|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ภายใต้การแข่งขัน แย่งชิง 'คนเก่ง' ที่ลุกลามไปทุกชาติ ทุกภาษา ของประเทศที่มีเศรษฐกิจดี ได้ขยายวงกว้างมาสู่ประเทศไทย จากความต้องการคนเก่งในระดับแรงงาน ก็ขยายสู่นักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
ด้วยเงื่อนไขจูงใจ เพื่อดูดทรัพยากรมนุษย์ที่เก่ง เข้าไปพัฒนายังประเทศเหล่านั้น ด้วยอาศัยความพร้อมในด้านต่างๆ ดังจะเห็นประเทศสิงคโปร์จูงใจด้วยทุนการศึกษา หรือกลุ่มประเทศในตะวันตกจูงใจด้วยสัญาชาติของประเทศนั้นๆ เมื่อศึกษาจบ
ความรู้จากคนเก่ง ที่ประเทศเหล่านั้นนำไปต่อยอด ส่วนแล้วแต่สร้างคุณค่ามหาศาลที่ไม่สามารถประเมินค่าได้เมื่อเทียบกับการพัฒนาประเทศด้วยคนคุณภาพที่ดูดมาจากประเทศต่างๆ
สมองไหลของเด็กเก่ง กลายเป็นปรากฏการณ์ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศไทย ที่ไม่กระพริบตา นโยบาย มาตรการต่างๆ เริ่มทยอยออกมาเพื่อดึงดูดเด็กเก่ง และคนดี เพื่อ out put ที่ดี ในการพัฒนาประเทศและชื่อเสียงของสถาบัน จึงคึกคักขึ้น
จะด้วยปรากกการณ์ดังกล่าวหรือไม่ ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศอย่าง “มหิดล” ประกาศชัดที่จะเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในใจเด็กไทย (University of Choice ) ในปี 2553 นี้
หากมองถึงความพร้อมของด้านวิชาการ เรียกได้ว่ามหิดลเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก มีความโดดเด่นด้านงานจัย ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ กว่า 1,325 ฉบับ ซึ่งนับเป็นผลงานวิจัยระดับโลกที่คนอ้างอิงถึงมากที่สุด
ล่าสุด มหิดลยังได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียของ Quacquareli Symonds (QS) Asian University Ranking อยู่ในอันดับที่ 28 ของเอเชีย ไต่จากอันดับที่ 30 เมื่อปีที่ผ่านมา ทำให้มหิดลมีความโดดเด่นบนเวทีโลก จนสามารถบอกได้ว่า ณ ปัจจุบันมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ซึ่งคำจำกัดความของการเป็น World Class คือการทำองค์กรหรือมหาวิทยาลัยมีมาตรฐานระดับโลกและนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย
แต่การที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะนั่งในใจเด็กไทยทุกคน ความมีชื่อเสียงของสถาบัน ความเป็น World Classเพียงอย่างเดียวดูเหมือนจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต้องเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยนักศึกษาต้องมีประสบการณ์ร่วมเพื่อสมดุลชีวิตการเรียนและการดำเนินชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
ในปี 2551 มหิดล จึงคลอดแผนแม่บท มหิดล ศาลา ฉบับใหม่ ภายใต้แนวคิด “มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน เมื่อน่าอยู่และสร้างเสริมสุขภาวะ” ขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของผังแม่บทนี้ดำเนินการมากว่าครึ่งทางแล้ว และมีความชัดเจน จนทำให้ผู้บริหารมั่นใจในก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอันดัยบ 1 ในใจเด็กไทยได้อย่างไม่ยาก
ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดี กล่าวว่า มหิดลไม่ได้พุ่งเป้าไปที่มหาวิทยาลัยงานวิจัยอย่างเดียว เพราะสิ่งนี้ได้ทะลุขีดขั้น ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ ไปแล้ว ไม่ว่าจะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจสังคม ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพวิชาการ
แต่สิ่งที่จะมัดใจนักศึกษา ครองใจอันดับ 1 เมื่อนึกถึง ได้เป็นอย่างดี คือ “คุณภาพชีวิตในแคมปัส” สภาวะแวดล้อมต้องเป็นเครื่องกระตุ้นเด็กในเกิดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยที่จะเรียนรู้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ซึ่งในจุดนี้ได้พุ่งสู่ระดับอินเตอร์แล้ว ฉะนั้นสภาพแวดล้อมด้ายกายภาพจะเป็นสิ่งผลักดันให้เด็กเก่งและพัฒนาหล่อมหลอมเป็นคนดีให้เกิดขึ้น
