Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
โฆษณาออนไลน์ เฟซบุ๊กปะทะกูเกิล             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

Google Inc. Homepage
Facebook Homepage
Ready Planet Homepage
บริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด

   
search resources

Google.com
Advertising and Public Relations
Web Sites
แกรนด์ แพลนเน็ท เอ็นเตอร์ไพรส์, บจก.
Facebook
ไอฮับ มีเดีย, บจก.




งบประมาณโฆษณาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตจำนวน 1,500 ล้านบาท ในปีนี้เริ่มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าตัวเลขจะยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ใช้ผ่านสื่อโทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์ แต่ทำให้เฟซบุ๊กตัดสินใจเข้ามาทำตลาดในไทยอย่างจริงจังตามหลังกูเกิล 1 ปี

ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 16 ล้านราย เป็นสังคมบริโภคสินค้าไอทีและบริการอินเทอร์เน็ตอยู่อันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะไมโครซอฟท์ เฟซบุ๊ก และกูเกิล จะอ้างอิงถึงผู้ใช้ในประเทศไทยเพื่อเข้ามาแสวงหาโอกาสในตลาด

ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ไทยใช้อินเทอร์เน็ตพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ความเร็วสูงมีผู้ใช้อยู่ร้อยละ 70 ในปัจจุบัน

นอกเหนือจากนั้นโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนสามารถรองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งผลให้บริการต่างๆ อย่างเช่น แบล็กเบอรี่ส์ และไอโฟนเติบโตอย่างรวดเร็ว

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และสมาร์ทโฟนที่พุ่ง สูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจออนไลน์เริ่มเด่นชัด จึงเป็นโอกาสของกูเกิลและเฟซบุ๊ก

ล่าสุด เฟซบุ๊ก (Facebook) เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เข้ามายึดพื้นที่โฆษณาออนไลน์ในประเทศไทยอย่างเป็นจริงเป็นจัง พร้อมกับแต่งตั้งบริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด ผู้ให้บริการการตลาดบนอินเทอร์เน็ตในเอเชียเข้ามาขายโฆษณาออนไลน์ อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา

จอร์จ ฟู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการบริษัท ไอฮับ มีเดีย จำกัด ให้เหตุผลว่าเฟซบุ๊กเริ่มเข้ามาทำตลาดในไทย เพราะมีฐานลูกค้าถึง 4,500,000 ราย จึงเป็นจังหวะและโอกาสของเฟซบุ๊ก

รูปแบบโฆษณาของเฟซบุ๊กมี 2 ส่วน ส่วนแรก เรียกว่า Home Page Ad ส่วนที่สอง Ad Space Unit สำหรับ Home Page Ad โฆษณาจะถูกวางอยู่ในหน้าแรก ของเฟซบุ๊ก ส่วน Ad Space Unit พื้นที่ลงโฆษณาจะอยู่ด้านใน

พื้นที่โฆษณาได้ถูกแบ่งออกเป็นสอง ส่วนเพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าและเป้าหมายการทำตลาดของลูกค้า สำหรับ Home Page Ad เหมาะกับบริษัทองค์กรที่ต้องการเปิดตัว สินค้าใหม่ ส่วน Ad Space Unit เหมาะกับลูกค้าทั่วไป

แนวทางการตลาดของเฟซบุ๊กในประเทศไทย บริษัทให้สิทธิบริษัท ไอฮับ ขายโฆษณาในส่วนของ Home Page Ad เท่านั้น แต่ในส่วนของ Ad Space Unit ลูกค้าต้องซื้อผ่านเฟซบุ๊กโดยตรง

บริษัท ไอฮับเข้ามาตั้งสำนักงานใน ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ มีเจ้าหน้าที่ คนไทยทำการตลาด 2 คน และบทบาทของพนักงานของบริษัท ไอฮับในประเทศไทยจะทำหน้าที่ขายโฆษณาเพียงอย่างเดียว แต่หลังจากที่ได้ลูกค้ามาแล้ว กระบวนการ ขั้นตอนดูแลลูกค้าทั้งหมด สำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์จะเป็นผู้รับผิดชอบ

แต่สิ่งที่ไอฮับฯ พยายามชี้ให้เห็นถึง จุดแข็งการซื้อโฆษณาเฟซบุ๊กผ่านบริษัทก็คือเป็นเอ็กซ์คลูซีฟ พรีเมียม โฮมเพจ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนอื่นๆ เช่น วิดีโอ การสำรวจความคิดเห็น (Poll) หรือเหตุ การณ์ต่างๆ และรายงานผลความเคลื่อน ไหวโฆษณาของลูกค้าทุกสัปดาห์

ก่อนที่ไอฮับจะเปิดตัวขายโฆษณาอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม บริษัท ได้เริ่มทำการตลาดไปก่อนล่วงหน้า 2 เดือน และมีลูกค้า 5 รายแรก ลูกค้าส่วนหนึ่งมาจากบริษัทแม่ใช้บริการของเฟซบุ๊กในต่างประเทศ เช่น โซนี่ พีแอนด์จี รถซูซูกิ รุ่น Swift และไนกี้

