Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
ลืมแล้ว “เชียงอินทร์”... เหลือเพียง “D2 เชียงใหม่”             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงแรม D2

   
search resources

ดุสิตธานี, บมจ.
Hotels & Lodgings
โรงแรม D2
โรงแรมเชียงอินทร์




กว่า 5 ปีที่ “โรงแรม D2” แห่งแรกบนถนนช้างคลานของเครือดุสิตเปิดให้บริการ ทุกวันนี้ “D2” กลายเป็นโรงแรมในใจของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่ตั้งใจไปพักในเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับภาพและชื่อ “เชียงอินทร์” อดีตโรงแรมชื่อดังของเชียงใหม่ที่ค่อยๆ ถูกลืมเลือน ด้วยการตกแต่งและบริการที่ทันสมัยของ D2

โรงแรมสไตล์ลอฟต์เน้นโทนสีส้มสดใส ทำให้อาคารแลดูทันสมัย โรงแรม “D2” ตั้งตระหง่านอยู่บนถนนช้างคลาน ถนนที่ได้ชื่อว่ามีกระแสเงินสดจากการท่องเที่ยวสะพัดมากที่สุด ย่านหนึ่งของเชียงใหม่ โรงแรมยิ่งถูกขับให้ดูโดด เด่นขึ้นเมื่อตั้งอยู่ในทำเลท่ามกลางโบราณสถาน สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ประตูท่าแพ และไนท์บาร์ซา

ภายในล็อบบี้เพดานสูง ดูสะดุดตาด้วยเฟอร์นิเจอร์หวายทรงสวย และของประดับสีส้ม รวมทั้งดอกไม้ประดับเก๋ไก๋ เข้ากันกับความกิ๊บเก๋ ของเวลคัมดริงค์ที่เสิร์ฟมาในแก้วทรงแปลกที่ก้นแก้วไม่เรียบทำให้แก้วหมุนไปหมุนมาอยู่บนโต๊ะกระจกตลอดเวลา

ยิ่งเมื่อบวกกับอายุเฉลี่ยลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ ภาพบรรยากาศเหล่านี้ก็แทบจะทำให้หลายคนลืมไป เลยว่า D2 ตั้งอยู่บนโครงสร้างตึกเดิมของอดีตโรงแรมชั้นนำของเชียงใหม่ที่ชื่อ “เชียงอินทร์”

นอกจากโรงแรมเชียงอินทร์ บริเวณติดกันยังมีอดีตศูนย์การค้าชื่อดังของเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ศูนย์การค้าเชียงอินทร์ (เดิม) หรือที่นักท่องเที่ยวมักคุ้นเคยในชื่อ “เชียงอินทร์ พลาซ่า” โดยทั้งโรงแรมและศูนย์การค้าถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ของตระกูล “กิติบุตร” ตระกูลเก่าแก่คู่เมืองเชียงใหม่

สำหรับศูนย์การค้าเชียงอินทร์ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “เดอะพลาซ่า เชียงใหม่” และถูกเปลี่ยนมือกลายมาเป็นสินทรัพย์ของ “เสี่ยเจริญ” เจ้าสัวแห่งเบียร์ช้าง ขณะที่โรงแรมเชียงอินทร์ก็ถูกขายให้กับกลุ่มดุสิตเพื่อเปลี่ยนเป็น “D2” ทุกวันนี้ ตั้งแต่หลายปีก่อนนั้น

ประวัติการก่อสร้างโรงแรมเชียงอินทร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2514 โดยมีสถาปนิกผู้ออกแบบ ได้แก่ จุลทัศน์ กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) สาขาย่อยสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย) แห่งปี 2547 โดยเริ่มเปิดให้บริการในปี 2517 ว่ากันว่า ในช่วงเริ่มต้นกลุ่ม

กิติบุตรได้เปิดโอกาสให้กลุ่มว่องกุศลกิจเช่าที่ดินตรงนี้เพื่อก่อสร้างและดำเนินกิจการโรงแรมเชียงอินทร์แห่งนี้

ด้วยความใหญ่โตโอ่อ่าของตัวสถาปัตยกรรม จึงไม่แปลกที่ในยุคนั้น โรงแรมเชียงอินทร์ จะกลายเป็นโรงแรมชั้นนำชื่อดังของเมืองเชียงใหม่ แต่เมื่อผ่านกาลเวลาไปหลายสิบปีชื่อเสียง ของโรงแรมเชียงอินทร์ดูจะค่อยๆ ถูกลบเลือนออกจากใจนักท่องเที่ยว

และแทบไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวยุคหลังที่มีความต้องการมากกว่า และมอง “โรงแรม” เป็นมากกว่าแค่ที่ซุกหัวนอนในแต่ละคืน

ด้วยทำเลบนถนนช้างคลานที่ถือว่ามีศักยภาพอย่างสูง กลุ่มดุสิตจึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเลในการทุ่มทุนร่วม 600 ล้านบาท เพื่อซื้อโรงแรมเชียงอินทร์เดิมและนำมาปรับปรุงใหม่เกือบ ทั้งหมด โดยใช้ทีมงานมืออาชีพอย่าง “P49” เข้ามาช่วยดูแลในการก่อสร้างและตกแต่งใหม่ โดยใช้โครงสร้างหลัก ของตึกเดิม แต่เน้นปรับปรุงและเปลี่ยน แปลงการตกแต่งภายใน

