Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
chick to clicks             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

 
Charts & Figures

CP's E-Business Opportunities
E-commerce Projects under Consideration

   
related stories

e-procurement

   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
เอเชียฟรีวิลล์
ศุภชัย เจียรวนนท์
สุภสิทธิ์ ชุมพล, ม.ล.
E-Commerce




นับจากนี้ ซีพีกรุ๊ป กำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ ของการเคลื่อนย้ายองค์กรเข้าสู่โลกการค้าบนอินเทอร์เน็ต การเปิดตัวบริษัทเอเชียฟรีวิลล์ ไม่ใช่การเริ่มต้นธุรกิจแบบธรรมดา แต่นี่คือ เดิมพันครั้งใหม่ของธุรกิจที่กำลังจะได้ชื่อว่า bricks and clicks เรื่องโดย ไพเราะ เลิศวิราม pairoh@manager.co.th

"การสร้างมอลล์ในอากาศสร้างได้ไม่ยากเหมือนกับห้างสรรพสินค้าจริงๆ ที่ต้องลงทุนมหาศาล แต่ Mall ในอากาศ ขอให้มีคอมพิวเตอร์ก็มีสิทธิเข้ามาชอปปิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยหรือที่ไหนๆ คนจึงมองว่าอินเทอร์เน็ตนั้นยิ่งใหญ่ใน ศตวรรษหน้า และบังเอิญทีเอเป็นบริษัทที่พร้อมที่สุดในประเทศ ที่จะให้บริการ"

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่เขากำลังครุ่นคิดอย่างมาก ถึงการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต จากการนำ e-commerce มาใช้กับธุรกิจ ถึงแม้ว่าแนวคิดในช่วงนั้นของธนินท์ ยังอยู่ในช่วงของการทำความชัดเจนให้กับกลุ่มธุรกิจที่เป็นอยู่ แต่หลังจากนั้นเพียงแค่ 2 เดือน ธนินท์ก็ได้ข้อสรุปของการตัดสินใจขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ e-business อย่างเต็มตัว

แรงขับดันของกลุ่มซีพีมาจากความจำเป็นในหลายส่วน ด้วยกัน กลุ่มซีพีนั้นเรียนรู้การนำเทคโนโลยีมาใช้กับการผลิต เป็นพื้นฐานความรู้ดั้งเดิม เป็นสิ่งที่ธนินท์ได้เรียนรู้มาแล้วอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ธุรกิจการเกษตรรวม ถึงธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม

แต่แรงบีบคั้นที่มากไปกว่านั้น คือ ความจำเป็นในการพัฒนาตัวเองให้เท่าทันกับการเปลี่ยน แปลงของระบบการค้าโลก ทั้งในแง่ของเงินทุนจากต่างประเทศ และเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตอาหาร ระดับโลก ไปสู่การสร้างและบริหารเครือข่ายการขายอาหารของโลก (ผู้จัดการรายเดือนกุมภาพันธ์ 2543) เป็นเรื่องจำเป็นที่ซีพีจะต้องเรียนรู้การสร้างกลไกการทำธุรกิจแนวใหม่ที่ต้องสอดคล้องความ เป็นไปของระบบสากลที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อม เป็นสิ่งที่กลุ่มซีพีไม่อาจปฏิเสธได้

การถือกำเนิดบริษัทเอเชียฟรีวิลล์ ที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2543 จึงมีความหมายมากกว่าเป็นการเปิดธุรกิจให้บริการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (market place) ที่เป็นระบบจัดซื้อ e-Procure-ment ที่ให้สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กมาใช้งานเท่านั้น ที่ลึกลงมากกว่านั้น ก็คือ ความพยายามในการขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ธุรกิจ e-business อย่างเป็นรูปเป็นร่าง และชัดเจนที่สุด ของกลุ่มซีพีนับจากนี้

"นับตั้งแต่ 1-2 ปีข้างหน้านี้ เอเชียฟรีวิลล์คงจะต้องทำงานตรงนี้หนัก" คำกล่าวของศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ลูกชายคนที่สองที่มีบทบาทที่สุดในธุรกิจสื่อสาร บอกถึงความสำคัญในภาระหน้าที่ของบริษัทเอเชียฟรีวิลล์ ที่จะเป็นเสมือน "บันได" ขั้นแรกในการ เรียนรู้

