Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536
ยุโรป : ขุมทองเคเบิ้ลทีวีสหรัฐฯ ในศตวรรษที่ 21             
 


   
search resources

News & Media




ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทผลิตรายการโทรทัศน์สหรัฐฯ หลายราย ได้จับมือกันเข้าไปขยายเครือข่าย และสร้างฐานลูกค้าในยุโรปมากขึ้นกว่าแต่ก่อน สาเหตุหนึ่งมาจากตลาดในประเทศเริ่มอิ่มตัวแล้ว และสถานีที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จมากสุด ได้แก่ เอ็มทีวีของเวียคอม เนื่องจากเน้นหนักรายการเพลงป๊อป ซึ่งสามารถเจาะกำแพงวัฒนธรรมยุโรปได้ไม่ยากนัก

"เอ็มทีวีมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ทั่วโลก" บิลล์ โรดี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของเอ็มทีวี สถานีผลิตรายการโทรทัศน์ของสหรัฐฯ ประจำยุโรป กล่าว ปัจจุบัน เอ็มทีวีสามารถถ่ายทอดรายการของตนให้กับผู้ชมจำนวนเกือบ 120 ล้านครัวเรือนทั่วยุโรปได้ชมอย่างเต็มอิ่มและภายในปีหน้า เอ็มทีวียุโรปเชื่อว่า ตนจะกลายเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายการถ่ายทอดรายการใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้าเอ็มทีวีในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสถานีแม่เลยทีเดียว

ในช่วงที่ผ่านมา บริษัททีวีของสหรัฐฯ เริ่มทะลักเข้าไปขยายเครือข่ายในยุโรปมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเจริญรอยตามความสำเร็จของเอ็มทีวี เคเบิ้ลนิวส์ เน็ตเวิร์ค (ซีเอ็นเอ็น) และอีเอสพีเอ็น นักวิเคราะห์รายหนึ่ง กล่าวว่า อีกหน่อยชาวอังกฤษก็คงสามารถรับคลื่นโทรทัศน์จากรายการของนิกเกลโอดีออนในสหรัฐฯ ได้ ส่วนชาวสวีเดนก็จะมีรายการน่ารัก ๆ อย่าง "ครอบครัวฟลินต์สโตน" ให้ดูกันเต็มอิ่ม ขณะที่คิววีซี บริษัทสหรัฐฯ ที่ให้บริการช้อปปิ้งทางโทรทัศน์ก็มีแผนจะร่วมทุนกับรูเพิร์ต เมอร์ดอด เจ้าของกิจการสื่อยักษ์ใหญ่ชาวออสเตรเลีย ให้บริการเสนอขายเครื่องเพชรลดราคาทางโทรทัศน์ทั่วยุโรปเช่นกัน

ในประเทศใกล้อิ่มตัว

ที่สถานีโทรทัศน์ของสหรัฐฯ เริ่มรุกเข้าไปในยุโรปมากขึ้น ในช่วงที่ผ่านมาก็เพราะตลาดเคเบิ้ลทีวีในสหรัฐฯ เริ่มถึงจุดอิ่มตัวแล้วนั่นเอง ตรงข้ามกับตลาดในยุโรปที่โตขึ้นถึง 10% ในปีที่แล้วเป็น 33 ล้านครัวเรือน และเมื่อเร็วๆ นี้ แอสตร้าของลักเซมเบิร์กเพิ่งจะยิงดาวเทียมดวงที่ 3 ขึ้นไปเสริมประสิทธิภาพการส่งสัญญาณของบริษัท ปัจจุบันแอสตร้ามีจำนวนสมาชิกถึง 12 ล้านคนด้วยกัน จากแค่ 2 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ส่วนทีเอ็นที แอนด์ การ์ตูน บริษัทในเครือของเทอร์เนอร์ บรอดคาสติ้งซิสเต็มของสหรัฐฯ ก็มีแผนจะนำภาพยนต์ของเครือเอ็มจีเอ็ม และการ์ตูนของบริษัทฮานนา บาร์เบอร์รา โปรดักชั่น มาออกอากาศทั่วยุโรปในเดือนกันยายนหน้านี้ โดยอาศัยดาวเทียมของแอสตร้าเป็นตัวส่งสัญญาณ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างบรรดาบริษัทโทรทัศน์ด้วยกันที่เข้าไปลงทุนในยุโรป เอ็มทีวียุโรปดูเหมือนจะมีภาษีดีกว่าใคร เนื่องจากเสนอรายการสำหรับวัยรุ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะที่ติดกันงอมแงมที่สุด เห็นจะเป็นรายการเพลงป๊อป ซึ่งสามารถทะลุทะลวงกำแพงวัฒนธรรมของแต่ละชาติได้ง่ายกว่ารูปแบบรายการประเภทอื่น ในขณะที่อีเอสพีเอ็นต้องประสบปัญหาในการโปรโมทตัวเอง แถมยังต้องต่อสู้แงชิงหาโฆษณาเข้ารายการมาตลอด 4 ปี จนในที่สุดก็ต้องรวมตัวกับยูโรสปอร์ตของฝรั่งเศส เพื่อความอยู่รอด ส่วนดิสคัฟเวอร์รีชาแนล ยุโรปซึ่งเริ่มให้บริการตั้งแต่ในปี 1989 เป็นต้นมา ก็คาดว่ากว่าจะคุ้มทุนก็ต้องปาเข้าไปถึงปี 1996 ถึงแม้จะมีจำนวนผู้ชมถึง 3 ล้านคนด้วยกันทั้งในอังกฤษและสวีเดน

