|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
4 องค์ประกอบเปลี่ยนบริบทประเทศไทยมิติใหม่ ระบุต้องสร้างคน รู้ทันเทคโนโลยี ปัดฝุ่นส่งเสริมงานวิจัยเป็นระบบ พร้อมทะลายกำแพงความเหลื่อมล้ำทุกด้าน ชี้อย่าพอใจเป็นแค่ เป็น“ฐานการผลิต”เพราะอนาคตจะหาที่ยืนบนโลกการแข่งขันไม่ได้ รัฐบาลต้องเอาจริงส่งเสริมผู้ประกอบการายใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นฐานสู้กับต่างชาติ
ชูจีนเป็นตัวอย่าง
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาในงาน “ศาสตรจารย์สังเวียน ฟอรั่ม”ในหัวข้อ “พลิกบริบทประเทศไทย” (Transformation Thailand) จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย และ สมาคมศิษย์เก่าโครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหารว่า เมื่อเอ่ยถึงการเปลี่ยนแปลงประเทศ การพลิกบริบทของประเทศ ในปัจจุบันนี้ไม่มีใครจะเด่นเทียบเท่ากับประเทศจีน เมื่อสองทศวรรษที่แล้วเมืองจีนยังด้อยพัฒนาและคนยังยากจนอยู่มาก แต่วันนี้ประเทศจีนนั้นเริ่มประกาศตนว่าเป็นประเทศเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่อันดับสองของโลกไปแล้ว
วันนี้ประเทศจีนกลายเป็นความหวังของโลกที่จะช่วยฉุดเศรษฐกิจโลกมิให้ถดถอย มีการพัฒนาสูงในด้านวิทยาการ บ้านเมืองเจริญขึ้น มีมหานครขนาดใหญ่เกือน 50 มหานคร ไม่นับเมืองใหญ่น้อยอีกนับร้อยเมือง ที่สำคัญประเทศจีนในวันนี้เป็นสมาชิกของ WTO แม้เพิ่งจะเข้าไปได้ไม่นานแต่เป็นสมาชิกที่ทรงพลังอย่างยิ่งเพราะกุมเสียงของประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาจำนวนมาก ประเทศจีนเริ่มเข้าไปมีบทบาทมากในกลุ่มประเทส จี 20 กลายเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ควบคู่ปนะเทสสหรัฐในการกำหนดทิศทางของโลกในอนาคตข้างหน้า
บริบทใหม่เมืองไทยทำได้ถ้า....
เราลองมองดูประเทศเกาหลี เมื่อสี่สิบปีที่แล้วคนเกาหลีมีรายได้ประชาชาติต่ำกว่าร้อยเหรียญต่อปี ประชาชนไม่มีของที่จะกินต้องเก็บพืชกินตามภูเขาวันนั้นมองประเทศไทยแล้วมองกันไม่เห็นเลยเพราะเรานำเหนือเขามาก แต่ประเทศเกาหลีนั้นเขามีความมุ่งมั่นถีบตัวจากประเทสเกษตรกรรมไปสู่ประเทสอุตสาหกรรม
“วันนี้เปลี่ยนจากประเทศที่ต้องกูหนี้ยืมสินกลายเป็นประเทศที่ช่วยเหลือชาวโลกเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทำไมเขาทำได้เขาแย่กว่าเรา เรามีอะไรแย่กว่าเขา หรือมีอะไรที่เราสู้เขาไม่ได้นี่คือสิ่งที่น่าคิด นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาให้ฟังว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศเพื่อให้ได้พบสิ่งที่ดีขึ้นนั้นมันเป็นเรื่องที่ทำได้ หลายๆประเทศเขาก็ทำมาแล้ว”