ในมุมมองของศุภชัยแล้ว เขาเชื่อในความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้องก้าวเข้า สู่ธุรกิจ e-business การจัดตั้งเอเชียฟรีวิลล์ สำหรับศุภชัยแล้วจะเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนองค์กรของกลุ่มซีพี ที่จะสามารถขยายผลต่อเนื่องไปยังการใช้งานในจุดอื่นๆ ขององค์กร

"นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดการขยาย ตัวเหมือนกับโดมิโน ที่จะส่งผลกระทบไปยังจุดอื่นๆ เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดฝอยที่จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน การเกิด market place มันเหมือนกับระบบไอทีของระบบเศรษฐกิจ มันจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วย centralize ทำให้เกิด economic of scale"

การคลุกคลีอยู่ในธุรกิจโทรคมนาคม ที่ ต้องดูแลองค์กรขนาดใหญ่อย่างบริษัทเทเลคอม เอเซีย เจ้าของสัมปทานโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมายที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่สื่อสารข้ามชาติเป็นพันธมิตร และต้องติดต่อกับซัปพลายเออร์ ทำให้ศุภชัยสามารถรับรู้ถึงความจำเป็นของการ นำ e-commerce มาใช้ในเครือซีพีได้อย่างรวดเร็ว

ถึงแม้ศุภชัยจะให้ความสนใจกับ e-commerce มากเพียงใดก็ตาม แต่ภาระหน้าที่ของเขาที่ทีเอก็หนักหนาทำให้เขาไม่สามารถปลีกตัวมาสำหรับธุรกิจใหม่ ที่ต้องใช้เวลาและการศึกษาอย่างจริงจัง เพราะทีเอยังอยู่ในช่วงของการสร้างองค์กร จากองค์ประกอบทั้งภาย ในและภายนอกองค์กร การแปลงสัมปทาน และการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคต

แต่การจะเลือกใช้ผู้บริหารในเครือที่อยู่เดิม ก็อาจมีกรอบ กติกา และประสบการณ์เดิมที่เป็นของตัวเอง ทำให้มุมมองของการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ e-business ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ใหม่ และสามารถมองเห็นภาพรวมขององค์กรถูกจำกัด

การได้ ม.ล.สุภสิทธิ์ ชุมพล อดีตหัวหน้ากลุ่มธุรกิจการเงินสถาบัน บริษัท UBS Warburg จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว

ม.ล.สุภสิทธิ์ผ่านประสบการณ์ด้านวาณิชธนกิจมา 12 ปีเต็ม ทั้งการควบรวมกิจการ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เคยทำดีลสำคัญๆ มาหลายโครงการรัตนสิน นครธน แทค และยูคอม ประนอมหนี้ และการอยู่ในองค์กรที่เป็นบริษัทข้ามชาติด้านการเงิน ทำให้มองเห็นแนวโน้มของธุรกิจ e-commerce ในระดับโลก นับเป็นข้อต่อสำคัญของการเริ่มต้นในการก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์ เน็ตขององค์กรขนาดใหญ่อย่างซีพีอย่างเป็นจริงเป็นจัง ที่สำคัญ ม.ล.สุภสิทธิ์ เป็นอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจและต้องการผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจ e-commerce "e-commerce เป็นเรื่องของการจัดการข้อมูล การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการดำเนินธุรกิจ ผมเชื่อว่านี่คือ big issue ที่ทุกคนต้องปรับตัว" การเลือก ม.ล.สุภสิทธิ์ มาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ e-business จึงไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยี หรือการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ในโลกดอทคอม แต่เป็นเรื่องของการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพขององค์กร และที่สำคัญคือ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของธุรกิจที่แท้จริง สิ่งแรกที่กลุ่มซีพีทำหลังจากได้ทีมงาน และจัดตั้งบริษัทเอเชียฟรีวิลล์ขึ้นมา ก็คือ การว่าจ้างบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป ที่ปรึกษาองค์กรและการเงินระดับโลกเข้ามาประเมินศักยภาพธุรกิจของกลุ่มซีพีในการปรับเข้าสู่ e-business เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ การประเมินของบอสตัน คอลซัลติ้ง จะครอบคลุมธุรกิจที่มีอยู่ทั้งหมดของ กลุ่มซีพีตั้งแต่ธุรกิจการเกษตร ค้าปลีก โทรคมนาคม ปิโตรเคมี รถจักรยานยนต์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะธุรกิจของกลุ่มซีพีที่อยู่ในไทยเท่านั้น แต่รวมไปถึงเครือข่ายธุรกิจของกลุ่มซีพีทั่วโลก ม.ล.สุภสิทธิ์เล่าถึงวิธีการประเมินของบอสตันว่า จะดูจากขีดความรู้ความสามารถของกลุ่มซีพีในด้านต่างๆ ไม่วาจะเป็นเรื่องของความรู้ของธนาคาร การระดมเงินทุน ในตลาดหุ้น การส่งออก เนื่องจากการขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่ไปสู่โลกใบใหม่ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะทำอะไร แต่อยู่ที่ว่าจะนำขีดความรู้ความสามารถที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้กับ e-business ในด้านใดได้บ้าง

