|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การเติบโตของอุตสาหกรรมการบินถึงขีดสุด สะท้อนผ่านความต้องการนักบินจำนวนมากทำให้ตำแหน่งนักบินขาดแคลนไปทั่วโลก ข่าวดังในรอบ 1-2 สัปดาห์ของสำนักข่าวต่างประเทศตีแผ่การเติบโตของสายการบินต่างๆ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้มีการเพิ่มเที่ยวบิน ขยายฝูงบิน ขณะที่สายการบินขนาดเล็กต้องปิดตัวลง เพราะไม่สามารถแข่งขันได้ จากการขนาดแคลนนักบิน และการซื้อตัวของนักบินโดยให้ราคาที่สูงลิ่ว
หันกลับมามองอุตสาหกรรมการบินในภูมิเอเชียแปซิฟิก ขณะนี้ประเทศ 2 มหาอำนาจอย่างจีน อินเดีย มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคพาณิชย์และการท่องเที่ยว การขาดแคลนนักบินจึงเป็นปัญหาอย่างหนักเช่นกัน ความต้องการนักบินของจีนสูงถึงปีละ 2,000 คน หรือกระทั่งอินเดียความต้องการกว่า 900 คนต่อปี ขณะที่จำนวนสถาบันการบินเพื่อผลิตบุคลกรรองรับใน 2 ประเทศดังกล่าวยังมีจำนวนน้อยและหลายแหล่งยังถูกมองเรื่องคุณภาพมาตรฐานหลักสูตร
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทุกภาคส่วนในประเทศไทยเล็งเห็นโอกาสที่ประเทศจะได้รับ ล่าสุดกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ได้ทำหนังสือเชิญหน่วยงานรัฐเอกชนในประเทศอินเดียที่ต้องการนักบิน เดินทางเข้าเยี่ยมชมสถาบันการบินไทยไทยและอยู่ระหว่างการตอบรับ เพื่อแสดงถึงศักยภาพการผลิตบุคลากรการบินในประเทศไทย ซึ่งหากมองในภาพรวมการฝึกนักบินไทยได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากที่ผ่านมานักบินไทยทำงานกับสายการบินนานาชาติ
ขณะที่สายการบินในประเทศไทยเองก็ขาดแคลนนักบินเช่นเดียวกัน (อ่านตารางประกอบ) เพราะปัจจุบันสถาบันการบินในไทยมีเพียง 5 แห่ง ประกอบด้วย 1.สถาบันการบินพลเรือน 2.วิทยาลัยการบินนานาชาติ (ICA) มหาวิทยาลัยนครพนม 3.บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (Bangkok Aviation Center , BAC) 4. สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต และล่าสุด 5. สถาบันฝึกอบรมด้านการบิน บริษัท การบินไทย จำกดั (มหาชน) (Thai Flight Training Academy- TFTA)
ทั้งนี้ พลอากาศเอกคธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา คณบดีสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ข้อมูลกับ ว่า เวลานี้อาชีพนักบินเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจอย่างมากและเป็นอาชีพที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะร่วมงานกับสายการบินต่างๆ รวมถึงสายการบินต่างชาติ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้สถาบันการบิน ม.รังสิต สถาบันผลิตบุคลกรด้านการบินเตรียมขยายหลักสูตรการบิน นานาชาติ ขึ้นในปี 2554 นี้ เพื่อรองรับความต้องการของนักบินทั่วโลก และเปิดว้างสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติที่ต้องการเข้าสู่อาชีพนักบิน ซึ่งพบว่าผู้เรียนกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ล่าสุด สถาบันได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในจีนทั้งในระดับมัธยมเพื่อส่งต่อผู้เรียนเข้าศึกษาสถาบันการบินในระดับปริญญาตรีตลอดระยะเวลาหลักสูตร 4 ปี และประสานกับมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนควบคู่ทั้งในประเทศนั้นๆ และในไปไทยหรือเป็นหลักสูตร 2+2 เมื่อจบสามารถได้รับปริญญาทั้ง 2 แห่ง ซึ่งความร่วมมือทั้ง 2 แบบนี้ประสานไปยังจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาวอีกด้วย
ด้วยมาตรฐานหลักสูตรของสถาบันการบิน ม.รังสิต ที่มีพันธมิตรคือ ษริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด เป็นผู้ฝึกภาคปฏิบัติซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่การบินไทยส่งนักบินมาฝึกบินนั้น ทำให้มาตรฐานนักบินจากสถาบันการบิน รังสิต มีมาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานนักบินการบินไทย ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมนับจากนานาประเทศทั่วโลก เพราะ 60% ของเส้นทางบินของสายการบินไทยบินเข้ากลุ่มประเทศอียูซึ่งมีมาตรฐานการบินสูงระดับสากล จึงทำให้โอกาสของผู้เรียนสามารถเป็นนักบินจากสายการบินนานาชาติได้ไม่ยาก
