Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536
ดร.วีระชัย เตชะวิจิตร จากบริษัทเวนเจอร์สู่แบงก์ศรีนคร             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารศรีนคร

   
search resources

ธนาคารศรีนคร
วีระชัย เตชะวิจิตร




ถ้าดูจากประสบการณ์ทำงาน ชื่อของวีระชัย เตชะวิจิตรไม่เคยปรากฏอยู่ในวงการธุรกิจสายแบงก์มาก่อน แม้ว่าพื้นฐานการศึกษาของเขาจะจบปริญญาเอกสาขาบัญชี/ธุรกิจระหว่าปงระเทศ จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่-โคลัมเบียก็ตาม

แต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ วิเชียร เตชะไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แบงก์ศรีนคร ก็ประกาศข่าวใหญ่ถึงการดึงวีระชัยเข้ามารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลฝ่ายการพนักงาน สำนักฝึกอบรม ฝ่ายระบบสารสนเทศ ฝ่ายการบัญชี ฝ่ายธุรกิจ และฝ่ายบริการ

ปัญหาการสูญเสียมืออาชีพระดับสูงในแบงก์ศรีนครที่ลาออกไปอยู่กิจการแบงก์อื่น ๆ และไฟแนนซ์ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาบูมมาจากตลาดหุ้น เช่น กรณีสมเด็จเชตุพน ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อบุคคลลาออกไปเป็นผู้จัดการฝ่ายสินเชื่ออุตสาหกรรม แบงก์ทหารไทยแทนชัยยศ สัชฌะไชย (กรรมการผู้จัดการใหญ่ บง.ไทยธนากร) และสุธีร์ สหัสรังษี ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการเงินที่ย้ายไปเป็นกรรมการผู้จัดการ บงล.มหานครทรัสต์ ซึ่งทำธุรกิจซับโบรกเกอร์ประสบปัญหาขาดทุนสั่งสมมีหนี้มหาศาล จนแบงก์ศรีนครผู้ถือหุ้นใหญ่ที่แบกอุ้มหนี้มานานก็เริ่มทยอยขาหยุ้นแก่สถาบันการเงินญี่ปุ่น เพื่อลดสัดส่วนถือหุ้นจาก 74% ของทุนจดทะเบียน 1,805 ล้านบาทตามข้อบังคับแบงก์ชาติ

กรณีล่าสุด สมชัย โสภาเสถียรพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการและสาขาต่างประเทศ ได้ยื่นจดหมายลาออกที่มีผลในวันที่ 26 กรกฎาคม สมชัยได้ถูกสุรศักดิ์ นานานุกูล ประธานกรรมการ บง.บางกอกเงินทุนทาบทามให้รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่นั่น

การลาออกของผู้บริหารเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานในระยะยาวที่ต้องการสร้างภาพพจน์ของการบริหารแบบมืออาชีพให้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับประสิทธิผลที่ต้องปรับปรุงตามเงื่อนไขของแบงก์ชาติ โดยเฉพาะกรณีที่แบงก์ศรีนครติดเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ที่ต้องเร่งปรับระบบบริหารด้วยการดึงมืออาชีพเข้ามา

ดังนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ แบงก์ศรีนครจึงเร่งให้มีการปรับโครงสร้างการบริหารใหม่ โดยมีรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สองคน วีระชัย เตชะวิจิตร กับอีกคนคือ วีรมิตร เตชะไพบูลย์ น้องชายวิเชียร ผู้มีมาดนักวิชาการสไตล์ตะวันตกขึ้นดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลสายงานบริหารการเงินและสายพัฒนาธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดภาพพจน์ธุรกิจครอบครัว เจ้าของแบงก์ศรีนครจึงต้องซื้อตัวมืออาชีพจากที่อื่น ๆ เข้าเสริมด้วยที่ผ่านมา ปัญหา ตันติยวรงค์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ แบงก์กรุงไทย เข้ามาเป็นใหญ่ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ จักรเพ็ชร จันทรวิสูตร อดีตผู้จัดการสาขานิวยอร์คของแบงก์กรุงไทย มารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายกิจการ และสาขาต่างประเทศแทนสมชัย โสภาเสถียรพงษ์ และดึงเอ้งฮัก นนธิการมาดูแลฝ่ายบริหารการเงิน