"เขาดูว่าขีดความสามารถของเราที่จะไปสู่ e-business ในด้านไหนบ้าง และต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงคน เช่น ถ้าเราขาดคน เราต้องจ้างคนแบบไหนที่จะทำให้ยุทธศาสตร์เหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาได้" ม.ล.สุภสิทธิ์กล่าว

หลังจากใช้เวลา 2-3 เดือนในการประเมินผลขีดความสามารถทั้งหมด บอสตันคอนซัลติ้ง ได้ข้อสรุปถึงแนวทางในการทำธุรกิจ e-business ให้กับกลุ่มซีพีมาทั้งหมด 38 โครงการ แต่การจะเริ่มดำเนินการพร้อมกันทุกโครงการเป็นไปไม่ได้ ต่อมาทีมงานของม.ล.สุภสิทธิ์ จึงได้นำมาพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 4 โครงการนำร่องที่จะเริ่มดำเนินงานได้ก่อน

"เป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ที่เราประเมินแล้วว่ามีรูปธรรมที่เป็นไปได้มากที่สุด ที่จะทำให้เกิดตลาด การค้าอิเล็กทรอนิกส์ และจะถูกใช้เป็นโครงสร้างหลักของการเข้าสู่ธุรกิจ e-commerce ของกลุ่มซีพีในช่วงของการเริ่มต้น" ม.ล.สุภสิทธิ์ อดีตวาณิชธนกิจ วัย 38 ปี กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ธุรกิจ 4 กลุ่มเหล่านี้ ประกอบไปด้วย Food Exchange, E-Procurement, Retailers Exchange และ Multi Access Portal จะเห็นได้ว่า ธุรกิจทั้ง 4 ประเภทนี้ ครอบคลุมธุรกิจหลักของกลุ่มซีพีไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการเกษตร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสารโทร คมนาคม และทั้งหมดนี้ได้ถูกคาดหมายว่าจะเริ่มขึ้นได้ภายใน 1 ปี

อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นธุรกิจด้วยการทำ market place ที่เป็นเรื่องของระบบการจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) ถึงแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอย่างหนึ่งในแวดวงธุรกิจ แต่ก็สามารถสะท้อนให้เห็นได้ว่ากลุ่มซีพีไม่ต้องการมุ่งเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ e-business อย่างเข้มงวดมากนัก

แน่นอนว่า ธุรกิจทั้งหมดที่อยู่ภายในกลุ่มซีพี จะได้ประโยชน์จากระบบจัดซื้อใหม่ หรือ e-procurement ในการลดค่าใช้จ่ายในการ จัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานลงร่วมกันได้ ทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมใหักับองค์กรของกลุ่มซีพี ที่จะได้เรียนรู้ และปรับตัวเข้าสู่วิถีทางในการทำ ธุรกิจแนวใหม่ ที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ สำคัญไปพร้อมๆ กัน โดยที่ยังไม่ได้ลงลึกไปถึง การเปลี่ยนแปลงกลไกภายในของธุรกิจ ซึ่งเป็น เรื่องที่ต้องใช้เวลา

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับกลุ่มซีพี ที่จะสามารถก้าวเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เวลามากมาย เหมือนกับอีก 3 โครงการ ที่ต้องใช้ความระมัดระวัง และอาศัยเวลาในการดำเนินการมากกว่า

