Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2530
เรียกที่นี่ว่าซิลเวอร์บีช การผนึกกำลังของสถาปนิกรังสรรค์กับสหาย             
 


   
search resources

รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
Construction




รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ถ้าใครบอกว่าไม่รู้จัก สถาปนิกนามกระเดื่องของเมืองไทยคนนี้ก็คงจะแปลกมาก ๆ

นอกจากจะเป็นเจ้าของบริษัทรังสรรค์สถาปัตย์แล้ว ก็ยังเป็นผู้ช่วยศาตราจารย์ในตำแหน่งรองคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯอีกด้วย

เขามีชื่อเสียงทางด้านการออกแบบมานานหลายสิบปีอาคารใหญ่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นตึกโชคชัย ตึกที่เคยได้ชื่อว่าสูงที่สุดในประเทศไทย อาคารกมลสุโกศล อัมรินทร์พลาซ่า วอลล์สตรีททาวเวอร์และอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทยริมถนนพหลโยธิน ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานส่วนหนึ่งของเขา

และผลงานชิ้นใหม่ที่ฮือฮามากก็คือการออกแบบโรงแรมเอราวัณยุคใหม่ซึ่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์

ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาจะใช้การออกแบบ "โพสต์โมเดิร์น" คือการนำเอาสถาปัตยกรรมในยุคโบราณกรีก โรมัน มาเป็นรูปแบบในการก่อสร้างอาคารเพื่อทำให้กลมกลืนกับอาคารใหม่ ๆ ทำให้ความแข็งของอาคารอ่อนช้อยลงได้

เรียกว่าชื่อของรังสรรค์เป็นตรารับประกันคุณภาพได้ดี งานชิ้นไหนถ้าไม่ "เปอร์เฟ็ค" จริง ๆ เขาไม่ยอมให้ผ่านมือไปแน่

อรุณ ชัยเสรี อดีตอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเขาลาออกจากจุฬาฯมาตั้งบริษัทอรุณชัยเสรีคอนซัลติ้งเอนจิเนียร์สรับออกแบบคำนวณโครงสร้างและควบคุมงานก่อสร้าง

อรุณเคยร่วมงานกับรังสรรค์ หลายต่อหลายโครงการอาทิเช่น อัมรินทร์พลาซ่า วอลล์สตรีททาวเวอร์ ฯลฯ ผลงานที่ออกมาเป็นประกาศนียบัตรรับประกันความผิดหวังได้สำหรับการผนึกกำลังของสองอาจารย์จากจุฬาฯ คู่นี้

นรเศรษฐ ปัทมานันท์ กรรมการผู้จัดการซิลเวอร์บีชหลายคนอาจจะไม่รู้จักเพราะไม่ใช่คนในวงการนี้ แต่ถ้าบอกว่าเขาเป็นเจ้าของบริษัทชิโนเวสต์เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตก้นกรองบุหรี่ให้โรงงานยาสูบ นักสูบทั้งหลายก็คงจะพอคุ้น ๆ กับผลิตภัณฑ์ของเขาอยู่บ้าง

นรเศรษฐเข้ามาจับงานนี้เพระการชักชวนของไพฑูรย์สายสว่าง กรรมการอีกคนของซิลเวอร์บีช ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปของโครงการ "อาจารย์ไพฑูรย์แกรู้จักผมดีแกมาชวนผม และแกก็สนิทกับอาจารย์ รังสรรค์ แล้วเราก็มาร่วมกันสร้างซิลเวอร์บีช" นรเศรษฐบอกความเป็นมาให้ผู้จัดการฟัง

ส่วนถนอม อังคณะวัฒนากรรมการรองผู้จัดการฝ่ายการตลาดของซิลเวอร์บีช หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อนี้อยู่บ้าง โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวงการก่อสร้างและพัฒนาที่ดิน

ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของบริษัทโมเดอร์นโฮม บริษัทรับสร้างบ้านเหมือน ๆ กับ ควอลิตี้เฮ้าส์ของค่ายแลนด์แอนด์เฮ้าส์