นอกจากนี้ พลอากาศเอกคธาทิพย์ ได้ฉายภาพแนวโน้มความสนใจของผู้เรียนที่สมัครเข้าเรียนยังสถาบันการบิน ม.รังสิต ว่า ปีนี้เป็นปีที่ 5 ที่สถาบันการบิน ม.รังสิตได้เปิดหลักสูตรการบิน รับนักศึกษาที่จบจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียน ซึ่งแต่ละรุ่นที่เข้าเรียนเฉลี่ย 50 กว่าคน ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 50 คนต่อปี และมีแนวโน้มของผู้เรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้มีจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นนั้น จากการรวบรวมข้อมูลผู้สมัครพบว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ ที่สูงเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นและในช่วงอายุใกล้เคียงกัน หรือเริ่มต้นเงินเดือนที่ 25,000 บาทเมื่อเป็นพนักงานฝึกบิน จากนั้นอีก 6-8 เดือน เป็นนักบินที่ 2 (Co-Pilot) ได้รับเงินเดือน 60,000-80,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่าเบี้ยเลี้ยง
จากนั้นระยะอีกประมาณ 6-8 ปี ก้าวสู่เป็นนักบินที่ 1 หรือกัปตันซึ่งจะมีรายได้กว่า 200,000 บาท สำหรับการบินขนาดใหญ่ หรือสายการบินทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 100,000 กว่าบาท ซึ่งขึ้นกับขนาดเครื่อง และระยะทางเส้นทางบินประกอบด้วย และเป็นอาชีพที่มีเกียรติได้รับการยอมรับในสังคม ขณะเดียวกันปัจจุบันราคาค่าเหล่าเรียนตลอดหลักสูตร 4 ปีที่สุดลงจาก 2.4 ล้านบาท อยู่ที่ 2.2 ล้านบาท จากการปรับลดชั่วโมงการบินของกรมการบินพาณิชย์ จาก 232 ชั่วโมงเหลือ 206 ชั่วโมง ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลง ประกอบกับอาชีพดังกล่าวนี้การันตีได้ว่าเมื่อจบไปสามารถมีงานทำได้ถึง 95%
“การเข้าอาชีพนักบินนั้นต้องยอมรับว่าทุกคนไม่อาจไม่ถึงฝั่งฝันกันทุกคนเพราะเมื่อเรียนถึงชั้นปีที่ 2 แล้วต้องสอบเพื่อได้รับการคัดเลือกฝึกบิน ซึ่งจำนวนนี้โอกาสกอาชีพในอนาคตคือนักบินเพราะนอกจาการสอบแล้วยังมีการสอบเรื่องความพร้อมของร่างกาย สภาพจิตใจและจิตวิทยาต่างๆ ซึ้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเป็นนักบินมืออาชีพในอตาคต และสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านนั้นยังสามารถเข้าสู่อาชีพด้านอุตสาหกรรมการบิน ธุรกิจการบินต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกี่ยวกับด้านการบินด้วยแต่ไม่สามารถเป็นักบินได้เท่านั้น ทำให้ไม่เสียเวลาในการเรียน” พลอากาศเอกคธาทิพย์ กล่าว
ด้วยเล็งเห็นความเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และความต้องการนักบินจากนานาชาติที่มีการลงทุนขยายฝูงบินจำนวนมากนั้น ทำให้การต้องการบุคลากรนักบินสูงขึ้นตามไปด้วย ด้วยความพร้อมของสถาบันและหลักสูตร รวมถึงการขยายความร่วมมือกับสถาบันการบินในต่างประเทศๆ เพิ่มเติม จากที่ผ่านมาได้ร่วมกับโรงเรียนการบินในประทศแคนาดา Gander Flight Training ในการส่งนักศึกษาฝึกบินกับสถาบันดังกล่าว โดยเป็นความร่วมมือในการส่งนักศึกษาไปฝึกบินเริ่มที่ 20% ของจำนวนผู้เรียนในแต่ละรุ่น และตามความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นหรือ 50 คนต่อปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้มหาวิทยาอัสสัมชัญ (เอแบค) ได้ร่วมกับ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน (Thai Flight Training Academy- TFTA) เปิดหลักสูตปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบิน หลักสูตร 4 ปี และเตรียมที่จะเปิดวิชาเลือกเสรีเพื่อเป็นแอร์โฮสเตสและสจ๊วต
สำหรับ TFTAเพิ่งได้รับหนังสือรับรองจากกรมการบินพลเรือน เมื่อ26 มีนาคมที่ผ่านมานี้ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมนักบินรูปแบบใหม่ โดยมีชื่อหลักสูตรว่า หลักสูตรนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน (Multi crew Pilot License-MPL) เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้เวลาในการฝึกอบรมสั้นลง มีความรู้พื้นฐานสูงขึ้นและตรงกับความต้องการของสายการบินต่างๆมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการนักบินพาณิชย์ในอนาคต ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งในส่วนของบริษัทการบินไทยเอง และในภูมิภาคเอเชียใต้ รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาตรฐานและข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ แห่งสหประชาชาติ และกรมการบินพลเรือน นอกจากร่วมกับสาถบันการศึกษาอย่างเอแบคแล้ว ในอนาคตขยายความร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ และมีแนวโน้มของการเปิดรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทเพื่อฝึกบินเครื่องเฉพาะรุ่นและเครื่องบินขนาดใหญ่อีกด้วย
|
|
|
|
|