เพราะถึงแม้ว่าจะต้องมีการปรับปรุงองค์กรที่เกิดจะรองรับกับระบบการใช้งาน ในระบบ e-Procurement แต่ก็ทำในส่วนของระบบการจัดซื้อ ยังไม่จำเป็นที่จะต้องลงลึกไปถึง supply chain management เหมือนกับการ สร้างตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นการค้าขายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรของธุรกิจเพื่อให้รองรับกับการใช้งาน

นั่นหมายความว่า กลุ่มซีพีมีเวลาที่จะสร้างการเรียนรู้ และการลองผิดลองถูก เพราะ ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ซึ่งแต่ละธุรกิจมีวัฒนธรรม และรากฐานของธุรกิจของตัวเอง ที่ยังต้องใช้เวลาในการ transform ก่อนจะลงลึกไปสู่การใช้ประโยชน์จากธุรกิจพื้นฐานในมือของกลุ่มซีพี

"ตรงนี้มันง่ายที่สุด เพราะยังไม่เกี่ยวกับระบบ supply chain management หรือระบบ consumer relation management ซึ่งองค์กรจะต้องสร้างความพร้อมใหักับตัวเองอย่างมาก" ม.ล.สุภ สิทธิ์บอกกับ "ผู้จัดการ"

ความหมายของ ม.ล.สุภสิทธิ์ จึงอยู่ที่ว่าองค์กรจะมีขีดความสามารถมากน้อยเพียงใด เป็น สิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากที่สุด "สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ก็คือ การที่เราต้องปรับวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับความสามารถในการใช้งาน เพราะไม่มีประโยชน์ถ้าซื้อเทคโนโลยีมาแล้วใช้ไม่ได้ ก็เท่ากับการมีขยะราคาแพง" ม.ล.สุภสิทธิ์กล่าว

หากมองลึกลงไปมากกว่านั้น การเริ่มต้นด้วยระบบ e-Procurement จะทำให้กลุ่มซีพียังไม่ก้าวเข้าสู่ e-business โดยลำพัง แต่ยังสามารถพ่วงเอาพันธมิตรที่เป็นผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก ไม่ว่าจะเป็นเครือซิเมนต์ไทย ที่มองเห็นประโยชน์ของการประหยัดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้าร่วมกันได้ และนั่นย่อมหมายถึงพลังในการก้าวเข้าสู่โลกของ e-commerce ที่จะได้รับการยอมรับได้รวดเร็วกว่าหากโครงการสำเร็จลุล่วง และเป็นการยอมรับที่มากพอ

สิ่งที่มองข้ามไม่ได้สำหรับการทำตลาดการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ ความเชื่อถือ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดึงองค์กรขนาด ใหญ่เข้ามาร่วมในการเป็นพันธมิตร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เป็นที่ยอมรับจากผู้ซื้อและผู้ขายที่จะมาใช้บริการนี้

นอกจากนี้การจัดสร้าง market place นั้นไม่เหมือนกับการสร้าง "ตลาด" ในโลกใบเก่า ที่จะมีเฉพาะผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดเท่านั้น แต่ในโลกของอินเทอร์เน็ต การทำ market place จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่ e-marketplace อื่นๆ ได้ทั่วโลก และนี่คือ บันไดขั้นแรกของการขยายไปสู่การสร้าง market place ที่จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมของกลุ่มซีพี ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นเป็นลำดับต่อไปหลังจากการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร

"และนี่คือสาเหตุที่ตั้งเอเชียฟรีวิลล์ขึ้นมา ในตลาดการค้าโลก มันออนไลน์หมดแล้ว ถ้ายังส่งใบ invoice ยังส่งแฟกซ์มันไม่เวิร์คหรอก และการที่ต้องไปเปิดหน้าร้านอยู่ต่างประเทศ ทั้งๆ ที่เขามาติดต่อซื้อขายกับเราได้ เราต้องมี market place เกิดขึ้น ไม่ใช่ e-Procurement เท่านั้น แต่จะมีหลาย market place เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรม" ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริหาร บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่นกล่าว