ซึ่งการเป็น University of Choice ของมหิดลนั้นประกอบด้วย 1. ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ 2. คุณภาพทางวิชาการ 3. วิถีชีวิตที่สร้างสรรค์ ซึ่งประกอบด้วย คุณภาพชีวิตที่ดี บรรยากาศการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ กิจกรรมที่หลากหลาย หลอมรวมเป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่อื่น 4.ปรัชญาการศึกษาที่มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ โดยหล่อหลอให้นักศึกษามีจิตอาสา พัฒนาสังคม ผ่านวิชาเรียนและกิจกรรม
การพัฒนาในเชิงกายภาพด้านการปรับปรุงด้านสถานที่ อยู่ระหว่างดำเนินการในการเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล (Mahidol Learning Center) อุทยานธรรมชาติสิรีรุกขชาติ ศูนย์การเรียนรู้ด้านสมุนไพรไทย ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ 140 ไร่ รวมไปถึงอาคารศูนย์ประชุมที่จะมี “คอนเสิร์ต ฮอลล์” มาตรฐานระดับโลก ทั้งหมดจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า
“เรามองว่าการที่มหาวิทยาลัยจะเป็นทางเลือกอันดับหนึ่งในใจของนักศึกษา ต้องปรับปรุงในทุกๆ ด้านทั้งในและห้องเรียน ขณะที่เราปรับปรุงคุณ
ภาพด้านวิชาการ เราให้ความสำคัญกับการปรับปรุงในเชิงกายภาพ และบรรยากาศในการเรียนรู้ จะเห็นได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในด้านอาคาร สถานที่และสภาพแวดดล้อมในมหิดล ศาลายา นั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก และเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เราควรภูมิใจว่ามหาวิทยาลัยในไทยก็สามารถเป็นแบบอย่างให้คนอื่นได้ และความสำเร็จที่แท้จริง ต้องสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เกิดประโยชน์กับมวลมนุษยชาติ”
“ทุกมหาวิทยาลัยก็คงอยากมีลูกศิษย์เก่งๆ เราเองก็อยากเป็นอย่างนั้น เรื่องนี้ไม่ได้แข่งขันกันเองกับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ แต่วันนี้เราเห็นแล้วว่าเด็กเก่งกำลังถูกมหาวิทยาลัยต่างชาติดึงตัวไป ยิ่งในการเรียนระดับปริญญาโท ปริญญาเอก เวลาที่เด็กไทยไปเรียนต่างประเทศงานวิจัยก็อยู่ในประเทศนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถดึงเด็กกลุ่มนี้ไว้ได้ก็จะเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ”
นอกจากนี้คนเก่งที่มหิดลจะดึงไว้แล้ว การดีไซน์หลักสูตรหล่อมรวมการผลิตบัณฑิตที่สมบูรณ์นั้น ก็มีความน่าสนใจยิ่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมุ่งสร้างบัณฑิตให้สมบูรณ์ หล่อหลอมวัฒนธรรมมหิดลตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ที่มีจำนวนนักศึกษาใหม่เฉลี่ยปีละ 4,800 คน หรือนักศึกษาปี 1 เรียนรู้ร่วมกันมีอาจารย์จากทุกคณะ 100 คนมาเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนต่างคณะ ในวิชาสร้างบัณฑิตให้สมบูรณ์ (MUGE : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์) เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้นักศึกษาได้รับมุมมองที่หลากหลาย และสนับสนุนให้นักศึกษาได้ลงมือทำโครงการพัฒนาสังคม บ่มเพาะความรับผิดชอบต่อสังคม เตรียมพร้อมสำหรับการเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต นี่คือ ความเป็นมหิดล เด็กจะได้ออกไปเป็นผู้นำไม่ใช่เฉพาะในประเทศแต่ต้องนำในภูมิภาคและในโลก
และนับเป็นความรู้สึกร่วมของนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยทุกคน ที่อธิการบดี ได้หยิบยกคำกล่าวของคณบดีดุริยางคศิลป์ ที่บอกว่าสักวันหนึ่ง เมื่อพูดถึงมหิดลคนจะนึกถึงแต่ดนตรี แล้วจะถามว่ามหิดลมีแพทย์ด้วยเหรอ
นี่คือสิ่งที่ทุกคน ทุกคณะพยายามมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยกันทั้งนั้น !
|
|
|
|
|