สำหรับราคาโฆษณาออนไลน์ของเฟซบุ๊กเริ่มต้นที่ 0.35-0.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อการคลิกหนึ่งครั้ง ราคาใกล้เคียงกับกูเกิล ที่เริ่มต้น 0.35 ดอลลาร์สหรัฐ

แต่สิ่งที่เฟซบุ๊กได้พยายามสื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงจุดเด่นคือ การสร้างชุมชน ออนไลน์ติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฟซบุ๊กอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยว่า คนไทยใช้เฟซบุ๊กต่อวันประมาณ 1,700,000 ราย และโดยเฉลี่ยใช้เวลาเข้าใช้ 25 นาที

จำนวนผู้หญิงใช้เฟซบุ๊ก 53 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าผู้ชายใช้ 47 เปอร์เซ็นต์ และอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ระหว่าง 18-24 ปี ประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ อีก 35 เปอร์เซ็นต์อายุระหว่าง 25-34 ปี

เฟซบุ๊กเปิดเผยว่าจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยที่ได้รับความนิยม หรือ Fan Pages จำนวน 10 ราย คือ GTH บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ (ร่วมทุนระหว่าง บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ไทเอ็นเตอร์เทน เมนท์ จำกัด กับบริษัท หับโห้หิ้น บางกอก จำกัด) ผู้ผลิตภาพยนตร์ไทย

เครื่องดื่มกาแฟสตาร์บัคส์ จีเมเจอร์ ซินีเพล็กซ์ โซนี่ไวโอ โซนี่อีริคสัน และ SMIRDOFF

ปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวของเฟซบุ๊กในเมืองไทย ทำให้ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอค ชั่น จำกัด บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ว่า เฟซ บุ๊กมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในปีนี้เติบโต 7 เท่าเมื่อเทียบกับมิถุนายน 2552

สังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กได้รับการตอบรับจากแบรนด์สินค้าและบริการมากกว่า 100 ราย เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า

เหมือนดังเช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ใช้เฟซบุ๊กในการสื่อสารกับคนทั่วไป เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้าน CSR ให้กับองค์กร ภายในแนว คิด CSR Society with Toyota

หรือแม้กระทั่งธุรกิจการเงินอย่างเช่น บริษัทบัวหลวง ในเครือธนาคารกรุงเทพ ผู้ให้บริการซื้อ-ขายหุ้น และที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ใช้ชื่อเว็บไซต์ว่า www.Face book.com/bualuangsec ได้ริเริ่มนำเฟซบุ๊กมาใช้เช่นเดียวกัน การตื่นตัวของบริษัท และองค์กรต่างๆ ทำให้เฟซบุ๊กไม่พลาดที่จะคว้าโอกาสนี้อย่างแน่นอน

“เป้าหมายการเข้ามาขายโฆษณาออนไลน์บนเฟซบุ๊กไม่ได้มาแข่งกับใคร แต่ ต้องการมาขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้น เพราะปัจจุบันรายได้จากการซื้อโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ตมีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบ กับงบประมาณโฆษณาของประเทศไทยทั้งหมด” จอร์จ ฟูกล่าว

แม้ว่าผู้บริหารบริษัท ไอฮับจะบอกว่าไม่ได้เข้ามาแข่งขันในตลาดออนไลน์ก็ตาม แต่มองในด้านธุรกิจคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าบริษัทต่างๆ เริ่มให้ความสนใจ ในการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น โดย เฉพาะกูเกิลได้มองเห็นโอกาสมาก่อนหน้านี้ 1 ปี

กูเกิลใช้ความได้เปรียบในฐานะผู้ให้ บริการสืบค้นข้อมูลอันดับหนึ่งของโลก (search engine) ครองส่วนแบ่งการตลาด กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ใช้บริการกูเกิลมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

จึงทำให้กูเกิลได้ตัดสินใจเข้ามาขาย โฆษณาออนไลน์ในประเทศไทย โดยแบ่งพื้นที่โฆษณาออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรก เรียกว่า Google Adwords และ Google AdSense

Google Adwords คือการนำโฆษณาของลูกค้ามาลงในเว็บไซต์หน้าแรก ของกูเกิล ส่วน Google AdSense นำโลโกของกูเกิลลงไปในเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมจากผู้ใช้ และเก็บค่าบริการจากการคลิกเข้าไปดูโฆษณาสินค้า

วิธีการขายโฆษณาของกูเกิลและเฟซบุ๊ก มีความเหมือนกันและต่างกันในบาง จุด ในส่วนความเหมือนกันของทั้ง 2 ค่ายคือ Google Adwords และ Home Page Ad จะมุ่งให้ลูกค้ามาลงโฆษณาในโฮมเพจ และไม่ทำตลาดเองเป็นหลัก แต่จะแต่งตั้งพันธมิตรเข้ามาช่วยทำตลาด

กูเกิลแต่งตั้งบริษัท แกรนด์ แพลน เน็ท เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ขายโฆษณาใน ส่วน Google Adwords ด้วยการช่วยวาง กลยุทธ์และวางแผนทำตลาด รวมถึงวิเคราะห์แผนการตลาดหลังจากให้บริการไปแล้วว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

