Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์9 กันยายน 2553
CSR ภาคราชการ จำเป็นต้องมีให้ได้             
 


   
search resources

Social




ในยุคปัจจุบันที่กระแสการยอมรับต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) เป็นไปอย่างกว้างขวาง

หลักความรับผิดชอบต่อสังคมจึงเป็นที่คาดหวังว่าทุกคนทุกหน่วยงานต้องมี โดยไม่จำกัดเฉพาะที่เป็นองค์กร หรือธุรกิจ (Corporate)

โดยเฉพาะหน่วยราชการและข้าราชการ จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบในการให้บริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง และมีคุณธรรมต่อประชาชนผู้ใช้บริการ ต่อหน่วยงาน และต่อสังคมและส่วนรวม ซึ่งถ้ามีคุณลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็น CSR ในระบบราชการ ก็จะนำไปสู่เป้าหมาย “ความยั่งยืน” ของสถาบัน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของราชการไทย นับว่าน่าสนใจจึงขอนำมาบอกต่อ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Strategy) มีความสำคัญในการพัฒนาระบบราชการซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมให้ส่วนราชการมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการดำเนินงานภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับดูแลตนเองที่ดี คำนึงถึงผลงานหรือบริการที่มีคุณภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ และมีผลเชิงบวกแก่ผู้รับบริการและสังคมโดยรวม ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน การใส่ใจ ดูแล รักษา ชุมชนท้องถิ่น สังคม สิ่งแวดล้อม และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีแก่หน่วยงานและภาครัฐโดยรวม

ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2555) นั้นได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ส่วนราชการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน (Social Responsibility) ซึ่งก็สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว

คำอธิบายวลี "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" จากรายงาน The Brundtland Report ของคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (World Commission on Environment and Development - WCED) (1987) ระบุว่า "คือการพัฒนาที่เพียงพอกับความต้องการของชนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างพอเพียงกับความต้องการของชนรุ่นต่อไปในอนาคต”


แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนา 3 ด้านอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่

เศรษฐกิจ – การผลิตสินค้าและบริการตามเป้าหมาย

สังคม – มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นธรรม เพื่อเป็นการนำไปสู่การสืบทอดวัฒนธรรม

สิ่งแวดล้อม – คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรมและให้ระบบสิ่งแวดล้อมมีความสามารถในการกลับคืนสู่สมดุล

การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นเป้าหมายที่จะเกิดขึ้นเมื่อการขับเคลื่อนองค์กร หรือการดำเนินงานคำนึงถึงความสมดุล 3 ด้าน มิใช่เพียงการทำกิจกรรมช่วยสังคมเช่นการบริจาค การทำบุญขององค์กร (Corporate Philanthropy)

การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาว จึงต้องเกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมขององค์กรและเกี่ยวข้องกับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร ซึ่งจะสร้างความผูกพันและตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง และสร้างผลในทางบวกต่อสังคม โดยการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ (accountability) และความโปร่งใส (transparency) ขององค์กร

ข้อคิด...

ผมให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่จะมีคุณค่าแก่ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะลูกค้าหรือประชาชน

ดังนั้น การปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการดำเนินงานก็ต้องยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยสรุปดังนี้
1)หลักประสิทธิผล (Effectiveness) เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ มีการวางเป้าหมายการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและสร้างกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2)หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพคุ้มค่าการลงทุนและบังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม รวมทั้งลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตลอดจนยกเลิกภารกิจที่ล้าสมัยและไม่มีความจำเป็น

3)หลักการตอบสนอง (Responsiveness) ต้องสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ ทำงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

4)หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ต้องมีการจัดระบบการรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและการให้คุณให้โทษ

5)หลักความโปร่งใส (Transparency) ต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา รวมทั้งต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้

6)หลักการมีส่วนร่วม (Partticipation) ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

7)หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ในการปฏิบัติงานควรมีการมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

8)หลักนิติธรรม (Rule of Law) ต้องใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ

9)หลักความเสมอภาค (Equity) ต้องให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งแยกถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล

10)หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ในการปฏิบัติงานต้องมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

การปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้จะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้เกี่ยวข้องและองค์กรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us