Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2530
"แดรี่ ควีน" จาก "สยามฟ้าสฟู้ด" สู่ "ไทย แดรี่ ฟู้ด" แล้วต่อไปจะเป็นอะไร ?             
 


   
www resources

โฮมเพจ dairyqueen (แดรี่ ควีน)

   
search resources

Fastfood
ประโชธรรม ศรีชวาลา
สยามฟาสท์ฟู้ด
ไทย แดรี่ ฟู้ด




"แดรี่ ควีน" ช่อนี้หลายๆคนคงคุ้นเคยว่า เป็นร้านอาหารประเภทฟ้าด ฟู้ดที่มีชื่อเสียงทางด้านไอศกรีม และเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ "บริษัท ไทยแดรี่ ฟู้ด"

เรื่องของ "แดรี่ ควีน" นั้น ถ้าเป็นนิทาน ก็น่าจะเริ่มเรื่องว่า

กาลครั้งหนึ่ง เมื่อสัก 5-6 ปีที่แล้ว มีนักธุรกิจหนุ่ม (ในช่วงนั้น) เดินทางไปอเมริการเพื่อดูลู่ทางการค้าใหม่ๆ จะนำมาเปิดตลาดในเมืองไทย เขาคิดว่า ควรจะเป็นธุรกิจประเภท ฟ้าสท์ฟู้ด เพราะดูแนวโน้มในเมืองไทยแล้ว ธุรกิจประเภทนี้โอกาศจะไปได้ดี

นักธุรกิจหนุ่มผู้นั้นคือ ประโชธรรม ศรีชวาลา

เขาศึกษาข้อมูลหลายบริษัท ในที่สุดจึงได้ตัดสินใจเลือก "แดรี่ ควีน" เพราะเป็นธุรกิจที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของอเมริกาและยังเป็นฟ้าสท์ฟู้ดที่เน้นไอศกรีม ซึ่งป็นไอศกรีมที่มีรสชาดดี ที่เมืองไทยมีน้อยมากทั้งที่ยังไม่มีผู้ใดเปิดเผยและขาย PRODUCT แบบเต็มตัวอย่าง "แดรี่ ควีน" จึงคิดว่าถ้าได้เปิดตลาด ในเมืองไทยจะประสบความสำเร็จ ประโชธรรมได้ทำการตกลงกับบริษัท อเมริกัน แดรี่ควีน จำกัด โดยมีข้อตกลงอยู่ 2 ขั้น ขั้นแรกคือ จะต้องชำระค่าที่ได้สิทธิ์ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียว เป็นจำนวน 25,000 เหรียญสหรัฐ ขั้นที่ 2 จะต้องจ่ายให้บริษัทอเมริกันแดรี่ควีน จำกัด จำนวน 4 % ของยอดขายปลีก

เมื่อเจรจากับทางอเมริกันแดรี่ควีนเรียบร้อยแล้ว ประโชธรรมก็ทำการก่อตั้งบริษัทสยามฟาสท์ฟู้ด จำกัดขึ้นเพื่อรองรับการเข้ามาของแดรี่ ควีน โดยมีทุนจดทะเบียนครั้งแรก 100,000 บาทผืที่เข้ามาร่วมทุนด้วยกันก็เป็นคนในครอบครัวและเครือญาติ ไม่มีคนภายนอก

ประโชธรรมพูดถึงการบริหารงานในสยาม ฟาสท์ฟู้ด ว่าเป็นการบริหารงานสไตล์ของครอบครัว มากกว่าเพราะเขาเป็นเจ้าของกิจการเอง การตัดสินใจสามารถกระทำได้โดยลำพังไม่ต้องรอความเห็นจากใคร

ช่วงต้นปี 2527 สยามฟาสท์ฟู้ดเพิ่มทุนเป็น 5,000,000 บาท และตั้งสำนักงานสาขา (ร้านแดรี่ ควีน) ขึ้น 2 แห่งที่สีลมและรามคำแหง นอกจาก2แห่งนี้แล้วประโชธรรมยังคิดจะตั้งสำนักงานสาขาขึ้นที่ซิตี้พลาซ่าด้วย โดยไปเซ้งพื้นที่ไว้แล้วในตอนแรก พร้อมกับชำระเงินค่าเซ้งไปกว่า 80% แต่ปรากฎว่าการบริหารงานของซิตี้พลาซ่าไม่ขยับตัวเลย หลายสิ่ง หลายอย่างไม่เอื้ออำนวยความสะดวกที่จะเข้าไปดำเนินกิจการทางสยามฟาสท์ฟู้ดก็เลยถอนตัวออกจากพื้นที่นั้น โดยยอมเสียเงินที่ได้ชำระค่าเซ้งไปแล้วเพราะถ้าขืนดันทุรันเปิดต่อไปจะมีผลเสียมากกว่าที่เป็นอยู่หนักหนาสาหัสเข้าไปอีก

