|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
“มาร์ค” ตั้งเป้าปี 60 สู่ระบบสวัสดิการอย่างเป็นรูปธรรม และต้องเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานให้ ปชช.ยันไม่ใช่ระบอบประชานิยม ที่เน้นการใช้ระบบสงเคราะห์เป็นหลัก อย่างที่เคยทำกันมา พร้อมคาดหวังอีก 6-7 ปี ฝนตกทั่วฟ้าจับต้องได้ พร้อมแจงต้องแยกโครงสร้างออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เตรียมเดินหน้าผลักดันร่าง พ.ร.บ.เงินออม เข้าสู่สภา ภายในสมัยประชุมนี้
วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างบรรยายพิเศษเรื่อง “การกำหนดให้สังคมสวัสดิการเป็นวาระแห่งชาติ” โดยระบุว่า นับจากวันนี้ไปถึงเวลาที่จะต้องเดินหน้าสร้างระบบสวัสดิการสังคมอย่างจริงจัง ผ่านการวางรากฐานที่ชัดเจน โดยในทุกโครงการจะต้องยืนยันในหลักการสร้างสิทธิพื้นฐาน ในการรับบริการของประชาชน และหลีกเลี่ยงการใช้ระบบสงเคราะห์ และระบบประชานิยม เนื่องจากการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน จะต้องไม่ขึ้นกับรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจะผลักดันร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินออมแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมนี้ เพื่อให้การดูแลประชาชนที่อยู่นอกระบบราชการและนอกระบบประกันสังคม สามารถเข้าถึงสวัสดิการ มีความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งต้องผลักดันกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองทุนสวัสดิการชาวนา เพื่อนำไปสู่การสร้างสวัสดิการสังคมอย่างยั่งยืนด้วย
นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า จะต้องสร้างระบบสวัสดิการสังคมให้เป็นรูปธรรมให้ได้ภายในปี 2560 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และหวังว่าจะเป็นส่วนช่วยให้เกิดการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่
“ระบบสวัสดิการจะกำหนดให้สังคมสวัสดิการเป็นวาระแห่งชาติ มีเป้าหมายกรอบเวลาให้ทั่วถึงประชาชนทุกคนใน 6-7 ปีต่อจากนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่จะประกาศใช้ในปลายปี 2554 เพื่อนำพาประเทศเป็นสังคมสวัสดิการ การสร้างระบบสวัสดิการสังคม ต้องมองเป็น 3 มิติ คือ 1.สังคม 2.เศรษฐกิจ และ 3.การเมือง”
ด้านมิติทางสังคม มีเป้าหมายในการยกระดับในการทำงาน หลักประกันทางสังคมในการการมีชีวิต ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณ แต่ในปัจจุบันประชาชนมีความเร่งรีบมากขึ้น และปัญหาที่ขยายตัวมากขึ้น คือ ปัญหาโลกร้อน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งต่างๆ เหล่านี้บ่งชี้ว่าถ้าเราไม่มีระบบที่จะมารองรับในเรื่องของการดำรงชีวิตของประชาชนการแก้ปัญหาต่างๆ ก็จะไม่สำผลเร็จ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจน จากการทำสำรวจพบว่า ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ยังขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน การเจ็บไข้ จนสะสมเป็นปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเมือง และด้านความมั่นคง
มิติที่ 2 ทางด้านเศรษฐกิจ ในอีก 20 ปีสังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ที่จะไม่มีรายได้แต่จำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าเราไม่มีการเตรียมการที่ดี จะส่งผลต่อรายรับรายจ่ายที่ไม่สมดุล
ส่วนมิติที่ 3 ด้านการเมือง ตนเห็นว่า จะต้องเริ่มทำอย่างชัดเจน เพราะในอดีตที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะช่วยเหลือในเรื่องใด เมื่อใด ช่วยใคร เช่น ในสมัยระบบสุขภาพ เรามีความพยายามที่จะบอกว่าให้มีการรักษาฟรี ช่วยผู้ที่มีรายได้น้อย แต่ปรากฏว่า การที่จะบ่งบอกว่าใครมีรายได้น้อยก็เป็นปัญหาขึ้นมา ทำให้การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ สิ่งที่เกิดขึ้นคือการรักษาในโรงพยาบาลจะมีความเลื่อมล้ำในเชิงมาตรฐาน
