Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
ธุรกิจที่ต้องเสี่ยงกับทัศนคติ ควาย...ควาย             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

Murrah Farm Homepage

   
search resources

SMEs
Dairy Product
Murrah Farm
รัญจวน เฮงตระกูลสิน




คนไทยยกย่องควายเสียเลอเลิศว่ามีบุญคุณปลูกข้าวให้เรากิน ขณะเดียวกันก็เหยียบย่ำควายเสียจมดิน ด้วยการเปรียบคนว่าโง่เหมือนควาย นั่นคือความรู้สึกสองด้านที่ต่างกันสุดขั้ว มีทั้งยกย่องและไม่แตะต้อง

แม้ว่าคนไทยกับควายจะอยู่กันมานานแค่ไหน ประเทศไทยก็ไม่เคยพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวกับควายเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ เพื่อขายเนื้อหรือขายแรงงาน จะมีก็แต่ชาวนาจำนวนน้อยเท่านั้นที่ยังคงเลี้ยงควายไว้เป็นเพื่อนร่วมงาน ซึ่งสิ่งที่ควายตอบแทนให้ชาวนาได้จนวาระสุดท้ายก็คือ การขายร่างเป็นเนื้อเพื่อแลกเงินก้อนสุดท้ายให้ชาวนา

“เศรษฐีเลี้ยงวัว มีแต่ชาวนาที่เลี้ยงควาย เรียกว่าวัวอยู่ในมือเศรษฐี แต่ควาย อยู่ในมือคนจน เมืองไทยจึงไม่เคยมีธุรกิจเกี่ยวกับควายอย่างจริงจังมาก่อน”

รัญจวน เฮงตระกูลสิน เจ้าของและผู้บุกเบิกมูรร่าห์ฟาร์ม (Murrah Farm) ฟาร์มควายนมแห่งแรกของเมืองไทยเปรียบเปรย เธอยังยืนยันด้วยว่า จริงๆ แล้วควายเป็นสัตว์ศิวิไลซ์ ซึ่งผลทางวิทยาศาสตร์ก็พิสูจน์กันแล้วว่า หัวโตๆ ของควายมีสมองบรรจุเต็มพื้นที่ ไม่มีขี้เลื่อยสักเสี้ยวเดียวดังที่มนุษย์เข้าใจ

ฟาร์มแห่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อจะเป็น ฟาร์มควายนมตั้งแต่แรก แต่เป็นเพราะการ คิดแก้ปัญหาตลอดเวลาของรัญจวน ทำให้ พื้นที่กว่า 400 ไร่ ที่ อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา แห่งนี้มีเรื่องเล่าที่กำลังจะกลายเป็นธุรกิจบทใหม่ให้กับสังคมไทย

รัญจวนเริ่มต้นคิดถึงควาย เพราะต้องการวัตถุดิบสำหรับโรงฟอกหนังของเธอ ที่ จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีปัญหาว่าวัตถุดิบหนังดิบในเมืองไทยหายากขึ้นทุกวัน ต้องนำ เข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ถ้าต้องการจะ ให้ธุรกิจโรงฟอกอยู่ได้ต่อไป ก็ต้องสำรองวัตถุดิบของตัวเองเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

เรื่องไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะการจะ หาควายเป็นร้อยๆ ตัวเพื่อเลี้ยงไว้ทำหนังไม่ง่าย เพราะควายไทยเหลืออยู่น้อยกว่าที่คิด ทั้งประเทศไทยมีควายประมาณแค่ 1 ล้านตัว

“ดิฉันต้องนำเข้าควายจากต่างประเทศ แล้วจะให้นำเข้ามาแบบตรงๆ ก็ไม่ได้ ควายที่นี่เลยต้องมาแบบขอมดำดิน”