ในขณะที่เฟซบุ๊กเลือกบริษัท ไอฮับ ผู้ให้บริการการตลาดบนอินเทอร์เน็ต ตัวแทนขายเว็บในเอเชีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสิงคโปร์

นอกเหนือจากขายโฆษณาให้กับเฟซบุ๊กแล้ว บริษัท ไอฮับได้ทำการตลาดให้กับอีเอสพีเอ็นซอกเซอร์เน็ต (ESPN soccernet) ดิสนีย์ (Disney) การีนา (Garena) และไทเกอร์ แอร์เวย์ (Tiger Airways)

ในขณะที่กูเกิลเลือกกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างชัดเจน เน้นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ส่วนเฟซบุ๊กเจาะลูกค้าทุกกลุ่ม

พรทิพย์ กองชุน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย บริษัท กูเกิล บอกว่าหลังจากทำตลาดโฆษณาได้รับการตอบรับจากลูกค้าในไทยค่อนข้างดี แต่เธอ ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดรายได้

แต่เธอได้ชี้ให้เห็นจุดเด่นของการลงโฆษณาในกูเกิลว่า สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด เพราะคนที่เข้ามาสืบค้นข้อมูลจะมีเป้าหมายชัดเจนต้องการข้อมูลประเภทใด จึงทำให้ผู้ประกอบการเลือกลง โฆษณาในเนื้อหาที่ลูกค้าต้องการ

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ กรรมการผู้จัด การ บริษัท เอ็มอินเตอร์แอคชั่น จำกัด ผู้ให้บริการดิจิตอล เอเจนซี่ บนสื่ออินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ (www.minterac tion.net) ได้แสดงความคิดเห็นถึงการเข้ามาทำธุรกิจโฆษณาของเฟซบุ๊กและกูเกิลว่า เป็นเรื่องที่ดีที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดโฆษณา ออนไลน์ในไทยให้ขยายเพิ่มมากขึ้น และเห็นได้จากค่าใช้จ่ายโฆษณาออนไลน์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปัจจุบันมีการใช้จ่ายโฆษณาออนไลน์ประมาณ 1,500 ล้านบาทหรือเติบโตขึ้นเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ จากงบประมาณโฆษณาทั้งหมดในประเทศไทย

การเติบโตค่าใช้จ่ายโฆษณาออนไลน์จำนวน 2 เปอร์เซ็นต์ หากพิจาณาผิวเผินดูเหมือนว่าจะเติบโตไม่มากนัก แต่นัก การตลาดและตัวแทนขายสื่อโฆษณาเห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้เติบโตถึง 2 เท่าตัว

โดยเฉพาะการโฆษณาสินค้า บริการ ทางด้านสินค้าไอทีและธุรกิจท่องเที่ยว

ส่วนธุรกิจที่กระตือรือร้นเด่นชัดมากขึ้นคือสินค้าอุปโภคบริโภค และสถาบันการเงิน

แต่การเลือกลงโฆษณาบนออนไลน์ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน แม้ว่าจะใช้งบ ประมาณค่อนข้างน้อย ทว่าผลตอบรับเป็น จุดหมายปลายทางของการโฆษณาสินค้า

ดังนั้นการพิจารณาจุดเด่น จุดด้อย เว็บไซต์เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เหมือนดั่งเช่น เฟซบุ๊กและกูเกิล มีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป

กูเกิลได้เปรียบเป็นบริการสืบค้นข้อมูลได้รวดเร็ว จึงเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการ ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซื้อสินค้า เช่น รถยนต์ คอนโดมิเนียมและคอมพิวเตอร์

ในขณะที่เฟซบุ๊กบริการสังคมออนไลน์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับ องค์กรขึ้นมา การพูดคุยกันบนอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊กจึงเหมาะกับสินค้าที่ไม่ต้องการรายละเอียดมาก เหมือนสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ผงซักฟอก เครื่องดื่ม น้ำอัดลม หรือขนมต่างๆ แต่เมื่อสินค้าหรือบริการถูกใจ จะมีการบอกต่อ

ในจุดแข็งย่อมมีจุดอ่อนและทั้งกูเกิล และเฟซบุ๊กก็เช่นเดียวกัน ศิวัตรชี้ว่ากูเกิลไม่เหมาะกับสินค้าใหม่ เพราะคนไม่รู้ว่ามีสินค้ามาก่อน จึงทำให้ไม่สามารถจะเลือกภาษา หรือคำ เพื่อค้นข้อมูล

ด้านเฟซบุ๊กนักการตลาดไม่สามารถ ลงโฆษณาขนาดใหญ่โต หรือหวือหวาได้ เพราะมีข้อจำกัดในการนำเสนอลูกเล่นให้กับกลุ่มคนในเฟซบุ๊ก

เรื่องสนุกๆ ของกูเกิลและเฟซบุ๊ก เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น แม้ตลาดไทยดูเหมือนจะเป็นประเทศแห่งโอกาส แต่ก็ยังมีความซับซ้อนซ่อนอยู่ไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us