แม้ประเทศอื่นๆที่เขาถีบตัวเองเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเราต้องยอมรับว่า หลายประเทศเขาเริ่มต้นจากจุดที่ย่ำแย่กว่าเราหลายเท่า ประเทศไทยเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมาเราต้องยอมรับว่าเราพัฒนามาไกลมาก บ้านเมืองดีขึ้น ทันสมัยขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครั้งหนึ่งเราถึงได้รับการขนานนามว่าเป็นเสือตัวใหม่ของเอเชีย เป็นเสาหลักทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาค ก็เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจไม่น้อย ถ้าถามว่าพอใจมั้ยก็ต้องตอบว่าพอใจแต่ไม่เพียงพอและไม่มั่นคงคงพอถ้าเราดูจากสภาพความเป็นจริงในวันนี้ว่าสถานที่แท้จริงขณะนี้โดยที่เราไม่ต้องหลอกตัวเอง สถานะของเรานั้นไม่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของบริบทใหม่ของโลกที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
“เราไม่ได้ยืนอยู่บนจุดแข็งที่เข้มแข็งพอและสามารถใช้จุดเด่นในอดีตเพื่อไปยืนอยู่ในโลกอนาคตต่อไปแล้ว อย่าไปฝัน อย่ามัวไปภูมิในในสิ่งซึ่งเป็นภาพลวงว่า จีดีพีนั้นก้าวกระโดดในรอบปีนั้นปีนี้ เมื่อต้นปีจีดีพีของสิงคโปร์โตกว่า 30 % เขายังไม่คุยเลยแล้วเราจะภูมิใจทำไม”
อย่างไรก็ตามหากเรามองความเป็นจริงลงไปในประเทศเราจะเห็นว่า จริงๆแล้วหลายสิ่งหลายอย่างยังต้องแก้ไข ถ้ามองประเทศไทยโดยบริบทใหญ่หากเราเป็นเสือเราก็ต้องอยากเป็นเสือที่จะทะยานไปข้างหน้าแต่เท้าเสือมันติดบ่วง ติดกับดักที่มันคอยฉุดไม่ให้เราก้าวกระโดดอย่างที่เราต้องการอย่างแท้จริง
สำหรับบ่วงนั้นมีหลายบ่วง ผมจะพูดเฉพาะสิ่งที่มันไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเอาเรื่องใหญ่ๆโดยเฉพาะบวงของบริบทแห่งโครงสร้างเศรษฐกิจในอดีตที่ไม่สามารถทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูงได้เลย เราก้าวไม่พ้นการมีเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำเพราะบริบทโครงสร้างแห่งอดีต
ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า วันนี้เราเองภูมิใจอยู่กับคำว่า จีดีพีเติบโต จีดีพีสูง คิดไม่เป็นหรืออย่างไรประเทสไทยเราเริ่มเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่สองเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วแต่หลายส่วนของประเทศยังอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้น้อยติดดินเหตุผลเพราะการผลิตของเรายังไม่พัฒนา เราไม่เพิ่มทักษะในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราไม่พยายามเพิ่มค่าของสินค้าที่เราผลิตได้ โครงสร้างพื้นฐานที่เราลงทุนเราลงทุนเพื่อเอื้อและมารองรับกับอุตสาหกรรมแบบ “แมนูแฟคตอริ่ง” การศึกษาเราเน้นพัฒนาแบบสกินเลเบอร์นั่นคือเพื่อการประกอบ เราใช้คำว่าต้นทุนเป็นตัวนำในการแข่งขัน เราเน้นการผลิตอุตสาหกรรมตามนโยบายที่ว่า “ผลิตเพื่อส่งออก” เมื่อเราภูมิใจอยู่แค่คำว่า “ศูนย์กลางการผลิต”ของอาเซียนแต่เราไม่สามารถยกราคาสินค้าให้สูงได้เพราะสิ่งเหล่านี้ มันจะต้องมาจากวิทยาการ การถ่ายทอดความรู้และประสบการร์ที่มี ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างแบรนด์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราต้องสร้างขึ้นมา
