Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์9 กันยายน 2553
นักลงทุนต่างชาติรุมซื้อ สโมสรฟุตบอลเมืองผู้ดี             
 


   
search resources

Sports




มีเศรษฐกิจจากหลายชาติพากันทยอยเข้าไปซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษจากหลากหลายมุมโลก ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้ชาย จนมีคนผู้ที่วิเคราะห์ว่า สงสัยการได้เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลสักแห่ง จะเป็นความฝันที่พวกผู้ชายทุกคนอยากได้อยากเป็น

หลายคนออกมาโต้แย้งว่า มีผู้ชายจำนวนไม่น้อยที่ไม่สนใจกีฬาฟุตบอล เรื่องนี้ไม่น่าจะใช่เป็นความฝันของผู้ชายทุกคน

แต่ที่แน่ๆ คือ ต้องยอมรับว่าการซื้อสโมสรฟุตบอลเมืองผู้ดี เป็นเกมของลูกผู้ชายที่มั่งคั่งจำนวนไม่น้อยไปแล้ว เพราะสโมสรฟุตบอลอังกฤษดูเหมือนจะตกเป็นของคนรวย โดยเฉพาะผู้ชาย ไม่ใช่เพียงสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีกเท่านั้น หากแต่รวมถึงสโมสรฟุตบอลที่อยู่ในดิวิชั่นที่ต่ำลงมาอีก 2-3 ดิวิชั่น และที่ไม่ใช่สโมสรฟุตบอลมืออาชีพด้วย

วิธีการจะซื้อหุ้นสโมสรเพื่อจะให้เข้าไปเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลอังกฤษ ทำได้ 2 ทางคือ ทางแรก ด้วยการเข้าไปซื้อหุ้นของสโมสรฟุตบอลที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เหมือนกับการซื้อหุ้นทั่วไป

สโมสรฟุตบอลอังกฤษที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอังกฤษได้แก่ สโมสรมิลล์วอลล์ (Millwall) มีเจ้าของและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ชื่อ Theo Puphifis ผู้บริหาร Den Enterprise ของกลุ่ม Dragon แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครสนใจซื้อเพราะสโมสรฟุตบอลแห่งนี้เพราะขาดทุนติดต่อกันมานานหลายปี และไม่เคยจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นของสโมสรฟุตบอลอังกฤษเลย

สโมสรวัตฟอร์ด เป็นสโมสรฟุตบอลอังกฤษดิวิชั่นสูงกว่า มิลล์วอลล์ มีเซอร์ เอลตัน จอห์นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ มีปัญหาในการจ่ายเงินปันผลมาหลายปีเช่นกัน แต่การพยายามปรับตัวด้านการบริหาร ทำให้เริ่มมีกำไรจากการดำเนินงานมา 2 ปีบัญชีแล้ว

แรงเจอร์ส เป็นสโมสรฟุตบอลอังกฤษจากสก๊อตแลนด์ ที่แม้จะมีหุ้นจำหน่ายก็ไม่มีใครสนใจเช่นกัน

นอกจากผลประกอบการไม่ดีแล้ว การเข้าไปซื้อหุ้นของสโมสรฟุตบอลอังกฤษในตลาดหลักทรัพย์คงต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล และไม่สามารถเข้าไปควบคุมการบริหารจัดการหรือการลงทุนได้ แถมยังไม่มีผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย จึงเป็นวิธีที่ไม่นิยม หากไม่ใช่แฟนคลับที่ต้องการซื้อหุ้นของสโมสรที่ตนชื่นชอบเอาไว้แบบเล็กๆ น้อยๆ

ทางที่สอง คือ การเข้าไปหาผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนปัจจุบันแบบตรงๆ ที่ง่ายกว่า และต่อรองราคาได้ดีกว่า แถมยังสามารถขอเงื่อนไขการควบคุมทีมและการลงทุนได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษมักเป็นเรื่องที่ทำกันแบบลับๆ ไม่นิยมเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือสื่อมวลชน เพราะบางสโมสรอย่างเช่น c]t เป็นสโมสรฟุตบอลขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มาก ไม่มีทรัพย์สินมากมาย สามารถหาซื้อได้ในราคา 100,000 ปอนด์เท่านั้นเอง

ที่สามารถทำการเจรจาตรงกับเจ้าของสโมสรฟุตบอลอังกฤษคนปัจจุบันได้ เพราะเจ้าของมักจะตีราคาสโมสรฟุตบอลที่ตนเป็นเจ้าของไว้แล้ว จึงมีราคาที่บอกได้ทุกเวลา

วิธีการที่ใช้กันในการซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษทั่วไปคือ การสอบถามว่าเจ้าของสนใจจะขายในราคาเท่าใด ซึ่งเจ้าของก็มักจะบอกราคาขายในใจ แล้วก็ต่อรองเจรจากัน อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังได้มีการเปลี่ยนวิธีการ จากการรอให้มีคนสนใจเข้าไปเสนอราคาขาย เป็นการประกาศขายตามสื่อสารธารณะมากขึ้น อย่างเช่น สโมสรแบร์รี่ ทาวน์ ขายแบบประกาศขายในราคา 250 ล้านปอนด์