Food Exchange คือ หนึ่งในแผนธุรกิจ e-commerce ที่ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน และเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับซีพี อุตสาหกรรมอาหาร เป็นธุรกิจหัวหอกหลักของกลุ่มซีพีที่จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการแข่งขัน ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นแรงบีบคั้นที่ทำให้ซีพีจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต เพราะความจำเป็นของซีพีนับจากนี้ ก็คือ เคลื่อนย้ายตัวเองจากผู้ผลิตที่มีเครือข่ายการผลิตอาหารระดับโลก ไปสู่การสร้างและบริหารเครือข่ายการขายอาหารของโลก ซีพีจะต้องเรียนรู้การสร้างเครือข่ายการตลาดที่เป็นความจำเป็นขั้นใหม่ที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญ

การเกิด vertical market place ในแต่ละอุตสาหกรรม ตามความหมายของศุภชัย ที่นอกจากจะได้ประโยชน์ในเรื่องของการลดต้นทุน การเพิ่มขีดความสามารถจัดการวัตถุดิบ สต็อกสินค้า ที่จะได้จากการใช้ประโยชน์ข้อมูล ที่ได้รับมาจัดการในเรื่องเหล่านี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลพวงที่จะตามมาก็คือ เครือข่ายการตลาด (network market ing) ที่จะเชื่อมโยงกันทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ธุรกิจทั้งหมดสามารถใช้ประโยชน์ร่วม (synergy) ระหว่างกันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ซีพีจำเป็นต้องก้าวให้ทัน

ตรงกับสิ่งที่ธนินท์กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ถึงความต้องการของซีพี ในการสร้าง network marketing ที่จะมาสนับสนุนแนวทางของการพัฒนาไปสู่การผลิตสินค้าสำเร็จรูป ที่สามารถรองรับกับตลาดเฉพาะมากขึ้น และมีความหลากหลาย ซึ่งจำเป็นจะต้องมีเครือข่ายที่จะมา รองรับแนวคิดเหล่านี้ ผลที่ตามมาก็คือ การก้าว ไปสู่โลกของ e-commerce

ความตั้งใจของกลุ่มซีพี ก็คือ หลังจากปูพื้นด้วยระบบ e-Procurement เพื่อให้ทุกองค์กรของกลุ่มซีพีได้เรียนรู้ได้ระดับหนึ่งแล้ว จากนั้นกลุ่มซีพีจะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาห-กรรมในเครือซีพี ซึ่งจะเป็นการลงลึกไปสู่การสร้างตลาดในระดับลึก หรือที่เรียกว่า vertical market place ซึ่งจะมีความยุ่งยากในการดำเนิน การมากกว่า

เพราะถึงแม้ว่า การสร้างระบบ Food Exchange จะมีรูปแบบใกล้เคียงกับการสร้างระบบ e-Procurement นั่นคือ การสร้างตลาดกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต

แต่สิ่งที่แตกต่างกัน ก็คือระบบ Food Exchange ไม่ใช่การซื้อขายโต๊ะ เก้าอี้ กระดาษ แต่เป็นการซื้อขายวัตถุดิบที่จะใช้ในการผลิต องค์กรที่จะพัฒนาไปสู่ระบบนี้จะต้องมีความพร้อมมากกว่า ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงเพียงแค่แผนกจัดซื้อเท่านั้น แต่จะต้องมีระบบหลังบ้าน (back office) ที่ดีพอ เช่น การติดตั้ง supply chain management และ consumer relationship management เพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง และนั่นคือ ความท้าทายของซีพีนับจากนี้ เช่นเดียวกับธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มซีพี ที่เป็นอีกยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ที่ถูกกำหนดอยู่ในแผน การเข้าสู่ e-commerce สาขาของ 7-Eleven กว่า 1,000 สาขาเข้าถึงผู้บริโภคได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เป็นพลังของเครือข่ายที่ซีพีเชื่อมั่นว่าจะสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่โลกการค้ายุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจของร้าน 7-Eleven อยู่ที่การที่จะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเหล่านี้ทำตัวเป็น "ผู้ให้บริการ" แก่ผู้ประกอบธุรกิจ e-commerce ที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง การดำเนินงานในส่วนนี้จึงเป็นทั้ง b2b2c คือ เชื่อมโยงตั้งแต่การให้บริการระหว่างธุรกิจด้วยกัน จนถึงผู้บริโภค คนสุดท้าย