พ.ศ.2546 คาราวานควายพันธุ์มูร์ร่าห์จากประเทศอินเดีย เริ่มออกเดินทาง โดยทางเท้าผ่านประเทศพม่าเข้าทางตอนเหนือของประเทศไทย นึกภาพแล้วคงมี สภาพไม่ต่างจากนายฮ้อยของภาคอีสานของไทยในอดีต รัญจวนซื้อควายพันธุ์มูร์ร่าห์นำเข้าจำนวน 46 ตัว ทั้งฝูงมีตัวเมีย เพียงแค่ 5 ตัว นำมาผสมกับควายไทยพันธุ์พื้นเมืองอีก 20 กว่าตัว

“ตอนเริ่มเลี้ยง ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ควาย มีนมให้กิน ยิ่งจะให้เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรมยิ่งนึกภาพไม่ออก”

ในฐานะเอสเอ็มอี รัญจวนมีโอกาส เดินทางไปดูฟาร์มควายนมที่ประเทศอิตาลี ร่วมกับนักวิจัยของ สกว. หรือสภาการวิจัย แห่งชาติ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรกที่ทำให้เธอมีประสบการณ์ธุรกิจเกี่ยวกับควายอย่างจริงจัง

ที่อิตาลีมีแต่ระดับ Godfather เท่านั้นที่ทำฟาร์มควาย แค่ฟาร์มเล็กๆ ก็มี ควายอย่างน้อย 500-1,000 ตัว กิจกรรมหลักคือรีดนม และทำชีส ทั้งแบบอุตสาห-กรรมชีสหมักบ่มสารพัดแบบ ไปจนถึง mozzarella di bufala อันขึ้นชื่อ หรือมอสซาเรลลาชีสสดจากควาย ขายกันหน้า ฟาร์มแบบโฮมเมดให้ซื้อรับประทานกันวันต่อวัน

“ตอนแรกดิฉันคิดว่าควายมีแต่ในประเทศไทย แต่จริงๆ มีทั่วโลก แต่ฝรั่งพัฒนา รู้จักสร้างเศรษฐกิจจากควาย ก็เลย มีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้เศรษฐีบ้านเรามาเลี้ยงควาย”

จากเป้าหมายเลี้ยงควายเพื่อเอาหนัง รัญจวนกลับเมืองไทยมาเพื่อทำฟาร์มควาย นมตามแบบฝรั่ง แต่ทัศนคติของคนไทยไม่ได้สนับสนุนที่จะทำให้เกิดธุรกิจจากควาย ได้เหมือนคนอิตาเลียน

ทัศนคติเกี่ยวกับควายคือปัญหาใหญ่สุด เรื่องที่อาจดูไม่ใช่ประเด็นแต่เป็น Insight ของคนไทยมานาน ควายไทยถูกจับคู่กับวัฒนธรรม เป็นวัฒนธรรมชนบท รวมทั้งเชื่อกันทั่วประเทศไทยว่า ควายมันโง่ แต่ก็ยกย่องว่าควายมีบุญคุณจึงไม่นิยมรับประทานเนื้อหรือแม้แต่นมของมัน

แต่คนอย่างรัญจวนเมื่อเห็นเป้าหมาย อาจจะเรียกได้ว่า เธอต้องทำ “ใจดีสู้เสือ” คิดเข้า ข้างตัวเองไว้ก่อน แม้จะต้องเจอโจทย์การตลาดที่แสนยากในการเปลี่ยนความนึกคิดของคนไทยกับวัฒนธรรมเกี่ยวกับควาย ถึงขั้นเอาหลักสมการคณิตศาสตร์มาอ้างอิงขำๆ

“ถ้าคิดว่าควายโง่ คนกินแล้วจะโง่ ก็ลองคิดว่า ถ้าเจอกับความโง่ในตัวคนก็น่า จะกลับเป็นผลดี เหมือนกับลบบวกลบกลายเป็นบวก” ประเด็นนี้แค่เรื่องขำๆ ไม่ใช่สิ่งที่เธอหยิบยกไปทำตลาด เพราะยัง ไม่ต้องฝ่าด่านไปถึงการทำตลาดเสียด้วยซ้ำ แค่ด่านแรกกับการโยกย้ายลูกน้องเก่าจากโรงฟอกหนังมาเป็นคนเลี้ยงควาย ก็เจอปัญหาลูกน้องไม่เข้าใจเสียแล้ว

