Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2544
IT one             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

Technology Vision ชุมพล ณ ลำเลียง

   
www resources

โฮมเพจ เอคเซนเชอร์
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
IT One Homepage

   
search resources

เครือซิเมนต์ไทย
แอนเดอร์เช่น คอนซัลติ้ง
เอคเซนเชอร์
ไอทีวัน, บจก.
ชุมพล ณ ลำเลียง
E-Commerce
Consultants and Professional Services




แนวคิดนี้แม้ไม่ใช่แนวคิดใหม่สำหรับเครือซิเมนต์ไทยทั้งหมด หากแต่มีการพัฒนาทางความคิดจาก Hardware ไปสู่ Software ให้สอดคล้องกับยุคภายใต้แรงกดดัน และสถานการณ์ทางธุรกิจต่างๆ ที่แตกต่างกันในช่วงประมาณ 10 ปีเท่านั้น

คงจำกันได้ว่าในปี 2530 บริษัทเอสซีทีคอมพิวเตอร์ก่อตั้งขึ้น ในฐานะเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มเป็นหลัก หลังจากที่เครือซิเมนต์ไทย เป็นลูกค้าไอบีเอ็มรายใหญ่มาช่วงหนึ่ง ในราวปี 2525-2526 ด้วยการติดตั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสำนักงานขาย 50 เคริ่องแรก จากนั้นมาคอมพิวเตอร์พีซีไอบีเอ็มก็ถูกซื้อมากขึ้นเพื่อพัฒนาเครือข่ายและระบบการจัดจำหน่ายกับดีลเลอร์ กว่า 500 แห่งทั่วประเทศ พร้อมการปรับปรุงระบบภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นองค์กรธุรกิจที่ใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุดในสังคมไทยก็ว่าได้ และเริ่มพัฒนาระบบกันอย่างขนานใหญ่ ในช่วงปี 2525-2531

แนวคิดที่ว่าเครือซิเมนต์ไทยได้ตัดสินใจเลือกสินค้าจากบริษัทไอบีเอ็มอย่างมั่นคงแล้ว ก็เลยตัดสินใจตั้งบริษัทเพื่อขึ้นมาขายสินค้านี้เสียเอง ด้วยเหตุผลทางธุรกิจที่พอฟังขึ้นอย่างน้อย 2 ประการ

‘ เพื่อจะได้ซื้อสินค้าได้ในราคาถูกลง ในฐานะที่เป็นดีลเลอร์

‘ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะในการบริการ และพัฒนาเทคนิคเฉพาะด้านบางอย่าง บางระดับขึ้นมา เพื่อตอบสนองการบริหารเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากไอบีเอ็ม มีต่อดีลเลอร์ย่อมมีมากกว่าสำหรับลูกค้าทั่วไป

ครั้นเมื่อการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ภายในเครือซิเมนต์ไทยลดความสำคัญลง หรือพัฒนาไปในช่วงอิ่มตัวพอสมควร ก็ปรากฏว่าบริษัทเอสซีทีคอมพิวเตอร์ ไม่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดเท่าที่ควร ในช่วงที่ต้องพัฒนาธุรกิจเพื่อค้าขายในตลาดที่มีการแข่งขันสูงอย่างแท้จริง

ในที่สุดในปี 2533 เครือซิเมนต์ไทยได้ตัดสินใจขายกิจการบริษัทเอสซีทีคอมพิวเตอร์ออกไป