“ เราเป็นประเทศเกษตรกรรม เราภูมิใจว่าเราเป็นประเทศส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก จริงๆแล้วไม่มีความหมายเลย แต่เราต้องมาคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้ข้าวของเราเป็นข้าวราคาสูงได้เพื่อสรรค์สร้างคุณภาพชีวิตแห่งอนาคต ทั้งหมดคือความแตกต่างของความมุ่งมั่นและความสามารถของคนในประเทศไทยและประเทสเกาหลีวันนี้เราต้องยอมรับว่าเราสู้เขาไม่ได้แล้ว”
อย่างไรก็ตามถ้าหากเราจะเปลี่ยนเราต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนจากสังคมการผลิตไปสู่สังคมที่ต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความรู้ เทคโนโลยีก็คือความรู้
1. ระบบการศึกษา เราจะต้องสร้างคนให้คิดเป็น จินตนาการเป็น ทำอย่างไรนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักการศึกษาซึ่งเขารู้อยู่แล้วเพราะเมืองไทยมีดอกเตอร์ด้านการศึกษามากมาย
2.สนับสนุนและต้องเริ่มให้ความสนใจจริงจังให้กับวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยีต้องให้ความสนใจกับไอทีเพราะนั่นคือกระดุกสันหลังของสิ่งเหล่านี้ รัฐบาลต้องเอาจริงกับมันถ้าทำได้คุณจะมีบุคลากรที่มีแนวคิดคิดแล้วมีคุณค่าเพื่อนำมาสู่การผลิตและสร้างคุณค่าการผลิตได้ในระดับสูง
3.นอกจากเรื่องคนแล้วการเน้นในเรื่องของปัญญา โดยเฉพาะการวิจัยเป็นสิ่งที่เราละทิ้งมาโดยตลอดที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยมากโดยเฉพาะงบประมาณ ทำให้มหาวิทยาลัยของไทยทุกแห่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสอนไม่ใช่มหาวิทยาลัยเพื่อคิดสิ่งใหม่ๆทำอย่างไรเราถึงจะทำให้เกิดสิ่งนี้ได้เพราะมหาวิทยาลัยคือนวัตรกรรมแห่งบ่อเกิดสิ่งใหม่ๆ
4.เมื่อมีนวัตกรรมแล้วคนที่จะทำให้นวัตกรรมเหล่านี้มีคุณค่าผู้ประกอบการ ประเทศทั้งหลายนั้นต้องการสร้างผู้ประกอบการเป็นฐานใหญ่ ไม่ใช่มีเพียงแค่ไม่กี่บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศ การที่ต้องสร้างผู้ประกอบการเป็นกองทัพเพราะว่า ผู้ประกอบการคือผู้สร้างมูลค่าอย่างแท้จริง ซึ่งส่วนใหญ่คือบริษัทที่เกิดใหม่และบริสัทเหล่านี้คือฐานที่สร้างงานไม่ใช่บริษัทใหญ่ๆที่เคยมีอยู่ในอดีต
“ ลองดูว่า 4 องค์ประกอบที่พุดมานี้สำคัญหรือไม่ประเทศที่ทำให้เห็นมาแล้วคือสิงคโปร์เขาเององค์ประกอบมาผสมผสานกันจนเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ประเทศเขาก้พัฒนาอย่างที่เห็นรัฐบาลเขาเกื้อหนุนเต็มที่โดยเฉพาะงบประมาณผมมีความเชื่อว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบริบทของประเทศได้หากเราไม่ทลายกำแพงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความล้าหลังและการพัฒนาในชนบทด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการของประเทศ โดยเน้นการบริหารส่วนท้องถิ่น กระจายอำนาจให้แต่ละพื้นที่ปกครองตัวเอง มีอำนาจในการจัดการ บริหารการคลังของตัวเอง โดยส่วนกลางมีหน้าที่สนับสนุนงบประมาณและให้คำแนะนำเท่านั้น การบริหารแบบนี้ดูประเทศจีนเป็นตัวอย่างเขาทำให้สำเร็จ”ดร.สมคิดกล่าว
|
|
|
|
|