สุริยน ไรวา นั้นโด่งดังและมีธุรกิจมากมายในขณะที่ลูก ๆ ของเขายังเล็กมาก
บางคนกำลังเรียนอยู่ต่างประเทศ โอกาสที่สุริยนจะเทรนลูก ๆ ขึ้นมารับช่วงต่อจากเขาแทบจะไม่มีเลย
ครั้นพวกเขาเริ่มโตพอที่จะช่วยทำธุรกิจ สุริยนก็เกิดตายกระทันหัน
"คุณพ่อมักจะคิดอะไรตามลำพัง ไม่มีคณะที่ปรึกษาเหมือนการทำธุรกิจในปัจจุบันคิดแล้วก็จะสั่งให้ลูกน้องซึ่งแวดล้อมมากมายทำ
ส่วนลูก ๆ อยากให้เรียนหนังสือให้จบก่อน จบแล้วก็อยากให้รู้จักโลกกว้าง ด้วยการรับราชการ
อย่างผม คุณพ่ออยากให้เป็นนักการทูต ตอนเรียนอัสสัมชัญก็ให้เรียนแผนกฝรั่งเศส
แล้วก็ส่งไปเรียนรัฐศาสตร์ที่ INDIANA" ประเวศวุฒิ ไรวา ลูกชายคนสุดท้องเล่า
นี่คงเป็นอีกเหตุผลที่หลังจากสุริยนตาย ลูก ๆ จึงไม่ทำกิจการหลายอย่างที่พ่อทิ้งไว้
หรือไม่มีความมุ่งมาดที่จะขยายธุรกิจให้ยิ่งใหญ่เหมือนยุคพ่อ
โครงการที่ค้างอยู่เช่นการสร้างสนามกอล์ฟต้องถูกระงับไปเพราะหลังจากนั้นไม่นานผู้ร่วมทุนญีปุ่นคือ
นายโคนามิก็บังเอิญเสียชีวิตด้วย
เหมืองแร่แสนทอง "ตอนหลังเปอร์เซ็นต์แร่ต่ำ ราคาแร่ฟลูโอไดร์ราคาก็ต่ำลงมาก
เราจึงเลิกทำ" ร.ท. วรากร ลูกชายคนโตของสุริยน ไรวา เปิดเผยให้ฟัง
ส่วนกิจการที่ยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันคือแป้งมัน
"หลังจากคุณพ่อเสียชีวิตเราก็ก่อตั้งบริษัท SR TABIO CAINTERNATIONAL
ขึ้น เพื่อต้องการรักษาสิ่งที่คุณพ่อทำมานาน สิ่งนี้เป็นชีวิตจิตใจของพ่อ
พอดีช่วงหลังขจรเดชเรียนจบแล้ว ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยดูแลกิจการแป้ง เราจึงรู้ว่าควรจะทำต่ออย่างไร
เราจึงรู้ว่าควรจะทำต่ออย่างไร ตลาดอยู่ว่าที่ไหนบ้าง ส่วนกิจการอื่นเราไม่มีความรู้พอ
พ่อไม่ค่อยได้สอนวิธีทำการค้า มักสอนแต่เรื่องคุณธรรมว่า ทำอะไรก็ตามอย่าเอาเปรียบใคร"
ประเวศวุฒิ ไรวาเล่า
ปัจจุบันขจรเดช ไรวา ซึ่งจบบัญชี จากจุฬาฯ เป็นกรรมการผู้จัดการ SR TABIOCA
โดยมีคนเก่าแก่ที่อยู่กับสุริยนมานานคือ ย้วย แซ่โค้ว เป็นผู้จัดการฝ่ายขาย
"กิจการดำเนินไปได้ดีพอสมควร มียอดขายประมาณ 3 พันตัน/ปี ส่วนใหญ่แล้วส่งออกไปไต้หวัน
อเมริกาออสเตรเลีย ตลาดต่างประเทศเป็นลูกค้าที่เราหาใหม่ ส่วนภายในประเทศส่วนใหญ่เป็นลูกค้าเก่า"
ประเวศวุฒิเล่า
วรากร ไรวา ลูกชายคนโตของตระกูล จบเศรษฐศาสตร์จาก INDIANA UNIVERSITY เมื่อเรียนจบกลับมาก็เข้ารับราชการทหาร
เนื่องจากตอนนั้นสุริยนสนิทสนมกับพลเอกกฤษณ์ สีวะราผู้บัญชาการทหารบกเวลานั้นมาก
