั่งในตำแหน่งผู้ชำนาญการฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ตามคำเชิญชวนของเพื่อน "เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์" กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ตั๋ว FRNs เงินสกุลบาทที่บริษัทเอกชนไม่ใช่ธนาคารฯออก มีลักษณะเหมือนกับหุ้นกู้ที่บริษัท LISTED COMPANY ในตลาดหลักทรัพย์ออกระดมทุน จากสาธารณะตราสารการเงินทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นเครื่องมือทางการเงินอีกชนิดหนึ่งที่หลายฝ่ายมีความเชื่อว่า แนวโน้มในอนาคตจะมีส่วนกระตุ้นให้ตลาด SECURITIES เป็นตลาดที่มีความสำคัญขึ้นอีกตลาดหนึ่ง เคียงคู่กับตลาดเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ และเป็นความหวังของธุรกิจเอกชน ที่จะเป็นแหล่งระดมเงินทุนใช้ในกิจการ

ถ้าลองสืบค้นดูถึงประวัติศาสตร์ตั๋ว ของบริษัทผู้ประกอบการด้านธนาคารพาณิชย์ (ดูตารางประกอบ) ก็จะพบว่าธนาคารพาณิชย์ไทย เพิ่งจะทดลองออกตั๋ว ในตลาดการเงินต่างประเทศ เป็นครั้งแรกในปี 2522 เท่านั้นเองทั้ง ๆ ที่ธนาคารพาณิชย์ไทยทุกแห่ง ก่อตั้งดำเนินงานมากันมานานแล้วไม่น้อยกว่า 35 ปี และมีฐานะการดำเนินงานมั่นคงเป็นที่ยอมรับกันแต่ความมั่นคงอย่างเดียวไม่พอต้องมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักด้วย

"การออกตั๋ว FRNs ของธนาคารในปี 2522 เป็นครั้งแรกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ออกเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐฯในตลาดยูโรดอลลาร์ เราต้องการ TEST ตลาดดูว่า การระดมทุนแบบนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน" คนในฝ่ายวาณิชธนกิจ (MERCHANT BANKING) ของธนาคารกรุงเทพ เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงการออกตั๋ว FRNs ครั้งแรกของธนาคาร ซึ่งผลปรากฏว่าธนาคารกรุงเทพ สอบผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็น FRNs มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯของธนาคารขายหมดเกลี้ยง หลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมา คือในปี 2527 และ 2528 ธนาคารกรุงเทพก็ออก FRNs อีกมูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในตลาดยูโรดอลลาร์ ก็สามารถจำหน่ายหมดเกลี้ยงเช่นเคย

วิธีการออกตั๋ว FRNs เงินสกุลเหรียญสหรัฐฯของธนาคารเป็นเรื่องที่ใช้วิธีการทางเทคนิคชั้นสูงมาก ๆ ในช่วงระยะแรกธนาคารต้องใช้บริษัทที่ปรึกษาและจัดการที่ชำนาญการเรื่องการบริหาร LIABILITY PRODUCTS ซึ่งในเมืองไทยยังไม่มีบริษัทที่ชำนาญการเรื่องนี้อยู่จึงต้องอาศัยถาบันการเงินจากต่างประเทศเป็นพี่เลี้ยงและจัดการให้ไปก่อน

"เรื่องในทางเทคนิคมีอยู่ 3ประการคือ หนึ่ง-การคำนวณราคาดอกเบี้ยและวิธีการ FLOAT ของตั๋ว สอง-จังหวะ (TIMING) ในการออกสู่ตลาด และ สาม-การจัดจำหน่ายสู่ตลาด" คนในฝ่ายวาณิชธนกิจของธนาคารกรุงเทพเล่า

เงินกู้ที่ได้จากออกตั๋ว FRNs ในตลาดการเงินของธนาคารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องนำเข้ามาในประเทศก็ได้ อันนี้แล้วแต่จุดประสงค์ความต้องการของธนาคาร

"ส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารจะ PENDING เงินไว้ที่สาขาในต่างประเทศ ถ้าทางสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพ ต้องการใช้ก็ค่อยผ่องถ่ายให้ ถ้าไม่ใช้สาขาในต่างประเทศก็จะเป็นผู้นำไปล่อยกู้ในต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง คุณจะสังเกตได้ว่า ธนาคารที่ออกตั๋ว FRNs เงินสกุลดอลลาร์ทั้งหมดมีสาขาในต่างประเทศทั้งสิ้น" แหล่งข่าวในวงการธนาคารให้ข้อสังเกต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us