เครือซิเมนต์ไทยให้เหตุผลว่าไม่ถนัด และไม่อยู่ใน manufactoring business (ในหนังสือ Information of Memorandum 1998 ยังเขียนไว้ว่าการขายกิจการครั้งนั้น เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นกับธุรกิจการผลิตเป็นหลัก) บางคนบอกว่า ภารกิจของเอสซีทีที่คิดไว้แต่แรก สำหรับเครือซิเมนต์ไทยจบลงแล้ว ในช่วงพัฒนาเครือข่าย และใช้คอมพิวเตอร์พีซีมากสำหรับทำให้เกิด Computerization ในองค์กรขนาดใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น บรรดานักคอมพิวเตอร์ของเครือซิเมนต์ไทยที่มีนับร้อยคนเป็นที่รวมของบรรดาผู้เรียนจบ Computer Science ของเมืองไทยรายใหญ่ที่สุด และได้คัดเอาหัวกะทิมาไว้ที่นี่ มีความเชื่อมั่นว่าสามารถจะพัฒนาระบบของตนเองขึ้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยภายนอกเลยก็ได้ นับเป็นความเชื่อมั่นที่สูงมาก นอกจากนี้การขายกิจการครั้งนั้น นับว่าเป็นการขายในราคาที่ดีพอสมควรทีเดียว ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่า เอสซีทีคอมพิวเตอร์ อยู่ในสภาพที่ต้องปรับตัวอย่างหนักกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนไม่อยู่ในฐานะที่มีความสามารถใน การแข่งขันได้เท่าใดนักในปัจจุบัน แล้วไอเดียทำนองเดียวกันนั้น ก็ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่งเมื่อ เครือซิเมนต์ไทยตัดสินใจตั้งบริษัทบริการและพัฒนาระบบงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมา เมื่อปลายปี 2543 โดยบริษัทใหม่ตั้งชื่อว่า ไอทีวัน (IT one) ซึ่งมีทั้งความเหมือน และความแตกต่างกับ กรณีเอสซีทีคอมพิวเตอร์ Andersen Consulting (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Accenture-อ่าน profile ในล้อมกรอบ) เข้ามาสัมพันธ์กับเครือซิเมนต์ไทย ในฐานะที่ปรึกษา แตกต่างจากไอบีเอ็มในฐานะผู้ขายคอมพิวเตอร์ ในช่วงที่เครือซิเมนต์ไทยกำลังเปลี่ยนแนวคิดจากการพัฒนาระบบของตนเองอย่างจำกัด มาใช้และเรียนรู้ระบบของธุรกิจระดับโลก Accenture ซึ่งมีความพร้อมและได้รับเลือกให้ทำงานกับเครือซิเมนต์ไทยในระยะ 2-3 ปี ถึง 3 ครั้ง และจากการประเมินของทีมงานและชุมพล ณ ลำเลียง คาดว่า Accenture จะเป็นที่ปรึกษากับโครงการที่เครือซิเมนต์ไทยกำลังพัฒนากิจการไปสู่ E-Business อย่างเต็มกำลังภายในเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ย่อมจะมีสัญญาว่าจ้าง ที่ปรึกษาในโครงการต่างๆ ที่ต่อเนื่องอีกมากมาย ในเวลาเดียวกัน เครือซิเมนต์ไทยก็มั่นใจว่า Accenture คือ บริษัทที่ปรึกษาที่ชำนาญ ด้านนี้มากที่สุดในโลกรายหนึ่ง

แนวคิดตั้งบริษัทร่วมทุน 50/50 ระหว่างเครือซิเมนต์ไทยกับ Accenture จึงเกิดขึน

ชุมพล ณ ลำเลียง ให้เหตุผลในวันแถลงเมื่อเดือนตุลาคม 2543 ไว้สั้นๆ ว่า

"วัตถุประสงค์การร่วมทุนกับแอนเดอร์เซ่นฯ เนื่องจากเครือซิเมนต์ไทย ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพไอที และคอมพิวเตอร์ในเครือฯ เอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจของเครือซิเมนต์ไทย ให้เข้าสู่ยุคไอที และอินเทอร์เน็ตให้เร็วยิ่งขึ้นกว่าที่เราจะทำเองได้"

ในเรื่องของต้นทุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือซิเมนต์ไทยมองได้ 2-3 มิติ