ถึงแม้ว่าการเข้าสู่ e-commerce ของ 7-Eleven จะเป็นแค่การชิมลางในการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการวางขายสินค้าบางประเภท ที่ไม่สามารถนำไปวางจำหน่ายตาม ร้าน 7-Eleven ได้ ซึ่งมูลค่าการซื้อขายยังมีไม่มากนัก

แต่ในช่วงหลายปีมานี้ ซีพีเซเว่นอีเลฟเว่น พยายามเรียนรู้การนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ ภายในอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างระบบออนไลน์ข้อมูลการซื้อขายสินค้า ระบบสต็อก การนำระบบเครื่องชำระเงิน ณ จุดขาย (point of sales) รวมถึงการทำโครงการกระเป๋าสตางค์ อิเล็ก ทรอนิกส์ หรือ electronic purse ซึ่งซีพีได้ร่วมมือกับคอมแพค และธนาคารอีก 3 แห่ง เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บัตรเดบิตที่เติมเงินได้จากบัญชีเงินฝาก ในการนำไปซื้อสินค้าและบริการในร้าน 7-Eleven

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงหลายปีมานี้ธุรกิจสื่อสารได้กลายเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มซีพี ที่ธนินท์ ให้ความสำคัญอย่างมาก และกำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแง่ของเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น หรือทีเอ นอกจากจะเป็นองค์กรที่มีความพร้อมใน การเข้าสู่ e-business ได้เร็วที่สุด และง่ายที่สุด เนื่องจากเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีโดยตรง มีการนำระบบไอทีสมัยใหม่ นำเอาซอฟต์แวร์ SAP มาใช้งานภายใน มี IT capability ที่ดี ทีเอยังเป็นองค์กรที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ e-business ในฐานะผู้วางโครงสร้างพื้นฐาน เพราะฉะนั้นยิ่งมูลค่าการซื้อขายผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากเท่าไร ความต้องการใช้เครือข่ายก็ต้องเพิ่มไปด้วย แต่นั่นเป็นเพียงผลพลอยได้ที่ทีเอได้รับเท่านั้น

โมเดลของการเคลื่อนย้ายสู่การทำธุรกิจ e-commerce ที่ทีเอและธุรกิจสื่อสารได้ถูกกำหนดไว้ ก็คือ การสร้างจุดเชื่อมต่อ (convergence) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสื่อสารของทีเอทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์พื้นฐาน เคเบิลทีวี พีซีที ให้บริการอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้อย่างสะดวก โดยไม่มีเรื่องความแตกต่างของมาตรฐานของอุปกรณ์มาเป็นอุปสรรค ศุภชัยเรียกระบบนี้ว่า Multi Access Portal concept

จุดสำคัญของระบบ Multi Access Portal จึงทำหน้าที่ในการแปลงภาษา และ platform ของ แต่ละ network ที่แตกต่างกันให้มาอยู่บนภาษาเดียวกัน

"ยกตัวอย่าง ถ้าจะใช้อีเมลผ่านมือถือต้องมีอีเมล 1 ตัว พีซีต้องมีอีเมลอีกตัว พอไปทางด้าน เคเบิลทีวี ต้องมีอีเมลอีกตัว ผู้ใช้บริการไม่สะดวก ต้อง access ถึง 3 อีเมล" ศุภชัยให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางดังกล่าว ซึ่งเขาคาดหมายว่าระบบนี้จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 30-40 ล้านเหรียญ

การใช้ประโยชน์จากระบบ Multi Access Portal ไม่จำกัดอยู่เฉพาะธุรกิจสื่อสารในกลุ่มทีเอ เท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างสำหรับธุรกิจสื่อสารอื่นๆ ที่จะสามารถใช้ประโยชน์ร่วมด้วย นอกจากนี้ ระบบ Multi Access Portal จะเชื่อมโยงเข้ากับ market place ใน 3 ส่วนที่มีอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ การที่องค์กรธุรกิจจะสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการลดต้นทุนในการทำธุรกิจแล้ว ยังสามารถนำเสนอสินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยตรง ในรูปแบบของการทำ b2b2c

"อุตสาหกรรมอาหารจะได้ประโยชน์ ซื้อสินค้าได้ถูกลง ขายของได้มากขึ้น และเมื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายค้าปลีก จะสามารถเชื่อมต่อขายสินค้า ในลักษณะของ b2c ได้เลย เพราะเรามีโครงสร้างโทรคมนาคมที่ถูกเชื่อมต่อกันเป็นพื้นฐาน"