นอกจากนั้นก็มี สโมสรที่ใช้การขายแบบเปิดเผย เช่น ฮาริแฟกซ์ ทาวน์ ที่นำสโมสรของตนออกจำหน่ายทางหนังสือพิมพ์รายวันไฟแนนเชียลไทม์, สโมสรฟุตบอลทรานเมียร์ ขายตนเองในอีเบย์, สโมสรฟุตบอลเซ็นต์ ไมร์เรนจากสก๊อตแลนด์ ก็มีการเสนอขายทางหนังสือพิมพ์เช่นกัน ปัญหาหนี้สินของสโมสรฟุตบอลอังกฤษ

สโมสรฟุตบอลอังกฤษเกือบทั้งหมดในระดับพรีเมียร์ ลีก มีภาระหนี้สินกับภายนอกจำนวนมาก จนไม่มีทางเลือกนอกจากการนำสโมสรออกขายเพื่อให้ได้แหล่งเงินสนับสนุนแหล่งใหม่

ที่เป็นเช่นนี้เพราะการลงทุนในสโมสรฟุตบอลไม่ได้มาจากคนที่รักกีฬาฟุตบอล และให้การสนับสนุนได้แบบไม่มีเงื่อนไข แถมผู้ที่สนับสนุนทางการเงินจำนวนมากยังได้เงินมาซื้อสโมสรจากการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน

ยิ่งกว่านั้น สถาบันการเงินเจ้าหนี้รายใหญ่ของสโมสรฟุตบอลอังกฤษเอง ยังมักจะกำหนดเงื่อนไขในการให้สินเชื่อว่า หากสโมสรฟุตบอลอังกฤษที่เป็นลูกหนี้ไม่สามารถจัดหาแหล่งเงินสนับสนุนได้ จะต้องยินยอมให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้เป็นผู้จัดหาแหล่งเงินให้ และเจ้าของจะต้องยินยอมขายหุ้นในมือของตนออกให้กับเจ้าของรายใหม่ด้วย
ในส่วนของสโมสรฟุตบอลอังกฤษ มีหนี้สินเพิ่มพูนมาจาก ประการแรก การใช้เงินลงทุนสร้างสนามแข่งของตนเอง เพื่อให้สามารถเก็บรายได้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่การลงทุนดังกล่าวใช้เงินจำนวนมาก กว่าจะสร้างรายได้แก่สโมสรฟุตบอลที่เป็นเจ้าของ และเมื่อภาวะเศรษฐกิจไม่ดี การซื้อตั๋วชมรายการแข่งขันอาจไม่คุ้มค่ากับภาระดอกเบี้ย

ประการที่สอง เมื่อมีสนามฟุตบอลแล้ว ค่าใช้จ่ายประจำวันที่ต้องใช้เพื่อรักษาสภาพ และดูแลรักษาสนาม เป็นภาระรายวันที่สร้างต้นทุนจำนวนมหาศาลและต่อเนื่องแก่สโมสรฟุตบอลทุกสโมสรเลยทีเดียว
ประการที่สาม ค่าใช้จ่ายประจำที่เป็นค่าโสหุ้ยต่อหัวหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ค่ารักษาและบริหารนักเตะ โดยเฉพาะนักเตะที่มีชื่อเสียงของสโมสร

ประการที่สี่ ค่าซื้อตัวผู้เล่น โดยหวังว่าจะมีทีมเล่นคุณภาพที่จะทำให้สโมสรไม่ตกลงไปจากระดับพรีเมียร์ ลีก ถือว่าเป็นการลงทุนทางการเงินอย่างหนึ่ง หากคาดคะเนผิด ไม่คุ้มค่าก็คือ ภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่าความสามารถในการทำรายได้ เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

เกมการลงทุนซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษ

ข่าวครึกโครมที่สุดของการซื้อสโมสรฟุตบอลอังกฤษในขณะนี้ คือ การขายสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ซึ่งมีกระแสข่าวว่า นายเฮนรี่ หวง ผู้บริหารของบริษัทไชนีส อินเวสต์เมนต์ เป็นผู้กล้าหาญรายล่าสุดที่ประกาศขอซื้อสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล โดยได้รับการสนับสนุนในการเข้าซื้อจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้ของลิเวอร์พูล รอยัล แบ็งก์ ออฟ สก็อตแลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทางการเงินรายใหญ่ของลิเวอร์พูล
หากทำได้สำเร็จก็จะเป็นการถ่ายโอนความเป็นเจ้าของไปจากเจ้าของคนปัจจุบัน คือ ทอม ฮิกส์ และ จอร์จ ยิลเลตต์ ด้วยมูลค่าการขายราว 600 ล้านปอนด์

นายเฮนรี่ หวงเป็นผู้ที่มีชื่อในการติดต่อทางด้านธุรกิจกีฬาระดับสากลมานาน มีโครงการลงทุนทางการเงินในหลายโครงการกับบริษัทอเมริกัน และยังมีเครดิตดีขนาดจับมือกับรัฐวิสาหกิจของจีนในการถือหุ้นกิจการใหญ่อื่นๆ มาแล้ว

การลงทุนในสโมสรลิเวอร์พูลคราวนี้ บริษัทจีนแห่งนี้ได้ทำการขายหุ้นที่ถือในบริษัท มอร์แกน สแตนลีย์ออกไป เพื่อนำเงินสดไปวางให้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ว่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us