ยึดหัวหาดอังกฤษ

สถานีของสหรัฐฯ ส่วนมากมักจะรุกเข้าไปในอักกฤษเป็นแห่งแรก เพราะมีระบบถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ผ่านทางดาวเทียมของมหาเศรษฐีเมอร์ดอดที่เรียกว่า "บีสกายบี" รองรับอยู่แล้ว ซึ่งในขณะนี้ บีสกายบีมีฐานลูกค้าอยู่เป็นจำนวนถึง 2.8 ล้านครัวเรือน และมีกำไรสูงถึง 2.3 ล้านดอลลาร์ต่อสัปดาห์ หลังจากเคยขาดทุนเป็นเงินถึง 2,600 ล้านดอลลาร์ ในระยะแรก ๆ ของการลงทุน ในฤดูใบไม้ร่วงหน้า บีสกายบียังมีกำหนดจะถ่ายทอดรายการเพิ่มอีก 10 ช่อง ซึ่งรวมถึงรายการของนิคเกิลโอเดียน แฟมิลีชาแนล บราโว และดิสคัฟเวอร์รี ให้ชาวยุโรปได้รับชมพร้อม ๆ กัน แน่นอนนั่นหมายถึงค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ชมย่อมเพิ่มขึ้นด้วยเป็นเงาตามตัว

แสวงหาพันธมิตร

ในอนาคต บริษัทเคเบิลทีวีของสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะต้องหาบริษัทร่วมทุนในยุโรปเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาคมยุโรป (อีซี) ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า รายการโทรทัศน์ต่าง ๆ ที่ออกอากาศในยุโรปจะต้องเป็นรายการที่ผลิตโดยบริษัทในประเทศนั้น ๆ 50% ประการนี้บีสกายบีของเมอร์ดอดได้เตรียมการรับมือไว้แล้ว โดยจะร่วมมือกับคิววีซีและนิคเกิ้ลโอเดียน ผลิตรายการออกสู่สายตาคนดูชาวอังกฤษ ส่วนนิคเกิลโอเดียนก็กำลังมองหาบริษัทร่วมทุนของเยอรมนีเพื่อหาทางรุกตลาดโทรทัศน์เยอรมนีเช่นกัน

การแข่งขันในตลาดรายการโทรทัศน์ในยุโรปและสหรัฐฯ ไม่ได้หยุดอยู่แค่การขยายเครือข่ายหรือหาโฆษณาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบริษัท เวลานี้ นิวส์คอร์ปของเมอร์ดอคและกานาล พลูส สถานีโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก (PAY TV) ยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสกำลังคิดค้นเทคโนโลยีระบบถ่ายทอดรายการแบบดิจิตัลอยู่ ที่จะช่วยให้บริษัทสามารถขยายกำลังการผลิตและการถ่ายทอดรายการผ่านดาวเทียมขึ้นเป็น 4 เท่าจากในปัจจุบัน คงจะไม่เป็นที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด หากในอนาคตจะมีคนมาบอกคุณว่า ที่บ้านของเขาสามารถดูรายการโทรทัศน์ได้พร้อมกันทีเดียวถึง 500 ช่องจากโทรทัศน์เพียงเครื่องเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us