|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
การปรับตัวของธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่พยายามหาทางเพิ่มธุรกิจในส่วนของตลาดอี-บุ๊ก เพื่อหลีกหนีจากการที่ต้นทุนของกระดาษแพงมากจนทำให้การจำหน่ายหนังสือเป็นเล่มมีราคาแพงตามไปด้วย ทำให้สภาพในอนาคตยังคงมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้นในตลาดอี-บุ๊ก
การที่จะทำให้ตลาดอี-บุ๊ก มีการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง กิจการสิ่งพิมพ์ทั้งหลายจะต้องหาทางปรับพฤติกรรมของผู้อ่านหนังสือให้หันมานิยมอ่านหนังสือแบบใหม่นี้มากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกันอีกประการหนึ่งคือ การมีอุปกรณ์การอ่านหนังสือแบบอี-บุ๊ก ที่ราคาถูก แต่มีศักยภาพในการใช้งานดี
ช่วงที่ผ่านมา จึงมีการผลิตเครื่องอ่านหนังสืออี-บุ๊ก ที่เรียกว่า อี-รีดเดอร์ ออกมาหลากหลายค่ายหลากหลายแบรนด์
การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการด้านอุปกรณ์ อี-รีดเดอร์ หลายแบรนด์กดดันให้ระดับราคาต่อหน่วยของอุปกรณ์อี-รีดเดอร์ ค่อยๆ ถูกลง จนถึงวันนี้นักวิเคราะห์บางคนเริ่มมีคำถามว่าอุปกรณ์อี-รีดเดอร์ ที่จำหน่ายแบบโดดๆ ไม่มีธุรกิจอี-บุ๊ก ควบคู่ด้วยจะยังสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองหรือไม่
ในบรรดาผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดอี-รีดเดอร์ ระดับโลกตอนนี้ก็คือยักษ์ใหญ่อย่างอะเมซอน บาร์นสแอนด์โนเบิล และโซนี่ ที่เห็นได้ชัดว่าพยายามแข่งขันกันในการขายอี-รีดเดอร์ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
การแข่งขันเริ่มชัดเจนมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพราะสงครามการตัดราคาเริ่มขึ้นแล้ว รายแรก คือ บาร์นสแอนด์โนเบิล ที่ปรับลดราคาเครื่องอ่านอี-รีดเดอร์ ชื่อ Nook ของตนลงถึง 60 ดอลลาร์ เหลือเพียงราคา 199 ดอลลาร์ และนอกจากนั้นผู้ประกอบการรายนี้ยังเริ่มเป็นตัวแทนจำหน่าย Wi-Fi only Nook ด้วยระดับราคาเพียง 149 ดอลลาร์
ในวันเดียวกัน ห่างกันไม่เกิน 1 ชั่วโมง อะเมซอนได้ปรับลดราคาเครื่องอ่านอี-รีดเดอร์ ชื่อ “คินเดิล” ของตนลง 70 ดอลลาร์ เหลือเพียง 189 ดอลลาร์
หลังจากนั้นราว 10 วัน โซนี่ยักษ์ใหญ่อีกรายหนึ่งก็ประกาศปรับลดระดับราคาสินค้าเครื่องอ่าน อี-รีดเดอร์ 3 รุ่น ลง 30 ดอลลาร์ ทำให้ระดับราคาเครื่องอ่านอี-รีดเดอร์ รุ่นแพงที่สุด 3G ของตนลงเหลือ 249 ดอลลาร์ เท่านั้น
เหตุผลที่เข้ามาเสริมการประกาศสงครามราคาด้วยการปรับลดราคาเครื่องอ่านอี-บุ๊ก ลง ยังมาจากการที่แอปเปิลประกาศจำหน่ายไอแพด ที่เป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ได้ดี ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในตลาดต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการในวงการอี-รีดเดอร์ เกิดการสั่นคลอน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว คือ เอาไว้อ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์