ทั้งนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องการอุปถัมภ์ เช่น ระบบเบี้ยยังชีพ ที่มีหลายมาตรการที่เราพบว่าไม่สามารถส่งไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง เราจะหลีกเลี่ยงเรื่องประชานิยม และต้องการให้ระบบสวัสดิการเป็นเรื่องของสิทธิที่ประชาชนควรได้รับ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครมาเป็นรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรี ไม่มีการมีมองว่าเป็นเรื่องของบุญคุณที่จะมอบให้ประชาชน เราจึงได้ตัดสินเดินหน้าเรื่องการศึกษา 15 ปี อาหารกลางวัน นมโรงเรียน ผู้สูงอายุ และคนพิการทุกคน ที่มาขึ้นทะเบียนสามาถได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล
นายกฯ กล่าวถึงสิ่งที่รัฐบาลเริ่มดำเนินกรไปแล้วว่า รัฐบาลกำลังดูแลให้ประชาชนทุกกลุ่มมีหลักประกันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น นโยบายด้านเกษตรกร ที่มีการประกันรายได้เกษตรกร การประกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ จะมีกฎหมายกองทุนสวัสดิการชาวนา รวมทั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนที่รัฐสมทบให้ 1 บาท ประชาชน 1 บาท และชุมชนหรือท้องถิ่นอีก 1 บาท ซึ่งปีที่ผ่านมามีแล้วกว่าพันกองทุนแล้ว ซึ่งจะมีการส่งเสริมเช่นกัน
“ประชาชนต้องมีส่วนร่วมชัดเจนไม่ใช่รอคอยภาครัฐหยิบยื่นให้อย่างเดียว เพราะจะนำปัญหาตามมา การไม่มีส่วนร่วมของประชาชนจะทำให้สำเร็จและยั่งยืนยาก อย่างเช่นโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านมั่นคง โดยบ้านเอื้ออาทรมีความพยายามของรัฐที่สร้างและขายบ้านให้ประชาชนในราคาถูกแม้มีความสำเร็จบางพื้นที่ แต่หลายพื้นที่มีการทุจริตด้วยและไม่มีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งขาดทุน มีหนี้สิน สิ่งปลูกสร้างทำแล้วไม่มีใครใช้หรือซื้อ ซึ่งรัฐบาลต้องแก้ไข”
ส่วนบ้านมั่นคงเป็นการนำเอาที่ดินที่ประชาชนครอบครองแล้วเชิญทุกฝ่ายในชุมชนจัดสรรมาสร้างที่อยู่อาศัยโดยการตกลงในชุมชน ซึ่งในหลายชุมชนประสบความสำเร็จแม้ติดขัดบ้าง ซึ่งผมก็เร่งให้กระทรวงมหาดไทยแก้ไข เพราะเป็นโครงการที่ระดมพลังแก้ปัญาในชุมชน ซึ่งหลักคิดแบบนี้ก็นำไปใช้ในเรื่องฉโนดชุมชน ที่มีปัญหาเรื่องการออกเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเป็นโฉนดที่ต้องใช้ในวัตถุประสงที่ตกลงกัน ไม่ใช่ว่าที่เหล่านี้ถูกโอน-ขายสู่มือของนายทุนและประชาชนก็ไปบุกรุกพื้นที่อีก
“เรามีเวลาเตรียมการ 6-7 ปี คิดว่าทุกมิติที่ยกขึ้นมา อยากให้ระดมความคิดเพื่อเตรียมการ เพราะระบบสวัสดิการสังคมนี้เป็นระบบที่มีความหลากหลายสลับซับซ้อน เพราะไม่มีระบบใดที่มีกำลังพอในการดำเนินการจึงต้องการให้ทุกภาคส่วนเขามาทำงาน เพราะเรากำลังปฏิรูปประเทศชาติบ้านเมือง เพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง”
ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลจะต้องระวังเช่นกัน คือ งบประมาณรายจ่ายที่จะต้องไม่บายปลาย ยกตัวอย่างเช่น เบี้ยยังผู้สูงอายุที่มีการจ่ายให้รายละ 500 บาทที่ทราบดีว่าจำนวนดังกล่าวนั้นไม่พอที่จะดำรงชีพ แต่หากเพิ่มเป็น 1,000 บาท ก็จะต้องใช้งบประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้โครงการเบี้ยยังชีพมีปัญหา
ทั้งนี้ รัฐบาลเราจึงแก้ปัญหาด้วยการให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมถึงต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะเรื่องของการออมทรัพย์ พร้อมย้ำว่า ภายในสมัยประชุมสภานี้ รัฐบาลจะเสนอกฏหมายกองทุนเงินออมแห่งชาติได้
|
|
 |
|
|