Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536
เทโร เอนเตอร์เมนเม้นท์ โปรโมเตอร์แห่งโลกดนตรี             
 


   
search resources

บีอีซีเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์, บมจ.
ไมเคิล จี.มาร์คาร์




ชื่อ "เทโร เอนเตอร์เทนเมนท์" คงจะไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก หากว่าวันนี้เขาไม่ใช่ผู้เสนอคอนเสิร์ตของศิลปินเพลงป็อปที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลกอย่าง "ไมเคิล แจ็คสัน"

ความจริงแล้ว เทโรฯ ไม่ใช่โปรโมเตอร์หน้าใหม่ในธุรกิจคอนเสิร์ตจากต่างประเทศ แต่เป็นผู้จัดคอนเสิร์ตของศิลปินดัง ๆ จากต่างประเทศมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว เช่น แอร์ซัพพลาย ไบรอัน อาดัมส์ แฮมเมอร์ นาตาลี โคล และเดอะแพลตเตอร์ เป็นต้น "เราจะเน้นที่การให้เครดิตกับสปอนเซอร์มาก ถือเป็นนโยบายของเรา เราจะโปรโมตสปอนเซอร์อย่างเช่น โคนิก้าเป็นสปอนเซอร์ก็จะใช้คำว่า โคนิก้าเสนอ… หรือเป็นเป๊ปซี่ ก็ใช้เป๊ปซี่เสนอ… แต่เราไม่เคยใช้เทโรเสนอ…" ไมเคิล จี. มาร์คาร์ ผู้จัดการทั่วไปของเทโร เอนเตอร์เทนเมนท์ โฮลดิ้ง กล่าวอย่างถ่อมตัว

บริษัทเทโร เอนเตอร์เทนเมนท์ โฮลดิ้ง จำกัด ก่อตั้งมา 3 ปีแล้ว โดยมีหุ้นส่วนใหญ่ 2 คน คือ ขรรค์ ประจวบเหมาะ และไบรอัน แอล.มาร์คมร์ พ่อของไมเคิล จี.มาร์คาร์ เป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการตามลำดับ

ส่วนตัวของไมเคิล จี.เองเริ่มเข้ามาจับธุรกิจและช่วยงานของพ่อเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ได้เล่าให้ฟังว่า ไบรอันอยู่ในวงการนี้มานาน เขาเคยอยู่กับช่อง 3 เป็นผู้จัดการรายการจากต่างประเทศให้ช่อง 3 ในอดีต ทั้งรายการกีฬา รายการโชว์ต่าง ๆ ทำให้ประสบการณ์การจัดการแสดงโชว์ สำหรับเทโรมีมากว่า 20 ปี เพราะก่อนที่จะมาเป็นรูปบริษัทในทุกวันนี้ ชื่อของไบรอัน คือ แบรนด์ที่ขายได้ ในวงการทั้งในและนอกประเทศรู้จักเขาดี

จากจุดนี้เอง ทำให้เขาได้รู้จักกับเอเย่นต์คอนเสิร์ตในต่างประเทศหลายคนในอเมริกา ไบรอันอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวในการจัดหาคอนเสิร์ตเข้ามาแสดงหลายครั้งอย่าง ทอม โจนส์ หรือชีน่า อีสตัน ฯลฯ ซึ่งศิลปินเหล่านี้ครั้งหนึ่งก็ที่เคยมาเปิดการแสดงในเมืองไทย ไบรอันเป็นคนแรกที่นำเข้ามาแสดงเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว

"พ่อต้องเลิกจัดไปเพราะสมัยนั้นคนไทยยังไม่พร้อมที่จะไปดูคอนเสิร์ต เพราะค่าตัวนักแสดงที่แพง ทำให้ต้องคิดค่าบัตรอย่างน้อยก็ 400-500 บาท คนไทยเองยังไม่มีงบที่จะไปซื้อบัตรเข้าดู" ไมเคิล จี. กล่าว

แต่มาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เศรษฐกิจดีขึ้น วัยรุ่นชอบและสนใจเพลงจากต่างประเทศมีคนมาสนใจมาดูเยอะ เทโรจึงหันมาจับงานนี้อย่างจริงจังอีกครั้ง

หากจะพูดกันถึงบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการจัดคอนเสิร์ตในปัจจุบันนั้น จะเห็นมีค่ายมีเดียพลัสที่จัดและยืนหยัดมานานปลายปี และเป็นที่รู้กันว่า ทุก ๆ 2-3 เดือนก็จะจัดกันครั้งหนึ่ง และมีเทโร จากนั้นก็มีบริษัทเล็ก ๆ อีก 3-4 บริษัท

"มีหลายบริษัทที่เป็นบริษัทใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเยอะมาก เกิดมาแล้วจัดคอนเสิร์ตครั้งเดียวแล้วก็ดับไป ผมไม่อยากใช้คำว่า เจ๊ง…แต่เจ๊งครับ ! " ไมเคิล จี. พูดถึงธุรกิจจัดแสดงคอนเสิร์ต พร้อมกับให้เหตุผลว่า การจัดคอนเสิร์ตโดยเฉพาะคอนเสิร์ตของศิลปินดัง ๆ มักจะมีค่าใช้จ่ายที่บานปลายเกินกว่างบประมาณที่ตั้งเอาไว้มาก นั่นเป็นเพราะศิลปินแต่ละคนนั้นอาจจะเรียกร้องในเรื่องของการอำนวยความสะดวก ระบบไฟ เครื่องเสียง การจัดเวที ตามที่ตัวเองต้องการ ซึ่งหากผู้จัดไม่ยอมสนองตอบแล้ว ศิลปินอาจจะไม่ยอมแสดงก็ได้ ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ลงไปแล้วจะต้องหายวับไปกับตา แล้วชื่อเสียงก็ต้องย่อยยับไปด้วย

สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องของเทคนิค การเจรจาต่อรอง และการบริหารความสัมพันธ์กับศิลปิน ซึ่งมีแต่มืออาชีพจริง ๆ เท่านั้นจึงจะจัดการได้ดีกว่า

"บริษัทใหม่ ๆ คิดแต่ว่า จัดครั้งเดียวแล้วรวยเลย มองเห็นแต่รายได้จากค่าบัตรผ่านประตู บวกกับค่าสปอนเซอร์ แต่ไม่คำนึงถึงรายจ่ายที่นอกเหนือจากงบที่ตั้งเอาไว้ คนที่เขาจัดเป็นอาชีพ ต้องคิดถึงการหารายได้เข้าบริษัททั้งปีต้องมีรายได้เข้ามาทุกเดือน เพราะต้องมีการจ่าย เช่น เงินเดือนให้กับพนักงานเหมือนบริษัททั่วไป หมุนเงินได้เรื่อย ๆ บางทีก็กำไรเป็นล้าน บางทีก็ไม่กี่แสนบาง หรือไม่ก็ขาดทุนไปเลยก็มี แต่ก็ต้องจัดเพราะเป็นธุรกิจไม่ใช่จัดครั้งเดียวแล้วรวยออกไปซื้อรถเบนซ์ ออกไปซื้อบ้านหลังโตหนึ่งหลัง"

ไมเคิล จี. เล่าอีกว่า การจัดคอนเสิร์ตในแต่ละครั้งเริ่มที่การคัดเลือกศิลปิน โดยอาศัยข้อมูลที่เอเย่นต์ในต่างประเทศส่งมาให้ แล้วจะพิจารณาว่า หากนำมาจัดในเมืองไทยนั้นจะได้รับความสนใจหรือไม่

"มีหลายครั้งที่ศิลปินโด่งดังเป็นอย่างมากในอเมริกา เขาอยากมาแสดงในเมืองไทยแต่คนไทยไม่รู้จัก เราก็ไม่กล้าเสี่ยง"

หลังคัดเลือกตัวศิลปินแล้ว จะมาถึงขบวนการของการเจรจาค่าตัวศิลปิน ซึ่งจะแตกต่างกันไป อย่างคณะเล็ก ๆ วงหนึ่งก็จะมีค่าตัวอย่างต่ำ ๆ ก็ 40,000 เหรียญสหรัฐหรือเป็นเงินไทยก็ 1 ล้านบาทขึ้นไป เฉพาะค่าตัวไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดงานอีก

"เทียบดูว่า ศิลปินของไทยคณะหนึ่งก็ 1-2 แสนบาท ฝรั่งก็ต้องเป็นล้านบาทขึ้นไป ไม่เช่นนั้นเขาไม่มา ศิลปินที่ดังจริง ๆ ก็แพง ใครดังน้อยลงมาราคาก็ลงต่ำลงมานิดหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการเจรจาด้วย" ผู้จัดการหนุ่มอธิบาย

หลังจากนั้น ก็มาดูว่าทีมงานของศิลปินเข้ามากี่คนต้องการอุปกรณ์สำหรับการแสดงอย่างไรบ้าง

"ไม่ว่างานจะใหญ่จะเล็ก ขนาดไหนสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ อุปกรณ์ ถ้ามีอุปกรณ์พร้อมก็ไม่มีปัญหา จะจัดให้ใหญ่ขนาดไหนก็ได้" ไมเคิล จี. กล่าวอย่างมั่นใจพร้อมกับยกตัวอย่างให้ฟังว่า การจัดคอนเสิร์ตเล็ก ๆ อย่างวง AMERICA เขามีทีมงานมาเพียง 20 กว่าคน แสง เสียง เวที เขาไม่ได้เรียกร้องอะไรมากมายนักง่ายต่อการจัด

"สำหรับคอนเสิร์ตใหญ่อย่าง ไมเคิล แจ็คสัน ดู ๆ แล้วการจัดจะง่ายกว่า เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเขาเตรียมมาเองทั้งหมด ทั้งทีมงาน เวทีแสดง เสียง ไฟ แต่กลับเหนื่อยกว่า เพราะต้องทำให้ได้ตามสเป็คที่เขาต้องการทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องสถานที่ เรื่องของการรักษาความปลอดภัย ฯลฯ" ไมเคิล จี. กล่าว

การเจรจากับ ไมเคิล แจ็คสัน นั้น เรื่องค่าตัวไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด เพราะเขาเองมีเงินมากอยู่แล้ว ไมเคิล แจ็คสัน คำนึงถึงชื่อเสียงของเขามากกว่า เขามีกฎเกณฑ์มากมาย ไมเคิล แจ็คสัน จะเลือกโปรโมเตอร์ที่จะมาโปรโมตให้เขาได้ถูกต้อง มีสื่อที่จะประชาสัมพันธ์ให้เขาได้ ต้องไม่ทำให้ภาพพจน์ของเขาเสีย

ข้อต่อสำคัญที่ทำให้ไมเคิล แจ็คสัน เลือกกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในโปรแกรมการตระเวนเอเชียของเขาคราวนี้ก็คือ สายสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างไบรอัน กับผู้จัดการของไมเคิล แจ็คสันเอง โดยคิดค่าตัว 25 ล้านบาท แม้จะเป็นเงินที่สูงมากแต่เมื่อเทียบกับค่าตัวสำหรับการแสดงในอเมริกาที่ตก 40 ล้านบาทก็ต้องถือว่าเป็นค่าตัวที่ถูกเอามาก ๆ

"ผมว่า ไมเคิล แจ็คสัน แทบจะไม่ได้อะไรเลย เพราะ 25 ล้านบาท จะลงไปในโปรดักชั่นเกือบหมด ไหนจะต้องบินมาเป็นคาราวาน และค่าใช้จ่ายทีมงานอีก แต่เขาเชื่อมั่นในเทโรว่า จะทำชื่อเสียงให้เขาได้" ไมเคิล จี. กล่าว

จุดสำคัญของการทำธุรกิจนี้ คือ การสร้างภาพพจน์ของโปรโมเตอร์เอง จะทำให้ศิลปินอยากเข้ามาผ่านโปรโมเตอร์ที่ดัง ๆ เพราะเขารู้ว่า โปรโมเตอร์ดัง ๆ จะมีสื่อที่ช่วยโปรโมตให้เขาได้

คอนเสิร์ตไมเคิล แจ็คสัน จึงถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเทโร เอนเตอร์เทนเม้นท์ จากผู้อยู่เบื้องหลังการจัดคอนเสิร์ตของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับปานกลาง แต่เมื่อมาเล่นกับคอนเสิร์ตของศิลปินป็อปหมายเลขหนึ่งของโลก ก็เหมือนใบเบิกทางที่วิเศษสุด สำหรับการดึงเอาศิลปินเด่น ๆ คนอื่น ๆ เข้ามาแสดงในเมืองไทยในระยะต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us