ทั้ง 4 คนล้วนแล้วแต่โดดเด่นและเป็นที่เลื่องลือในสาขาอาชีพที่ยึดกุม คงดูเป็นเรื่องปกติถ้าพวกเขายังสุขใจที่จะขวนขวายหาความสำเร็จตามแบบฉบับดั้งเดิม แต่มิติแห่งการผนึกผสานกำลัง และความคิดเพื่อร่วมกันสร้างปรากฏการร์ใหม่กับโครงการใหญ่อย่างหนึ่งย่อมเป็นเรื่องน่าขบคิดและติดตาม

"ซิลเวอร์บีช คอนโดมิเนียน" คือโครงการที่ว่านั้นซิลเวอร์บีช เป็นคอนโดมิเนียมสูง 22 ชั้น จำนวน 84 ยูนิต ตั้งอยู่ชายหาดวงศ์อมาตย์ นาเกลือพัทยาเหนือ

พัทยาเหนือซึ่งไม่แออัดและวุ่นวายเหมือนพัทยากลางและพัทยาใต้อย่างที่เรารู้ ๆ กัน

"พัทยาเหนือที่ดินส่วนใหญ่จะอยู่ติดชายหาด เราถือว่าเป็นหาดส่วนตัว และที่ดินของซิลเวอร์บีชอยู่ตรงปลายเหมือนเชิงเขาโอกาสดูวิวจะดีกว่าที่อื่น" ถนอมบอกจุดเด่นของโลเคชั่นให้ฟัง

"ที่อื่น" ของเขาคงจะหมายถึงคู่แข่งของซิลเวอร์บีช ซึ่งในบริเวณนั้นก็มีการ์เดนคลิฟ คอนโดมิเนียมและสยามเพนเฮ้าส์ 3 ที่พอฟัดพอเหวี่ยงเพราะจัยเอมาร์เก็ตเช่นเดียวกัน แต่ทั้งสองโครงการเปิดไปแล้วตั้งแต่ 2525 ทำให้ถนอมบอกว่า "ผมไม่คิดว่าจะมีคู่แข่ง"

"ต่ำสุด 2.2 ล้าน สูงสุด 4 ล้าน ก็ตกตารางเมตรละหมื่นสี่ถึงหมื่นหก เมื่อเทียบกับวัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกแล้วราคาปานกลางแต่ได้ของหรู" ถนอม คำนวณราคาขายต่อยูนิต กับ "ผู้จัดการ"

ซิลเวอร์บีชนั้น จริง ๆ แล้วก็เริ่มต้นจากการที่รังสรรค์ ต่อสุวรรณ กับมิตรสหายกลุ่มนี้ต้องการจะสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับพวกเขากันเองแต่เมื่อดูทำเล และมีการศึกษาตลาดรวมทั้งความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว ไป ๆ มา ๆ ก็บานปลายกลายเป็นการลงขันกันจัดทำโครงการใหญ่โตดังกล่าว

"คือ ทุกคนที่เป็นเจ้าของโครงการที่จะมีห้องของตัวเองที่ซิลเวอร์บีชด้วย" คนที่ทราบเรื่องเล่า

รังสรรค์ ต่อสุวรรณ กับอีกบางคนที่ร่วมลงทุนและบริหารโครงการนั้น ที่แล้ว ๆ มาก็ได้แต่รับจ้างคนอื่น ทำให้เจ้าของโครงการรวยกันมาแล้วหลายคน

หรือว่าคราวนี้เขาต้องการจะรวยเองบ้าง

"ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก พวกเราไม่ได้หวังจะกำไร เราหวังจะใช้ตัวนี้สร้างชื่อเพื่อทำโครงการต่อไปในอนาคตมากกว่า" ผู้ร่วมทุนคนหนึ่งของซิลเวอร์บีชบอก

สรุปง่าย ๆ ก็คือ โครงการนี้ไม่มีรายการ "ตีหัวเข้าบ้าน" นั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us