“เหมือนย้ายจากในเมืองมาอยู่ป่า ตอนแรกเงียบมาก ที่นี่เดิมเป็นสวนขนุนเก่า แล้วค่อยๆ มาปรับพื้นที่เป็นฟาร์ม แต่ตอนนี้ ดีขึ้นแล้ว มีคนเข้ามาเที่ยว มาเยี่ยมมาชม บ่อย ได้พูดได้คุย ก็ได้อธิบายการรีดนมให้ เขาฟัง แล้วเราก็ได้ความรู้จากคนที่เข้ามาด้วย” อดีตสาวโรงงานฟอกหนังรายหนึ่งที่ย้ายตามเจ้านายมาเป็นสาวฟาร์ม เล่าถึงความรู้สึกของอาชีพที่เปลี่ยนไป

วันนี้เธอบอกว่าชีวิตมีความสุขที่ได้อยู่กับควาย

นอกจากทำที่อยู่ให้ควาย ลูกน้องหลายสิบชีวิตจึงมีที่พักอาศัยอยู่ที่ฟาร์มควายนมแห่งนี้ด้วยเช่นกัน แต่ละคนแบ่งหน้าที่กัน มีทั้งแผนกปลูกข้าวโพด ปลูกหญ้า เกี่ยวหญ้า รีดนม ทำชีส ฯลฯ

จากคำแนะนำของนักวิจัยจาก สกว. 1-2 ปีแรก รัญจวนเริ่มจากปรับพื้นที่ในฟาร์ม เพื่อทำแปลงหญ้าสร้างยุ้งข้าวให้ควายกิน ปรับแต่งพื้นที่ให้มีทั้งภูเขาและน้ำ ที่ควายขาดไม่ได้ เธอต้องเป็นทั้งเกษตรกร และวิศวกรโยธาไปในตัว

เพียงปีเดียวก็ได้จำนวนควายเพิ่มเป็น 100 กว่าตัว

พ.ศ.2549 รัญจวนเริ่มศึกษาขั้นต่อไป ควายเริ่มมีลูก ต้องรีดนม เธอต้องเปิดตำราวัวนม เพราะหาตำราควายนมในเมือง ไทยไม่ได้ และด้วยความที่เป็นมือใหม่ จึงได้น้ำนมไม่พอเลี้ยงลูกควาย กว่าจะเข้าที่ รีดจนมีนมเหลือทุกวันก็หลังจากนั้นอีก 1 ปี แล้วก็พบว่าน้ำนมที่ได้ต้องเหลือเอากลับไป เลี้ยงลูกควาย

เพราะคนไทย “แค่บอกว่านมควาย ก็ยี้ สกปรกไม่กิน ขายไม่ได้ ก็บอกลูกน้อง ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราจะอาบนมควายกันผลิตภัณฑ์นมส่วนหนึ่งจึงกลายมาเป็นสบู่จากนมควายก้อนละเกือบ 200 บาท

กว่าจะเริ่มเป็นที่ยอมรับ ก็ล่วงเข้าปี 2551 เมื่อผู้บริหารจากกระทรวงเกษตรมาดูงาน มีนักข่าวตามมา เป็นผลดีช่วยทำให้ ฟาร์มเป็นที่รู้จัก จังหวะเดียวกับที่ลูกสาว ชาริณี ชัยยศลาภ เรียนจบด้านการตลาดและเข้ามาดูด้านการตลาดได้พอดี

ด้วยทีมวิจัยของ สกว.คอยให้คำแนะนำปรึกษา พาไปเรียนรู้ แถมยังฝากงานให้ชาริณีไปฝึกทำชีสที่อิตาลี หลังจากแม่ลูกมีโอกาสเดินทางไปร่วมงานสัมมนา ควายโลกที่อิตาลีอีกครั้ง