โดยมีผู้บริหารระดับสูงอย่าง วีระชัย เตชะวิจิตร เป็นรองกรรมการผู้จัดการคนใหม่ดูแลสายงานสนับสนุน โดยเฉพาะฝ่ายระบบสารสนเทศ ซึ่งวีระชัยมีความชำนาญอย่างมากจากประสบการณ์ในอดีต ที่วีระชัยเคยเป็นประธานคณะทำงานโครงการจัดตั้งศูนย์ระบบข้อมูลข่าวสารการตลาดของหอการค้าไทย

เมื่อต้นทศวรรษที่แล้วในแวดวงการค้าระหว่างประเทศชื่อของ วีระชัย เตชะวิจิตร ถูกจัดว่าเป็นนักบริหารรุ่นใหม่เนื้อหอม ผู้หอบดีกรีดอกเตอร์สอนมหาวิทยาลัยมิสซูรีและเนวาด้าลาสเวกัส เข้ามาทำงานให้กับเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2524 - 28 ในระดับกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด บริษัท ซีพี เอ็นจิเนียริ่ง และบริษัทกรุงเทพอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ยังรับเป็นผู้ช่วยพิเศษของ ธนินท์ เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ด้านโครงการลงทุนในต่างประเทศ โครงการปฏิบัติการในฮ่องกง และการแลกเปลี่ยนสินค้า COUNTER-TRADE

ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจระหว่างประเทศของวีระชัยก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ธุรกิจมากมายในรูปกิจกรรมสมาคมต่าง ๆ โดยวีระชัยก้าวเข้ามาเป็นเลขาธิการและผู้อำนวยการบริหารสมาคมบริษัทการค้าระหว่างประเทศ ในปี 2526 เป็นหนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก และคณะกรรมการร่วมรัฐบาลและเอกชน (กรอ.) ซึ่งเป็นศูนย์รวมผู้นำสภาหอการค้าสมาคมอุตสาหกรรมและสมาคมธนาคารไทย นี่คือการเปิดโอกาสให้วีระชัยได้รู้จักกับวิเชียร เตชะไพบูลย์ขณะนั้นด้วย

แต่ขณะนั้น วีระชัย ได้รับโอกาสที่น้อยคนจะได้รับ คือ ความเชื่อถือจากรัฐบาลแคนาดาในการก่อตั้งบริษัทเวนเจอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อดำเนินการติดต่อประสานกิจการร่วมลงทุนของบริษัทเอกชนไทยและแคนาดาจำนวน 24 บริษัท

"ผมทำอยู่ซีพี 4 ปี ดูบริษัทการค้าระหว่างประเทศระหว่างนั้นก็เป็นเลขาธิการสมาคมบริษัทการค้าระหว่างประเทศ บังเอิญตอนนั้นรัฐบาลแคนาดาให้ความสนใจไทยมากที่สุดในย่านนี้ ก็จึงคิดชักชวนให้เขามาลงทุนเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่เขามีความคิดแผลง ๆ คือ ให้งบประมณก้อนหนึ่ง ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อเสาะแสวงหาโครงการดี ๆ ที่แคนาดาสามารถร่วมลงทุนได้ ผมก็กะว่าจะดึงเข้าซีพี แต่เขาต้องการตัวผม ผมจึงลาออกจากซีพี และคิดว่าโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออกของไทย"

นี่คือแนวความคิดของวีระชัยที่ลาออกจากซีพีแล้วเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการบริษัทเวนเจอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีธุรกิจหลักพัฒนาการส่งออกด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ และแลกเปลี่ยนสินค้า โครงการลงทุนมูลค่านับพันล้านได้กระจายไปทั่วชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เช่น โครงการผลิตไข่ผงของอาทิตย์ อุไรรัตน์ ที่แปดริ้วฉะเชิงเทรา

ความชำนาญในสายการค้าระหว่างประเทศของวีระชัย ในอดีตไม่เป็นที่สงสัย แต่ในสายกิจการแบงก์พาณิชย์ยังเป็นเรื่องที่น่าจับตาถึงบทบาทของวีระชัย เตชะวิจิตร ในอนาคตว่าจะสานสร้างอาณาจักรของคนในสกุลเตชะไพบูลย์สู่กลยุทธ์แข่งขันด้านบริการในนามของแบงก์ศรีนครได้สำเร็จหรือไม่ ?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us