Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์9 สิงหาคม 2553
กลยุทธ์ 3 ปี ฟื้นกิจการ พลิกสถานะการเงินทีมเลสเตอร์             
 


   
search resources

Sports




เป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบปัญหาทางการเงินมาก่อนเช่นเดียวกับสโมสรฟุตบอลทีมอื่นๆ ของ อังกฤษ แต่ความสามารถในการบริหารจัดการอยู่ในเกณฑ์ดี จากการที่มีแผนระยะ 3 ปี เป็นตัวกำหนดทิศทางทั้งด้านการปรับสถานะทางการเงิน ทางธุรกิจ และผลงานการเงินของทีมดูจาก ประการแรก การที่สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ประสบความสำเร็จในฤดูกาล 2008-2009 ที่ผ่านมา จึงได้รับการปรับสถานะอัตโนมัติให้กลับไปอยู่ในกลุ่มแชมเปียนชิปได้ในที่สุด

ประการที่สอง สโมสรสามารถลดผลขาดทุนได้ถึง 57% จาก 6 ล้านปอนด์ ในปี 2009 และ 14 ล้านปอนด์ในปี 2008 มีความพยายามบริหารงานอย่างรอบคอบระมัดระวัง เมื่อมีการคาดหมายว่ายอดรับจะลดลง เนื่องจากรายรับจากการถ่ายทอดการแข่งขัน

ระดับรายรับรวมของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ได้ลดลงจาก 14.1 ล้านปอนด์ในปี 2008 เหลือ 10.9 ล้านปอนด์ในปี 2009 ขณะที่ค่าใช้จ่ายประจำของสโมสรก็ลดลง ทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับนักเตะ

ประการที่สาม ภาระหนี้สินของสโมสรแห่งนี้ก็ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิหลังหักหนี้สินหมุนเวียนดีขึ้นจาก 10.9 ล้านปอนด์ เป็น 16.1 ล้านปอนด์ และสินทรัพย์รวมสุทธิก็เพิ่มขึ้นจาก 5.5 ล้านปอนด์ เป็น 13 ล้านปอนด์

ประการที่สี่ ประธานของสโมสรได้อัดฉีดเงินก้อนใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงสโมสรเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านปอนด์

ในบรรดาผลประกอบการที่ดีขึ้นทั้ง 4 ประการข้างต้น ประเด็นที่ถือว่าทำให้สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ สามารถเรียกคืนภาพลักษณ์และชื่อเสียงได้ค่อนข้างมาก คือ ประเด็นเรื่องหนี้สินที่ลดลง ทั้งนี้เพราะแทบไม่มีสโมสรฟุตบอลอังกฤษรายใดเลยที่ทำได้ แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วเลสเตอร์ ซิตี้ จะยังเป็นสโมสรที่ประสบกับผลขาดทุนโดยรวมก็ตาม

นอกจากนั้น การที่รายรับโดยรวมของเลสเตอร์ ซิตี้ ลดลงไป ก็ไม่ใช่ว่าเกิดกับสโมสรนี้เพียงแห่งเดียว แต่เป็นผลกระทบจากความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นกับแทบทุกสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ และเป็นปัจจัยที่มาจากสภาพตลาดภายนอก ซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถในการควบคุมของสโมสรฟุตบอลเพียงรายใดรายหนึ่ง ทุกสโมสรจึงอยู่ในภาระจำยอมรับสภาพดังกล่าวอย่างไม่เต็มใจนัก

การลดลงของรายได้ยังอาจมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีขึ้นมากนัก แฟนคลับจึงพยายามประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ดูได้จากจำนวนผู้ชมลีกโดยเฉลี่ยเหลือ 20,250 คนจาก 23,500 คน ในฤดูกาลก่อนหน้า และยอดการขายตั๋วในช่วงฤดูกาลก็ลดลงเป็น 11,600 ใบ จาก 13,965 ใบ ในช่วงฤดูกาลแข่งขันช่วงก่อนหน้านั้น