สิ่งที่ปรับเปลี่ยนหลักๆ ได้แก่ ล็อบบี้ใหม่ที่โปร่งโล่ง และต่อเนื่องไปยังบาร์และห้องอาหาร ผนังกระจกรับแสงเพื่อให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง ชั้นใต้ล็อบบี้จากเดิมที่เคยเป็นดิสโก้เธค ปรับปรุงเป็นห้อง ประชุมที่มีหน้าต่างรับแสงและบ่อน้ำขนาดเล็กเพื่อบรรยากาศผ่อนคลาย พื้นที่ชั้น 3 ปรับ เป็นพื้นที่ของสปา พื้นที่ชั้น 7 ตกแต่งเป็นคลับเลาจน์ที่มีหน้าต่างเป็นกระจกขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่และดอยสุเทพ และพื้นที่ชั้น 10 ชั้นบนสุดของโรงแรมก็ปรับเป็นเฮลท์คลับเพดานสูง ผนังกระจกรอบทิศ เป็นต้น

ขณะที่ห้องพักแขกถูกปรับเปลี่ยนและตกแต่งใหม่ ใช้เฟอร์นิเจอร์บิลต์อินเพื่อให้เกิด พื้นที่ใช้สอยคุ้มค่า ห้องน้ำผนังกระจกใสเพื่อความรู้สึกโปร่งและเป็นกิมมิค นอกจากนี้ยังมีโซฟาเดย์เบดขนาดใหญ่ยิ่งเพิ่มความทันสมัย

ในปี 2548 อาคารเก่าหลังนี้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในรูปแบบใหม่ที่สดใสกว่า เดิมในรูปแบบของโรงแรมสไตล์ฮิพ (Hip Hotel) ซึ่งช่วงเวลานั้นตัวเมืองเชียงใหม่ยังไม่มีโรงแรม 4-5 ดาวผุดขึ้นมาเยอะเช่นปัจจุบัน ...ความโดดเด่นของคอนเซ็ปต์ใหม่ของ “D2” จึงจับตานักท่องเที่ยวที่ผ่านไปพบเห็นและกลายเป็น talk-of-the-town ในเวลาไม่นาน

นัยของการลงทุนของกลุ่มดุสิตครั้งนี้ นอกจากเพื่อชัยภูมิที่ดีในแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับโลกอย่างเชียงใหม่ เครือดุสิตยังใช้โอกาสนี้เปิดตัวแบรนด์ใหม่คือ “D2” ซึ่งมีคอนเซ็ปต์ แตกต่างและชัดเจน นั่นคือเป็นโรงแรม 5 ดาวกึ่งบูติก เพื่อตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ทันสมัย ของคนรุ่นใหม่ แต่แฝงกลิ่นอายความเป็นไทยสไตล์ดุสิตธานี และบริการที่เป็นกันเองแบบค่อนข้างสนุกสนานตามสไตล์คนไทย

ตรงตามความหมายของแบรนด์ ที่ D ตัวแรกต้องการสื่อถึงความเป็น “ดุสิตธานี” ส่วนตัวเลข “2” เพื่อหมายถึงเจเนอเรชั่นที่ 2 ของเครือดุสิต

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจโรงแรมมากว่า 30 ปี กลุ่มดุสิตย่อมรู้ดีว่า เพียงแค่เปลี่ยนการตกแต่งภายนอกและภายในไม่พอที่จะ “ซื้อใจ” นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ การรีโนเวตครั้งนี้จึงหมาย รวมถึงการปรับปรุงบริการแบบไม่เห็นเค้าเดิม

เริ่มตั้งแต่ชุดพนักงานที่ถอดทิ้งความเป็น ทางการมาเป็นดีไซน์ที่ทันสมัยและทะมัดทะแมง ออกแบบโดยเกรย์ฮาว การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริการ บวกกับความเป็นกันเองที่เพิ่มขึ้น ทว่ายังคงมาตรฐานบริการในแบบของดุสิตไว้ทุกกระเบียดนิ้ว หรือแม้แต่การสร้าง ความประทับใจหลังการเข้าพักด้วยการส่งอีเมลถึงแขกแทบจะทันทีที่แขกเช็กเอาต์ เหล่านี้ ล้วนเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้ “ได้ใจ” คนรุ่นใหม่...แต่โรงแรมยุคเก่าหลายแห่ง ยังไม่เห็นความสำคัญ

ทั้งนี้ โรงแรมเชียงอินทร์อาจเป็นตัวอย่างของโรงแรมรุ่นเก่าที่ปรับตัวไม่ทันจนต้อง ล้มหายไป แต่ก็ปิดตำนานด้วยอายุกว่า 30 ปี ทว่า ท่ามกลางกระแสการแข่งขันที่รุนแรง ขึ้นทุกวัน อาจมีโรงแรมใหม่หลายแห่งที่ต้องปิดตัวลงก่อนเวลาอันควร หากผู้บริหารยังลังเลที่จะลุกขึ้นมาปรับตัวให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ และยังไม่กล้าพอที่จะสร้างสรรค์ความแตกต่างขึ้นมาเป็นจุดขายให้ตัวเอง

โดยเฉพาะในสนามเมืองเชียงใหม่ ที่เรียกได้ว่า การแข่งขัน ณ ตอนนี้ เบียดแน่นแล้วทุกตารางนิ้ว...ราวกับว่าจะหาพื้นที่ว่างได้ก็ต่อเมื่อคนเก่าต้องถูกถอดออกจากเกมไปเสียก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us