“แรกๆ ก็คิด เป็นคนไม่ทานชีส ชาตินี้จะทำเป็นหรือ ช่วงฝึกทำ ถ้าทำไม่สำเร็จก็เอากลับไปสู่ท้องควาย จนอยู่ตัวก็เริ่มเปิดเอาต์เล็ตที่รามคำแหง 112 ในหมู่บ้านสัมมากร ส่งนมควายสดบรรจุขวด ทำเมนูพิซซ่า เมนูต่างๆ ที่ทำจากชีส จนเริ่มไม่พอขาย”

รัญจวนก็ไม่ต่างอะไรกับลูกน้องในฟาร์มของเธอ ที่ก่อนหน้านี้ไม่ทานชีส แต่เมื่อต้องคลุกคลีอยู่ในฟาร์มนม ต้องเรียนรู้ที่จะรีดนม ทำชีส ทำอาหารฝรั่ง ตอนนี้ทุกคนทานชีสเป็นกันหมดแล้ว และยอมรับ ว่ามันอร่อยดี

รูปแบบการทำชีสในมูร์ร่าห์ฟาร์ม เป็นแบบแมนนวล ด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ ที่พัฒนาให้เหมาะกับบริบทของฟาร์มควายนมไทยล้วนๆ เพราะปริมาณการ ผลิตต่อวันยังอยู่ในระดับต่ำทำได้ เพียง 40 กิโลกรัมต่อวัน และไม่ได้ทำทุกวัน เช่น ลูกค้าอย่างการ บินไทยก็จะสั่งเพียงครั้งละ 100 กว่าชิ้นในระยะเวลาไม่เกิน 5 วัน สำหรับเมนูในชั้นธุรกิจ โรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพฯ และหัวหิน เป็นต้น และทาง ร้านก็ต้องดึงวัตถุดิบบางส่วนสำหรับทำเป็นนมพร้อมดื่ม ซึ่งนมสดบรรจุขวดกับชีส เป็นสินค้าหลักจากนมควายที่มูร์ร่าห์ฟาร์ม ผลิตได้ในตอนนี้

“นมสดบางส่วนเราก็เริ่มนำไปใช้แปรรูปเป็นโยเกิร์ตสำหรับขายที่ร้านทำขนม” ชาริณีกล่าว

การลงทุนฟาร์มควาย เริ่มมีอนาคต สดใส เพราะลูกค้าเริ่มตอบรับนมควายมาก ขึ้น โดยมูร์ร่าห์ทำตลาดเจาะไปยังตลาดที่มีความรู้และความเข้าใจถึงคุณค่าของนม ควาย ที่ให้ประโยชน์ไม่แพ้นมวัว และการแปรรูปเป็นมอสซาเรลลาชีสสด ซึ่งเป็นรายแรกของไทย แม้จะไม่มาก แต่เป็นการ แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของธุรกิจอะโกร บิสซิเนสที่หลากหลายขึ้นของไทย ทั้งนมสดและมอสซาเรลลาจำนวนน้อยที่ผลิตได้นี้ นอกจากวางจำหน่ายที่ร้านของตัว ลูกค้าที่สั่งตรง อีกช่องทางหนึ่งที่ลูกค้าหาซื้อปลีก มอสซาเรลลาชีสขนาด 125 กรัม ในราคา 160 บาท ได้คือที่ฟู้ดแลนด์

แต่ความที่ยังทำรายได้จากควายได้ ไม่เต็มที่ ที่มูร์ร่าห์ฟาร์มจึงต้องหารายได้เสริม ซึ่งปัจจุบันได้มาจากการขายข้าวโพด ฝักอ่อนซึ่งปลูกไว้ประมาณ 100 ไร่ ส่งออก ขายให้กับลูกค้าชาวต่างชาติที่แวะมาเที่ยวชมฟาร์ม ซึ่งใช้เวลาปลูกเพียงล็อตละ 50 วันก็หักฝักขายได้ ส่วนต้นก็เก็บ เกี่ยวเป็นอาหารควาย