มิใช่ที่ซิตี้เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ทางสยามฟาสท์ฟู้ดดำเนินการผิดพลาด แต่ผลการคำเนินการที่สาขารามคำแหงยังเหมือนกับการสร้างบาดแผลที่ฉกรรจ์อยู่แล้วให้ถ่างกว้างมากยิ่งขึ้น แม้ว่าบริเวณรามคำแหงนั้นจะเป็นพื้นที่ที่ดี แต่จุดที่แดรี่ ควีน ตั้งนั้นอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม เป็น LOCATION ที่ไม่ดีมากๆ (แดรี่ ควีน สาขารามคำแหงนั้นเดิมอยู่เวลโกดีพาร์ทเมนต์สโตร์ไปเล็กน้อยเป็นตึกแถว หน้ากว้าง 4 คูหาอยู่ริมถนนใหญ่เลิกกิจการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529 ปัจจุบันกลายเป็นศูนย์อาหารไปแล้ว)

จุดผิดพลาดที่สำคัยในกรณีนี้คือปัญหาเรื่องที่จอดรถ บริเวณนี้ไม่มีที่จอดรถ ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมานที่สยาม ฟาสท์ฟู้ดกำหนดไว้ คือกลุ่มของครอบครัวและส่วนใหญ่จะขับรถมา หาที่จอดรถไม่ได้ ก็เลยหลีกเลี่ยงไปร้านอื่น ลูกค้าทางย่านรามคำแหงบางรายยังต้องวิ่งไปสาขาสีลม เมื่อเป็นเช่นนี้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงก็เริ่มหายไป แต่กลับไปได้ลูกค้าที่เป็นนักศึกษา ซึ่งเป้นกลุ่มระดับล่างลงมา และส่วนมากที่เข้ามานั่งในร้านก้จะสั่งแต่เครื่องดื่ม ส่วนอาหารจะสั่งน้อยมาก และใช้เวลาอยู่ในร้านนาน เมื่อดำเนินการไป 15 เดือน เห็นว่าไม่ไหวแล้ว ก็ถอนตัวออกมา นับเป็นประสบการณ์ที่ประโชธรรม ได้จากการตั้งสาขารามคำแหง และจำฝังใจเลยว่า AREAที่ดีนั้น FACILITIES ไม่พร้อมสรรพแล้ว ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จขึ้นมาได้

" ผมยังจำได้ว่า ที่รามนั้นเป็นพื้นที่ที่ดี แต่ที่เราต้องถอนตัวออกมาเพราะว่าที่ของเราไม่ดี ถ้าพร้อมเมื่อไหร่จะกลับเข้าไปใหม่ในที่ที่ดีกว่า ที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ลูกค้าของเราจะได้กว้างกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าเขามีรถก็สามารถเข้ามาจอดรถได้ ในปัจจุบันทางย่านนี้ มีการพัฒนาสิ่งต่างๆนานาไปเยอะมาก มีเดอะมอลล์ขึ้นมา 2 แห่งจะมีเซ็นทรัลไปเปิดอีกแสดงว่าย่านนั้นเป็นย่านที่ดีจริง" ประโชธรรมพูดให้ฟังถึงความตั้งใจของเขา

เมื่อสยาม ฟาสท์ฟู้ด ปนะสบปัยหาย่ำแย่ถึง 2 ครั้งเป็นการใช้เงินที่ผิดพลาดและเกินจากเป้าหมายที่คาดไว้พอสมควรจริงๆ แล้วประโชธรรมก็ไม่ได้ยอมแพ้ เขายังคิดที่จะสู้ต่อไปซึ่งความเป็นไปได้มากที่สุดคือขยายฐานทางการเงินให้กว้าง ดดยการดึงเอาคนภายนอกเข้ามารวมหุ้นด้วย และบุคคลที่ประโชธรรมมั่นใจที่จะเข้าไปมีความเกี่ยวพันธ์ด้วยอย่างยิ่งก็คือ ยอดยิ่ง เอื้อวัฒนสุนทร กรรมการผู้จัดการบริษัท พาราวินเซอร์ จำกัด ทายาทมหาเศรษฐ๊อื้อจือเหลียง

" เราต้องใช้เงินมากที่สุดเลยต้องหานายทุนหรือผู้ถือหุ้นที่จะสามารถ SUPPORT โครงการของเราได้ และผมคิดว่าที่เหมาะสมที่สุดก็คือทางพาราวินเซอร์ พื้นฐานผมก็มี DEALING กับคุณยอดยิ่งมาหลายปีทำธุรกิจมาด้วยกันก็ตั้งนาน และทางครอบครัวก้มี CONTRACT กันมาเป็นระยะเวลา 20 ปีแล้วคิดว่าพาราวินเซอร์เป็นฐานทางการเงินได้ดี ทางพาราวินเซอรืเองมีประสบการณ์ในฐานะที่เป็นบริษัทใหญ่ มีการค้าอยู่หลายอย่าง เราจะพึ่งเขาทางด้าน MANAGEMENT ได้หลายอย่างและทำให้การติดต่อใน BUSINESS หรืออะไรก็ตาม เราสามารถเปิดประตูได้ง่ายขึ้น เราใช้เวลาเจรจากับพาราวินเซอร์ประมาร 6-8 เดือน " ประโชธรรมเปิดเผยกับผู้จัดการ