นอกเหนือไปจากนั้น ยังพบว่ามีผู้ประกอบการบางรายเตรียมจะเข้ามาจำหน่ายเครื่องอี-รีดเดอร์ แข่งขันกับ 3 ยักษ์ใหญ่อีก อย่างเช่น พลาสติก ลอจิก ซึ่งเตรียมแผนการดัมป์ราคาของอี-รีดเดอร์ลงเพื่อดักตลาดส่วนนี้ตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัวในตลาด หวังจะสั่นสะเทือนตลาดแบบตั้งตัวไม่ทัน
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางรายก็คิดในทางตรงข้าม และตัดสินใจชะลอการเปิดตัวสินค้า อี-รีดเดอร์ ของตนออกไปอย่างไม่มีกำหนด อย่างเช่นกรณีของซัมซุง
นักวิเคราะห์ประเมินว่าอนาคตของตลาดอี-รีดเดอร์ ต่อจากนี้น่าจะถึงจุดของการปรับเปลี่ยนแล้ว ประการแรก อุปกรณ์อี-รีดเดอร์ ในอนาคตไม่ว่าจะผลิตออกมาจากผู้ประกอบการรายใดก็ตาม จะต้องเพิ่มฟังก์ชั่นเป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องอ่านหนังสืออี-บุ๊ก ได้บนอุปกรณ์หลากหลายชนิด ทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแล็ปทอป เน็ตบุ๊ก และเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้ได้กับการอ่านอี-บุ๊ก ของทุกค่ายสื่อสิ่งพิมพ์
ประการที่สอง ในปี 2010 นี้ คาดว่าจำนวนจำหน่ายอี-รีดเดอร์ จะรวมกันประมาณ 6 ล้านเครื่อง และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 19.2 ล้านเครื่องในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ประเมินมาจากการเติบโตของตลาดหนังสืออี-บุ๊ก ด้วย โดยคาดหมายว่าตลาดอี-บุ๊ก มียอดการจำหน่ายรวมในเดือนมีนาคม 29.3 ล้านดอลลาร์ หรือเติบโตราว 16.3% ทำให้คาดว่าจะเติบโตในอัตรา 207% ในปี 2010 ทั้งปี
อย่างเช่น ยักษ์ใหญ่ที่ครองตลาด อี-บุ๊ก อย่างอะเมซอนพบว่า 80% ของผู้ที่ซื้อหนังสือผ่านทางอี-บุ๊ก ของตนเป็นเจ้าของคินเดิลกันแล้ว และอีก 20% ของลูกค้าที่ซื้อหนังสือแบบอี-บุ๊ก ใช้แอปพลิเคชั่นของยี่ห้ออื่นที่ปรับการอ่านหนังสือของอะเมซอนได้ อย่างเช่น แอนดรอยด์ แบล็กเบอร์รี่ ไอแพด ไอโฟน แมคอินทอช หรือพีซี
ประการที่สาม ในการเพิ่มฟังก์ชั่นบนเครื่องอ่านอี-รีดเดอร์ทั้งหลาย พบว่ากรณีของอะเมซอน ได้เพิ่มซอฟต์แวร์ส่วนที่เป็นเกมเรียกว่า simple word games และปรับอุปกรณ์สู่ third-generation e-reader แม้ว่าจะยังคงใช้ชื่อ คินเดิล เพื่อให้ฟังก์ชั่นไม่แตกต่างจากไอแพดมากนัก และใช้อายุแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่า 3 สัปดาห์
แต่การปรับปรุงเทคนิคให้มี แสง สี มากขึ้นบนอุปกรณ์อี-รีดเดอร์ ก็กลายเป็นปัญหาแก่ผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะวัตถุประสงค์หลักของอี-รีดเดอร์ คือ ใช้อ่านหนังสืออี-บุ๊ก ผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ต้องการให้หน้าจอเป็นขาว-ดำ เพื่อผ่อนคลายสายตา ไม่ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเกินไป เหมือนหน้าจอสี
ทีนี้ก็ต้องแล้วแต่ผู้ประกอบการว่าจะเลือกไปทางซ้ายหรือขวาของแนวทางการปรับตัวอุปกรณ์อี-รีดเดอร์ และที่สำคัญหากปรับปรุงดีขึ้น ต้นทุนซอฟต์แวร์ถูกลง ท่ามกลางระดับราคาที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ใครจะอยู่รอดกันบ้าง
|
|
 |
|
|