ฝ่ายปฏิบัติการของสโมสรที่ถือว่าเป็นหัวหอกสำคัญของการปรับปรุงการดำเนินงานครั้งนี้และทำงานอย่างหนักในการพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถรักษาฐานรายได้ไว้เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงานโดยรวมลดลงได้ตามความคาดหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับนักเตะลดลงถึง 3.3 ล้านปอนด์ เหลือ 11.2 ล้านปอนด์ จาก 14.5 ล้านปอนด์ ในปีก่อนหน้า ขณะที่สโมสรสามารถผลักดันให้มูลค่าทางการตลาดของตัวนักเตะเพิ่มขึ้นได้ ด้วยการสนับสนุนนักเตะหนุ่มที่มีพรสรรค์ในการพัฒนาเป็นนักเตะมืออาชีพและสร้างผลงานในระดับที่เป็นเลิศได้





สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ บริหารจัดการเรื่องของการพัฒนานักเตะที่เป็นเด็กสร้างของตนเองอย่างเป็นรูปธรรม มีโปรแกรมที่ถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมทักษะฟุตบอลที่จัดให้เป็นการเฉพาะกับทีมคนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่นักเตะกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น

ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ อยู่ในเกณฑ์ที่โดดเด่นกว่าสโมสรฟุตบอลอังกฤษอีกหลายทีมก็คือ การให้ความสำคัญกับเรื่องของการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเอาจริงเอาจัง และการวางระบบควบคุมทางการเงินที่เข้มงวดเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าสโมสรจะกลับมาเป็นทีมที่มีความสามารถในการทำกำไรได้อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้แผนกลยุทธ์พลิกฟื้นกิจการ 3 ปีที่กล่าวมาแล้ว

การใช้สภาวะความเป็นผู้นำในการบริหารสโมสรได้อย่างเหมาะสมทำให้ทุกคนในทีมมีความผูกพันและพันธะสัญญาร่วมกันที่จะทำให้สโมสรได้รับการยอมรับให้อยู่ในกลุ่มที่มี เสถียรภาพทางการเงินและการดำเนินงานที่เป็นโมเดลทางธุรกิจฟุตบอลที่ยั่งยืน และใช้ปัจจัยดังกล่าวนี้เป็นการส่งเสริมและสร้างความก้าวกระโดดของสโมสรไปสู่ระดับของพรีเมียร์ลีก

สิ่งที่นักวิเคราะห์ทางการเงินและนักลงทุนพอใจต่อเลสเตอร์ ซิตี้ คือ การเน้นการวางแผนในระยะยาวแทนที่จะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ อย่างเดียว


จากงบการเงินจะเห็นว่า มูลค่าของสินทรัพย์ถาวรของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้า แม้ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิจะยังเป็นลบเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาระหนี้สินที่มีระยะครบกำหนดภายใน 1 ปี อยู่ในเกณฑ์สูงถึง 17.2 ล้านปอนด์ แต่สินทรัพย์สุทธิหลังจากหักภาระหนี้สินระยะยาว ถ้าเปลี่ยนจากที่เคยติดลบ 5.5 ล้านปอนด์ เป็นบวก 13.0 ล้านปอนด์

นอกจากนั้นผลขาดทุนสะสมทางบัญชีที่ยังมีจำนวนสูงมากถึง 26.7 ล้านปอนด์ แม้ว่าส่วนของผู้ถือหุ้นจะเป็นบวก 13.0 ล้านปอนด์ จากที่เคยติดลบ 5.5 ล้านปอนด์

ภาระหนี้สินที่มียอดหนี้คงค้างสูงน่าเป็นเหตุผลให้สโมสรแห่งนี้ต้องการแสวงหานักลงทุนที่จะสามารถอัดฉีดเงินเข้ามาช่วยเหลือเพื่อลดยอดหนี้ได้ตามเงื่อนไข   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us