ลักษณะการเข้าร่วมทุนของพาราวินเซอร์นั้น ประโชธรรมกล่าวว่า เป็นกึ่ง TAKEOVER เพราะก้ยังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ใน ไทยแดรี่ฟู้ด ซ่งเป็นบริษัทที่พึ่งตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อมารับกิจการนี้โดยตรงต่อจากสยามฟาสท์ฟู้ด (ปัจจุบันสยามฟาสท์ฟู้ดยังมีอยู่แต่เป็นบริษัทที่หยุดดำเนินกิจการชั่วคราว)

ที่ต้องคั้งบริษัทขึ้นมาก็เพราะช่วงที่ประโชธรรมบริหารสยาม ฟาสท์ฟู้ด เขาบริหารในฐานะเจ้าของกิจการเอง การตัดสินใจกระทำได้อย่างอิสระ บางครั้งเอกสารหลายๆย่างก็ออกตามการตัดสินใจไม่ทัน เมื่อมีการเพิ่มทุนเข้ามา จะมีปัญหาพวกนี้ก็ต้องมาไกล่เกลี่ยกันภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากวุ่นวาย ดังนั้นเพื่อการไม่เข้าใจผิดต่อกัน จึงตั้งบริษัทใหม่มาดำเนินการใหม่ มีการบริหารงานเป็นคณะกรรมการทุกอย่างจะเป้นขั้นตอน และเป็นระบบมากขึ้น โดยมียอดยิ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ

เมื่อสยาม ฟาสท์ฟู้ดเดิมได้ผนึกับพาราวินเซอร์จนกลายมาเป็น ไทยแดรี่ฟู้ดแล้วนั้น ประโชธรรมในฐานะกรรมการบริหารคิดว่า ไทยแดรี่ฟู้ด พร้อมแล้วที่จะขยายกิจการให้กว้างขวางออกไป ดดยมีบทเรียนจากซิตี้พลาซ่า และรามคำแหงเป็นประสบการณ์อันพึงจดจำ และแล้ว แดรี่ ควีน ที่พาต้า ปิ่นเกล้า ก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้น พร้อมที่จะเปิดกิจการในเดือน พฤศจิกายนนี้ ซึ่งในการตัดสินใจเลือกที่นี่เพราะว่า ในย่านฝั่งธน นั้นมีเพียงดังกิ้นโดนัท เท่านั้นที่ปฺดดำเนินกิจการอยู่ ไม่มีฟาสท์ฟู้ดอื่นได ประโชธรรมยังมีความคิดที่จะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครอบครัวอยู่ จากการสำรวจการช้อปปิ้งในพาต้าปิ่นเกล้านั้นปรากฎว่ามีครอบครัวเข้ามาช้อปปิ้งมากพอสมควรแม้ว่าคนที่มาเที่ยวพาต้าจะอยู่ในกลุ่ม CLASS B ก็ตามแต่เขาต้องการจะยืนยันว่าแดรี่ ควีนนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นคน CLASS A เท่านั้นถึงจะมีกำลังซื้อ คนใน CLASS B ก็สามารถซื้อได้

โครงการที่พาต้า ปิ่นเกล้า จะใช้เงินลงทุนประฒาณ 10 ล้านบาท และตอนนี้ก็มีคนเสนอเรื่องพื้นที่เข้ามาอีก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไป นอกจากนั้นทางบริษัทยังทำ LOCAL PRODUCTION ได้ถึง 80% แล้วและคุณภาพอยู่ในขั้นน่าพอใจจนทาง INTERNATIONAL DAIRY QUEEN ได้ APPROVE ให้แดรี่ ควีนในเองไทยสามารถ EXPORT สินค้าไปขายให้แดรี่ ควีน ในประเทสอื่นได้ซึ่งนับว่าลู่ทางที่ ไทยแดรี่ ฟู้ด เดินอยู่นี่ หมอกควันที่เข้ามาปกคลุมไว้แต่เดิมได้จางลงไปมากพอสมควรแล้ว และก้ได้แต่คาดการณ์ว่า ก้าวต่อๆไปนั้นจะเป็นหนทางที่ชัดเจนแจ่มใส มีทัศนียภาพสวยงาม ไม่กลับไปขุ่นมัว เหมือนแต่ดั่งเดิมอีก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us