หนึ่ง-ต้นทุนที่ต้องจ่ายเป็นเงินลงทุนจริง การร่วมทุนจะทำให้ต้นทุนโดยรวมถูกลง เพราะต้นทุนสำคัญอยู่ที่บุคลากร ซึ่งส่วนใหญ่มากกว่า 80% ย้ายจากหน่วยงานไอที และฝ่ายพัฒนาระบบการตลาดของเครือซิเมนต์ไทยประมาณ 250 คน ไปอยู่บริษัทใหม่ ค่าใช้จ่ายช่วงแรกของเครือซิเมนต์ไทยในฐานะผู้ถือหุ้น 50% ของบริษัทใหม่คงจะมาก เนื่องจากการเริ่มต้นโดยเฉพาะเงินเดือนพนักงาน และค่าเช่าสำนักงานที่ต้องการการทำงานเอกเทศ ภายใต้สิ่งแวดล้อมใหม่ ที่ไม่ใช่เครือซิเมนต์ไทยปัจจุบัน เท่าที่ทราบจะย้ายไปอยู่สำนักงานใหม่อาคารทิปโก้ในราวเดือนเมษายนนี้

นอกจากนี้เครือซิเมนต์ไทย จะต้องจ่ายค่าจ้างที่มีลักษณะ project basis แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะไม่แพงเท่าฝรั่งซึ่งถือเป็นคนส่วนน้อยก็ตาม แต่ก็ถือว่ามากพอสมควร "เราคงต้องมาตรฐานชาร์จแบบไทยๆ" ชุมพล ณ ลำเลียง ผู้จัดการใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย บอก "ผู้จัดการ"

อย่างไรก็ตามเขาก็ย้ำว่า "เราคุยอยู่ว่าร่วมทุนกันคนละ 50% ถ้าได้กำไรก็จะได้คืนมากึ่งหนึ่ง"

เจ้าหน้าที่ที่รู้เรื่องดีบางคนบอกว่า ค่าใช้จ่ายในตอนแรกคงมีการชาร์จไปยังเครือซิเมนต์ไทย ค่อนข้างมากกว่าปกติ เนื่องจากในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็คงน้อยลงตามลำดับ อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายเชื่อว่า โดยรวมแม้จะพิจารณาการลงทุนตัวเงินก็นับว่าเป็นการลงทุนที่ใช้เงินมากกว่าโดยวิธีจ้างที่ปรึกษาโดยปกติก็ตาม

สอง-ต้นทุนในการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมาก สำหรับทีมงาน 250 คน จากเครือซิเมนต์ไทยที่จะต้องเรียนรู้ให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโน โลยี

สาม-กิจการใหญ่ทั่วโลกเริ่มใช้วิธีเดียวกันนี้ เพื่อจะได้รับบริการที่ดี จากผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาคนของตนเองเพื่อให้พัฒนาเทคโนโลยี ของตนเองนั้นเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้ว

"เรามองในแง่ IT เราอยู่ในเมืองไทย สภาพแวดล้อม ความรู้จะปรับปรุงให้ เป็นบริษัทชั้นนำในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าเราจะไม่ได้เลวร้าย แต่เมืองไทย rank ด้านไอทีต่ำ สุดท้ายเราจึงตัดสินใจที่จะร่วมทุน" ชุมพล ณ ลำเลียง กล่าว ซึ่งดูเหมือนเขาจะให้ความสำคัญในการพัฒนาความรู้ความสามารถของคนในเรื่อง IT มากเป็นพิเศษ

โครงสร้างการจัดการทั่วไป คนจากเครือซิเมนต์ไทยคงจะดูแลกันเองเป็นส่วนใหญ่ โดยมีกรรมการบริหารในฝ่าย Accenture ร่วมด้วย ทั้งนี้งานด้านพัฒนาจะใช้ Project Basis โดยทาง Accenture จะส่งคนที่มีความชำนาญเฉพาะจากทั่วโลก มาร่วมในแต่ละ project มาทำงานร่วมกัน ทำให้ทีมงานคนไทยจากเครือซิเมนต์ไทย ได้เรียนรู้ไปด้วย นับเป็นการเรียนรู้ที่ดีมากวิธีหนึ่ง

ในเบื้องต้นทุกคนมุ่งพัฒนางานตามเป้าหมายในการปรับรื้อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขนานใหญ่ต่อเนื่องไปสู่เป้าหมายการสร้างระบบ Supply chain Management ทั้งในเครือฯ และ partner ต่างๆ ไปสู่เป้าหมาย E-Commerce อย่างสมบูรณ์แบบในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us