Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2553
เขตเศรษฐกิจเกิ่วแตรวและหวุงอ๊าง             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

Commercial and business
International




เขตเศรษฐกิจช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว เป็นเขตเศรษฐกิจช่องทางแห่งหนึ่งที่นายกรัฐมนตรีเวียดนามอนุญาตให้พัฒนาเป็นอันดับแรก เขตเศรษฐกิจแห่งนี้ติดกับช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว (ไปยังเมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ ลาว) อยู่ในพื้นที่อำเภอเฮืองเซิน จังหวัดห่าติ๋ญ เวียดนาม ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 กระทรวงก่อสร้างเวียดนามดำเนินการออกแบบแผนผังรวม ก่อสร้างเขตเศรษฐกิจช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว เป็นจุดสำคัญของเขตภาคกลางตอนบนเวียดนาม

เขตเศรษฐกิจช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว มีหน่วยบริหาร 4 หน่วยประกอบด้วยตำบลเซินกิม 1 ตำบลเซินกิม 2 ตำบลเซินเตย และเมืองเตยเซิน ด้วยเนื้อที่ดินธรรมชาติ รวมกว่า 56,000 เฮกตาร์ ประชากรกว่า 210,000 คน

เขตเศรษฐกิจช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรวได้รับก่อตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์มุ่งส่งเสริมการติดต่อค้าขายระหว่างเวียดนามกับลาว ส่งเสริมเศรษฐกิจทิศตะวันตกจังหวัดห่าติ๋ญ และการพัฒนาทั่วทั้งจังหวัดห่าติ๋ญ ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 8 ผ่านชายแดนเวียดนาม-ลาว ช่องทางเกิ่วแตรวมีฐานะทางยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของจังหวัดห่าติ๋ญ และจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางตอนบนเวียดนาม ที่นี่ก็เป็นช่องทางสั้นที่สุดเพื่อลาวและประเทศต่างๆในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง สามารถเปิดทางออกสู่ทะเลตะวันออก (หรือทะเลจีนใต้) ผ่านกลุ่มท่าเรือน้ำลึกหวุงอ๊าง-เซินเยืองตามแผนผัง เขตเศรษฐกิจช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว มีเนื้อที่ 56,684.4 เฮกตาร์ แนวชายแดนร่วมกับประเทศลาว 40 กิโลเมตร ในนั้นมีป่าดงดิบ 20,000 เฮกตาร์ เหมืองดีบุกกิมเซิน ปริมาณสำรอง 70,000 ตัน บ่อน้ำแร่เซินกิม

เขตเศรษฐกิจแห่งนี้ถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบเขตปลอดภาษีศุลกากร ด้วยทิศทางพัฒนาแขนงงาน ขอบเขตต่างๆ คือ การค้า การท่องเที่ยว การบริการ และอุตสาหกรรมแปรรูป กระบวนการผลิตประกอบสินค้าใช้สอยทางพลเรือน

ทิศทางพัฒนาเขตอำนาจที่จำเป็นในเขตเศรษฐกิจ ช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว แบ่งเป็นเขตอำนาจต่อไปนี้

1. เขตช่องทางนานาชาติเกิ่วแตรว

2. เขตการค้าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา

3. เขตตัวเมือง

4. เขตการค้า-อุตสาหกรรม

ส่วนเขตเศรษฐกิจหวุงอ๊าง เป็นเขตเศรษฐกิจอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจของเวียดนาม อยู่ที่อำเภอกี่อาญ ทิศใต้จังหวัดห่าติ๋ญ ห่างเมืองโห่งหลิญ ไปทางทิศใต้ 70 กม. เขตเศรษฐกิจหวุงอ๊าง ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2549 บนพื้นฐานเขตอุตสาหกรรม-ท่าเรือทะเลหวุงอ๊าง ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 ที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของเขตตัวเมืองหวุงอ๊าง และเขตเศรษฐกิจ “เหนือกว๋างบิ่ญ-ใต้ห่าติ๋ญ”

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจหวุงอ๊าง คือบุกเบิกใช้ประโยชน์ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ธรรมชาติ (ใกล้ท่าเรือ น้ำลึกหวุงอ๊าง และเซินเยือง) ใกล้ทางหลวง หมายเลข 1A (บนทางหลวงหมายเลข 12A เชื่อมกับลาวและไทย ใกล้เหมืองเหล็กถาจเค) เพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมจังหวัดห่าติ๋ญ สร้างจุดเติบโตทางเศรษฐกิจ-สังคมเขตภาคกลางตอนบน สร้างการเชื่อมประสานพัฒนาระหว่างจังหวัดภาคกลางตอนบน ลดช่องว่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม เข้าร่วมกลุ่มกับทั้งประเทศและระหว่างประเทศ

เขตเศรษฐกิจหวุงอ๊าง อยู่ที่เชิงเขา ทิศเหนือของเทือกเขาหว่าญเซิน ครอบ คลุมตำบลกี่นาม ตำบลกี่เฟือง ตำบลกี่เหล่ย ตำบลกี่ลอง ตำบลกี่เลียน ตำบลกี่ถิ่ญ ตำบลกี่ตริญ ตำบลกี่ห่า และตำบลกี่นิญ (ทุกตำบลอยู่ในอำเภอกี่อาญ) ด้วยเนื้อที่ธรรมชาติ 227.81 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดทะเลตะวันออก ทิศใต้ติดจังหวัดกว๋างบิ่ญ ทิศตะวันตกติดตำบลกี่คาง ตำบลกี่เถาะ ตำบลกี่หาย ตำบลกี่ฮึง และเมืองกี่อาญ (ทุกตำบลอยู่ในอำเภอกี่อาญ)

กิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจอันดับแรกที่เขตเศรษฐกิจหวุงอ๊าง ประกอบด้วยการบริการท่าเรือทะเล อุตสาหกรรมหลอมโลหะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและแหล่งวัตถุดิบ (เหมืองเหล็กถาจเค เหมืองไททาเนียม) แขนงอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ท่าเรือทะเล แขนงอุตสาหกรรมบุกเบิกแหล่งวัตถุดิบภายในภูมิภาคและการนำเข้า และที่เป็นพิเศษคือจากลาวและไทยในแขนงอุตสาหกรรมบริการการส่งออก เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us