โมเดลของการทำ e-commerce ในส่วนของธุรกิจสื่อสาร จึงเป็นลักษณะเดียวกับธุรกิจค้าปลีก นั่นคือการที่จะมีธุรกิจที่ให้บริการตั้งแต่ธุรกิจไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง หรือ b2b2c นั่นเอง

แต่อุปสรรคของการทำระบบ Multi Access Portal นี้ไม่ได้อยู่ที่เรื่องของเทคโนโลยี ที่นับว่า ยังเป็นเรื่องใหม่มาก และยังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น แต่สิ่งที่ยากก็คือ การที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการโทรคมนาคม (โอเปอเรเตอร์) ที่จะต้องยินยอมพร้อมใจที่จะพัฒนาระบบนี้ร่วมกัน เพื่อให้การใช้งานแพร่หลาย ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มทีเอเท่านั้น

โมเดลของธุรกิจ e-commerce ทั้ง 4 รูปแบบ จะไม่ถูกจำกัดเพียงเท่านั้น แต่จะเป็นการวางรากฐานของการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ new economy ที่จะสานต่อไปยังโครงการอื่นๆ ที่ต่อเนื่อง

"e-strategy มีแล้ว แต่เรายังบอกไม่ได้ว่า ขอบเขตของมันจะไปถึงจุดไหน" ม.ล.สุภสิทธิ์กล่าว

ภาระหน้าที่ของ ม.ล.สุภสิทธิ์ ก็คือ การที่จะต้องทำงานใกล้ชิดกับบริษัทในกลุ่มซีพีทั้งหมด ในการที่จะนำพาองค์กรเหล่านั้นก้าวเข้าสู่ e-commerce อย่างราบรื่นที่สุด จำนวนพนัก-งาน จาก 13 คน เพิ่มขึ้นเป็น 130 คน ภายในเวลาไม่ถึงปี พร้อมกับภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

"เป็นเรื่องของการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะกับธุรกิจเก่า และให้ทุกคนมองเห็นประโยชน์ และมองเห็นมูลค่าเหมือนกัน ทำอย่างไรจะทำให้องค์กรเป็น enable" ม.ล.สุภ-สิทธิ์บอกว่า สิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ก็คือ การปรับวิธีการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับประสิทธิ ภาพและความสามารถในการใช้งาน และที่ขาด ไม่ได้ก็คือ การที่ต้องมองพื้นฐานของธุรกิจที่ แท้จริงด้วย

"ผมทำอะไรผมต้องดู bottom line เป็น หลักอยู่แล้ว ทำธุรกิจแล้วต้องมีรายได้ อย่าลืมว่า บริษัทต้องเลี้ยงตัวเองได้"

และที่สำคัญ การเริ่มต้นของเอเชีย ฟรีวิลล์ และแผนยุทธศาสตร์ของธุรกิจทั้ง 4 โครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากผู้นำองค์กร ไม่ให้ความสำคัญ ทุกวันนี้ ไม่เพียงแต่ ม.ล.สุภ สิทธิ์และผู้บริหารของเอเชียฟรีวิลล์จะรายงานความคืบหน้าของบริษัทเอเชียฟรีวิลล์โดยตรงต่อ "ท่านประธานธนินท์" เท่านั้น พันธมิตรรายใหญ่ ในโครงการ e-Procurement ส่วนหนึ่งมาจากความช่วยเหลือของธนินท์

จึงไม่แปลกที่บนชั้น 24 ของตึกฟอร์จูนทาวเวอร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทเอเชียฟรีวิลล์ ที่แม้ว่าการตกแต่งยังไม่เรียบร้อยดี จะมีโอกาส ได้พบกับประธานธนินท์ ที่มาดูแลความเรียบ ร้อยด้วยตัวเองอยู่เสมอๆ

เพราะนี่คือ ก้าวแรกของการเคลื่อนย้าย องค์กรของกลุ่มซีพี ที่จัดได้ว่าเป็นองค์กรเก่าแก่ในโลกธุรกิจใบเดิม หรือ bricks and mortar ในการก้าวเข้าสู่โลก new economy ที่กำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us