|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เพิ่งเปิดตัวไปอย่างยิ่งใหญ่และฮือฮากันทั่วแอตแลนตา เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สวน “Edible Garden” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “Atlanta Botanical Garden” และเป็นสมาชิกใหม่ที่ชาวเมืองกำลังเห่อกันสุดๆ อาจจะเป็นเพราะอิทธิพลของการรณรงค์และผลักดันของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชล โอบามา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เป็นข่าวครึกโครมทั่วโลก เมื่อเธอเปิดบ้านพักต้อนรับเด็กๆ แล้วร่วมกันทำสวนครัวหลังบ้าน เอาไว้เก็บกินภายในครอบครัว เป็นการส่งเสริมให้ชาวอเมริกันกินผักเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น
ที่สำคัญโครงการมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐนี้ถือเป็นการ ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ได้คุ้มค่าอย่างยิ่ง เพราะเดิมบริเวณนี้เป็นลานจอดรถของสวนพฤกษศาสตร์แอตแลนตานั่นเอง เมื่อต้องการ พื้นที่สีเขียวและศูนย์รวมการเคลื่อนไหวด้านอาหารท้องถิ่นระดับแถวหน้าของประเทศ ลานจอดรถก็ถูกเนรมิตให้กลายเป็น “สวนกินได้” ด้วยมันสมองการออกแบบของ Tres Fromme แห่งบริษัท รับออกแบบ MESA สำนักงานอยู่ที่ดัลลัส
สวนกินได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ สวนแนวตั้ง สวนปลูกพืชแบบ crop-circle-like plantings และ ครัวกลางแจ้งซึ่งกลายเป็นเวทีสำหรับสาธิตการทำอาหารจากพืชผักสดๆ ที่ตัดเก็บมาจากสวนนั่นเอง
บริเวณทางเข้าของสวนจะเป็นแปลงปลูกต้นแอปเปิลป่า โดยปลูกหญ้า ไม้ล้มลุก และพืชประเภทหัวเอาไว้ใต้ต้นจนมีแต่สีเขียวขจีสดใส เมื่อเดินถึงหัวเลี้ยวแรกก็จะก้าวเข้าสู่สวนที่ออกแบบ โดยได้แรงบันดาลใจของ crop-circle อันประกอบด้วยวงกลมสามวงเป็นครั้งแรก
เริ่มต้นด้วย “อัฒจรรย์ผัก” ที่ได้ชื่อนี้เพราะพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ลาดชันโดยเริ่มจากทางเดินส่วนกลางแล้วค่อยๆ สูงชันขึ้นไปสู่ชั้นบนสุดซึ่งสวยงามตามธรรมชาติด้วยการปลูกไม้ผลให้เลื้อย เกาะไปตามกำแพงรั้ว ในฤดูใบไม้ผลิจะสดชื่นและสะดุดตาด้วยสีตัดกันของมัสตาร์ดแดง ผักกาดหอมเขียวสด และวิโอลาสีเหลืองอร่าม
วงกลมที่สอง ซึ่งอยู่ถัดไปเป็นการปลูกสมุนไพรให้มีลักษณะ เป็นผนังรูปโค้งยาวถึง 55 ฟุต ปลูกพืชกินได้หลากหลายมากถึงกว่า 2,000 ชนิด อาทิ เสจ ไธม์ โรสแมรี และลาเวนเดอร์ และวงกลมสุดท้ายเป็นครัวกลางแจ้งที่มีตะกร้าผักสดหลากชนิดแขวนไว้ให้เชฟรับเชิญที่มาสาธิตการทำอาหารหยิบได้อย่างสะดวก
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ครัวแห่งนี้กลายเป็นห้องแล็บด้านการทำ อาหารของนักวิทยาศาสตร์หรือเชฟมือทองของภูมิภาคนี้ไปเสียแล้ว พวกเขาต่างแวะเวียนกันมาสาธิตทำอาหารเพื่อสุขภาพด้วยความตื่นเต้น
Kevin Gillespie เชฟระดับนำและเจ้าของร่วมของบริษัท วูดไฟร์ กริลล์ ผู้ร่วมกิจกรรมทำอาหารสาธิตด้วยคนหนึ่งให้ข้อคิด อย่างน่าฟังว่า
“ถ้าคุณสามารถทำให้คนดูตื่นเต้นที่ได้เห็นผักสดๆ ที่เอามาปรุงอาหารได้ แน่นอนว่าคุณต้องทำให้พวกเขากระตือรือร้นกับการลงมือปลูกอาหารของตัวเองได้ และสวนกินได้แห่งนี้ก็ได้ทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์แบบ”
|
|
|
|
|