|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ภาคเอกชนจ่อปรับตัวรับค่าเงินแข็งค่ารอบ 13 ปี หวั่นส่งออกกระทบ-สินค้าขายนักท่องเที่ยวยอดวูบ เร่งลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าพ่วงปรับราคา แนะสต๊อกวัตถุดิบนำเข้าเพิ่มขึ้นระยะสั้น ไอ.ซี.ซี.จ่ออัดโปรโมชันหนัก สกัดสินค้าแฟชั่นยอดร่วง โอกาสทองสินค้าแบรนด์เนมคึกคัก ฉวยทำโปรโมชันดันยอด ระบุเงินบาทรูดต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ การแข่งขันการค้าไทยเสียเปรียบ
นายวิวัฒน์ ลิ้มศักดากุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำผลไม้ทิปโก้ เปิดเผยว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าแตะระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ ในรอบ 13 ปี ภายในสิ้นปี 2553 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจด้านการส่งออก ในระยะสั้นคงทำอะไรได้ไม่มากนัก และหากผู้ประกอบการตื่นตระหนกเร่งขายสินค้า เพราะเกรงว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่า ก็จะยิ่งเป็นตัวเร่งให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัว คือ การลดต้นทุนการผลิตให้ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่รับจ้างผลิต
ขณะที่สินค้าที่มีแบรนด์ ต้องสร้างมูลค่าเพิ่มและปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าคงไม่กระทบมากนัก เนื่องจากการซื้อวัตถุดิบนำเข้าราคาถูกลง ซึ่งในระยะสั้น 2-3เดือน อาจมีการสั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่มากขึ้น แต่ไม่ควรซื้อในปริมาณที่มากเกินไป เพราะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ จะได้รับผลกระทบมากกว่า ทั้งนี้หากค่าเงินบาทรูดต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เสียเปรียบการแข่งขันราคาสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างแน่นอน
สำหรับบริษัท ทิปโก้ แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และบริษัทจะมีความเสี่ยงเนื่องจากมีการส่งออกสัดส่วน 50% และภายในประเทศ 50% แต่บริษัทมั่นใจว่า สิ้นปีนี้รายได้ส่งออกเติบโต 10% ใกล้เคียงกับทุกปี จากรายได้รวมทั้งหมด 5,000 ล้านบาท ในปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 5-10%
***ไอ.ซี.ซี.หวั่นบาทรูดยอดขายวูบ***
นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นในเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่า จะส่งผลให้สินค้าในเครือ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าแฟชั่นขายได้ยากมากขึ้น และสินค้าที่มีฐานลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวจะค่อนข้างได้รับผลกระทบ อาทิ ลาครอส เพราะมีลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 20-30% เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งส่งผลต่อราคาสินค้าไทยในช่องทางจำหน่ายมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ คาดว่า ส่วนที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งราว 20% จากสินค้าในเครือทั้งหมด ขณะที่ยอดขายลดลง 5-10% จากปัจจุบันฐานลูกค้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 10% และอีก 90% เป็นคนไทย และแม้ว่าจะมีรายได้จากการส่งออก 2-3% แต่ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน สำหรับแผนการตลาดรองรับกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าในช่วงปลายนี้ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซันหรือฤดูกาลท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามา บริษัทจะมีการทำโปรโมชันกลุ่มสินค้าในเครือให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นยอดขาย
***โอกาสทองแบรนด์เนมคึกคัก***
นายธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ นักการตลาดและนักวางกลยุทธ์หลายองค์กร กล่าวว่า กลยุทธ์การตลาดเพื่อรองรับกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น สินค้าอาจหันมาเน้นโฟกัสการทำตลาดในประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างยอดขายทดแทนกับรายได้จากส่งออกที่ลดลง อีกทั้งในช่วงไตรมาส 4 ก็เป็นช่วงฤดูกาลจับจ่ายในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปลายปี ผู้บริโภคมีกำลังการซื้อและพร้อมจับจ่าย และควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อดูดดึงและกระตุ้นให้ซื้อสินค้าไทย ขณะที่ภาคธุรกิจที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบนำเข้า ถือเป็นโอกาสดีในการซื้อวัตถุดิบราคาถูก โดยอาจจะสต๊อกวัตถุดิบนำเข้ามากขึ้นในช่วงนี้
“เป็นโอกาสอันดีสำหรับสินค้าแบรนด์เนมที่จะทำตลาดในเชิงรุก ไม่ว่าจะเป็นการ จัดโปรโมชัน ลด แลก แจก แถม เพื่อกระตุ้นยอดขาย จากที่ผ่านมาสินค้าแบรนด์เนมไม่ค่อยจัดโปรโมชันมากนัก แต่จากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าแบรนด์เนมได้ถูกลง ซึ่งเป็นโอกาสในการทำตลาดมากขึ้น”
**บาทแข็งมาม่าส่งออกมูลค่าตกลง
นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ รองประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า ให้ความเห็นว่า ค่าเงินบาทของไทยเวลานี้มีแนวโน้มที่จะแข็งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่า อาจจะไปแตะที่ระดับ 30 บาทหรือต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐได้ไม่ยากนัก ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออกของไทยต้องปรับตัว เพราะค่าเงินที่เปลี่ยนไป จากปีที่แล้วที่ยังอยู่ในระดับ 35 บาท
ขณะที่ของทีเอฟเองนั้น ยอดตัวเลขการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกปี 2553 นี้ เพิ่มขึ้น 7% ในแง่ของปริมาณ แต่ในแง่ของมูลค่านั้นกลับตกลง 3.4% คือ จากครึ่งปีแรกปีที่แล้วได้ 758.29 ล้านบาท แต่ครึ่งปีแรกนี้ทำได้ 731.87 ล้านบาท เพราะเงินบาทแข็งค่าขึ้นเกือบ 10%
จากนี้ไปเราคงต้องบริหารจัดการต้นทุนให้ดี และต้องสร้างโปรดักติวิตี้ให้ดีขึ้น เพราะนอกจากค่าเงินบาทที่เปลี่ยนไปแล้ว เรื่องของต้นทุนการผลิตก็สูงขึ้นอีกด้วย มากกว่า 3% โดยเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปาล์ม แป้งสาลี กระดาษ ราคสูงขึ้นทั้งหมด
นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี กล่าวว่า ปัจจัยที่น่าห่วงของไตรมาสสุดท้ายปีนี้คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยเฉลี่ยเกือบ 6% ซึ่งมากถึงเป็นอันดับที่สองของภูมิภาคนี้ ขณะที่ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่ค่าเงินสูงขึ้นมากที่สุดเฉลี่ย 9%
|
|
|
|
|