เลยอยากให้ลูกชายเข้าไปเรียนรู้ชีวิตการเป็นหทารและรู้จักประสบการณ์ให้กว้างขวางขึ้นก่อนที่จะมาจับการค้า
สำหรับภัทรา (ภรรยาอมเรศ ศิลาอ่อน) ลูกสาวคนโต หลังจากจบ BOSTON UNIVERSITY
สาขาบริหารธุรกิจได้กลับมาเป็นเลขาส่วนตัวของพ่ออยู่ 2-3 ปี ก่อนพ่อเสียชีวิต
ภัทราไม่ชอบกิจการใหญ่โต จึงร่วมกับน้องสาวชื่อสุทธิสุดา ตั้งร้านไอศกรีมและเบเกอรี่
ตั้งชื่อร้านเอสแอนด์พีซึ่งเป็นชื่อต้นของทั้งสองคน
ไอเดียเปิดร้านเป็นของภัทรา ทำเลที่เลือกซอยประสานมิตร เป็นเพราะแม่ของเธอไปตัดเสื้อประจำที่ร้านในซอยนั้นอุปกรณ์ต่าง
ๆ เช่นเก้าอี้ ตู้ และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เป็นของเหลือจากการเลิกทำโรงแรมแกรนด์ของพ่อ
14 ตุลาคม 2516 วันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ "มหาวิปโยค" เป็นวันที่ร้านไอศกรีมเล็ก
ๆ แห่งนี้เปิดดำเนินการ สุริยนไม่ค่อยชอบกิจการนี้เท่าไหร่ "พ่อชอบทำอะไร
ที่เป็นโครงการใหญ่ ๆ ระดับชาติที่ก่อให้เกิดการจ้างงานมาก ๆ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ"
ภัทราเล่ากับ "ผู้จัดการ"
เอสแอนด์พี เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของ "ไรวา"
ทุกคน วันนี้เอสแอนด์พีเป็นชื่อของร้านอาหารที่มีภาพพจน์ว่าอาหารอร่อย เป็นที่ยอมรับในคุณภาพเหมือนครั้งหนึ่งชื่อเอสอาร์
เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะสินค้าคุณภาพทุกประการ
เอสแอนด์พี ปัจจุบันมีสาขาในกรุงเทพฯ 6 แห่งและอีกสองสาขาที่เชียงใหม่
(เพราะร.ท.วรากรแต่งงานกับพรพิไล ตันตรานนท์ พ่อพรพิไลชื่อ ธวัช ตันตรานนท์
ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้า 2 แห่งที่เชียงใหม่ที่ห้างสรรพสินค้าในตัวเมือง)
กิจการโตวันโตคืน มีพนักงานในบริษัทกว่า 400 คนเป็นธุรกิจระดับหลายสิบล้านบาท
สำหรับครอบครัวสุริยนที่เกิดจากจำนรรจ์ภรรยาอีกคนหนึ่งของเขานั้น ก่อนสุริยนจะเสียชีวิตไม่นานนักจำนรรค์ก้ได้เข้าครอบครองและบริหารบริษัทอินเตอร์ไลฟ์
แต่ต่อมากิจการก็ถูกเปลี่ยนมือไป (อ่านจากเรื่องอินเตอร์ไลฟ์ในฉบับเดียวกันนี้)
ปัจจุบันในฐานะอดีตนางพยาบาลจำนรรค์หันเหชีวิตมาดำเนินธุรกิจคลิกนิกแพทย์
(สุริยนเองก็เคยเปิดคลินิกอยู่หลังธนาคารเกษตร โดยมีแพทย์ชื่อบุญศักดิ์ประจำอยู่
ตอนหลังก็ปิดไป)
คลินิกของจำนรรค์อยู่ในซอยนานาใกล้ ๆ กับโรงแรมแกรซใช้ชื่อว่า "อินเตอร์เนชั่นแนลโพลิคลีนิค"
ปัจจุบันลูก ๆ 7 คนของเธอกับสุริยน เรียนจบแล้ว 4 ยังมีอีก 3 ที่อยู่ระหว่างเรียน