“ตอนนี้เราทำทุกอย่างที่เป็นรายได้ เพราะเท่าที่คำนวณ กัน การทำฟาร์มกว่าจะคืนทุนก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี วงจรชีวิตควาย เกิดมากินนมอยู่ 6 เดือน สามขวบโตเป็นสาว ถ้า ใจแตกเร็วก็ตั้งท้องได้เร็ว ตั้งท้อง 11 เดือน ปีที่ 4 ถึงจะเริ่มมีงาน ประจำ รีดนมได้ แต่ละตัวคลอด ได้เต็มที่ 10 รุ่นอายุเฉลี่ย 20 ปี ตัวผู้ก็คัดหล่อๆ ไว้รีดน้ำเชื้อ ประวัติไม่ดีก็ขายโรงฆ่าสัตว์ ตอนนี้เราก็เริ่มพัฒนาเรื่องการผสมเทียม ซึ่ง 10% ของควายในฟาร์มได้มาจากการผสมเทียม” รัญจวนกล่าว

ชาริณีประเมินว่า พื้นที่ 400 ไร่ของ ฟาร์ม น่าจะรับควายได้เต็มที่ประมาณ 800 ตัว ปัจจุบันมีเพียง 400 ตัว ในจำนวนนี้มี 80 กว่าตัวที่กำลังตั้งท้อง เมื่อถึงตอนนั้นรายได้จะเป็นกอบเป็นกำมากกว่านี้ เพราะ จะมีน้ำนมให้ทำชีสได้เต็มที่ รวมทั้งตลาดก็น่าจะขยายได้มากกว่าเดิม การทำชีสถือเป็นการเพิ่มมูลค่าของน้ำนมดิบได้หลายเท่า ตัว จากน้ำนมดิบราคาไม่กี่สิบ หากพัฒนา เป็นชีสปัจจุบันมีราคาขายส่งถึงกิโลกรัมละ ประมาณ 2,000 บาท โดยน้ำนมดิบหนึ่งกิโลจะแปรสภาพเป็นชีสได้ 15%

“เป้าหมายคือเราต้องขยายฟาร์มให้ ได้ ไม่อย่างนั้นธุรกิจจะไม่โต สร้างเศรษฐกิจ ไม่ได้” ชาริณีกล่าว

วิธีหนึ่งที่เธอวางเป้าหมายที่จะทำให้ ฟาร์มควายกลายเป็นอุตสาหกรรมได้เร็วขึ้น มีโมเดลไม่ต่างจากฟาร์มวัวนม ที่ต้องส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาเลี้ยงควาย โดยมีแผน ว่าอาจจะขอเจรจาเพื่อร่วมมือกับธนาคารโคกระบือซึ่งประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอย่างกว้างขวาง มาช่วย ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงควายเพื่อรีดนมมากขึ้น

“ถ้าทำได้ เราก็จะให้ชาวบ้านส่งนม ให้เรา เราก็จะเป็นศูนย์รับซื้อและศูนย์ผสม เทียม เพราะตอนนี้เด็กที่นี่ผสมเทียมได้ทุกคน” รัญจวนกล่าว

ทั้งนี้ทั้งนั้น กระบวนการของมูร์ร่าห์ ฟาร์ม ที่รัญจวนและชาริณีตั้งเป้าไว้ก่อนจะไปถึงการเป็นฟาร์มควายนมเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้นั้น จะต้องเติบโตไปพร้อมกับการเป็นฟาร์มที่ปลอดจากสารพิษ เพื่อให้ทั้งพืช ผัก หญ้า และผลิตภัณฑ์นมจาก เต้าควายทุกตัว การันตีได้ว่าปราศจากสารเคมีเจือปนโดยสิ้นเชิง และเป็นฟาร์มควายแห่งแรกของประเทศไทยที่จะมาพร้อมคุณสมบัติของความบริสุทธิ์สะอาดตามธรรมชาติโดยแท้จริง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us